วิธีการ บรรเทาอาการท้องผูก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ท้องผูกทีไรทำเอาเครียด บางทีก็ต้องนั่งเบ่งจนเจ็บไปหมด บทความวิกิฮาวนี้เลยจะมาแนะนำวิธีการแก้ท้องผูกแบบด่วนทันใจแบบไม่ต้องกินยา ส่วนใหญ่ที่เราท้องผูกก็เพราะขาดอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์นั่นเอง รวมถึงขาดน้ำ และขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอสม่ำเสมอ แต่บางทียารักษาโรคบางชนิดก็ทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน คุณแก้ท้องผูกได้รวดเร็วแบบไม่ต้องใช้ยา โดยปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต เท่านี้ก็กลับมาขับถ่ายสะดวกอย่างที่ควรจะเป็น แต่ถ้าท้องผูกหนักมากจนเกิดอาการเจ็บปวด ถึงขั้นเลือดไหล หรือท้องผูกเรื้อรัง ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาและการรักษาต่อไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

บรรเทาอาการเฉพาะหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดื่มน้ำมากขึ้น.
    สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการท้องผูก ก็คืออึแห้งและแข็งนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าดื่มน้ำเยอะๆ ก็ยิ่งทำให้ขับถ่ายง่ายสบายท้อง ยิ่งถ้าเราปรับเปลี่ยนอาหาร กินอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งต้องดื่มน้ำเยอะตามไปด้วย ไม่งั้นอาจขับถ่ายยากกว่าเดิม เพราะก้อนกากใยที่แน่นแข็ง[1]
    • ผู้ใหญ่เพศชายควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 13 แก้ว (3 ลิตร) ส่วนผู้ใหญ่เพศหญิงควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 9 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตรกว่าๆ) ขึ้นไป[2]
    • งดเครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ช่วงท้องผูก เพราะเครื่องดื่มคาเฟอีน อย่างกาแฟหรือน้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เลยทำให้ฉี่บ่อย ส่งผลให้ท้องผูกหนักกว่าเดิม[3]
    • แนะนำเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีประโยชน์ อย่างน้ำผลไม้ ซุปใส น้ำแกง (ไม่ใส่กะทิ) และน้ำสมุนไพร/ชาสมุนไพร ย้ำว่าให้หลีกเลี่ยงชาปกติที่มีคาเฟอีน น้ำลูกแพร์และน้ำแอปเปิ้ลก็เหมาะมาก เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ตามธรรมชาติ[4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ค่อยๆ เพิ่มกากใยในอาหารประจำวัน.
    ไฟเบอร์หรือกากใยจะทำให้อึดูดซับน้ำดีขึ้น ทำให้ขับถ่ายคล่อง ผู้ใหญ่เพศหญิงควรได้รับไฟเบอร์ประมาณ 20 - 25 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่เพศชาย ควรได้รับประมาณ 30 - 40 กรัมต่อวัน จะเลือกกินอาหารที่มีกากใยสูง หรือในรูปของอาหารเสริมก็ได้ แต่ระวังว่าอยู่ๆ ก็เพิ่มไฟเบอร์เยอะๆ อาจทำให้ท้องอืด เกิดแก๊สในกระเพาะได้ ให้ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนอาหารไปจะดีกว่า[5] เช่น ในแต่ละมื้อ ให้กินอาหารไฟเบอร์สูงอย่าง[6]
    • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่กับผลไม้อื่นๆ โดยเฉพาะพวกที่กินได้ทั้งเปลือก เช่น แอปเปิ้ลและองุ่น
    • ผักใบเขียวเข้ม อย่างคอลลาร์ด มัสตาร์ด และบีท รวมถึงสวิสชาร์ดด้วย
    • ผักอื่นๆ เช่น บรอคโคลี ปวยเล้ง แครอท กะหล่ำดอก ถั่วงอกบรัซเซลสเปราท์ อาร์ติโชก และถั่วแขก
    • ถั่วฝักและถั่วชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วลูกไก่ ถั่วปินโต ถั่วลิมา ถั่วขาว ถั่วขาวเมล็ดเล็ก รวมถึงถั่วเลนทิล และถั่วตาดำด้วย
    • ธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพดคั่ว ข้าวโอ๊ตบดหยาบ (steel-cut oats)และข้าวบาร์เล่ย์ รวมถึงขนมปังโฮลเกรน และซีเรียลไฟเบอร์สูงด้วย
    • เมล็ดพืชและถั่วเปลือกแข็ง อย่างเมล็ดฟักทอง งา เมล็ดทานตะวัน หรือเมล็ดลินิน (flax seeds) รวมถึงอัลมอนด์ วอลนัท และพีแคน

    คำเตือน: ไฟเบอร์ในรูปของอาหารเสริม อาจทำให้ร่างกายดูดซึมยารักษาโรคได้น้อยลง แนะนำให้กินยาอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมง ก่อนกินอาหารเสริม[7]

  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินลูกพรุน 1 หน่วยบริโภค แล้วรอ 2 - 3 ชั่วโมง.
    ลูกพรุน หรือจริงๆ แล้วก็คือลูกพลัมแห้ง เป็นของกินเล่นหวานอร่อยที่มีไฟเบอร์สูงมาก แถมมีซอร์บิทอล (sorbitol) น้ำตาลตามธรรมชาติ ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ โดย sorbitol นั้นมีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ถ่ายคล่อง ลดความเสี่ยงเกิดอาการท้องผูก[8]
    • ลูกพรุน 1 หน่วยบริโภค ก็คือลูกพรุน 3 ผล หรือประมาณ 30 กรัม
    • ถ้ารับไม่ค่อยได้กับลูกพรุนที่ดูเหี่ยวๆ แถมรสชาติแสนจะมีเอกลักษณ์ ให้เปลี่ยนไปดื่มน้ำลูกพรุนแก้วเล็กแทน แต่น้ำลูกพรุนก็จะไฟเบอร์น้อยกว่าลูกพรุนเป็นผลแน่นอน
    • พอกินลูกพรุน 1 หน่วยบริโภคแล้ว ก็ปล่อยให้ไหลไปตามทางเดินอาหารจนขับถ่าย แล้วค่อยกินเพิ่ม เพราะถ้ากินเยอะเกินไปในคราวเดียว จะท้องเสียแทน แต่ถ้ากินเป็น 2 - 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่าย ก็กินเพิ่มอีก 1 หน่วยบริโภคได้เลย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่ากินชีสและผลิตภัณฑ์นม.
    ชีสหรือเนยแข็ง และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ จะมีแลคโตส (lactose) ทำให้บางคนกินแล้วเกิดแก๊สในกระเพาะ ท้องอืด และท้องผูก ถ้ากินอาหารประเภทนี้แล้วทำคุณท้องผูก แนะนำให้งดกินชีส นม และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ไปก่อน จนกว่าจะอาการดีขึ้น แต่ถ้าปกติกินได้ ไม่มีปัญหาอะไร ก็เอาไว้หายท้องผูกแล้วค่อยกลับมากินทีละน้อย[9]
    • ผลิตภัณฑ์นมที่ว่า ยกเว้นอย่างเดียวที่กินได้คือโยเกิร์ต โดยเฉพาะโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์แบบมีชีวิต (live probiotics) เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์ อย่าง Bifidobacterium longum หรือ Bifidobacterium animalis ช่วยให้ขับถ่ายบ่อยขึ้น ไหลลื่น ไม่เกิดความเจ็บปวด[10]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินสารเพิ่มปริมาณ (bulking agents)...
    กินสารเพิ่มปริมาณ (bulking agents) เพื่อให้ขับถ่ายง่ายขึ้น. มีสมุนไพรฤทธิ์อ่อนหลายชนิด ที่ช่วยเพิ่มปริมาณและทำให้อึนิ่มขึ้น บรรเทาอาการท้องผูกได้ จะใช้อาหารเสริมในรูปของแคปซูล เม็ด หรือผงก็ได้ หาซื้อได้ตามร้านขายยาและอาหารเพื่อสุขภาพ บางทีก็มาในรูปของชาให้ชงดื่ม ให้กินสารเพิ่มปริมาณพวกนี้ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำเยอะๆ แต่ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมใหม่ๆ โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ หรือให้นมอยู่[11]
    • เทียนเกล็ดหอย (Psyllium) มีขายหลายรูปแบบด้วยกัน รวมถึงแบบผงและยาเม็ดเรียว (caplet) นอกจากนี้เทียนเกล็ดหอยยังเป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอย่าง Metamucil ด้วย ส่วนจะกินเท่าไหร่ ก็แล้วแต่คำแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ ต้องอ่านฉลากให้ละเอียด
    • ลองผสมเมล็ดลินินบด (flaxseed) 1 ช้อนโต๊ะ (7 กรัม) ในซีเรียลที่กินตอนเช้าๆ ดู เป็นวิธีเพิ่มไฟเบอร์และโอเมก้า-3 ในอาหารประจำวันง่ายๆ หรือจะผสมกับขนมอบอย่างมัฟฟินรำข้าว หรือจะโรยหน้าโยเกิร์ตเป็นท้อปปิ้งก็ได้
    • ลูกซัด (Fenugreek) เป็นพืชตระกูลถั่วที่อุดมไฟเบอร์ ถ้าเป็นอาหารเสริมมักอยู่ในรูปของแคปซูล แนะนำให้กินวันละ 1 เม็ด จะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ขับถ่ายลื่นไหลขึ้น แต่ยังไม่มีงานวิจัยมารับรองว่าลูกซัดปลอดภัยพอจะใช้ในหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงเด็กเล็กหรือเปล่า เพราะฉะนั้นให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริม[12]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 น้ำมันละหุ่งช่วยบรรเทาอาการเฉพาะหน้า.
    น้ำมันละหุ่งอาจจะรสไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็น่าจะดีพอควร เพราะเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ใช้แก้ท้องผูกกันมานาน โดยน้ำมันละหุ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จนสุดท้ายก็ขับถ่ายออกมา รวมถึงช่วยหล่อลื่นลำไส้ให้อึง่ายถ่ายคล่องยิ่งขึ้น[13]
    • ปริมาณน้ำมันละหุ่งที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ คือ 15 - 60 มล.[14] แต่ถ้าเพิ่งเคยใช้ ยังไม่ชิน จะลดปริมาณให้น้อยลงก็ได้ ปกติกินแล้วจะเห็นผลใน 2 - 3 ชั่วโมง แต่ถึงจะเห็นผลช้ากว่านั้น ก็ขอให้กินแค่โดสเดียวพอ
    • น้ำมันละหุ่งโดยทั่วไปก็ใช้ได้ปลอดภัย แต่ต้องในปริมาณที่แนะนำเท่านั้น ต้องหาหมอถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรือลำไส้อุดตัน และโดยเฉพาะถ้าตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้[15]
    • ถ้ากินเยอะเกินไป น้ำมันละหุ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ แต่เป็นเคสที่นานๆ เกิดขึ้นที เลยย้ำว่าต้องใช้ในปริมาณที่แนะนำเท่านั้น ผลข้างเคียงที่ว่าก็เช่น ปวดเกร็งในช่องท้อง วิงเวียน เป็นลม คลื่นไส้ ท้องเสีย ผื่นแพ้ผิวหนัง หายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก และลำคอตีบตัน ถ้าเผลอกินน้ำมันละหุ่งเกินขนาด ให้รีบเรียกรถพยาบาลหรือติดต่อศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา

    คำเตือน: น้ำมันปลาทำให้ท้องผูกได้ ถ้าคุณหมอไม่ได้จ่ายให้ หรือแนะนำให้ใช้ ไม่ควรกินน้ำมันปลาแบบอาหารเสริมเวลาท้องผูก[16]

  7. How.com.vn ไท: Step 7 กินอาหารเสริมแมกนีเซียม หรือยาระบายสูตรแมกนีเซียม....
    กินอาหารเสริมแมกนีเซียม หรือยาระบายสูตรแมกนีเซียม. แมกนีเซียมช่วยเพิ่มน้ำในลำไส้ ทำให้อึนิ่ม ถ่ายคล่อง แต่ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมแมกนีเซียม เพราะจะไปต้านกับยารักษาโรค อย่างยาปฏิชีวนะ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาความดันได้ นอกจากแหล่งแมกนีเซียมในอาหาร อย่างบรอคโคลีและพืชตระกูลถั่วแล้ว ยังมีอีกหลายแหล่งที่อุดมแมกนีเซียม เช่น[17]
    • ร่างกายจะได้รับแมกนีเซียม ถ้าเติมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt หรือ magnesium sulfate) 1 ช้อนชา (10 - 30 กรัม) ลงในน้ำ 6 - 8 ออนซ์ (180 - 240 มล.) แน่นอนว่ารสชาติเอาเรื่องอยู่ แต่ก็ช่วยแก้ท้องผูกได้ในไม่เกิน 30 นาที[18]
    • Magnesium citrate มีขายทั้งในรูปของยาเม็ดและยาน้ำแขวนตะกอน ให้กินในปริมาณที่แนะนำไว้ข้างฉลาก หรือตามที่เภสัชกรหรือคุณหมอสั่งเท่านั้น โดยดื่มน้ำ 1 แก้วเต็มๆ หลังกินยาแต่ละครั้ง
    • Magnesium hydroxide หรือ milk of magnesia ก็ช่วยแก้ท้องผูกได้ดี
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ใช้น้ำมันแร่ให้ถ่ายคล่องขึ้น.
    น้ำมันแร่เหลวจะทำให้มีชั้นฟิล์มมันๆ กันน้ำ เคลือบก้อนอึไว้ ทำให้กักเก็บน้ำไว้ข้างในได้มากขึ้น ลื่นไหลไปตามลำไส้ แค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ขับถ่ายสะดวก ปกติคุณหาซื้อน้ำมันแร่ได้ตามร้านขายยา โดยให้ผสมกับน้ำผลไม้หรือน้ำเย็น 8 ออนซ์ (240 มล.) จากนั้นดื่มเข้าไป ถ้าดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้แก้วที่ 2 ตามด้วยยิ่งดี[19]
    • ห้ามกินน้ำมันแร่ก่อนปรึกษาคุณหมอ ถ้าปกติมีโรคประจำตัว เช่น แพ้ยา/อาหาร ตั้งครรภ์อยู่ เคยหัวใจล้มเหลว เป็นไส้ติ่งอักเสบ มีปัญหาเรื่องการกลืน ปวดท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียน ถ่ายเป็นเลือด หรือไตมีปัญหา[20]
    • ห้ามใช้น้ำมันแร่กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ และไม่ควรใช้น้ำมันแร่เป็นประจำ เพราะจะทำให้ร่างกายไม่กระตุ้นการขับถ่ายตามธรรมชาติ ต้องพึ่งพาสรรพคุณยาระบายของน้ำมันแร่อยู่ตลอด นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค ไม่เพียงพอด้วย[21]
    • ห้ามกินน้ำมันแร่เกินปริมาณที่แนะนำ เพราะถ้ามากไปจะเกิดผลข้างเคียงอันตรายได้ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าเผลอกินเกินขนาด ให้รีบไปหาหมอ[22]
  9. How.com.vn ไท: Step 9 อย่าใช้ยาระบายหลายชนิดในวันเดียว.
    ต้องให้เวลายาระบายได้ออกฤทธิ์ ซึ่งบางทีก็อาจจะหลายชั่วโมงหรือนานกว่านั้น เลยสำคัญว่าห้ามกินยา สมุนไพร และอาหารเสริมที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายผสมกัน เพราะถ้าทุกอย่างออกฤทธิ์หมด จะเกิดอาการท้องเสียได้ ถ้าท้องเสียหนักเข้าก็เกิดภาวะขาดน้ำ[23]
    • แต่กินยาระบายได้ ถ้าเสริมกับการปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น อยู่ในช่วงงดผลิตภัณฑ์นม หรือเพิ่มไฟเบอร์
    • ให้ดื่มน้ำเยอะๆ ถ้ากินยาระบาย ป้องกันภาวะขาดน้ำ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เพิ่มโยเกิร์ตหรือของหมักของดองในมื้ออาหารประจำวัน....
    เพิ่มโยเกิร์ตหรือของหมักของดองในมื้ออาหารประจำวัน. ลองกินโยเกิร์ตวันละถ้วย ดูว่าช่วยเรื่องการขับถ่ายไหม โยเกิร์ตมี live bacterial cultures (แบคทีเรียที่มีชีวิต) ที่เรียกว่าโพรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งจะไปปรับสภาพระบบย่อยอาหารให้เหมาะสมแข็งแรง[24]
    • เขาว่าแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะไปปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์ microflora ในลำไส้ของเรา ช่วยร่นระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหารจนขับถ่ายออกมา
    • อ่านฉลากก่อนว่าโยเกิร์ตที่จะซื้อนั้นมี “active cultures” ของแบคทีเรียที่มีชีวิต ถ้าไม่มี live cultures กินโยเกิร์ตไปก็ไม่เห็นผล
    • อาหารหมักดองอื่นๆ ก็เช่น kombucha (ชาหมักด้วยน้ำตาล) กิมจิ คีเฟอร์ (นมหมัก) และซาวเออร์เคราท์ (กะหล่ำปลีดอง) ก็มีแบคทีเรียดีที่ช่วยเรื่องการย่อยอาหารและแก้ท้องผูก[25]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป.
    อาหารแปรรูปและฟาสต์ฟู้ด ถ้ากินเยอะๆ ก็ทำให้ท้องผูกเรื้อรังได้ เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง โดยเฉพาะคนที่ปกติก็ขับถ่ายไม่สะดวกอยู่แล้ว ที่เป็นแบบนี้เพราะอาหารประเภทนี้มักมีไขมันสูงแต่ไฟเบอร์ต่ำ แถมไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณท้องผูกก็เช่น[26]
    • ธัญพืชขัดสีหรือธัญพืชเติมแต่ง ขนมปังขาว ขนมอบ พาสต้าต่างๆ และซีเรียล มักใช้แป้งที่แทบไม่เหลือไฟเบอร์และคุณค่าทางอาหาร ให้เลือกธัญพืชเต็มเมล็ดแทน
    • ไส้กรอก เนื้อแดง และเนื้อกระป๋อง มักอุดมไปด้วยไขมันและเกลือ ให้เลือกเนื้อไขมันต่ำ อย่างปลา ไก่ และไก่งวงดีกว่า
    • มันฝรั่งทอด เฟรนช์ฟรายส์ และอื่นๆ ที่ใกล้เคียง นอกจากไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังแทบไม่มีไฟเบอร์ด้วย เลือกมันเทศอบหรือย่างแทนดีกว่า ไม่ก็ข้าวโพดที่คั่วด้วยลมร้อน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ออกกำลังกายเยอะๆ.
    ใครที่วันๆ ไม่ขยับตัว ก็ทำให้ลำไส้อ่อนแอได้ ขับถ่ายไม่สะดวกเป็นประจำ แค่เริ่มออกกำลังกายวันละ 10 - 15 นาที ก็ดีต่อร่างกายแล้ว[27]
    • ออกไปเดิน ว่ายน้ำ จ็อกกิ้ง และโยคะ เพื่อให้ร่างกายได้ขยับ ยืดเส้นยืดสาย ถึงจะไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนก็ทำได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าอั้นเมื่อปวดท้องต้องถ่าย.
    ถึงจะอยู่นอกบ้าน แต่ก็อย่าพยายามกลั้นอึเมื่อถึงเวลาต้องเข้าห้องน้ำ ถ้าปวดท้องขึ้นมาแล้วรอไปก่อน พอนั่งชักโครกจริงๆ ตอนหลัง ระวังจะอึไม่ออก[28]
    • คนเราจะมี "ความถี่" ในการขับถ่ายของตัวเอง เช่น คนส่วนใหญ่จะอึวันละ 1 - 2 ครั้ง ในขณะที่บางคนก็แค่อาทิตย์ละ 3 ครั้ง ขอแค่เป็นกิจวัตรประจำตัวที่ทำให้ร่างกายคุณสุขภาพดี รู้สึกดี ก็พอแล้ว ไม่ต้องกังวลเรื่องจำนวนครั้งที่ขับถ่าย[29]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่าใช้ยาระบายแบบกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้บ่อยเกินอาทิตย์ละ 2 -...
    อย่าใช้ยาระบายแบบกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้บ่อยเกินอาทิตย์ละ 2 - 3 ครั้ง. การใช้ยาระบายเยอะเกินไป โดยเฉพาะยาระบายกระตุ้น ร่างกายจะเสพติด จนไม่ยอมขับถ่ายเองตามธรรมชาติ ทีนี้ก็อาจจะท้องผูกเรื่อยๆ ที่สำคัญคืออย่าใช้ทุกวัน ถ้าคุณท้องผูกเรื้อรัง ลองรักษาจริงๆ จังๆ กับคุณหมอจะดีกว่า[30]
    • ถ้าใช้ยาระบายไปนานๆ จะทำให้ระดับอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุลด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เมื่อไหร่ควรหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ถ้าเจ็บปวดรุนแรงหรือเลือดออกปนมาตอนขับถ่าย ให้ไปโรงพยาบาลทันที....
    ถ้าเจ็บปวดรุนแรงหรือเลือดออกปนมาตอนขับถ่าย ให้ไปโรงพยาบาลทันที. ถ้าปวดท้องรุนแรง ปวดเกร็งในช่องท้อง หรืออึออกมามีเลือดปน หรือเป็นสีเข้มดำหนืดๆ ให้ไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกโรคหรืออาการร้ายแรง อย่างลำไส้ทะลุ พอคุณหมอรู้สาเหตุของอาการแล้ว ก็จะรักษาได้ตรงจุด ถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ ให้รีบหาหมอ หรือไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเลย[31]
    • เลือดออกทางทวารหนัก
    • ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดปน
    • ปวดท้องไม่หาย
    • ท้องอืด
    • ผายลมไม่ออก
    • อาเจียน
    • ปวดหลังส่วนล่าง
    • มีไข้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถ้าไม่ถ่ายมา 3 วัน ต้องรีบไปหาหมอ.
    เพราะอาจต้องใช้ยาระบายที่แรงกว่า ซึ่งเป็นยาที่คุณหมอสั่ง นอกจากนี้เพื่อให้คุณหมอตีวง หาโรคอันเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกด้วย[32]
    • อยู่ในมือหมอแล้วปลอดภัยกว่าซื้อยากินเองแน่นอน
    • ยาระบายจะเห็นผลในประมาณ 2 วัน แต่ก็ห้ามกินต่อเนื่องนานเกิน 1 อาทิตย์
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถ้าดูแลตัวเองแล้วอาการท้องผูกเรื้อรังไม่ยอมหาย ต้องไปหาหมอ....
    ถ้าดูแลตัวเองแล้วอาการท้องผูกเรื้อรังไม่ยอมหาย ต้องไปหาหมอ. ถ้าท้องผูกอาทิตย์ละหลายวัน ต่อเนื่องกัน 3 อาทิตย์ขึ้นไป ถือว่าเป็นอาการท้องผูกเรื้อรัง คุณหมอจะช่วยหาสาเหตุว่าทำไมถึงท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำการรักษาเพิ่มเติม เช่น จ่ายยาระบาย ให้ถ่ายคล่องขึ้น[33]
    • เล่าให้คุณหมอฟังว่าปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตยังไงบ้าง คุณหมอจะได้แนะนำบางอย่างแตกต่างออกไป ที่น่าจะช่วยแก้ท้องผูกได้

    เคล็ดลับ: ในบางเคส อาการท้องผูกเรื้อรังก็เกิดจากยาที่คุณใช้ เช่น ยาต้านเศร้า ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ ยาความดันบางตัว และยาแก้แพ้บางตัว ก็ทำให้ท้องผูกได้ ให้ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น ถ้าคิดว่าอาการท้องผูกเกิดจากยา[34]

  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาคุณหมอ ถ้าในครอบครัวมีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ตรง....
    ปรึกษาคุณหมอ ถ้าในครอบครัวมีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ตรง. ปกติแค่ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตแล้ว ก็น่าจะแก้ท้องผูกได้ในไม่นาน แต่ถึงไม่ได้มีปัญหาสุขภาพร้ายแรงอะไร ก็ควรเล่าประวัติสุขภาพให้คุณหมอฟัง จะได้วินิจฉัยได้ว่ามีสัญญาณบอกโรคร้ายแรงที่ต้องรักษาแต่เนิ่นๆ หรือเปล่า[35]
    • คุณหมออาจจะยังแนะนำให้คุณดูแลตัวเองต่อไปตามเดิม เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก แต่ถ้ามีอาการอะไรผิดแปลกออกไป ก็แนะนำให้มาหาหมอจะปลอดภัยที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลานั่งบนชักโครก ลองวางเท้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ แล้วชันเข่าดู จะช่วยให้ขับถ่ายสะดวกยิ่งขึ้น[36]
  • กินยาระบายแล้วคุณไม่มีทางกะเกณฑ์ได้ว่าจะออกฤทธิ์เมื่อไหร่ และขับถ่ายนานแค่ไหน เพราะฉะนั้นให้กินยาระบายตอนไม่มีธุระอะไร และห้องน้ำกำลังว่าง เข้าได้ทันที
โฆษณา

คำเตือน

  • ขอให้ใช้ยาหรือสมุนไพร ตามปริมาณที่แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • ปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนรักษาด้วยสมุนไพรหรือวิธีทางเลือก โดยเฉพาะถ้ามีโรคประจำตัว เพราะสมุนไพรหรืออาหารบางอย่าง จะไปมีผลกับยารักษาโรคและอาการของโรคประจำตัวได้
  • ห้ามใช้ยาระบายมากกว่า 1 ชนิดพร้อมกัน[37]
  • ถ้ากำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นม หรือคนที่มีปัญหาท้องผูกคือเด็กและเด็กแบเบาะ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนลองใช้วิธีการใดก็ตามในบทความวิกิฮาวนี้[38]
  • อย่ากินยาระบาย ถ้าปวดท้องรุนแรง อาเจียน หรือคลื่นไส้อยู่[39]
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3198021/
  2. https://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/Constipation/
  3. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1658077X15301065
  4. http://pennstatehershey.adam.com/content.aspx?productid=112&pid=33&gid=000041
  5. https://reference.medscape.com/drug/fleet-castor-oil-castor-oil-342010
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002768.htm
  7. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/omega-3-fatty-acids-fish-oil-alpha-linolenic-acid/safety/hrb-20059372
  8. http://pennstatehershey.adam.com/content.aspx?productid=112&pid=33&gid=000041
  9. https://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/fda/fdaDrugXsl.cfm?setid=8d0b341f-81b4-49a0-a712-1e0c79f778fc&type=display
  10. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/description/drg-20070683
  11. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/precautions/drg-20070683
  12. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/constipation/treatment.html
  13. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002684.htm
  14. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/dont-bomb-the-bowel-with-laxatives
  15. http://www.health.harvard.edu/blog/probiotics-may-ease-constipation-201408217377
  16. https://www.health.harvard.edu/blog/fermented-foods-for-better-gut-health-2018051613841
  17. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000120.htm
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/basics/treatment/con-20032773
  19. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/constipation-causes-and-prevention-tips
  20. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17791-frequent-bowel-movements?view=print
  21. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/by_the_way_doctor_is_it_okay_to_take_a_stool_softener_long-term
  22. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/gastrointestinal-bleeding/symptoms-causes
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000120.htm
  24. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/constipation/symptoms-causes
  25. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/what-to-do-when-medication-makes-you-constipated
  26. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/constipation/symptoms-causes
  27. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Treatment.aspx
  28. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/dont-bomb-the-bowel-with-laxatives
  29. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/dont-bomb-the-bowel-with-laxatives
  30. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000120.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Zora Degrandpre, ND
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์แนวธรรมชาติบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Zora Degrandpre, ND. ดร.เดกรองด์เปรเป็นแพทย์แนวธรรมชาติบำบัดที่มีใบอนุญาตในวอชิงตัน เธอได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยแห่งยาธรรมชาติแห่งชาติในปี 2007 บทความนี้ถูกเข้าชม 6,010 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบทางการแพทย์

เนื้อหาของบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาที่จะใช้ทดแทนคำแนะนำ การตรวจ วินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือมืออาชีพทางการดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเสมอ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้น เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดูแลสุขภาพไม่ว่าประเภทใด

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,010 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา