วิธีการ ลดเกล็ดเลือด

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เกล็ดเลือดมีขนาดเล็กมากและเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในปริมาณเลือดทั้งหมด หน้าที่หลักของเกล็ดเลือดก็คือป้องกันไม่ให้เลือดไหลด้วยการทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม อย่างไรก็ตามในกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก บางคนก็อาจจะมีปัญหาที่เกิดจากการที่ไขกระดูกผลิตเกล็ดเลือดมากเกินไป หรือที่รู้จักกันในชื่อภาวะเกล็ดเลือดมาก[1] ซึ่งทำให้เกิดการก่อตัวเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่ที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น การอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองหรือโรคหัวใจ เริ่มต้นจากขั้นตอน 1 ด้านล่างเพื่อศึกษาข้อมูลว่า คุณจะสามารถลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดด้วยอาหาร วิถีชีวิต และยารักษาได้อย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลดจำนวนเกล็ดเลือดด้วยอาหารและวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รับประทานกระเทียมดิบเพื่อลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือด....
    รับประทานกระเทียมดิบเพื่อลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือด. กระเทียมดิบหรือกระเทียมทุบมีสารประกอบที่ชื่อว่า "อัลลิซิน" ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการสร้างเกล็ดเลือดของร่างกาย จึงช่วยลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดลงได้[2]
    • ร่างกายของคุณตอบสนองต่อระดับเกล็ดเลือดที่ต่ำด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม (เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย) ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
    • ปริมาณอัลลิซินในกระเทียมจะลดลงอย่างรวดเร็วหากผ่านการปรุงสุก เพราะฉะนั้นพยายามรับประทานทั้งดิบๆ แต่การรับประทานกระเทียมอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนในบางคน เพราะฉะนั้นอย่าลืมรับประทานกระเทียมดิบพร้อมอาหาร
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รับประทานแปะก๊วยเพื่อลดความหนืดของเลือด.
    แปะก๊วยมีสารที่เรียกว่า “เทอร์พีนอยด์” ซึ่งจะไปลดความหนืดของเลือด (ทำให้เลือดจางลง) และป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม[3]
    • นอกจากนี้แปะก๊วยยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและเพิ่มการผลิตวาร์ฟารินในร่างกายซึ่งช่วยละลายลิ่มเลือดด้วย
    • แปะก๊วยมีจำหน่ายทั้งในรูปแบบของอาหารเสริมชนิดน้ำและแคปซูล คุณสามารถหาซื้อแปะก๊วยเสริมได้ที่ร้านขายยาหรือร้านขายอาหารสุขภาพ
    • ถ้าคุณสามารถหาใบแปะก๊วยได้ ให้คุณต้มใบไว้ในน้ำ 5-7 นาที จากนั้นดื่มเป็นชา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับประทานโสมเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด.
    โสมมีส่วนประกอบของ “จินเซ็นโนไซด์” ที่ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้ด้วย[4]
    • โสมจำหน่ายในรูปแบบแคปซูลและสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาและร้านขายอาหารสุขภาพ และมักจะใส่ในอาหารและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
    • โสมอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับและคลื่นไส้ในบางคน เพราะฉะนั้นคุณต้องทดสอบในช่วงลองรับประทานเพื่อดูว่ามันมีปฏิกิริยาต่อร่างกายอย่างไร
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รับประทานทับทิมเพื่อให้ได้ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด....
    รับประทานทับทิมเพื่อให้ได้ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด. ทับทิมมีส่วนประกอบของสารที่เรียกว่าโพลีฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด หมายความว่ามันช่วยลดการผลิตเกล็ดเลือดของร่างกายและป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดที่มีอยู่จับตัวเป็นลิ่ม[5]
    • คุณสามารถรับประทานในรูปแบบของทับทิมสดๆ ทั้งผล ดื่มน้ำทับทิม หรือเติมสารสกัดจากทับทิมลงไปในอาหารก็ได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รับประทานอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 เพื่อยับยั้งการผลิตเกล็ดเลือด....
    รับประทานอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 เพื่อยับยั้งการผลิตเกล็ดเลือด. กรดไขมันโอเมก้า-3 มีผลต่อการผลิตเกล็ดเลือด เจือจางเลือด และลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม[6] โอเมก้า-3 มีอยู่มากมายในอาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน หอยเชลล์ ปลาจะละเม็ดขาว หอย และปลาสำลี[7]
    • พยายามรับประทานปลาเหล่านี้ให้ได้สัปดาห์ละ 2-3 หน่วย เพื่อให้ได้ปริมาณโอเมก้า-3 ตามที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละสัปดาห์
    • ถ้าคุณไม่ชอบรับประทานปลาเท่าไหร่ คุณก็สามารถเพิ่มปริมาณโอเมก้า-3 ได้ด้วยการรับประทานน้ำมันปลาเสริมวันละ 3,000-4,000 มก.
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ดื่มไวน์แดงเพื่อลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม....
    ดื่มไวน์แดงเพื่อลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม. ไวน์แดงประกอบด้วยฟลาโวนอยส์ ซึ่งได้มาจากเปลือกองุ่นแดงระหว่างการผลิต ฟลาโวนอยส์ป้องกันไม่ให้ร่างกายผลิตเซลล์ตามแนวผนังหลอดเลือดแดงมากเกินไป (กระบวนการที่เกิดจากการมีเกล็ดเลือดในเลือดมากเกินไป) ซึ่งจะลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม[8]
    • ไวน์ครึ่งแก้วมาตรฐาน (ประมาณ 175 มล.) มีแอลกอฮอล์ 1 หน่วย ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินสัปดาห์ละ 12 หน่วย และไม่เกิน 4 หน่วยต่อวัน
    • ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินสัปดาห์ละ 14 หน่วย และไม่เกินวันละ 3 หน่วย ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรมีวันงดแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 2 วัน[9]
  7. Step 7 รับประทานผักและผลไม้ที่มี "ซาลิไซเลต" ที่ช่วยทำให้เลือดเจือจาง....
    รับประทานผักและผลไม้ที่มี "ซาลิไซเลต" ที่ช่วยทำให้เลือดเจือจาง. ผักและผลไม้ที่มี “ซาลิไซเลต” ช่วยทำให้เลือดเจือจางและป้องกันการจับตัวเป็นลิ่ม[10] นอกจากนี้ยังเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยควบคุมจำนวนเกล็ดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย
    • ผักที่มีซาลิไซเลตได้แก่ แตงกวา เห็ด ซุกินี แรดิช และอัลฟัลฟา
    • ผลไม้ที่มีซาลิไซเลตได้แก่ เบอร์รีทุกชนิด เชอร์รี ลูกเกด และส้ม
    • การรับประทานเห็ดหอมก็เป็นทางเลือกธรรมชาติที่ช่วยลดเกล็ดเลือดได้เป็นอย่างดี
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ใส่อบเชยลงไปในอาหารเพื่อลดการจับตัวของเกล็ดเลือด....
    ใส่อบเชยลงไปในอาหารเพื่อลดการจับตัวของเกล็ดเลือด. อบเชยมีสารประกอบที่ชื่อว่า “ซินนามาลดีไฮด์” ซึ่งรู้กันดีว่าช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงลดการจับตัวเป็นลิ่มของเลือดได้เช่นกัน [11]
    • ใส่อบเชยบดลงในขนมอบหรือสตูว์ผัก นอกจากนี้คุณยังสามารถต้มก้านอบเชยในชาหรือไวน์ได้ด้วย
  9. How.com.vn ไท: Step 9 เลิกสูบบุหรี่เพื่อป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม....
    เลิกสูบบุหรี่เพื่อป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม. การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดเนื่องมาจากสารประกอบที่เป็นอันตรายหลายชนิดในบุหรี่ (เช่น นิโคติน) การสูบบุหรี่ทำให้เลือดข้นขึ้นและเกล็ดเลือดก็จะจับตัวเป็นก้อน[12]
    • ปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันมักเป็นผลมาจากการเกิดลิ่มเลือดในเลือด การเลิกสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดลิ่มเลือดตั้งแต่แรก
    • การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องยากและไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ในชั่วข้ามคืน อ่านบทความนี้เพื่อหาคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการเลิกบุหรี่
  10. How.com.vn ไท: Step 10 ดื่มกาแฟเพื่อให้ได้ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด.
    กาแฟมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด ซึ่งหมายความว่ามันลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดและป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด[13]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ลดจำนวนเกล็ดเลือดด้วยยาและการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รับประทานยาเจือจางเลือดตามแพทย์สั่ง.
    ในบางสถานการณ์ แพทย์อาจจะจ่ายยาเจือจางเลือดให้ ยาเจือจางเลือดจะป้องกันไม่ให้เลือดหนืด การจับตัวของเกล็ดเลือด และการเกิดลิ่มเลือด ยาที่แพทย์จ่ายให้คนไข้บ่อยที่สุดก็เช่น :[15]
    • แอสไพริน
    • ไฮดรอกซียูเรีย
    • อะนาเกรไลด์
    • อินเตอร์เฟอรอน อัลฟา
    • บูซัลแฟน
    • ไพโพโบนแมน
    • ฟอสฟอรัส-32
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้ารับการรักษาผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการถ่ายเกล็ดเลือด....
    เข้ารับการรักษาผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการถ่ายเกล็ดเลือด. ในกรณีฉุกเฉิน แพทย์อาจจะแนะนำการรักษาที่เรียกว่า การถ่ายเกล็ดเลือด ซึ่งจะลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดอย่างรวดเร็ว
    • ในระหว่างการถ่ายเกล็ดเลือดแพทย์จะสอดสายสวนหลอดเลือดดำเข้าไปในหลอดเลือดเส้นหนึ่งเพื่อให้เลือดออกจากร่างกาย เลือดที่ออกมาก็จะเข้าเครื่องกำจัดเกล็ดเลือด
    • จากนั้นเลือดที่นำเกล็ดเลือดออกหมดแล้วก็จะย้อนกลับเข้าไปในร่างกายผ่านสายสวนหลอดเลือดนำเส้นที่สอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Marsha Durkin, RN
ร่วมเขียน โดย:
พยาบาลขึ้นทะเบียน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Marsha Durkin, RN. มาร์ชา เดอร์กินเป็นพยาบาลขึ้นทะเบียนในวิสคอนซิน เธอได้รับอนุปริญญาทางพยาบาลจากวิทยาลัยโอลนี่ย์เซ็นทรัลในปี 1987 บทความนี้ถูกเข้าชม 5,369 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,369 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา