วิธีการ ลดการเกิดกรดแลคติกในกล้ามเนื้อ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

กรดแลคติกจะถูกปล่อยออกมาในกล้ามเนื้อเมื่อเราใช้พลังงานที่สะสมไว้ในร่างกายจนหมดไปแล้ว แต่ร่างกายยังต้องการพลังงานเพิ่มอีกจำนวนมาก การมีกรดแลคติกออกมาเพียงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ดีจะช่วยเป็นแหล่งพลังงานชั่วคราว จึงทำให้ลดการเมื่อยล้าขณะออกกำลังกายได้ แต่อย่างไรก็ตามการมีกรดแลคติกเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายจะทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ภายในกล้ามเนื้อซึ่งทำให้ชะลอหรือลดประสิทธิภาพระหว่างการเล่นกีฬาได้ ด้วยเหตุผลนี้เราจึงควรลดการเกิดกรดแลคติกขึ้นในกล้ามเนื้อ ซึ่งทางวิกิฮาวของเราก็มีวิธีต่างๆ มาฝากดังนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มาทำความรู้จักกับกรดแลคติกกันก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ต้องเข้าใจก่อนว่ากรดแลคติกไม่ใช่สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย....
    ต้องเข้าใจก่อนว่ากรดแลคติกไม่ใช่สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย. กรดแลคติกมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายประมาณ 1-3 วัน หลังการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ปัจจุบันได้มีงานวิจัยชิ้นใหม่นำเสนอว่ากรดแลคติก (ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานชั่วคราวที่ร่างกายนำมาใช้ขณะออกกำลังกายหนักๆ) จะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายภายใน 1 ชั่วโมงหลังออกกำลังกาย ดังนั้นจึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้รู้สึกปวดในวันต่อๆ มา
    • ทฤษฎีล่าสุดได้แนะนำถึงปัญหาปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายไว้ว่า มันมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า delayed onset muscle soreness หรือ DOMS ซึ่งเป็นผลจากการถูกทำลายของเซลล์กล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายอย่างหนัก เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ บวม และมีจุดกดเจ็บ แต่กล้ามเนื้อก็สาเหตุซ่อมแซมตนเองกลับมาได้[1]
    • เพื่อช่วยลดการเกิดภาวะปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายเพื่อเป็นการปลุกเร้ากล้ามเนื้อและเตรียมตัวในการทำกิจกรรม และสิ่งสำคัญไม้แพ้กันคือหลีกเลี่ยงการกดดันที่เกินกว่าขีดจำกัดของร่างกายตนเองแต่ควรค่อยๆ เพิ่มความหนักของการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ แทน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ต้องเข้าใจก่อนว่ากรดแลคติกเป็นสาเหตุให้รู้สึกแสบร้อนขณะออกกำลังกาย....
    ต้องเข้าใจก่อนว่ากรดแลคติกเป็นสาเหตุให้รู้สึกแสบร้อนขณะออกกำลังกาย. ในทางตรงกันข้าม การเกิดกรดแลคติกที่เป็นสาเหตุให้รู้สึกแสบร้อนนั้น จะเกิดในช่วงที่พยายามจะออกกำลังกายให้หนักขึ้น
    • โดยปกติแล้วร่างกายจะใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคุณพยายามออกกำลังกายในระดับที่หนักขึ้น ร่างกายจะต้องการพลังงานที่เร็วกว่าพลังงานจากรูปแบบแอโรบิก (พลังงานที่ได้จากการเผาผลาญออกซิเจน)
    • เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ร่างกายจะใช้พลังงานจากรูปแบบแอนแอโรบิค (พลังงานที่ได้จากภาวะที่ร่างกายไม่มีออกซิเจนเพียงพอ) ในการสร้างพลังงาน เป็นรูปแบบที่ให้พลังงานได้เร็วกว่าแอโรบิคมาก ซึ่งกรดแลคติกหรือแลคเตทจะเป็นผลผลิตจากการสร้างแหล่งพลังงานจากรูปแบบแอนแอโรบิค
    • ร่างกายของคุณจะสามารถสร้างพลังงานแบบแอนแอโรบิคได้อย่างต่อเนื่องสูงสุดประมาณ 3 นาที ในช่วงเวลานี้ระดับของกรดแลคติกในกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้รู้สึกแสบร้อนจากการออกกำลังกายในระดับที่หนัก
    • หลังจาก 3 นาทีผ่านไป กรดแลคติกจะเริ่มทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ช้าลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเข้าใกล้ขีดจำกัดของร่างกายเองแล้ว เสมือนเป็นกลไกการป้องกันของร่างกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเมื่อยล้า
    • แม้กรดแลคติกจำนวนน้อยๆ จะจำเป็นและส่งผลดีต่อร่างกายในขณะนั้น แต่ก็จำเป็นที่จะต้องป้องกันการเกิดกรดแลคติกที่รวดเร็วเกินไป หากไม่ปฏิบัติตามก็จะพบว่าคุณจะออกกำลังกายอย่างสบายๆ ได้ยากขึ้น หรือ ความสามารถถดถอยลง
    • การลดการเกิดกรดแลคติกแม้จะไม่ได้ช่วยป้องกันการปวดล้ากล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย แต่สามารถช่วยให้ออกกำลังกายในระดับหนักได้นานขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักกีฬา[1]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ลดการเกิดกรดแลคติกขณะออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รักษาระดับน้ำในร่างกาย.
    กรดแลคติกมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ หากยิ่งมีน้ำในร่างกายมากเท่าไร ก็จะยิ่งรู้สึกปวดแสบปวดร้อนขณะออกกำลังกายและเกิดการสร้างกรดแลคติกน้อยลงเท่านั้น
    • ดื่มน้ำมากๆ ขณะออกกำลังกาย หากรู้สึกว่ากระหายน้ำขณะออกกำลังกาย นั่นหมายความว่าร่างกายของคุณขาดน้ำแล้ว
    • ดื่มน้ำให้ได้ 237 ถึง 473 มิลลิลิตรก่อนการออกกำลังกาย และดื่มน้ำ 237 มิลลิลิตรเรื่อยๆ ทุกๆ 20 นาทีในขณะออกกำลังกาย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หายใจลึกๆ.
    สาเหตุของการรู้สึกแสบร้อนในกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายในระดับที่หนักเป็นสองเท่าของปกติ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดกรดแลคติก และสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนด้วยเช่นเดียวกัน
    • คุณสามารถแก้ไขหรือป้องกันได้โดยโฟกัสที่การหายใจขณะออกกำลังกายด้วย โดยต้องมั่นใจว่าหายใจได้ลึกทั้งช่วงเข้าและออกในความเร็วการวิ่งที่ปกติ ใช้การหายใจเข้าทางจมูกและออกทางปาก
    • วิธีนี้จะช่วยนำออกซิเจนไปที่กล้ามเนื้อและยับยั้งการเกิดกรดแลคติกได้[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ออกกำลังกายบ่อยๆ .
    ยิ่งมีสมรรถภาพร่างกายดีมากเท่าไร ร่างกายก็จะนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานน้อยลงและทำให้เกิดกรดแลคติกลดลงตามไปด้วย
    • ควรออกกำลังกายให้ได้หลายครั้งต่อสัปดาห์ แต่ต้องมี 1-2 วันเป็นอย่างน้อยสำหรับการพักให้กล้ามเนื้อได้ฟื้นตัว
    • ค่อยๆ เพิ่มความหนักในการออกกำลังกายขึ้นช้าๆ โดยปรับแผนและเพิ่มเวลาหรือจำนวนครั้งขึ้นอย่างช้าๆ ในแต่ละครั้ง วิธีนี้เป็นการค่อยๆ เพิ่มระดับที่ร่างกายจะเริ่มผลิตกรดแลคติกออกมา
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ระมัดระวังเมื่อต้องยกน้ำหนัก.
    การยกน้ำหนักเป็นกิจกรรมที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกรดแลคติกออกมาได้มาก เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องการออกซิเจนมาใช้ในการเผาผลาญพลังงานมากกว่าที่ร่างกายจะส่งไปให้กล้ามเนื้อได้
    • แม้เราจะได้บอกไว้ว่าการเกิดกรดแลคติกจะทำให้ “รู้สึกแสบร้อน” แต่การเกิดกรดแลคติกก็เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บคงค้างได้หลายวันด้วยอีกเช่นกัน
    • ต้องค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักและจำนวนครั้งอย่างช้าๆ เพื่อให้ระดับกรดแลคติกที่จะเกิดขึ้นในร่างกายอยู่ในระดับที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลดความหนักในการออกกำลังกายหากเริ่มรู้สึกแสบร้อน....
    ลดความหนักในการออกกำลังกายหากเริ่มรู้สึกแสบร้อน. ความรู้สึกแสบร้อนขณะออกกำลังกายหนักๆ คือกลไกลป้องกันของร่างกายเพื่อป้องกันการเหนื่อยล้าที่มากเกินไป
    • หากออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ใช้เครื่องปั่นวงรี หรือขึ้นลงขั้นบันได ให้ลดความเร็วลง หากออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก ให้ลดจำนวนครั้งหรือลดขนาดของตุ้มน้ำหนักลง
    • หากโฟกัสที่ลมหายใจไปด้วย ก็จะทำให้ออกซิเจนถูกส่งเข้าไปที่กล้ามเนื้อและไล่กรดแลคติกออกไปได้มากยิ่งขึ้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย.
    กรดแลคติกจะถูกไล่ออกไปภายใน 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย โดยการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยไล่กรดแลคติกออกจากกล้ามเนื้อ ลดความรู้สึกแสบร้อนหรือกล้ามเนื้อเป็นตะคริวที่อาจเกิดขึ้นได้
    • ทำได้โดยยืดกล้ามเนื้ออย่างเบาๆ หลังการออกกำลังกายที่หนัก และใช้ปล่อยนิ้วมือนวดบริเวณนั้นเบาๆ[2]
    • วิธีนี้จะช่วยลดการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ที่สะสมและทำให้ปวดไปอีกหลายวันหลังจากออกกำลังกาย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ทำตัวให้กระฉับกระเฉง.
    พักผ่อนหลังการออกกำลังกายบ้างแต่ยังคงใช้ชีวิตให้สดชื่นกระฉับกระเฉง เนื่องจากกล้ามเนื้อต้องการการทำกิจกรรมเช่นเดียวกันกับออกซิเจนและน้ำเพื่อให้กล้ามเนื้อมีสุขภาพที่ดี หากรู้สึกแสบร้อนในกล้ามเนื้อขึ้นมาเป็นครั้งคราว นั่นไม่ใช่สาเหตุหรือสัญญาณเตือนอันตรายใดๆ เพราะกรดแลคติกปริมาณที่น้อยไม่ได้ทำอันตรายต่อร่างกายแต่อาจจะส่งผลดีต่อระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ลดการเกิดกรดแลคติกด้วยการรับประทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เพิ่มการรับประทานโพแทสเซียม.
    แร่ธาตุโพแทสเซียมนั้นจำเป็นต่อการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย การได้รับโพแทสเซียมในระดับที่พอดี จะช่วยให้ร่างกายขนส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายได้ดีและลดการเกิดกรดแลคติก ดังนั้นจึงควรเพิ่มโพแทสเซียมในชีวิตประจำวัน ซึ่งวิธีที่ได้รับจากอาหารนับว่าเป็นวิธีที่ดี
    • ตัวอย่างเช่น ผักจำพวกบีทรูท ผักโขม คะน้า หัวไชเท้า ถั่วแขก ถั่วเมล็ดแห้ง อย่างเช่น ถั่วขาว ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วแระ รวมถึงเมล็ดพืช อย่างเช่น เมล็ดฟักทอง งา และเมล็ดทานตะวัน เมล็ดพืชเหล่านี้เป็นแหล่งของแมกนีเซียมชั้นดี และเต้าหู้ โดยเฉพาะเต้าหู้นิงาริซึ่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียมมากกว่าเต้าหู้ชนิดอื่น
    • อาจรับประทานโพแทสเซียมในรูปแบบของอาหารเสริมร่วมด้วยได้ แต่อย่างไรก็ตามอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมที่กล่าวมาก็เพียงพอแล้ว อาหารเสริมอาจไม่จำเป็น[3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน.
    อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างพลังงานของร่างกาย และยังช่วยให้ร่างกายต้องการกรดแลคติกน้อยลงขณะออกกำลังกายทำให้ออกกำลังกายได้นาน
    • กรดไขมันที่จำเป็น ได้จากปลาจากแหล่งน้ำเย็น เช่น แซลมอน ทูนา และแมคเคอเรล จากถั่วชนิดต่างๆ และเมล็ดพืข อย่างเช่น ถั่ววอลนัท เมล็ดเชีย และจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลือง[4]
    • กรดไขมันยังช่วยเรื่องการลดการอักเสบ ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อที่จะเกิดขึ้นในวันต่อๆ มาหลังออกกำลังกาย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มเบกกิ้งโซดาละลายน้ำ.
    เบกกิ้งโซดาเป็นสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อดื่มเข้าไปจะไปเจือจางให้กรดแลคติกที่จะเกิดในกล้ามเนื้อมีฤทธิ์เป็นกลาง
    • วิธีนี้ช่วยให้ออกกำลังกายหนักๆ ได้นานขึ้น โดยที่กล้ามเนื้อไม่รู้สึกแสบร้อนเร็ว
    • เพื่อให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง ผสมผงเบกกิ้งโซดาในปริมาณ 0.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เข้ากับน้ำเย็น ประมาณ 340 มิลลิลิตร อาจผสมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ได้รสชาติตามใจชอบ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี.
    วิตามินบีเป็นส่วนสำคัญในการขนส่งน้ำตาลไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งนำไปเผาผลาญเป็นพลังงานให้แก่กล้ามเนื้อขณะออกกำลังกาย ดังนั้นจึงช่วยลดความต้องการกรดแลคติกของร่างกายได้
    • อาหารที่มีวิตามินบีสูง ได้แก่ ผักใบเขียว เมล็ดธัญพืช ถั่วจำพวกฝักและถั่วเมล็ดแห้ง รวมถึงอาหารที่โปรตีนสูง ได้แก่ ปลา เนื้อวัว สัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม
    • อาหารที่มีวิตามินบีสูงจะช่วยซ่อมแซมและเติมเต็มสารอาหารอื่นๆ ที่จะสูญเสียไปขณะออกกำลังกายอย่างหนักๆ
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ภาวะการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและมีจุดกดเจ็บรวมถึงจำกัดช่วงการเคลื่อนไหวอยู่ 1 ถึง 3 วัน หลังการออกกำลังกายอย่างหนัก ถูกเรียกกันในแวดวงครูฝึกนักกีฬาว่า การปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย หรือ DOMS ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหลายจะช่วยลดการเกิดกรดแลคติกซึ่งทำให้ไม่เกิดภาวะ DOMS
  • อย่ายืดกล้ามเนื้อมากเกินไป เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ปวดกล้ามเนื้อและรู้สึกเสียวแปล๊บๆ ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 64,571 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 64,571 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา