ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การทดสอบ ESR (erythrocyte sedimentation rate) คือการหาอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง ซึ่งจะบอกได้ว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ วิธีการคือทดสอบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงตกลงไปก้นหลอดทดลองที่บางมากๆ ได้เร็วแค่ไหน ถ้าค่า ESR ค่อนข้างสูงหน่อย ก็เป็นไปได้ว่ามีการอักเสบเจ็บปวดที่ต้องการบรรเทา ให้รักษาอาการอักเสบนี้โดยเปลี่ยนแปลงอาหารและออกกำลังกาย รวมถึงไปหาหมอตรวจเช็คร่างกายว่าค่า ESR เพิ่มขึ้นหรือสูงเพราะโรคอะไรหรือเปล่า แนะนำให้ตรวจค่า ESR เรื่อยๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ลดการอักเสบและค่า ESR ด้วยอาหารและการออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ถ้าเป็นไปได้ให้ออกกำลังกายหนักๆ เป็นประจำ.
    ต้องพยายามมากหน่อย ถึงจะออกกำลังกายแบบหนักๆ (แรงเร็ว) ได้ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือกิจกรรมไหน ต้องทำแล้วเหงื่อออก หัวใจเต้นแรงเร็ว และบ่นในใจว่า “โหย เหนื่อยอะ!” ให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้งขึ้นไป[1] การออกกำลังกายประเภทนี้เขาพิสูจน์กันมาแล้วว่าช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกกำลังกายเบาๆ หรือหนักปานกลางแทน.
    ถ้าเป็นมือใหม่หัดออกกำลังกาย หรือมีโรคประจำตัวที่ออกแรงหนักมากไม่ได้ ให้เปลี่ยนเป็นออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อย 30 นาทีแทน ถึงจะออกแค่นิดๆ หน่อยๆ ต่อวัน ก็ช่วยลดการอักเสบได้ ดีกว่าอยู่เฉยๆ[4] ให้ผลักดันตัวเองจนถึงจุดที่รู้สึกว่า “โอเค ก็เหนื่อยนะ แต่ไม่เหนื่อยขนาดนั้น”[5]
    • เดินเร็วแถวบ้าน หรือเข้าคลาสแอโรบิกใต้น้ำ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกโยคะนิทรา 30 นาทีต่อวัน.
    โยคะนิทรา (Yoga nidra) ก็คือโยคะประเภทหนึ่งที่เข้าสู่ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ มีอย่างน้อย 1 งานวิจัยที่ชี้ว่าฝึกโยคะนิทราแล้วช่วยลดค่า ESR ได้อย่างเห็นได้ชัด ขั้นตอนการฝึกโยคะนิทราก็คือ[6]
    • นอนหงายราบไปกับเสื่อโยคะ หรือพื้นราบที่นอนได้สบาย
    • ฟังคำแนะนำของครูสอนโยคะ (ดาวน์โหลดแอพหรือเปิดคลิปใน Youtube แทนก็ได้ ถ้าไม่สะดวกไปฟิตเนสหรือจ้างครูสอนโยคะส่วนตัว)
    • หายใจเข้าและออก ให้รู้สึกว่าลมผ่านเข้าและออกร่างกายตามธรรมชาติ[7]
    • ระหว่างนี้อย่าขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว
    • ปล่อยใจให้ลอยไปจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มีสติแต่ไม่ต้องตั้งสมาธิจดจ่อ
    • ให้ถึงจุดที่ “นอนหลับแบบยังมีสติรู้ตัว”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรืออาหารหวานๆ.
    เพราะมีคอเลสเตอรอลประเภทที่อันตราย (LDL) ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้[8] พออักเสบ ค่า ESR ก็สูงขึ้น ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือพวกเฟรนช์ฟรายส์และของทอดต่างๆ ขนมปังขาว เบเกอรี่ น้ำอัดลม เนื้อแดง เนื้อแปรรูป และมาการีนหรือน้ำมันหมู[9]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เน้นผัก ผลไม้ ถั่ว และน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ.
    ทั้งหมดนี้เป็นอาหารดีมีประโยชน์ รวมถึงเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ อย่างไก่และปลา นอกจากนี้ยังมีผัก ผลไม้ และน้ำมันที่กินแล้วต้านการอักเสบโดยเฉพาะ แนะนำให้กินหลายๆ ครั้งต่ออาทิตย์ อาหารที่ว่าก็เช่น[10]
    • มะเขือเทศ
    • สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ และ/หรือส้ม
    • ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง เคล และคะน้า
    • อัลมอนด์ และ/หรือวอลนัท
    • ปลาไขมันสูง (fatty fish) เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า และซาร์ดีน
    • น้ำมันมะกอก
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรุงอาหารด้วยสมุนไพรอย่างออริกาโน พริกคาเยน (cayenne)...
    ปรุงอาหารด้วยสมุนไพรอย่างออริกาโน พริกคาเยน (cayenne) และโหระพา. เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบในร่างกายตามธรรมชาติ ถ้าเพิ่มเติมไปในอาหารแต่ละมื้อจะดีมีประโยชน์ แถมยังช่วยปรุงอาหารให้รสจัดจ้านขึ้นอีกด้วย! หรือใช้ขิง ขมิ้น และเปลือกต้นหลิวขาว (white willow bark) ลดทั้งการอักเสบและค่า ESR[11]
    • ลองท่องเว็บเลือกสูตรอาหารที่ใส่สมุนไพรโปรดของคุณลงไปได้
    • จะชงชาสมุนไพรจากขิงกับเปลือกต้นหลิวก็ได้ โดยใส่ไปในที่กรองชา
    • ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์หรือแม่ที่ต้องให้นม ห้ามใช้เปลือกต้นหลิว
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ดื่มน้ำเยอะๆ ทุกวัน.
    จริงๆ แล้วภาวะขาดน้ำไม่ได้ทำให้อาการอักเสบแย่ลง แต่ถ้าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ ก็จะป้องกันอาการบาดเจ็บเสียหายที่กระดูกและกล้ามเนื้อได้[12] นอกจากการออกกำลังกายลดการอักเสบแล้ว ยังต้องดื่มน้ำเยอะๆ ป้องกันอาการบาดเจ็บด้วย พยายามดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 1 - 2 ลิตร (0.25 - 0.5 แกลลอน) ในแต่ละวัน[13] ให้รีบดื่มน้ำทันทีถ้ามีอาการต่อไปนี้[14]
    • กระหายน้ำรุนแรง
    • อ่อนเพลีย วิงเวียน หรือมึนงง
    • ไม่ค่อยฉี่ ฉี่น้อยมาก
    • ฉี่สีเข้ม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รับมือเมื่อค่า ESR เพิ่มขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษาคุณหมอเรื่องผลการทดสอบ.
    ก็เหมือนการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ คือค่ามาตรฐานจะต่างกันไปตามวิธีการที่คุณหมอใช้ พอผลออกแล้วให้ลองปรึกษาคุณหมอว่าผลเป็นยังไง โดยทั่วไปค่ามาตรฐานจะอยู่ที่[15]
    • ต่ำกว่า 15 มม./ชม. (mm/hr คือมิลลิเมตรต่อชั่วโมง) ถ้าเป็นผู้ชายอายุไม่เกิน 50 ปี
    • ต่ำกว่า 20 มม./ชม. ถ้าเป็นผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป
    • ต่ำกว่า 20 มม./ชม. ถ้าเป็นผู้หญิงอายุไม่เกิน 50 ปี
    • ต่ำกว่า 30 มม./ชม. ถ้าเป็นผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
    • 0 - 2 มม./ชม. ถ้าเป็นทารกแรกคลอด
    • 3 - 13 มม./ชม. ถ้าเป็นทารกแรกคลอดไปจนถึงวัยรุ่น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาคุณหมอว่าค่า ESR ของคุณเกินมาตรฐานหรือสูงจนน่าเป็นห่วง....
    ปรึกษาคุณหมอว่าค่า ESR ของคุณเกินมาตรฐานหรือสูงจนน่าเป็นห่วง. มีหลายปัจจัยที่ทำให้ค่า ESR ของคุณสูงเกินค่ามาตรฐาน เช่น การตั้งครรภ์ โลหิตจาง ไทรอยด์ และโรคไต ไปจนถึงมะเร็ง อย่าง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งไขกระดูกชนิด MM (multiple myeloma) ถ้าค่า ESR สูงผิดปกติ เป็นสัญญาณบอกโรคลูปัสหรือแพ้ภูมิตัวเอง (lupus) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และติดเชื้อรุนแรงสักแห่งในร่างกาย[16]
    • ถ้าค่า ESR สูงมาก ก็อาจเป็นสัญญาณบอกโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorders) ชนิดหายาก อย่างโรคหลอดเลือดอักเสบ (allergic vasculitis) โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ (giant cell arteritis) โรคไฟบริโนเจนมากเกิน (hyperfibrinogenemia) มะเร็งที่เริ่มต้นจากบีเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (macroglobulinemia) โรคหลอดเลือดอักเสบแบบ necrotizing vasculitis และโรคปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนเหตุอักเสบเรื้อรัง (polymyalgia rheumatica)
    • การติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับค่า ESR สูงผิดปกติ อาจเกิดที่กระดูก หัวใจ ผิวหนัง และเกิดได้ทั่วร่างกาย บางทีก็เพราะวัณโรค (tuberculosis) หรือไข้รูมาติก (rheumatic fever)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คุณหมออาจให้ตรวจวินิจฉัยแบบอื่นเพิ่มเติม.
    ค่า ESR ที่สูงกว่าค่ามาตรฐานหรือสูงผิดปกติ อาจเป็นได้เพราะหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่คุณหมอจะตรวจซ้ำด้วยวิธีการอื่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณ ระหว่างรอคุณหมอตัดสินใจหรือรอผลตรวจ ก็อย่าตื่นตระหนกไป พยายามหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ กังวลใจเรื่องอะไรก็ปรึกษาคุณหมอได้เลย รวมถึงครอบครัวและเพื่อนฝูง จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหมดกำลังใจ[17]
    • แค่ค่า ESR ที่ตรวจได้อย่างเดียว ใช้วินิจฉัยโรคไม่ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กลับมาตรวจค่า ESR ซ้ำเพื่อติดตามผล.
    ส่วนใหญ่ค่า ESR ที่สูงกว่ามาตรฐาน มักเกิดจากอาการอักเสบหรือเจ็บปวดเรื้อรัง คุณหมอเลยมักแนะนำให้เข้ามาตรวจติดตามผลบ่อยๆ ถ้าคอยเฝ้าระวังค่า ESR เป็นระยะ ก็จะช่วยเรื่องการรักษาอาการอักเสบและเจ็บปวดในร่างกายได้ ถ้าดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ค่านี้ก็น่าจะลดลงได้มาก!
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินยาและทำกายภาพบำบัดช่วยเรื่องการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis)....
    กินยาและทำกายภาพบำบัดช่วยเรื่องการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis). น่าเศร้าว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่อย่างน้อยก็ควบคุมบรรเทาอาการ ให้อยู่ใน remission หรือการไม่แสดงอาการของโรคได้ ปกติคุณหมอจะสั่งยา DMARDs (disease-modifying antirheumatic drugs) ยา NSAIDs (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) เช่น ไอบูโพรเฟน และสเตียรอยด์ให้[18]
    • การทำกายภาพบำบัด (physical therapy) หรือกิจกรรมบำบัด (occupational therapy) จะช่วยให้คุณรู้จักออกกำลังกายให้ข้อต่อต่างๆ ยืดหยุ่นและขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้สะดวก รวมถึงหัดทำกิจวัตรประจำวันเดิมๆ ในแบบที่แตกต่างออกไป (เช่น การรินน้ำดื่ม) ในกรณีที่เจ็บปวดมากเป็นพิเศษ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ป้องกันโรคลูปัสกำเริบโดยใช้ยา NSAIDs และอื่นๆ.
    ลูปัสแต่ละเคสจะต่างกันออกไป ต้องอยู่ในการดูแลรักษาของคุณหมออย่างใกล้ชิด จะได้แน่ใจว่าวิธีการรักษาแบบไหนเหมาะสมที่สุด ปกติยา NSAIDs ใช้กินแก้ปวดแก้ไข้ ส่วนสเตียรอยด์ (corticosteroids) ใช้บรรเทาอาการอักเสบ แต่บางทีคุณหมอก็สั่งยาต้านมาลาเรีย (antimalarials) หรือยากดภูมิ (immunosuppressants) แทน แล้วแต่ลักษณะอาการ[19]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รักษาอาการติดเชื้อในกระดูกและข้อด้วยยาปฏิชีวนะและ/หรือการผ่าตัด....
    รักษาอาการติดเชื้อในกระดูกและข้อด้วยยาปฏิชีวนะและ/หรือการผ่าตัด. ถ้าค่า ESR สูงกว่าปกติ แสดงว่ามีอาการติดเชื้อต่างๆ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดที่กระดูกและข้อมากกว่าจุดอื่น ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่หายยาก คุณหมอมักให้ทดสอบเพิ่มเติมเพื่อระบุลักษณะการติดเชื้อและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ถ้าเป็นเคสรุนแรง อาจถึงขั้นต้องผ่าตัดกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกไปเลย[20]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ให้คุณหมอ refer หรือโอนเคสต่อไปยังคุณหมอด้านมะเร็งโดยเฉพาะ...
    ให้คุณหมอ refer หรือโอนเคสต่อไปยังคุณหมอด้านมะเร็งโดยเฉพาะ (oncologist) ถ้าสรุปแล้วคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นมะเร็ง. ค่า ESR ที่สูงมาก (เกิน 100 มม./ชม.) ชี้ชัดว่าคุณมีมะเร็งในร่างกาย หรือมีเซลล์ที่รุกรานเนื้อเยื่อโดยรอบ แล้วแพร่มะเร็ง[21] ค่า ESR สูงๆ มักแปลว่าคุณเป็นมะเร็งไขกระดูกชนิด MM (multiple myeloma)[22] ถ้าสุดท้ายแล้วคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคนี้จากการตรวจเลือดด้วยวิธีอื่น รวมถึงการสแกนและตรวจปัสสาวะ คุณหมอโรคมะเร็งจะเข้ามาดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมกับเคสของคุณ[23]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทดสอบหาค่า ESR

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปหาหมอถ้าคิดว่าต้องตรวจค่า ESR.
    การทดสอบค่า ESR มักใช้ตรวจหาอาการอักเสบในร่างกายที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด ถ้าคุณอยู่ๆ ก็เป็นไข้ ข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการอักเสบที่เห็นได้ชัดเจน ควรตรวจหาค่า ESR คุณหมอจะได้ชี้ชัดได้เรื่องต้นตอและความรุนแรงของอาการ[24]
    • การตรวจหาค่า ESR เอื้อต่อการวินิจฉัยอาการที่หาสาเหตุไม่ได้ด้วย เช่น ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดเฉียบพลัน ปวดหัว ปวดไหล่ และปวดคอ[25]
    • ปกติคุณหมอจะไม่ตรวจหาค่า ESR แค่อย่างเดียว อย่างน้อยก็ต้องตรวจหาระดับ C-reactive protein (CRP) หรือโปรตีนที่ร่างกายสร้างมาตอบสนองต่อการอักเสบด้วย[26] เป็นอีกการทดสอบที่ยืนยันเรื่องอาการอักเสบในร่างกายได้[27]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ยาอะไรอยู่ต้องแจ้งคุณหมอ.
    ทั้งยาที่คุณหมอสั่งและยาที่ซื้อกินเอง มีหลายตัวที่ทำให้ค่า ESR ตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ เพราะงั้นถ้าใช้ยาประเภทนี้อยู่ คุณหมอจะแนะนำให้หยุดยาประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนตรวจวัดค่า แต่ห้ามอยู่ๆ ก็หยุดยาหรือเปลี่ยนปริมาณโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อนเด็ดขาด[28]
    • ยาที่เพิ่มค่า ESR ก็เช่น dextran, methyldopa, ยาเม็ดคุมกำเนิด, penicillamine procainamide, theophylline และวิตามินเอ
    • ยาที่ลดค่า ESR ก็เช่น แอสไพริน, คอร์ติโซน และควินิน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แจ้งพยาบาลว่าจะให้เจาะเลือดที่แขนข้างไหน.
    ปกติพยาบาลจะเจาะเลือดที่ข้อพับตรงข้อศอก ซึ่งไม่ทำให้ปวดหรือบวมเท่าไหร่ แต่ก็แนะนำให้แจ้งพยาบาลให้ช่วยเจาะเลือดจากแขนข้างที่ไม่ถนัด (ไม่ได้ใช้งานเป็นหลัก) จะดีกว่า แต่ทั้งนี้พยาบาลจะเป็นคนพิจารณาเอง ว่าเส้นเลือดที่แขนข้างไหนชัดเจน เจาะเลือดง่ายกว่า[29]
    • ถ้าเลือกเส้นเลือดได้เหมาะสม จะทำให้เจาะเลือดง่าย รู้ผลเร็ว
    • ถ้าพยาบาลหาเส้นเลือดเหมาะๆ ไม่ได้ที่แขนทั้ง 2 ข้าง ก็อาจจะต้องเจาะเลือดจากจุดอื่นแทน[30]
    • ถ้าเคยมีปัญหาอะไร แนะนำให้แจ้งพยาบาลก่อนเจาะเลือด เช่น เคยวิงเวียนหรือเป็นลม พยาบาลจะได้ให้คุณนอนราบ ไม่เสี่ยงเป็นลมจนล้มหัวกระแทก แต่ถ้าใครกลัว ไม่ค่อยถูกโรคกับการเจาะเลือด หรือเจาะเลือดแล้วจะหวิวๆ ตลอด แนะนำให้หาคนไปเป็นเพื่อนหรือนั่งแท็กซี่ อย่าขับรถเอง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำใจให้สบายตอนเจาะเลือด.
    พยาบาลจะใช้สายยางรัดต้นแขน แล้วใช้คอตตอนบัดชุบแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณที่จะเจาะเลือด จากนั้นใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือด เก็บเลือดมาไว้ในหลอดฉีดยา เสร็จแล้วก็ดึงเข็มออกและคลายยางรัด สุดท้ายพยาบาลจะแปะผ้าก๊อซแผ่นเล็กๆ ที่แผล โดยบอกให้คุณกดแผลไว้ให้แน่น[31]
    • ถ้ากลัว ก็ให้มองไปทางอื่นตอนเจาะเลือด
    • บางทีก็ต้องเจาะเลือดมากกว่า 1 หลอดฉีดยา ก็อย่าเพิ่งตกใจไป
    • บางทีพยาบาลจะใช้ผ้ายืดพันแผลรัดไว้ จะได้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้นหลังเจาะเลือดเสร็จ กลับบ้านแล้วก็แกะผ้าพันแผลออกได้เลยหลังผ่านไป 2 - 3 ชั่วโมง[32]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 แผลอาจมีช้ำหรือแดงบ้าง.
    ส่วนใหญ่แผลเจาะเลือดจะหายดีใน 1 - 2 วัน ระหว่างนั้นอาจจะมีแดงหรือช้ำบ้าง ถือว่าปกติ[33] แต่ในเคสที่หายาก เส้นเลือดที่ถูกเจาะอาจจะบวมขึ้นมาได้[34] ซึ่งก็ไม่อันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แค่เจ็บ แนะนำให้ประคบเย็นในวันแรก แล้วเปลี่ยนไปประคบร้อนทีหลัง อุปกรณ์ที่ใช้ประคบร้อนก็เช่น ผ้าขนหนูชุบน้ำที่เอาไปอุ่นในไมโครเวฟ 30 - 60 วินาที ให้ประคบร้อนครั้งละ 20 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง
    • วัดอุณหภูมิของผ้าคุณหนูก่อน โดยเอามืออัง ถ้าไอร้อนจากผ้าร้อนเกินไป จับไม่ไหว ให้รอ 10 - 15 วินาทีแล้วค่อยเช็คอีกรอบว่าเย็นลงหรือยัง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ถ้ามีไข้ให้หาหมอ.
    ถ้าเจาะเลือดแล้วแผลปวดบวมกว่าเดิม แสดงว่าติดเชื้อ แต่มักพบในเคสที่หาได้ยาก[35] ยิ่งถ้ามีไข้ขึ้นมา ให้รีบไปหาหมอทันที
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วันที่เจาะเลือด ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยให้เส้นเลือดเต่งขึ้น หาง่ายเจาะง่าย รวมถึงควรสวมใส่เสื้อที่แขนหลวมหน่อย
  • ถ้าตั้งครรภ์หรือมีประจำเดือนก็ทำให้ค่า ESR สูงขึ้นชั่วคราวได้ แบบนี้ต้องแจ้งคุณหมอก่อนเจาะเลือด
โฆษณา
  1. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  2. http://www.newhealthadvisor.com/how-to-reduce-esr-in-blood.html
  3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4755996/
  4. http://www.newhealthadvisor.com/how-to-reduce-esr-in-blood.html
  5. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dehydration/symptoms-causes/syc-20354086
  6. https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
  7. https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
  8. https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
  9. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/diagnosis-treatment/drc-20353653
  10. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lupus/basics/treatment/con-20019676
  11. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4091374/
  12. https://www.cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-terms?cdrid=45771
  13. https://www.rcpa.edu.au/getattachment/7d8d8036-473e-4e15-8756-bf07e597de43/Making-Sense-of-Inflammatory-Markers.aspx
  14. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/multiple-myeloma/diagnosis-treatment/drc-20353383
  15. https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
  16. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/esr/tab/test/
  17. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/sed-rate/details/why-its-done/icc-20207019
  18. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/crp/tab/glance/
  19. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/esr/tab/test/
  20. http://www.onemedical.com/blog/live-well/blood-draw-faq/
  21. http://www.registerednursern.com/how-to-draw-blood-drawing-blood-clinical-nursing-skills-for-rns/
  22. http://www.nhs.uk/conditions/Blood-tests/Pages/Introduction.aspx
  23. https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/bdt/with
  24. http://www.onemedical.com/blog/live-well/blood-draw-faq/
  25. http://www.frhg.org/documents/Lab_Manuals/Blood-Collection-Adverse-Reactions-and-Patient-Blood-Volumes.pdf
  26. http://www.frhg.org/documents/Lab_Manuals/Blood-Collection-Adverse-Reactions-and-Patient-Blood-Volumes.pdf
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/symptoms-causes/dxc-20341502

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Sarah Gehrke, RN, MS
ร่วมเขียน โดย:
พยาบาลขึ้นทะเบียน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Sarah Gehrke, RN, MS. ซาราห์ เกเกอร์เป็นพยาบาลขึ้นทะเบียนในเท็กซัส เธอได้รับปริญญาโทด้านพยาบาลจากมหาวิทยาลัยฟีนิกซ์ในปี 2013 บทความนี้ถูกเข้าชม 29,670 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,670 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา