วิธีการ ปัสสาวะตอนที่ต้องการ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าต้องตรวจฉี่แต่ทำยังไงก็ฉี่ไม่ออก เพราะเป็นโรค "กระเพาะปัสสาวะขี้อาย" หรือก็คือฉี่ในที่สาธารณะไม่ค่อยได้ คุณก็อาจต้องทำทุกวิถีทางให้ประสบผลสำเร็จ การกินอาหารบางอย่างก็ช่วยได้ รวมถึงวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและจิตใจก็อาจจำเป็นเหมือนกัน อย่างไรก็ดีในบางกรณี เช่นตอนคุณเจ็บกระเพาะปัสสาวะ ก็อาจถึงขั้นต้องใช้ยารักษาแล้วล่ะ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

กระตุ้นให้อยากฉี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 โน้มตัวไปข้างหน้า.
    นั่งลงแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อเพิ่มแรงกดที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง ประมาณว่าจำลองเหตุการณ์เวลาลำไส้ใหญ่ทำงานตามธรรมชาติไงล่ะ พอกล้ามเนื้อเกร็งตัวก็จะไปกดกระเพาะปัสสาวะของเรา[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กดท้องน้อยช่วยนิดๆ.
    ระหว่างที่โน้มตัวไปข้างหน้า ให้เอาท่อนแขนของเราไปกดท้องน้อยช่วยด้วยนิดๆ แต่อย่าไปบีบกระเพาะปัสสาวะโดยตรงล่ะ เดี๋ยวฉี่จะไหลย้อนกลับไปที่ไตได้[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้นิ้วเคาะเบาๆ เหนือกระเพาะปัสสาวะ.
    ใช้นิ้วเคาะเบาๆ ซ้ำๆ ที่กระเพาะปัสสาวะ หรือก็คือใต้สะดือนั่นเอง เคาะให้เร็วกว่า 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีเล็กน้อย ทำซ้ำประมาณ 30 วินาที[3] จะลองขยับหาจุดที่คิดว่าทำแล้วได้ผลดูก็ได้ แล้วเคาะซ้ำแบบนั้นจนกว่าจะเริ่มฉี่สม่ำเสมอ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กระตุ้นตรงต้นขาหรือตรงที่ลับ.
    ลองลูบๆ ตรงต้นขาด้านในดู หรือจะดึงขนตรงที่ลับก็ได้ จะได้ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้อาหารและน้ำเป็นตัวช่วย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดื่มน้ำให้มากๆ.
    ถ้าต้องฉี่เพราะคุณหมอจะเอาไปตรวจ ให้รีบดื่มน้ำตุนไว้เยอะๆ ก่อนพบคุณหมอจะดีและปลอดภัยที่สุด
    • การดื่มน้ำเพิ่มขึ้นสักหน่อยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณ เพราะถ้าร่างกายรับน้ำเข้าไปมากเกินไป ไตของเราก็จะขับออกมาเป็นปัสสาวะ ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าคุณหมอนัดตรวจฉี่ ก็ให้ดื่มน้ำสักแก้วสองแก้วก่อนไปพบคุณหมอ
    • อย่างไรก็ดีถ้าคุณเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจวาย หรือมีอาการอื่นที่เสี่ยงเกิดการบวมน้ำ ก็อย่าเสี่ยงดื่มน้ำมากไปจะดีกว่า รวมถึงถ้าคุณมีความเสี่ยงเกิดไตวายแถมยังต้องฟอกไตเป็นประจำ ก็ไม่ควรดื่มน้ำในปริมาณมากเช่นกัน
    • ถ้าคุณไม่ได้มีปัญหาเรื่องฉี่ในที่สาธารณะไม่ค่อยได้ละก็ อย่ากังวลไปเลย แค่ดื่มน้ำแก้วใหญ่ๆ สักแก้วก่อนไปพบคุณหมอ ก็จะฉี่ง่ายหายห่วงแล้วล่ะ[4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลองกินผลไม้บางชนิดดู.
    ผลไม้บางชนิดนั้นมีคุณสมบัติขับปัสสาวะได้ หรือก็คือกระตุ้นการสร้างปัสสาวะในไต ทำให้เราฉี่บ่อยกว่าปกติไงล่ะ[5] มีผลไม้หลายชนิดทีเดียวที่มีสารขับปัสสาวะตามธรรมชาติ
    • พวกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวนี่แหละที่ทำให้คุณฉี่บ่อยดีนัก โดยเฉพาะพวกมะนาวหรือเลม่อน แถมกินเป็นประจำยังช่วยลดความดัน และลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ด้วย[6]
    • แตงโม หรือ Watermelon ก็ตรงตามชื่อเลย คือเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำ การกินแตงโมเลยช่วยได้เยอะเรื่องกระตุ้นให้ปวดฉี่[7]
    • พวกน้ำผลไม้ อย่างน้ำส้มสายชูหมักจากผลแอปเปิ้ล (apple cider vinegar) หรือน้ำแครนเบอร์รี่ ก็มีสารขับปัสสาวะเช่นกัน เพราะฉะนั้นจะดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ก่อนไปพบคุณหมอ หรือจะใช้น้ำสลัดที่มีน้ำส้มสายชูหมักจากผลแอปเปิ้ลเป็นส่วนผสมก็ได้เหมือนกัน[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สมุนไพรบางชนิดก็ช่วยได้.
    สมุนไพรบางชนิดช่วยขับปัสสาวะ ใช้แล้วก็ทำให้ปวดฉี่ได้ชะงัดนักแหละ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มากินผักบางชนิดกันดีกว่า.
    ไม่ได้มีแต่ผลไม้กับสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ ผักบางชนิดก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน
    • แตงกวากับขึ้นฉ่ายนั้นเป็นผักที่ฉ่ำน้ำ ซึ่งถ้ากินเข้าไปมากๆ ก็ช่วยให้คุณปวดฉี่ได้เหมือนกัน[13]
    • แครอทนี่แหละกินแทนของว่างได้เลย และอาจทำให้คุณปวดฉี่ได้ง่ายๆ เหมือนกัน ลองกินแครอทหรือเบบี้แครอทสักถ้วยนึงก่อนถึงเวลานัดตรวจฉี่ ก็น่าจะช่วยได้เหมือนกัน[14]
    • กะหล่ำปลีก็เหมือนกับแตงกวา คือเป็นผักที่มีน้ำมาก กินแล้วช่วยให้ฉี่ได้เหมือนกัน[15]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดื่มชากับกาแฟก็น่าสน.
    ชาและกาแฟนี่แหละดื่มแล้วปวดฉี่ดีนัก เพราะงั้นจะดื่มชาเขียวหรือกาแฟดำสักถ้วยก่อนตรวจฉี่ก็ดีเหมือนกัน แต่ก็ต้องระวังเรื่องคาเฟอีนเยอะเกินไปล่ะ โดยเฉพาะก่อนตรวจน่ะ เพราะคาเฟอีนจะไปทำให้ความดันคุณพุ่งแทน (ชั่วคราว) เดี๋ยวผลตรวจจะออกมาผิดพลาดเอา [16]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แก้อาการท้องผูกก่อน.
    ใครถ่ายยาก ถ่ายแข็งเกินไป ก็ไปกดกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะได้เหมือนกัน ทำให้ฉี่ยากน่าดู[17] ลองกินอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น หมั่นออกกำลังกาย แล้วอย่าลืมไปหาหมอถ้าอาการท้องผูกของคุณยังไม่ทุเลา
    • ถ้าปวดท้องต้องไปถ่ายทันที ถ้าชอบกั๊ก เดี๋ยวจะหนักไปกว่าเดิม
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เอาชนะโรคกลัวการฉี่ในที่สาธารณะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ฝึกคลายเครียดด้วยการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ....
    ฝึกคลายเครียดด้วยการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ. หลายคนประสบปัญหาไม่ค่อยกล้าฉี่ในที่สาธารณะ ถ้าคุณก็เป็นแบบนี้ ให้ลองฝึกผ่อนคลายดู จะได้สงบจิตใจจนกล้าใช้ห้องน้ำสาธารณะ
    • ถ้าคุณเอาใจออกห่าง ไม่กังวลกับเรื่องฉี่ได้ ร่างกายก็จะผ่อนคลายจนทำงานไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งการผ่อนคลายด้วยการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อนี่แหละช่วยได้เยอะเลย[18]
    • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลายจุดในคราวเดียว เริ่มจากคลายกล้ามเนื้อที่ไหล่และต้นคอ จากนั้นย้ายไปบริหารที่แขน ลำตัว และสะโพก ทำต่อไปจนถึงขาและแข้ง ให้มุ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อแต่ละจุดเวลาบริหาร อย่าไปคิดว่าตอนนี้กำลังฉี่ในที่สาธารณะอยู่ แบบนี้คุณก็จะผ่อนคลาย ฉี่อย่างสบายใจ ไม่เป็นการบังคับตัวเองจนเกินไป[19]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาวิธีดึงความสนใจ.
    ก็เหมือนเทคนิคการผ่อนคลาย คุณต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปจากการฉี่ ทุกอย่างจะได้ลื่นไหลไปตามธรรมชาติ เพราะงั้นลองหันเหความสนใจไปที่อื่นดู ทุกครั้งที่ต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะขึ้นมา
    • ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟน ก็เปิดอ่านข่าว อ่านไลน์ เล่น FB หรือเปิดเพลงเสียบหูฟังไปซะ จะได้ไม่เครียดเวลาฉี่[20]
    • หรือจะเหม่อ ใจลอยไปถึงไหนต่อไหนก็ได้ ลองนึกถึงภาพ เสียง คำพูด หรือเพลงระหว่างฉี่ดู เช่น จินตนาการว่าคุณอยู่ที่ไหนสักแห่งที่ทำให้สงบสบายใจ ประมาณว่าห้องนอนสมัยเด็ก หรือจะร้องเพลงในใจก็ได้ อะไรที่ดึงความสนใจคุณไปจากห้องน้ำนั่นแหละ[21]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กลั้นหายใจ.
    การกลั้นหายใจเป็นการเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเครียดให้คุณได้
    • หายใจออกอย่าให้สุด สัก 75% ก่อนที่จะกลั้นหายใจต่อไป พยายามกลั้นไว้ให้ได้สัก 45 วินาที[22]
    • ทำซ้ำสักพัก แล้วดูว่าได้ผลหรือเปล่า บางคนเขาก็ว่าทำเอาเครียดกว่าเดิม เพราะงั้นจะดีกว่าถ้าคุณลองฝึกอยู่บ้านก่อน แล้วถ้าได้ผลค่อยเอาไปใช้ตามห้องน้ำสาธารณะจริงๆ[23]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญการบำบัดจิต.
    ถ้าคุณเครียดเรื่องใช้ห้องน้ำสาธารณะหนักข้อเข้าทุกวัน จนเริ่มส่งผลต่อเรื่องงานหรือความสัมพันธ์ เราแนะนำให้รีบไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาจะดีกว่า
    • พฤติกรรมกลัวการฉี่ในที่สาธารณะนั้นพบว่ารักษาได้ผลดีด้วยวิธีแบบพฤติกรรมบำบัด รวมถึงการใช้ยา และการสะกดจิต จิตแพทย์จะช่วยหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคุณเอง โดยอาศัยประวัติการรักษาเดิมจากหมอประจำตัวของคุณ[24]
    • คุณควรปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อน เพื่อค้นหาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่เหมาะสมกับคุณ หรืออาจสอบถามขอคำปรึกษาด้วยตัวเองตามโรงพยาบาลใกล้บ้านหรือค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตร่วมด้วยก็ได้ ถ้าคุณยังเป็นนักเรียนนักศึกษา ให้ลองปรึกษาอาจารย์ที่คุณเคารพและไว้ใจ หรือลองสอบถามกับทางมหาวิทยาลัยดูก็ได้ว่ามีบริการทางการแพทย์ด้านนี้โดยเฉพาะหรือเปล่า
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นัดพบแพทย์.
    ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการฉี่จนเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาคุณหมอประจำตัวของคุณโดยด่วน จะได้รู้แต่เนิ่นๆ ว่ามาจากสาเหตุอะไร
    • อาจต้องมีการตรวจสุขภาพและการทดสอบต่างๆ ทางการแพทย์เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้ชาย ก็คงต้องมีการตรวจต่อมลูกหมากกันก่อนเลย[25]
    • ถ้าคุณหมอคิดว่าควรตรวจฉี่ร่วมด้วย ก็อาจต้องมีการใช้ท่อสวนปัสสาวะ โดยสอดสายผ่านทางท่อปัสสาวะที่ต่อไว้กับถุงรอง[26]
    • อาจมีการตรวจเลือดด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาอาการติดเชื้อ[27]
    • ส่วนจะรักษายังไงนั้นก็ต้องรู้สาเหตุที่ทำให้คุณมีปัญหากับการฉี่ซะก่อน แต่ก็อาจมีการจ่ายยาเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการ[28]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รีบรักษาโดยด่วน ถ้าจำเป็น.
    ถ้าคุณฉี่ไม่ได้ก็ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องรับการแก้ไขโดยด่วนเลยล่ะ ถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปพบคุณหมอในแผนกฉุกเฉินเลยจะดีกว่า
    • ถ้าคุณมีอาการเสียดหรือเจ็บปวดในท้องหรือกระเพาะปัสสาวะ ก็แปลว่าอาจมีการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะแบบร้ายแรง ให้พบแพทย์ด่วน เพราะจะได้รักษาด้วยการสวนปัสสาวะ[29]
    • ถ้าอยู่ๆ ก็ฉี่ไม่ออกแถมมีอาการเจ็บหรือปวดร่วมด้วย นั่นแหละอันตราย เพราะอาจมีการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะหรือไต ซึ่งต้องรีบรักษาโดยด่วน ยิ่งไปถึงมือหมอเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี[30]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลองรักษาด้วยยา.
    มียาหลายขนานด้วยกันที่ใช้รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะ ลองสอบถามคุณหมอประจำตัวคุณดูว่าต้องใช้ยาอะไร
    • Alpha receptor blocker เป็นหนึ่งในยาที่นิยมใช้รักษาอาการในกระเพาะปัสสาวะ โดยจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ และกำจัดอะไรก็ตามที่ไปกีดขวางการถ่ายเทของปัสสาวะ ยานี้มักใช้ในคนที่ประสบปัญหาเรื่องการฉี่แบบระยะยาว โดยเฉพาะผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต[31]
    • ยาจำพวกนี้รวมถึง 5-alpha-reductase inhibitors หรือ ยาลดขนาดต่อมลูกหมาก รวมถึง antimuscarinic หรือยาที่ใช้รักษาโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วย
    • 5-alpha reductase inhibitors จะไปลดขนาดต่อมลูกหมาก เพราะฉะนั้นมักจ่ายให้คนไข้ผู้ชายเท่านั้น โดยอาจต้องใช้ต่อเนื่องหลายอาทิตย์หรือกระทั่งหลายเดือน ขึ้นอยู่กับว่าต่อมลูกหมากจะลดขนาดลงเมื่อไหร่[32]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ให้หมอวินิจฉัยว่าอะไรคือสาเหตุ.
    ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องฉี่ไม่ออก ก็แสดงว่าร่างกายคุณต้องมีอะไรผิดปกติสักอย่าง หมออาจจะต้องตรวจร่างกายคุณโดยละเอียด รวมถึงการตรวจฉี่ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ และฉี่ของคุณนั้นเป็นปกติดี
    • ถ้าคุณเป็นผู้ชายแล้วมีปัญหาเรื่องการฉี่ อาจมีสาเหตุจากโรคกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ซึ่งพอตรวจร่างกายอาจพบว่าต่อมลูกหมากโตกว่าปกติ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกลั้นปัสสาวะไม่ได้ก็รวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ยิ่งคุณแก่ตัวลง ก็ยิ่งมีปัญหาเวลาเข้าห้องน้ำมากขึ้นเท่านั้น
    • โรคต่อมลูกหมากก็เป็นสาเหตุหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่เคยฉายแสงหรือผ่าตัดต่อมลูกหมากมาก่อน
    • อาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะนั้นอาจส่งผลต่อการฉี่ของคุณ เพราะอาจติดเชื้อจนเกิดแผลเป็น ท่อปัสสาวะตีบ หรือเป็นฝีจนเกิดรูทะลุได้
    • แต่ทั้งนี้ ข้อจำกัดอื่นๆ ทางร่างกายก็เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาเรื่องการฉี่ของคุณได้เช่นกัน
    • โรคทางสมองก็เป็นอีกสาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะที่ทำให้คุณฉี่ไม่ออกได้ เช่น โรคในระบบประสาทส่วนกลางและไขสันหลัง โรคหลอดเลือดสมอง หรือความจำเสื่อม
    • ปัจจัยอื่นๆ ก็เช่น โรคเบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคซึมเศร้า รวมถึงอาการท้องผูก เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ควรปรึกษาคุณหมอประจำตัวหรือแพทย์เฉพาะทางเรื่องโรคกระเพาะปัสสาวะเมื่อคุณประสบปัญหาเรื่องการฉี่
  • ถ้าอาการเรื้อรัง ให้จดบันทึกทุกครั้งที่เกิดปัญหา โดยจดว่าใน 1 วันนั้นคุณเข้าห้องน้ำกี่ครั้ง และฉี่ปกติหรือไม่ปกติกี่ครั้ง อย่าลืมจดด้วยถ้าระหว่างวันคุณกลั้นฉี่ไม่ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณมีอาการร้ายแรงถึงขั้นที่เรียกว่า urinary retention หรือปัสสาวะไม่ออก ควรพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษาฉุกเฉินด้วยการสวนท่อปัสสาวะ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
โฆษณา
  1. https://unitproj.library.ucla.edu/biomed/spice/index.cfm?spicefilename=medspice.txt&itemsuppress=yes&displayswitch=0
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2056760
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/expert-answers/water-retention/faq-20058063
  4. http://www.nlda.org/10-natural-diuretic-foods-to-lose-weight-and-lower-blood-pressure/
  5. http://www.nlda.org/10-natural-diuretic-foods-to-lose-weight-and-lower-blood-pressure/
  6. http://www.nlda.org/10-natural-diuretic-foods-to-lose-weight-and-lower-blood-pressure/
  7. http://www.emedicinehealth.com/frequent_urination/page2_em.htm
  8. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/urologic-disease/urinary-retention/Pages/facts.aspx
  9. http://www.shybladdersyndrome.org/shy-bladder-tips-that-help-to-defeat-the-syndrome/5-ways-to-help-you-overcome-shy-bladder-that-you-must-try/
  10. http://www.shybladdersyndrome.org/shy-bladder-tips-that-help-to-defeat-the-syndrome/5-ways-to-help-you-overcome-shy-bladder-that-you-must-try/
  11. http://www.shybladdersyndrome.org/shy-bladder-tips-that-help-to-defeat-the-syndrome/5-ways-to-help-you-overcome-shy-bladder-that-you-must-try/
  12. http://www.shybladdersyndrome.org/shy-bladder-tips-that-help-to-defeat-the-syndrome/5-ways-to-help-you-overcome-shy-bladder-that-you-must-try/
  13. http://www.shybladdersyndrome.org/shy-bladder-tips-that-help-to-defeat-the-syndrome/5-ways-to-help-you-overcome-shy-bladder-that-you-must-try/
  14. http://www.shybladdersyndrome.org/shy-bladder-tips-that-help-to-defeat-the-syndrome/5-ways-to-help-you-overcome-shy-bladder-that-you-must-try/
  15. http://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/paruresis-(urinating-in-public)/diagnosis-and-treatment
  16. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page5_em.htm#exams_and_tests
  17. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page5_em.htm#exams_and_tests
  18. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page5_em.htm#exams_and_tests
  19. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page5_em.htm#exams_and_tests
  20. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page7_em.htm#treatment_for_inability_to_urinate
  21. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page7_em.htm#treatment_for_inability_to_urinate
  22. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page8_em.htm#medications
  23. http://www.emedicinehealth.com/inability_to_urinate/page8_em.htm#medications

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Chris M. Matsko, MD
ร่วมเขียน โดย:
อายุรแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Chris M. Matsko, MD. ดร.แมทสโกเป็นแพทย์เกษียณในเพนซิลเวเนีย เขาได้รับปริญญาจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทมเพิลในปี 2007 บทความนี้ถูกเข้าชม 153,508 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 153,508 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา