วิธีการ กำจัดคราบกาวของพลาสเตอร์ยา

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การแกะพลาสเตอร์ปิดแผลที่ติดเหนียวหนึบหนับกับผิวอาจสร้างความเจ็บแสบให้กับเราได้ แถมยังทิ้งคราบกาวยางที่น่ากวนใจให้อีกด้วย แต่อย่ากังวลไปเพราะวิธีกำจัดคราบกาวเหนียวหนึบหนับจากพลาสเตอร์ยามีหลายวิธี บางคนอาจใช้วิธีถูๆ ขูดๆ ให้กาวยางออกไป แต่วิธีนี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ เนื่องจากกาวแต่ละชนิดมีวิธีการกำจัดออกที่ต่างกัน ก็อย่าเพิ่งท้อแท้หากการพยายามกำจัดกาวในครั้งแรกของคุณไม่สำเร็จ ใช้เวลาและความพยายามอีกสักนิด กาวเหนียวที่มากวนใจคุณจะหมดไปอย่างแน่นอน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้วิธีการง่ายแสนง่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แช่ตัวในน้ำอุ่น.
    ความอบอุ่นและความชื้นจะช่วยให้กาวของพลาสเตอร์ยาอ่อนตัวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น [1] วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้บริเวณกาวนั้นชุ่มน้ำอุ่นได้ก็คือการอาบน้ำด้วยฝักบัวหรือแช่ตัวในอ่างอาบน้ำโดยใช้น้ำอุ่น กาวอาจจะหลุดออกมาเองหรืออาจจะต้องอาศัยการขัดออกเบาๆ ด้วยผ้าขนหนูหรือสำลีขัดที่มีเนื้อหยาบ
    • ถ้าไม่มีเวลาแช่น้ำอุ่นนานๆ ก็ใช้เทน้ำอุ่นใส่ชามแล้วใช้น้ำอุ่นชโลมตรงกาวให้ชุ่ม วิธีจะได้ผลที่ดีที่สุดถ้าทิ้งไว้ให้กาวชุ่มน้ำเป็นเวลานาน อาจจะใช้วิธีนี้ในขณะที่คุณอ่านหนังสือหรือดูทีวีไปพร้อมกันก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทาน้ำมัน.
    ใช้น้ำมันสำหรับทำอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก คาโนล่า น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันทานตะวัน น้ำมันเหล่านี้ช่วยให้กำจัดกาวได้ง่ายขึ้น เพราะกาวบางชนิดจะสลายตัวเมื่อเจอกับน้ำมัน บางชนิดคลายความเหนียวลงเพราะน้ำมันช่วยเข้าไปแทรกกลางระหว่างกาวกับผิวหนัง [2]
    • เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้ใช้ผ้านุ่มๆ หรือ สำลีก้านจุ่มน้ำมันแล้วถูเบาๆ ตรงกาว เพียงแค่เคลือบน้ำมันบางๆ ตรงที่มีกาวเท่านั้น ทิ้งไว้สักพักแล้วถูออกด้วยผ้าขนหนูหรือสำลีก้อน ทำอย่างนี้ซ้ำๆ จนกว่ากาวจะหลุดออก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้น้ำแข็ง.
    ใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งเกาะผิวหนังแล้วทิ้งไว้ตรงที่กาวติดอยู่ประมาณ 5 นาที น้ำแข็งจะทำให้กาวแข็งและเปราะมากขึ้น ซึ่งจะทำให้กาวหลุดออกได้ง่าย [3][4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้น้ำมันบำรุงผิวสำหรับเด็ก.
    น้ำมันบำรุงผิวสำหรับเด็กหรือเบบี้ออยล์ทำงานแบบเดียวกันกับน้ำมันสำหรับทำอาหาร กล่าวคือทำให้กาวสลายตัวหรือทำให้ความเหนียวของกาวหายไป แต่เบบี้ออยล์ดีกว่าน้ำมันทำอาหารตรงที่อ่อนโยนต่อผิว เหมาะมากสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย
    • เบบี้ออยล์ส่วนมากประกอบไปด้วยน้ำมันแร่ผสมกับกลิ่นน้ำหอมอ่อนๆ เราอาจจะใช้น้ำมันแร่เปล่าๆ แทนการใช้เบบี้ออยล์เลยก็ได้ เพราะส่วนใหญ่จะราคาถูกกว่าเบบี้ออยล์
    • สำหรับเด็กๆ เราอาจจะใช้สีผสมอาหารผสมกับเบบี้ออยล์แล้วทาลงไปบนกาวเหมือนการละเลงสีลงบนตัว น้ำมันจะช่วยทำให้กาวหลุดออก ส่วนสีผสมอาหารก็ทำให้เด็กๆ สนุกไปกับมัน [5]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้โลชั่น.
    โลชั่นส่วนมากประกอบไปด้วยน้ำมันหรือกรดไขมัน ซึ่งจะทำหน้าที่ไม่ต่างกับเบบี้ออยล์และน้ำมันทำอาหาร ทาโลชั่นเพียงเล็กน้อย ทิ้งไว้สักพัก แล้วถูกาวออกด้วยผ้าขนหนูหรือสำลีก้อน
    • ใช้โลชั่นไม่มีกลิ่นดีที่สุด. เนื่องจากสารเคมีจากน้ำหอมอาจทำให้ผิวระคายเคืองได้ [6]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ผ้าประคบร้อนร่วมกับเบบี้ออยล์ โลชั่นหรือน้ำมันทำอาหาร....
    ใช้ผ้าประคบร้อนร่วมกับเบบี้ออยล์ โลชั่นหรือน้ำมันทำอาหาร. ความร้อนจะช่วยให้กาวหลายชนิดของพลาสเตอร์ยาหลุดออกได้ง่ายขึ้น เราจึงควรใช้ความร้อนไปควบคู่กับของอย่างอื่น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและเร็วขึ้น การใช้น้ำอุ่นจะล้างน้ำมันหรือโลชั่นออกไปด้วย ดังนั้นจึงควรใช้ผ้าประคบร้อนแทน วิธีการทำผ้าประคบร้อนก็ไม่ยาก ทำตามวิธีด้านล่างได้เลย
    • ใส่ข้าวสารแห้งลงในถุงเท้า. มัดปากถุงเท้าไม่ให้ข้าวสารไหลออกมา นำถุงเท้าเข้าไมโครเวฟ อุ่นประมาณ 30 วินาทีจนอุ่น ไม่ร้อนจนเกินไป แล้วนำไปแปะบนบริเวณที่กาวติดอยู่ แล้วชโลมน้ำมันหรือโลชั่นให้ชุ่ม
    • ถ้าหากไม่อยากให้ถุงเท้าเปื้อนน้ำมันหรือโลชั่น สามารถนำผ้าวางรองระหว่างผ้าประคบร้อนกับผิวหนังได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ.
    ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ทุกคนต้องมีติดบ้านไว้ มีราคาย่อมเยาและหาซื้อได้ตามร้านขายของชำทั่วไป การใช้แอลกอฮอล์เหมาะมากสำหรับทำให้กาวหลายชนิดสลายตัว ใช้สำลีก้านหรือสำลีก้อนจุ่มแอลกอฮอล์ ทิ้งไว้ครู่หนึ่ง แล้วถูกาวออกเบาๆ
    • การใช้แอลกอฮอล์อาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคือง โดยเฉพาะกับบริเวณที่บอบบางอย่างใบหน้า จึงควรใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และให้เว้นช่วงเพื่อให้ผิวได้พักบ้าง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้น้ำยาล้างเล็บ.
    ส่วนประกอบหลักในน้ำยาล้างเล็บแทบทุกยี่ห้อได้แก่อะซิโทน อะซิโทนเป็นสารเคมีตัวทำละลายชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้กำจัดกาวหลายชนิด [7] ทาน้ำยาล้างเล็บลงบนกาว ทิ้งไว้สักครู่ แล้วถูออกเบาๆ
    • อะซิโทนอาจจะทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ง่ายเช่นเดียวกับการใช้แอลกอฮอล์ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
    • ถ้าสามารถหาซื้อสารอะซิโทนเปล่าๆ ได้ ก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นเดียวกับน้ำยาล้างเล็บ
    • ควรใช้อะซิโทนอย่างระมัดระวังเพราะเป็นสารติดไฟง่ายมาก และไม่ควรใช้ร่วมกับความร้อน [8]
    • อย่าใช้น้ำยาล้างเล็บที่ไม่มีส่วนประกอบของอะซิโทนเพราะผลิตภัณฑ์นั้นจะไม่มีสารทำละลายและไม่สามารถกำจัดกาวออกได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่.
    ผลิตภัณฑ์อย่างวาสลีนก็ทำมาจากปิโตรเลียมเจลลี่ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนน้ำมันหรือโลชั่น ช่วยกำจัดกาวออกจากผิวได้ จุดเด่นสำคัญของปิโตรเลียมเจลลี่คือเนื้อข้นมาก สามารถทาทิ้งไว้ได้ยาวนานกว่าน้ำมันหรือโลชั่น แต่ปิโตรเลียมเจลลี่ก็มาพร้อมกับความมันเหนียวหนึบสุดๆ วิธีใช้คือทาลงบทผิวที่กาวติดอยู่ ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วเช็ดออกด้วยผ้าขนหนูหรือกระดาษทิชชู่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้น้ำยาลบคราบกาว.
    [9] ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ได้รับการออกแบบให้เหมาะสำหรับกำจัดกาวที่ใช้กับพลาสเตอร์ยา มักมาในรูปแบบกระป๋องหรือมาเป็นแผ่น น้ำยาลบคราบกาวมีราคาแพงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดและหาค่อนข้างยาก แต่ก็ใช้งานได้ผลดีเยี่ยม
    • อาจจะซื้อน้ำยาลบคราบกาวได้ตามร้านขายยาทั่วไป. ถ้าหาซื้อตามร้านค้าไม่ได้ ให้สั่งซื้อออนไลน์ มีหลากหลายแบบให้เลือกและราคาแตกต่างกันไปตั้งแต่ 350-800 บาท [10]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หลังใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี ต้องล้างด้วยสบู่และน้ำเปล่า....
    หลังใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี ต้องล้างด้วยสบู่และน้ำเปล่า. ผลิตภัณฑ์มากมายเช่น แอลกอฮอล์ อะซิโทน และน้ำยาลบคราบกาวทั้งหลาย สามารถทำให้ผิวระคายเคือง หากสัมผัสกับผิวนานเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคือง จึงต้องล้างด้วยสบู่และน้ำเปล่าทุกครั้งหลังใช้งานผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเหล่านั้น
    • ถ้าไม่สามารถกำจัดคราบกาวออกได้หมดในครั้งเดียว ให้ทำซ้ำในวันถัดไปจะดีกว่า เพื่อพักให้ผิวได้ฟื้นตัวและแข็งแรง อาจผสมผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเข้ากับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใจเย็นๆ กาวจากพลาสเตอร์ยาสามารถหลุดออกเองตามธรรมชาติ เพียงแต่ต้องให้เวลามันสักหน่อย
  • แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคอาจจะมาในรูปแบบแผ่นเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน แอลกอฮอล์ชุบสำลีแผ่นเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามแผนกอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ห้างสรรพสินค้าใกล้บ้านคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • แอลกอฮอล์และน้ำยาล้างเล็บจะทำให้แสบหรือคันบริเวณที่มีแผลหรือบริเวณผิวแพ้ง่าย
  • แอลกอฮอล์อาจทำให้ผ้าบางชนิดด่างได้ ต้องใช้กับบริเวณผิวหนังที่มีคราบกาวติดเท่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Mohiba Tareen, MD
ร่วมเขียน โดย:
หมอผิวหนังที่มีใบรับรอง
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Mohiba Tareen, MD. โมฮิบา ทารีนเป็นหมอผิวหนังที่มีใบรับรองและเป็นผู้ก่อตั้ง Tareen Dermatology ในโรสวิลล์, เมเปิลวูดและฟาริโบต์ในมินนิโซตา ดร.ทารีนจบจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนแห่งแอนน์อาเบอร์ด้วยเกียรตินิยม และเคยเป็นแพทย์ผิวหนังประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก เธอได้รับรางวัลคอนราด สตริซเลอร์และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารแพทย์แห่งนิวอิงแลนด์ บทความนี้ถูกเข้าชม 153,396 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 153,396 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา