วิธีการ สังเกตให้รู้ว่าอาการปวดแขนซ้ายนั้นมาจากโรคหัวใจหรือเปล่า

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดที่แขนซ้ายนั้นอาจเป็นเพราะโรคต่างๆ ตั้งแต่โรคยอดนิยมอย่างโรคปวดกล้ามเนื้อ ไปจนถึงโรคร้ายแรงอย่างหัวใจวาย อาการปวดอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่ผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน เส้นประสาท กระดูก ข้อ กระทั่งความผิดปกติที่หลอดเลือด ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยถึงจะบอกได้แน่ชัดว่าแขนซ้ายคุณปวดเพราะโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือเปล่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หัวใจวายแล้วเป็นยังไง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณเจ็บหรือปวดแค่ไหน.
    [1] ความเจ็บปวดที่เกิดเพราะหัวใจวายจะรู้สึกเหมือนมีแรงกดทับหรือหัวใจถูกบีบ ระดับความเจ็บปวดมีตั้งแต่ไม่ค่อยเจ็บ หรือไม่เจ็บเลย (หรือที่เรียกกันว่า "silent heart attacks") ไปจนถึงเจ็บมากขนาดที่ให้คะแนนความเจ็บปวดรุนแรงขนาด 10 เต็ม 10 อาการเจ็บปวดมักเกิดแถวหน้าอก จนแผ่ลงมาถึงแขนซ้าย ขึ้นไปที่ขากรรไกร หรือลามไปถึงหลังได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 มีอาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือเปล่า....
    มีอาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือเปล่า.[2] นอกจากปวดแขน ขากรรไกร คอ และหลังแล้ว ก็อาจมีอาการอื่นระหว่างหัวใจวายได้ด้วย เช่น[3]
    • คลื่นไส้
    • วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม
    • เหงื่อออก ตัวเย็น
    • หายใจขัด หรือหายใจยากเพราะแน่นหน้าอก
    • ถ้าคุณมีอาการใดอาการหนึ่งด้านบนร่วมกับอาการเจ็บปวด ให้รีบไปหาหมอให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ว่าใช่หัวใจวายหรือเปล่า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 โทรแจ้งตำรวจหรือเรียกรถพยาบาล ถ้าคุณมีอาการเหมือนหัวใจจะวาย....
    โทรแจ้งตำรวจหรือเรียกรถพยาบาล ถ้าคุณมีอาการเหมือนหัวใจจะวาย.[4] ถ้าคุณไม่แน่ใจในอาการของตัวเอง จะปลอดภัยกว่าถ้ารีบเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยฉุกเฉิน อย่าง 1554 กู้ชีพวชิรพยาบาล 1669 แพทย์ฉุกเฉิน หรือง่ายที่สุดก็คือโทร 191 หาตำรวจให้ช่วยแจ้งหน่วยฉุกเฉิน คุณจะได้ถึงมือหมอโดยเร็วที่สุด จำไว้เสมอว่าถ้าคุณหัวใจวายเมื่อไหร่ ต้องแข่งกับเวลา เพราะช้าเพียงวินาทีเดียวก็อาจหมายถึงชีวิตของคุณ[5]
    • ระหว่างรอรถพยาบาลหรือหน่วยฉุกเฉิน ให้รีบกินแอสไพรินในปริมาณสำหรับเด็ก 2 เม็ด (180 มก.) ก่อน จะได้บรรเทาความรุนแรงของอาการ[6] ยาแอสไพรินจะป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม จริงๆ แล้วก็เพราะมีลิ่มเลือดในหนึ่งในหลอดเลือดหัวใจ (ที่อยู่รอบๆ หัวใจ) นี่แหละ คุณถึงได้หัวใจวายแต่แรก (ดังนั้นแอสไพรินเลยช่วยป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดเยอะไปกว่าเดิม) แต่ห้ามกินยาแอสไพรินเด็ดขาดถ้าคุณเป็นโรคเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือแพ้ยาแอสไพริน
    • ระหว่างนั้นให้กินยาไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) ด้วย ถ้ามี. [7] เพราะช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ทำให้คุณพอจะทนไหวจนกว่าจะถึงมือหมอ (หลังจากนั้นคุณหมอจะให้ยาแก้ปวดอื่นๆ เพิ่มเติมเอง เช่น มอร์ฟีน เป็นต้น)
    • ห้ามกินยาไนโตรกลีเซอรีนเด็ดขาด ถ้าคุณเพิ่งกินยาไวอากร้า (Viagra) หรือเลวิตร้า (Levitra) ไปภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือยาเซียลิส (Cialis) ใน 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา เพราะอาจความดันต่ำจนเป็นอันตราย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย แจ้งเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินหรือคุณหมอด้วย ถ้าคุณกินยาพวกนี้ไปในระยะเวลาที่ว่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค.
    [8] ถ้าคุณคิดว่าตัวเองคงหัวใจวาย คุณหมอจะทดสอบและตรวจร่างกายหลายขั้นตอน เพื่อให้รู้แน่ชัดและฟันธงได้ว่าตกลงคุณเป็นโรคอะไร เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram หรือ ECG) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจ ถ้าคุณหัวใจวายจริง จะเห็นผิดปกติขึ้นมาเลย การตรวจเลือดเพื่อหา cardiac enzymes ที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่ามีอาการหัวใจวาย
    • ถ้าอาการคุณหนัก หรือคุณหมอตรวจแล้วไม่ชัดเจน ก็อาจต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เอ็กซเรย์หน้าอก ตรวจรังสีหลอดเลือด (angiogram) และ/หรือการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test หรือ EST)
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ประเมินอาการเจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บันทึกระยะเวลาที่มีอาการ.
    ถ้าคุณปวดแขนซ้ายแค่ช่วงสั้นๆ (ไม่กี่วินาที) เป็นไปได้มากว่าไม่เกี่ยวกับโรคหัวใจ แต่ถึงปวดทีละนานๆ (เป็นวันๆ หรือหลายอาทิตย์) ก็ไม่ได้แปลว่าจะเกิดเพราะโรคหัวใจเหมือนกัน แต่ถ้าคุณปวดแขน 2 - 3 นาทีถึง 2 - 3 ชั่วโมงนี่สิ ที่มีสิทธิ์เป็นเพราะโรคหัวใจ ถ้าคุณปวดทีละน้อยๆ แต่บ่อยๆ ให้คอยจดระยะเวลาที่ปวดและความรุนแรงของอาการไว้ในกระดาษ จะได้เอาให้คุณหมอดู ถ้าเป็นเพราะโรคหัวใจจริง จะได้รักษาได้ทันท่วงที
    • ถ้าเจ็บน้อยลงหรือมากขึ้นเวลาช่องอกขยับ (กลางสันหลัง) แสดงว่าอาจเป็นเพราะกระดูกสันหลังเสื่อม (spinal degenerative disc disease) มักเกิดในคนสูงอายุ ปวดแบบนี้ไม่ได้เป็นเพราะโรคหัวใจหรอก
    • กรณีเดียวกัน คือถ้าเริ่มปวดหลังออกกำลังแขนมาอย่างหนัก แสดงว่ามาจากกล้ามเนื้อ ลองสังเกตพฤติกรรมในแต่ละวันของคุณดู ว่าที่อยู่ๆ ปวดขึ้นมาเพราะอะไร?
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บางทีคุณอาจปวดแขนซ้ายเพราะอาการปวดเค้นหัวใจ....
    บางทีคุณอาจปวดแขนซ้ายเพราะอาการปวดเค้นหัวใจ. Angina หรืออาการปวดเค้นหัวใจ นั้นเป็นอาการเจ็บปวดที่เกิดเมื่อเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ[9] เวลาเป็นแล้วจะรู้สึกกดทับหรือเหมือนมีใครมาบีบหัวใจ อาจปวดไหล่ เจ็บหน้าอก ปวดแขน หลัง หรือคอร่วมด้วย อาการอาจคล้ายกันกับเวลาคุณอาหารไม่ย่อย[10]
    • ถึงจะหายากว่าปวดเค้นหัวใจแล้วไปปรากฏอาการที่แขนซ้าย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีกรณีแบบนี้
    • อาการปวดเค้นหัวใจมักรุนแรงขึ้นหรือเกิดขึ้นได้เพราะความเครียด ไม่ว่าจะเหนื่อยกาย (เพราะออกแรงมากไป อย่างเดินขึ้นบันไดหลายๆ ช่วง) หรือเหนื่อยใจก็ตาม (เช่น เพิ่งไปเถียงหน้าดำคร่ำเคร่งกับใครมา หรือตกลงกันไม่ได้เรื่องงาน)[11]
    • ถ้าคุณคิดว่าตัวเองน่าจะมีอาการปวดเค้นหัวใจ ให้รีบไปหาหมอด่วน กันไว้ดีกว่าแก้[12] ถึงจะไม่ร้ายแรงเท่าหัวใจวาย แต่ก็ควรไปตรวจร่างกายและรับการรักษาอย่างถูกวิธีอยู่ดี
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการอื่นๆ.
    นอกจากปวดแขนซ้ายแล้ว ให้คอยจดตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกายที่คุณปวดไว้ด้วย นี่แหละข้อมูลที่แน่นและแม่นยำที่สุดที่คุณหมอจะใช้วินิจฉัยได้ว่าคุณปวดแขนซ้ายเพราะโรคหัวใจหรือเปล่า (และร้ายแรงไหม) ถ้าหัวใจวายแล้วมักตามมาด้วยอาการต่อไปนี้[13]
    • อยู่ๆ ก็เจ็บหน้าอกรุนแรงขึ้นมา และลามลงไปที่แขนซ้าย จริงๆ ก็เป็นได้ทั้ง 2 ข้าง แต่มักรู้สึกชัดกว่าที่แขนซ้าย เพราะอยู่ใกล้หัวใจกว่า
    • ปวดและแน่นขากรรไกร โดยมักปวดที่ขากรรไกรล่างมากกว่า แต่ก็อาจเกิดอาการข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ จะรู้สึกปวดเหมือนเวลาปวดฟันมากๆ
    • ปวดลามไปที่ไหล่ เหมือนมีอะไรหนักๆ กดทับแถวไหล่และอก
    • ปวดหลังทึบๆ เพราะลามมาจากอก ขากรรไกร คอ แล้วก็แขน
    • ย้ำอีกทีว่าบางทีหัวใจวายก็มาแบบ "เงียบๆ" หรือก็คือไม่แสดงอาการรุนแรงแต่อย่างใด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ถ้าไม่ได้มาจากโรคหัวใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จดอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเวลาขยับคอไว้.
    [14] ถ้าปวดมากกว่าเดิมเวลาขยับคอหรือหลังส่วนบน แปลว่าอาจเป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (cervical spondylosis) ซึ่งเป็นสาเหตุยอดนิยมเวลาปวดแขนซ้าย โรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมนั้นพบมากกว่า 90% ในคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป จากการที่ข้อกระดูกสันหลังฉีกขาดหรือเสื่อมตามกาลเวลา (โดยเฉพาะที่คอ) เพราะข้อแห้งและหดเลยทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม ยิ่งอายุมากก็ยิ่งอาการหนัก เพราะหลังก็เสื่อมสภาพไปตามวัย
    • ให้คุณขยับคอหรือกระดูกสันหลังส่วนบนแล้วสังเกตอาการ ถ้าขยับแล้วปวดมากขึ้น แปลว่ามาจากโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม
    • ถ้าเป็นเพราะหัวใจวาย จะขยับหรือกดที่สันหลังหรือคอแล้วไม่ทำให้ปวดมากขึ้นหรือน้อยลง ถ้าขยับหรือกดแล้วปวดโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เป็นไปได้มากว่าจะเป็นเพราะโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม แต่ก็ยังถือว่าน่าเป็นห่วง ต้องรีบไปหาหมออยู่ดี
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คุณปวดเวลาขยับไหล่หรือเปล่า.
    [15] ถ้าปวดแขนมากขึ้นเวลาขยับไหล่ อาจเป็นเพราะข้อไหล่เสื่อม (shoulder arthritis) หลายคนเลยที่ดิ่งมาแผนกฉุกเฉินเพราะนึกว่าตัวเองหัวใจวาย สุดท้ายกลับเป็นโรคนี้ โรคนี้แหละที่กัดกร่อนผิวนอกเรียบเนียน (cartilage) ของกระดูก พอ cartilage หรือกระดูกอ่อนหมดไป ก็เท่ากับกันชนปกป้องกระดูกลดน้อยลงไปด้วย พอขยับเขยื้อน กระดูกก็จะเสียดสีกัน ทำให้คุณปวดไหล่และ/หรือปวดลามมาที่แขนซ้าย
    • ถึงจะไม่มีวิธีรักษาโรคข้อไหล่เสื่อมให้หายขาด แต่อย่างน้อยก็มีหลายวิธีใช้บรรเทาปวด ถ้าตกลงคุณเป็นโรคนี้ละก็ อย่าเพิ่งเครียดไป มันฟังดูน่ากลัว แต่ก็พอมีวิธีหยุดยั้งการเสื่อมได้บ้าง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการบาดเจ็บที่เส้นประสาท.
    ถ้าคุณใช้แขนซ้ายไม่ได้ แปลว่าต้องบาดเจ็บที่เส้นประสาท[16] เส้นประสาทที่แขนจะกระจุกตัวกันอยู่ที่ระดับไขสันหลังในคอส่วนล่าง เรียกว่า brachial plexus โดยจะแตกแขนงออกไปเป็นเส้นประสาทที่แขนด้วย ถ้าเส้นประสาทที่แขนเสียหายตั้งแต่ไหล่ลงมาถึงมือ ก็จะเกิดอาการปวดไม่มากก็น้อย แต่มักจะทำให้คุณใช้แขนไม่ค่อยได้ (เช่น เหน็บชา หรือขยับไม่ค่อยได้) สรุปแล้วคุณอาจปวดแขนเพราะเส้นประสาท ไม่ใช่เพราะโรคหัวใจ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เช็คความดันเลือดกับชีพจร.
    ถ้ามีอะไรผิดปกติไป อาจเป็นเพราะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (peripheral arterial disease) อันมีสาเหตุมาจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) พบบ่อยในหมู่สิงห์อมควัน[17]
    • ถ้าอยากรู้ว่าเป็นเพราะสาเหตุนี้หรือเปล่า ให้รีบไปหาหมอ จะได้วัดความดันและอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อวินิจฉัยต่อไป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 วินิจฉัยเพิ่มเติมเรื่องอาการปวดแขน.
    [18] ลองนึกย้อนไปซิ ว่าคุณเพิ่งบาดเจ็บตรงไหนมาหรือเปล่า ที่คุณปวดแขนซ้ายอาจเพราะบาดเจ็บที่แขนหรือไหล่มาก่อนหน้านี้ก็ได้ ถ้าปวดไม่หายหรือหาสาเหตุไม่ได้ ต้องรีบไปหาหมอทันที
    • ถ้าอยู่ๆ ก็ปวดแขนซ้าย เหงื่อออก สับสนมึนงง และมีอาการเจ็บปวดที่อื่นร่วมด้วย ให้รีบไปหาหมอด่วนเพื่อตัดความเป็นไปได้อื่นๆ ว่าอาจมีภาวะอันตรายถึงแก่ชีวิตออกไป
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Anthony Stark, EMR
ร่วมเขียน โดย:
ผู้รับผิดชอบแพทย์หน่วยฉุกเฉิน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Anthony Stark, EMR. แอนโธนี สตาร์คเป็นผู้รับผิดชอบหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่มีใบอนุญาตในบริติชโคลัมเบีย ปัจจุบันเขาทำงานให้กับศูนย์แพทย์ฉุกเฉินบริติชโคลัมเบีย บทความนี้ถูกเข้าชม 241,336 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 241,336 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา