วิธีการ หายใจ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

มนุษย์เราทุกคนต่างก็ต้องหายใจกันอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เครียด ถ้าเรามีเทคนิคในการหายใจที่ถูกต้องเหมาะสม เราจะสามารถลดความเครียดและทำให้การทำงานโดยรวมของร่างกายดีขึ้นได้ เทคนิคที่บทความนี้จะแนะนำได้แก่ การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม การหายใจทางจมูก การถอนหายใจขณะหายใจออก และการกำหมัดขณะหายใจ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อให้สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ฝึกหายใจลึกๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อยู่ในท่าที่สบาย.
    เราจะฝึกหายใจช้าๆ ลึกๆ ได้ง่ายขึ้น ถ้าเรานอนหงายหรือนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย ลองนอนหงายบนผ้าห่ม โซฟา หรือเตียง ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวอย่างสบายๆ จะให้ขาเหยียดตรงหรืองอเข่าสักเล็กน้อยก็ได้[1]
    • เราจะนำหมอนมาหนุนศีรษะและเข่าด้วยก็ได้ พยายามทำให้ตนเองสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หายใจเข้าทางจมูก.
    การหายใจทางจมูกนั้นเป็นการหายใจที่ดีที่สุด เมื่อเราฝึกหายใจลึกๆ หรือหายใจตามปกติ การหายใจทางจมูกจะทำให้ร่างกายได้กรองไวรัสและแบคทีเรียออกไป[2]
    • เมื่อหายใจทางจมูก เราต้องปิดปาก ระบบประสาทอัตโนมัติจะเริ่มการหายใจต่อไปและลมหายใจจะเข้าและออกทางจมูกของเรา
    • การหายใจทางจมูกจะทำให้ร่างกายได้ปรับอากาศที่เย็นและแห้งให้อุ่นและชุ่มชื้นเพื่อให้สามารถเอาเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น [3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หายใจลึกๆ...
    หายใจลึกๆ โดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม. ถ้าอยากรู้ว่าตนเองใช้กล้ามเนื้อกะบังลมในการหายใจหรือเปล่า วางมือข้างหนึ่งไว้ที่บริเวณอกด้านบน วางมืออีกข้างไว้ที่ท้องซึ่งอยู่ต่ำกว่าซี่โครง ค่อยๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกจนกระทั่งตนเองรู้สึกว่าท้องเริ่มขยาย อกต้องอยู่นิ่ง ไม่ขยับ เมื่อมีอากาศอยู่เต็มท้องแล้ว เริ่มเกร็งกล้ามเนื้อท้อง จะทำให้อากาศถูกควบคุมโดยกะบังลมอย่างช้าๆ และออกจากปอด[4]
    • กะบังลมนั้นเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่รูปโดม อยู่ที่ฐานของปอด เมื่อเราให้กะบังลมยืดและหดเพื่อควบคุมการหายใจ เราจะหายใจได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลมสามารถทำให้หัวใจเต้นช้าลงและทำให้ความดันโลหิตลดลงหรือคงที่[5]
    • เราอาจเหนื่อยค่อนข้างเร็วเมื่อหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม แต่ในไม่ช้ากล้ามเนื้อกะบังลมจะแข็งแรงขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้นและมีพละกำลังมากขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปล่อยลมหายใจออกทางปาก.
    เมื่อเราหายใจออกทางปาก ให้อ้าปากเล็กน้อยและปล่อยอากาศออกมาจากปากโดยใช้กะบังลมดันอากาศขึ้นและออกมา เราควรรู้สึกว่ากะบังลมตกลงขณะที่หายใจออก หยุดสักครู่หลังหายใจออกและสูดลมหายใจเข้าอีกครั้งเมื่อพร้อม
    • ลองหายใจลึกๆ วันละห้าถึงยี่สิบนาที่[6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้เทคนิคพิเศษเพื่อจะได้หายใจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหมัดขณะหายใจ.
    การกำหมัด ยื่นและงอแขนขณะหายใจสามารถช่วยเพิ่มการรับออกซิเจนและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด[7] ก่อนอื่นให้ยืนวางแขนแนบลำตัว
    • ขณะที่หายใจเข้า กำหมัดแน่นๆ และเริ่มยกแขนยื่นไปด้านหน้า
    • จากนั้นงอแขนเพื่อให้หมัดทั้งสองข้างเข้าหาไหล่ขณะหายใจออก
    • หายใจเข้าอีกครั้งและยื่นแขนไปด้านหน้าอีกครั้ง กำหมัดไว้
    • จากนั้นหายใจออก พร้อมงอแขนเพื่อให้หมัดทั้งสองข้างเข้าหาไหล่
    • ให้ทำท่านี้ซ้ำไปเรื่อยๆ เป็นเวลาหลายนาที
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถอนหายใจขณะที่หายใจออก.
    การถอนหายใจขณะที่หายใจออกสามารถช่วยให้เราผ่อนคลายได้ [8] ในการถอนหายใจขณะหายใจออกนั้นเราต้องสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูกและจากนั้นอ้าปากให้กว้างก่อนที่จะปล่อยลมหายใจออกมา ปล่อยลมหายใจออกทางปากโดยใช้แรงเล็กน้อย
    • ลองพูดว่า "อา" ขณะที่หายใจออก
    • ลองหายใจแบบนี้หลายๆ ครั้งเมื่อเราต้องการผ่อนคลาย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นึกภาพลมหายใจของตนเอง.
    การจินตนาการถึงหน้าตาลมหายใจของตนเองและบริเวณที่ลมหายใจนั้นอยู่สามารถช่วยให้เราผ่อนคลายมากขึ้นขณะที่หายใจ หลับตาก่อนเริ่มการหายใจแบบนี้ ให้นั่งหรือนอนในท่าที่สะดวก[9]
    • ขณะที่หายใจ ให้จินตนาการว่าอากาศที่เข้ามาในร่างกายเป็นสีขาวที่สว่างสดใส
    • จินตนาการว่าอากาศไหลเวียนไปทั่วทุกส่วนของร่างกายและนำพลังงานไปสู่แขนขาและอวัยวะต่างๆ ขณะที่เราหายใจเข้า
    • ขณะที่หายใจออก จินตนาการถึงอากาศสีดำออกจากร่างกาย โดยอากาศสีดำนั้นนำความล้าและพลังงานด้านลบออกไปด้วย
    • ฝึกหายใจแบบนี้ประมาณห้าถึงสิบนาที
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ฝึกการหายใจแบบห่อปาก.
    การหายใจแบบห่อปากสามารถช่วยให้เราหายใจช้าลง ทำให้จิตใจสงบ และผ่อนคลายขึ้นได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าตนเองหายใจลำบาก ลองหายใจโดยใช้เทคนิคนี้ดู[10]
    • ก่อนอื่นให้นั่งในท่าที่สบาย ถ้านั่งบนเก้าอี้ วางเท้าทั้งสองราบกับพื้น
    • ค่อยๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ จนกระทั่งนับถึงสอง
    • เราจะรู้สึกว่ากะบังลมขยายและท้องป่องขณะที่สูดลมหายใจเข้า เราอาจรู้สึกว่าซี่โครงค่อยๆ ขยาย
    • ห่อริมฝีปากเป็นรูปตัวโอ (O) ราวกับว่าตนเองกำลังจะเป่าเทียนให้ดับ
    • ผ่อนลมหายใจออกทางปากจนกระทั่งนับถึงสี่
    • ขณะที่หายใจโดยใช้วิธีนี้ เราสามารถเปลี่ยนแปลงการนับเพื่อเพิ่มระยะเวลาในการหายใจเข้าและหายใจออกทีละนิด
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พยายามหายใจอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพนิค....
    พยายามหายใจอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพนิค. หนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้ตนเองสงบลงก่อนที่จะเกิดอาการอาการแพนิคคือควบคุมการหายใจของตนเอง เราต้องค่อยๆ หายใจอย่างช้าๆ ยาวๆ ให้อากาศเข้าเต็มปอดส่วนล่าง จากนั้นให้อากาศเข้าเต็มปอดส่วนบน เมื่อปอดของเรามีอากาศอยู่เต็มแล้ว กลั้นลมหายใจจนกระทั่งนับถึงสาม จากนั้นค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกมาทางการห่อปาก[11]
    • ขณะที่หายใจออก พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อบนใบหน้า อก ขากรรไกร และไหล่ ให้เราเกร็งกล้ามเนื้อเหล่านี้ทีละกลุ่มแล้วจากนั้นค่อยคลาย
    • เราสามารถใช้เทคนิคการหายใจแบบนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่ตนเองเริ่มรู้สึกวิตกกังวล
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้การหายใจแบบ 7-11 เพื่อระงับอาการหายใจเร็วกว่าปกติ....
    ใช้การหายใจแบบ 7-11 เพื่อระงับอาการหายใจเร็วกว่าปกติ. การหายใจเร็วเกินไปหรือหายใจเร็วกว่าปกติบางครั้งก็คล้ายกับอาการหายใจน้อยเกินไป อาการทั้งสองเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคแพนิคหรือโรคกลัวการเข้าสังคม[12]
    • พยายามให้ตนเองกลับมาหายใจในอัตราเร็วปกติโดยใช้การหายใจแบบ 7-11 หลับตาและสูดลมหายใจเข้าทางจมูกจนกระทั่งนับถึงเจ็ด หยุดและจากนั้นผ่อนลมหายใจออกจนกระทั่งนับถึง 11 หยุดอีกครั้ง จากนั้นจึงเริ่มหายใจแบบนี้อีกรอบ
    • อาการหายใจเร็วกว่าปกติมักจะเกิดจากการหายใจด้วยอก ไม่หายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม การหายใจลึกๆ ช้าๆ โดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลมพร้อมกับการหายใจออกให้นานกว่าหายใจเข้าสามารถช่วยให้เรากลับมาหายใจตามปกติได้
    • การฝึกหายใจแบบนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลได้ทุกระดับ เราอาจเริ่มหายใจแบบนี้โดยไม่ทันคิดเมื่อเริ่มรู้สึกวิตกกังวลก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลดการสัมผัสสารระคายเคือง.
    ควัน ฝุ่น ไอสารเคมี และสารระคายเคืองอื่นๆ มีผลต่อการหายใจของเราได้ ถ้าเราสัมผัสสารพวกนี้บ่อยๆ ก็อาจมีผลต่อการหายใจของเราได้ เราสามารถลดการสัมผัสสารระคายเคืองได้ดังนี้[13]
    • ลดเวลาอยู่กลางแจ้งในตอนที่คุณภาพอากาศแย่ มลพิษทางอากาศนอกบ้านนั้นหนักกว่าในบ้าน
    • เลิกสูบบุหรี่ ถ้ายังเป็นนักสูบอยู่
    • ต้องให้ภายในบ้านมีอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าเราต้องใช้สารเคมีในการทำความสะอาด อย่าลืมเปิดหน้าต่างและพัดลมด้วย
    • ใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อเอาสารระคายเคืองที่อยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นและราออกไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้.
    สารก่อภูมิแพ้ทำให้เราหายใจได้ลำบากมากขึ้น อยู่ในที่ร่มในวันที่อากาศแห้ง แดดแรง เพราะมักจะเป็นช่วงที่มีสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณสูง และอยู่ข้างนอกหลังฝนตก หลีกเลี่ยงการทำงานที่กระตุ้นอาการภูมิแพ้ เช่น ดายหญ้า หรือดึงวัชพืช ใช้เครื่องอบผ้าให้แห้งแทนการตากผ้าในบริเวณที่เต็มไปด้วยละอองเกสรดอกไม้[14]
    • ในช่วงที่มีจำนวนละอองเกสรสูง ปิดประตูและหน้าต่าง เปิดเครื่องปรับอากาศและเครื่องลดความชื้น
    • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเช้าตรู่ เพราะจำนวนละอองเกสรมักจะสูงที่สุดในช่วงนี้
    • คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาลหรือโรคภูมิแพ้เรื้อรังอาจต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านโรคนี้
    • ถ้าเราแพ้สัตว์เลี้ยง ให้หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในที่สัตว์เลี้ยงอยู่หรือเคยอยู่ ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรองอากาศ HEPA ทำความสะอาดบริเวณที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ วิธีนี้อาจช่วยลดโอกาสที่จะหายใจได้ยากลำบากเพราะสัมผัสสะเก็ดผิวหนังสัตว์เลี้ยง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ออกกำลังกายเป็นประจำ.
    การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ปอดของเรามีความจุเพิ่มขึ้นและทำให้หายใจง่ายขึ้น แต่การเริ่มออกกำลังกายอาจเป็นเรื่องยาก ถ้าเราหายใจได้ยากลำบาก ปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้รู้วิธีออกกำลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับสมรรถภาพร่างกายในปัจจุบัน [15]เราอาจเริ่มออกกำลังกายด้วยการเดินระยะทางสั้นๆ รอบบ้านหรือแถวบ้านไปก่อนก็ได้
    • เราต้องหายใจอย่างถูกต้องในช่วงออกกำลังกาย การหายใจอย่างถูกต้องขณะที่ออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกล้ามเนื้อของเราจะยังคงได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ อย่ากลั้นลมหายใจขณะออกกำลังกาย
    • ถ้าเราเริ่มรู้สึกล้าตอนออกกำลังกาย ให้ดูที่การหายใจของตนเอง ถ้าเราหายใจไม่ถูกต้อง เราจะเหนื่อยเร็วมากขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พยายามทำให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่เสมอ.
    เราอาจหายใจได้ยากลำบาก หากมีอาการคัดจมูกหรือมีเสมหะในลำคอ พยายามทำให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่เสมอเพื่อทำให้การหายใจของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น[16]
    • สั่งน้ำมูกหรือถ่มน้ำลายเพื่อเอาสิ่งที่คั่งอยู่เล็กๆ น้อยๆ ออก
    • ถ้าเป็นหวัด ลองใช้วิคส์วาโปรับซึ่งมีส่วนผสมของการบูรทาบริเวณหน้าอกเพื่อช่วยในการทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น
    • เราอาจใช้ยาลดน้ำมูกด้วยก็ได้ หากมีอาการคัดจมูกหนักเนื่องจากเป็นหวัด
    • ปรึกษาแพทย์หากพบว่าทางเดินหายใจอุดกั้นเป็นประจำ เราอาจต้องได้รับยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อให้อาการนี้หายไป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลดน้ำหนัก...
    ลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักเกิน. การมีน้ำหนักเกินจะทำให้เราหายใจลำบากขึ้น[17] ถ้าเรามีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักลงไปบ้างอาจช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น ในการลดน้ำหนักเราจะต้องลดการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงและออกกำลังกายให้มากขึ้น
    • ไขมันส่วนเกินทั่วบริเวณหน้าท้องอาจเป็นสาเหตุให้หายใจลำบากได้เพราะไขมันไปดันกะบังลมและผนังทรวงอก อากาศจึงเต็มปอดได้ยากขึ้น
    • การมีนำหนักตัวเกินยังทำให้หายใจได้ลำบากเวลาออกกำลังกายอีกด้วย
    • ปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้วางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อความต้องการของตนเอง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ดูแลระบบภูมิคุ้มกันของตนเองให้แข็งแรง.
    การปล่อยให้ตนเองรู้สึกอ่อนเพลีย หรือ "เหนื่อย" โดยไม่ใส่ใจปัญหาที่อาจซ่อนอยู่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและเสียหายได้ การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม และให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอเป็นการดูแลระบบภูมิคุ้มกันของตนเองให้แข็งแรง[18]
    • อย่าสูบบุหรี่ ถ้าเราสูบบุหรี่ ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการเลิกให้ได้ อยู่ให้ห่างจากควันบุหรี่ (มือสอง) ด้วย
    • กินผลไม้ ผัก และธัญพืชเต็มเมล็ดมากๆ พยายามอย่ากินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และโซเดียม
    • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยหรือไม่ดื่มเลย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 หลีกเลี่ยงการขึ้นที่สูงมากๆ.
    ถ้าเราอยู่ในระดับความสูงเกินกว่า 1,524 เมตร เราจะสังเกตเห็นว่าตนเองหายใจได้ยากลำบาก ที่เป็นแบบนี้เพราะพื้นที่ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงมากมีออกซิเจนน้อย ร่างกายของเราจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นเป็นสองเท่าเพื่อให้เราได้รับออกซิเจนปริมาณเท่าเดิม จึงทำให้เกิดอาการป่วยจากการขึ้นที่สูง เช่น หายใจลำบาก วิงเวียน และเหนื่อย[19]
    • ร่างกายเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับการอยู่ที่สูงมากได้ภายในสองสามวัน ดื่มน้ำมากๆ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายจนกว่าร่างกายจะปรับตัวได้
    • ถ้าเรากำลังเดินทางไปบริเวณที่สูงมากๆ ปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการป่วยจากการขึ้นที่สูงให้
  8. How.com.vn ไท: Step 8 พบแพทย์หากเห็นว่าตนเองมีปัญหาหายใจลำบาก.
    ถ้าเราหายใจลำบากและไม่รู้สาเหตุ พบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [20]อาการหายใจลำบากอาจบ่งบอกว่าเรากำลังเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหืด แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยโรคและรักษาโรคที่เป็นอยู่นั้นให้หาย
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 8,848 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,848 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา