วิธีการ ดูแลให้แผลกัดลิ้นหายเร็ว

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยสักครั้งในชีวิต ที่เผลอกัดลิ้นตัวเองจนเป็นแผลเจ็บน่าดู บอกเลยว่าไม่มีวิธีไหนป้องกันไม่ให้คุณเผลอกัดลิ้นตัวเองได้ แต่บทความวิกิฮาวนี้จะมาแนะนำ 2 - 3 วิธีการดูแลแผลกัดลิ้นให้หายเป็นปลิดทิ้งแทน

สิ่งที่คุณควรรู้

  • กดลิ้นห้ามเลือด และลดอาการบวมด้วยการใช้น้ำแข็งประคบที่ลิ้น
  • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยฆ่าเชื้อและเร่งการฟื้นตัว
  • ทาเจลชาบริเวณแผลเพื่อบรรเทาอาการปวด และรับประทานยาแก้ปวดถ้าจำเป็น
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ปฐมพยาบาลทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือให้สะอาด.
    ก่อนจะแตะต้องอะไรในช่องปาก ให้เสียเวลาไม่เกิน 1 นาทีไปล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่กับน้ำอุ่น แต่ถ้าไม่สะดวก ก็ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือแทน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคถ่ายเทจากมือไปสู่ปากแผลที่ลิ้น จนแผลติดเชื้อได้[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กดห้ามเลือด.
    กัดลิ้นเมื่อไหร่ เลือดจะเริ่มไหลทะลักออกมาจากปากแผล เพราะแถวนั้นมีหลอดเลือดเยอะ ให้กดห้ามเลือดบริเวณนั้น เพื่อชะลอการไหลของเลือด ให้เลือดได้มีเวลาแข็งตัว จุดสำคัญคือต้องห้ามเลือดทันทีหลังกัดลิ้น[2]
    • ถ้าแผลอยู่บริเวณที่เข้าถึงง่าย ให้ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบที่แผลโดยตรง หรือจะอมน้ำแข็ง ดันไว้กับเพดานปาก แล้วใช้ลิ้นดุนก็ได้ ถ้าไม่เจ็บมากนัก ประคบไปมา ถ้าเย็นก็เอาลิ้นออกห่างบ้างแล้วค่อยดุนต่อ จนกระทั่งน้ำแข็งละลาย หรือจะห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดห้ามเลือดก็ได้[3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สำรวจแผล.
    อ้าปากกว้างๆ แล้วส่องกระจกดูแผลที่ลิ้น ถ้าเลือดหยุดแล้ว และแผลดูไม่ลึกมาก ก็ดูแลตัวเองต่อไปได้เลย แต่ถ้าเลือดไม่ยอมหยุดไหล ไหลเพิ่ม หรือแผลดูลึก แนะนำให้ไปหาหมอฟัน เผื่อต้องเย็บแผลขึ้นมา[4]
    • ถ้าเลือดทะลักจนน่ากลัวก็ต้องไปแผนกฉุกเฉิน โดยไปเอง ให้ใครพาไป หรือเรียกรถฉุกเฉิน/รถพยาบาล
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สำรวจหาอาการบาดเจ็บอื่นๆ.
    บางคนก็กัดลิ้นเพราะอุบัติเหตุตอนเล่นกีฬาหรือล้มกระแทก ให้ลองสำรวจทั่วปาก ว่ามีแผลที่อื่น มีฟันโยก หรือเหงือกเลือดไหลเพราะเศษฟันที่แตกไหม ลองอ้าปากขยับขากรรไกรขึ้นลงดูว่าปวดตรงไหนหรือเปล่า ถ้าตรงตามข้อใดข้อหนึ่งที่ว่ามา ให้ไปหาหมอหรือหมอฟัน[5]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ประคบเย็น.
    กัดลิ้นแล้วอาการที่มักตามมาคือลิ้นบวม ทำให้เผลอกัดซ้ำได้ง่ายๆ ให้หาอะไรเย็นๆ เช่น ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง มาประคบที่แผล โดยประคบค้างไว้ 1 นาที จนลิ้นเริ่มชาก็เอาออกได้ พอหายชาก็ทำซ้ำ อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งภายใน 2 - 3 วันต่อมา[6]
    • ถ้าเด็กกัดลิ้น ลองให้เด็กกินไอศครีมผลไม้แบบหวานเย็นแทนก็ได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กินยาแก้ปวด.
    เลือกยาแก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่แรงเกินไป เช่น Advil โดยกินให้เร็วที่สุดตามปริมาณที่แนะนำ จะช่วยลดบวมได้ เพื่อไม่ให้แผลทันปวด เพราะบอกเลยว่ากัดลิ้นแล้วแผลปวดบวมเร็วมาก[7]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ใช้น้ำยาบ้วนปาก.
    ถ้ามีน้ำยาบ้วนปากติดบ้าน ก็ให้รีบใช้ทันที เพื่อช่วยทำความสะอาดแผล ป้องกันการติดเชื้อ สำคัญมากโดยเฉพาะถ้าเผลอกัดลิ้นตอนกินอาหารอยู่ พอบ้วนแล้วถ้ามีเลือดออกมาด้วย ให้กลั้วซ้ำอีกครั้ง[8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

บ้วนปากเพื่อทำความสะอาดและรักษาแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ.
    ผสมน้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง (250 มล.) กับเกลือ 1 ช้อนชา (5 กรัม) แล้วใช้ช้อนคนให้เข้ากัน ใช้กลั้วประมาณ 15 - 20 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำตามนี้ได้มากถึง 3 ครั้งต่อวันจนแผลหายดี ถ้าบ้วนปากหลังอาหารทันทียิ่งเห็นผลดี[10]
    • เกลือจะช่วยฆ่าแบคทีเรียร้ายในปาก ทำให้แผลสะอาดขึ้น เสี่ยงติดเชื้อน้อยลง แถมยังมีสรรพคุณช่วยสมานแผล ทำให้แผลที่ลิ้นหายเร็วขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บ้วนปากด้วยยาลดกรด/ยาแก้แพ้.
    ให้ผสม diphenhydramine เช่น ยาน้ำแก้แพ้ Benadryl 1 ส่วน กับยาลดกรด (antacid) เช่น milk of magnesia 1 ส่วนจนเข้ากัน แล้วใช้กลั้วในปาก 1 นาทีจากนั้นบ้วนทิ้ง ให้บ้วนปากแบบนี้ 1 - 2 ครั้งต่อวัน[11]
    • ยาลดกรดก็ตามชื่อ คือจะไปควบคุมปริมาณของกรดในปาก ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนยาแก้แพ้จะช่วยลดการอักเสบ พอรวม 2 อย่างเข้าด้วยกัน เลยเกิดเป็น “miracle mouthwash” หรือน้ำยาบ้วนปากมหัศจรรย์ อย่างที่หลายคนเรียกกัน
    • ถ้าไม่ค่อยถูกโรคกับน้ำยาบ้วนปากสูตรนี้เท่าไหร่ จะเพิ่มความข้นหน่อยก็ได้ แล้วแต้มเป็น paste แทน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บ้วนปากด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และน้ำ.
    เทไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% (hydrogen peroxide 3%) กับน้ำในสัดส่วนที่เท่ากันลงในแก้วแล้วคนผสม จากนั้นกลั้ว 15 - 20 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ระวังอย่าเผลอกลืนลงไป ทำซ้ำตามนี้ได้มากถึง 4 ครั้งต่อวัน[12] Repeat this process up to 4 times daily.
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์นั้นเป็นยาฆ่าเชื้อที่ค่อนข้างแรง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่แผล และช่วยทำความสะอาด ขจัดเศษสิ่งสกปรกจากแผล เพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เซลล์ และช่วยห้ามเลือด
    • อย่างไรก็ตาม ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีผลให้เกิดการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน[13] ให้ใช้แบบอ่อน และกลั้วปากเพียงแป๊บเดียว
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ยังช่วยทำให้ฟันขาว แต่อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้น้ำยาบ้วนปากตามปกติ.
    Benzydamine hydrochloride, chlorhexidine gluconate 0.12% หรือน้ำยาบ้วนปากทั่วไปก็ใช้ได้หมด โดยบ้วนปากตามปริมาณที่แนะนำข้างขวด กลั้วประมาณ 15 - 30 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำตามนี้ทุกครั้งหลังอาหาร เศษอาหารจะได้ไม่ตกค้างที่แผล ทำให้แผลหายเร็ว ป้องกันการติดเชื้อ[14]
    • น้ำยาบ้วนปากทั่วไปใช้รักษาอาการบวม ระบมของลิ้นจากการบาดเจ็บได้ดี
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

บรรเทาและแก้อาการเจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประคบเย็นต่อไป.
    เอาน้ำแข็ง 2 - 3 ก้อนใส่ถุงซิปล็อค แล้วใช้ประคบแผลที่ลิ้นจนหายปวด หรือจะเอาผ้าเช็ดหน้าห่อถุงอีกทีก็ได้ ถ้าเย็นจัดเกินไป อีกวิธีคือดูดไอศครีมหวานเย็นหรือดื่มน้ำเย็นแทน แต่ต้องเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรด[15]
    • ถ้าแผลเปิดหรือเลือดออกซ้ำ วิธีนี้จะช่วยห้ามเลือดได้ แถมบรรเทาอาการปวดระหว่างรอแผลหาย
    • อดทนไว้ กว่าลิ้นจะหายดีอาจกินเวลาตั้งแต่สองสามวันไปจนถึงสองสามสัปดาห์หรือกว่านั้น ขึ้นกับว่าแผลร้ายแรงแค่ไหน ระหว่างนั้นควรเลี่ยงอาการรสจัด ร้อนหรือเย็นเกินไป และอาหารที่กรอบ ซึ่งอาจทำให้แผลระคายเคือง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ว่านหางจระเข้.
    คุณหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือบ้านใครปลูกก็ตัดใบมากรีดเก็บวุ้นว่านหางจระเข้ข้างในซะก่อน แล้วใช้ทาแผลไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน แต่จะเห็นผลดีสุดถ้าทาหลังบ้วนปากแล้ว และก่อนนอน[16]
    • ใช้ว่านหางจระเข้ถือเป็นการรักษาด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และต้านแบคทีเรียร้ายบางชนิด แต่ระวังอย่าเผลอกลืนวุ้นว่านหางจระเข้
    • หรือป้ายวุ้นว่านหางจระเข้ที่ผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อแล้ว แล้วใช้ปิดแผลก็ได้ จะออกฤทธิ์นานกว่า เพราะป้องกันไม่ให้น้ำลายเจือจางวุ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้เจลทาแผลในปาก.
    หาซื้อเจลฆ่าเชื้อที่ช่วยให้ชาได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่าง Orajel ก็เป็นหลอดเล็กๆ ใช้สะดวก แค่บีบเจลใส่คอตตอนบัดสะอาดๆ ประมาณเท่าเม็ดลูกปัด แล้วใช้แต้มที่แผลได้เลย ทาซ้ำได้ 2 - 4 ครั้งต่อวันจนหายดี[17]
    • หรือลองใช้ oral adhesive paste
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้เบคกิ้งโซดา.
    ผสมเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชากับน้ำจนเนียนเข้ากัน เอาคอตตอนบัดจุ่มในส่วนผสม แล้วทาบริเวณที่กัดลิ้น เบคกิ้งโซดาจะช่วยลดกรดและแบคทีเรีย แถมช่วยลดบวมและบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบ[18]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินน้ำผึ้ง.
    ตักน้ำผึ้งมา 1 ช้อนชา แล้วเลียจากช้อนหรือเอาไปหยดใส่แผลก็ได้ ทำซ้ำ 2 ครั้งต่อวัน น้ำผึ้งจะไปเคลือบทั่วปาก ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียร้ายสะสม[19] แต่ถ้าจะให้ดีไปกว่านั้น ให้ผสมโรยขมิ้นผสมไปหน่อย เพราะขมิ้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ทำให้แผลหายเร็วขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับน้ำผึ้งหรือยางผึ้ง (bee propolis)[20]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ทาแผลด้วย milk of magnesia.
    เอาคอตตอนบัดจุ่ม milk of magnesia ในขวด แล้วเอาไปทาแผล ทำซ้ำ 3 - 4 ครั้งต่อวัน ถ้าใช้หลังบ้วนปากจะยิ่งเห็นผล milk of magnesia เป็นยาลดกรด ใช้แล้วช่องปากจะเหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดี[21]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

กันไว้ดีกว่าแก้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปหาหมอฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง.
    [22] เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดกัดลิ้นขึ้นมาแล้วดูแลเองไม่ได้ ก็ต้องนัดพบหมอฟันเพิ่มเติม บางคนก็เป็นแผลในปากบ่อยกว่าคนอื่น เช่น คนที่ฟันคมเป็นพิเศษ หรือคนที่ฟันผุเยอะ จนฟันอาจแตกแล้วเกิดขอบคม เพราะงั้นถ้าหาหมอฟัน คุณหมอจะช่วยรักษาได้ถูกวิธี
    • เช่น ถ้าฟันเก ไม่เรียงตัวตามปกติ ก็อาจจะเผลอกัดลิ้นเป็นประจำ คุณหมอก็จะแนะนำวิธีการรักษาป้องกันตามแนวทางที่เหมาะสม
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เช็คว่าฟันปลอมแน่นดีหรือเปล่า.
    ใครใช้ฟันปลอมต้องแน่ใจว่าแนบสนิทไปกับเหงือก ไม่หลวมเกินไปหรือขยับได้ง่าย ที่สำคัญคือฟันปลอมต้องไม่มีขอบคม ถ้าไปหาหมอฟันก็จะตรวจเช็คให้แน่ใจว่าฟันปลอมแน่นดี ไม่ทำให้เผลอกัดลิ้นบ่อยๆ[23]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ระวังอาการระคายเคืองจากอุปกรณ์จัดฟัน.
    ถ้าคุณใส่เหล็กดัดฟัน ก็ต้องแน่นหนา พอดีกับปาก ไม่ขยับไปมา คุณหมอจะแนะนำเองว่าหลังจัดฟันแล้วจะขยับได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ถนัดจะได้ปรับแก้ ไม่หลวมจนเสี่ยงกัดลิ้น และจะมีขี้ผึ้งกลมๆ ไว้ป้องกันไม่ให้เหล็กดัดฟันแหลมๆ ทิ่มลิ้นได้[24]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้อุปกรณ์ป้องกันการกระแทก.
    ถ้าเล่นกีฬาเสี่ยงกระแทกปากและฟัน ก็ต้องใส่ฟันยางและ/หรือหมวกกันน็อค จะช่วยล็อคและป้องกันขากรรไกรจากแรงกระแทก เสี่ยงกัดลิ้นหรือเกิดการบาดเจ็บอื่นๆ น้อยลง[25]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รับมือกับโรคลมชักอย่างปลอดภัย.
    ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคลมชัก (epilepsy) ก็ต้องฝึกให้คนใกล้ชิดรู้วิธีรับมือเมื่อคุณเกิดอาการ ถ้าชักแล้วเอาอะไรงัดปาก จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี อาจทำให้กัดลิ้นกัดปากได้ แนะนำให้โทรเรียกรถพยาบาล แล้วพลิกตัวคุณนอนตะแคงจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง[26]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าปวดไม่ยอมหาย หรือแผลไม่ดีขึ้นทั้งๆ ที่ผ่านไปเป็นอาทิตย์ ถ้าแผลเริ่มส่งกลิ่น หรือคุณมีไข้ แนะนำให้หาหมอ/หมอฟันทันที[27]
  • รักษาสุขอนามัยในช่องปากให้ดีๆ แปรงฟัน 3 ครั้งต่อวันด้วยแปรงขนนุ่ม ระวังอย่าไปโดนจนระคายแผลได้
โฆษณา

คำเตือน

  • เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่าดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ (ทั้งยาสูบ ยาเส้น) เพราะจะทำให้แผลยิ่งระคายเคือง หายช้าขึ้น
  • อย่าเพิ่งกินอาหารร้อนจัดและ/หรืออาหารเผ็ด/เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพราะจะทำให้แผลระคายเคืองหรือเจ็บกว่าเดิม[28]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Alina Lane, DDS
ร่วมเขียน โดย:
ทันตแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Alina Lane, DDS. ดร. อลินา เลนเป็นทันตแพทย์ที่มีคลินิก All Smiles Dentistry ในนิวยอร์ก หลังจบด้านทันตแพทย์จากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ เธอได้ผ่านการฝึกงานด้านการดูแลรากฟันหนึ่งปีเต็มกับทางมหาวิทยาลัย และยังคงศึกษาเพิ่มเติมที่ศูนย์แพทย์วูดฮัลล์ที่เป็นศูนย์ย่อยของคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และได้เป็นแพทย์ฝึกหัดดีเด่นของทางศูนย์ในปี 2012-2013 บทความนี้ถูกเข้าชม 104,811 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 104,811 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา