วิธีการ รักษาอาการเส้นประสาทคอถูกกดทับ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เวลาปวดแปลบรุนแรงบริเวณคอหรือส่วนอื่นของกระดูกสันหลัง เราชอบเรียกว่ามีอาการเส้นประสาทถูกกดทับ หรือ "pinched nerve" ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอะไรไป pinch หรือ "หยิก " เส้นประสาทไขสันหลัง แต่เป็นอาการระคายเคืองจากสารเคมีในร่างกาย เส้นประสาทตึงหรือถูกกดทับ ทำให้รู้สึกแสบร้อน แปล๊บๆ จี๊ดๆ เหมือนไฟช็อต[1] แต่จริงๆ แล้วอาการที่ว่า เกิดจากข้อต่อฟาเซ็ตของกระดูกสันหลังนั้นขัด ระคายเคือง หรืออักเสบขึ้นมา ทำให้เจ็บปวดรุนแรง และขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก แต่จะไม่อันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด คุณรักษาอาการเส้นประสาทคอถูกกดทับนี้ได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งมีทั้งวิธีดูแลตัวเองที่บ้าน และตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อดทนรอ.
    อาการเส้นประสาทกระดูกสันหลังคอถูกกดทับ (บางทีเรียก kinked neck) มักเกิดกะทันหัน จากการหันหรือหมุนคอผิดท่า หรือจากแรงกระแทก เช่น กล้ามเนื้อต้นคอบาดเจ็บจากแรงบิด (whiplash)[2] ถ้าอาการเกิดจากการเคลื่อนไหวผิดท่า จะหายปวดคอเองในไม่นาน ไม่ต้องหาหมอหรือดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด เพราะงั้นให้ใจเย็น อดทนรอสัก 2 - 3 ชั่วโมง ไปจนถึง 2 - 3 วัน
    • จะยิ่งเสี่ยงบาดเจ็บที่คอ ถ้ากล้ามเนื้อเย็นและตึงเกร็ง เพราะงั้นอย่าหันคอกะทันหันหรือแรงเกินไปโดยไม่วอร์มกล้ามเนื้อซะก่อน เช่น รอให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงตามปกติ หรือหาผ้าพันคอ/เสื้อคอเต่ามาใส่ ถ้าใครไปเที่ยวเมืองหนาวหรืออยู่ในห้องแอร์เย็นจัดทั้งวัน
    • ถึงเจ็บก็ให้ทำตัวตามปกติ อย่าไปเกร็งคอว่าห้ามหัน เดี๋ยวก็จะอาการดีขึ้นเอง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรับเปลี่ยนการทำงานหรือออกกำลังกาย.
    ถ้าปวดคอเพราะงานที่ทำ ให้ลองปรึกษาหัวหน้า เพื่อปรับเปลี่ยนหรือสลับหน้าที่ชั่วคราว ไม่ก็ปรับเปลี่ยนโต๊ะหรือสถานที่ทำงานซะใหม่ ไม่ให้คออยู่ในตำแหน่งที่จะปวดไปกว่าเดิม งานที่ต้องใช้แรง เช่น ยกของ แบกของ ก้มๆ เงยๆ อย่างช่างเชื่อมหรือก่อสร้าง จะมีโอกาสปวดคอสูงกว่าอาชีพอื่น อีกทีคือพนักงานบริษัทที่ต้องก้มพิมพ์งานตลอดวัน ถ้าปวดคอเพราะออกกำลังกาย แสดงว่าออกผิดท่าหรือกระโชกโฮกฮากเกินไป ลองปรึกษาเทรนเนอร์ดู
    • ถึงปวดคอก็ไม่แนะนำให้นั่งๆ นอนๆ เฉยๆ บนเตียง ควรขยับบ้างให้กล้ามเนื้อและข้อได้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยง จะได้ฟื้นตัวเร็ว[3]
    • ทำงานหรืออยู่บ้านก็ต้องจัดท่าทางให้ถูกต้อง ถ้าจะใช้คอม หน้าจอต้องอยู่ระดับสายตา คอจะได้ไม่เคล็ดหรือเกร็ง
    • นอนให้ถูกท่า ถ้าหมอนหนา/สูงเกินไป ก็ทำให้ปวดคอได้ อย่าพยายามนอนคว่ำ เพราะทำให้หัวกับคอบิดผิดท่า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ซื้อยากินเอง.
    ยากลุ่ม NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatories) เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรือแอสไพริน พวกนี้ใช้แก้ปวดแก้อักเสบชั่วคราวได้[4] แต่ไม่ค่อยดีต่อกระเพาะ ตับ และไต เพราะงั้นอย่าใช้ติดต่อกันเกิน 2 อาทิตย์ และห้ามกินยาเกินขนาดเด็ดขาด
    • ปริมาณยาที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ คือ 200 - 400 มก. ทุก 4 - 6 ชั่วโมง
    • อีกทีคือใช้ยาแก้ปวด (analgesics) อย่าง acetaminophen (Tylenol) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (เช่น cyclobenzaprine) เวลาปวดคอ แต่ห้ามกินคู่กับยา NSAIDs เด็ดขาด
    • อย่ากินยาตอนท้องว่าง เพราะจะไประคายเคืองผนังกระเพาะ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ประคบเย็น.
    ประคบเย็นช่วยได้หมด ถ้าบาดเจ็บในกระดูกและกล้ามเนื้อแค่เล็กน้อย ปวดคอแบบนี้ก็ด้วย[5] ให้ประคบเย็นตรงคอบริเวณที่กดเจ็บที่สุด จะช่วยลดปวดบวมได้ โดยประคบ 20 นาที ทุก 2 - 3 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1 - 2 วัน แล้วลดความถี่ลงหลังอาการดีขึ้น
    • เวลาประคบเย็นที่คอ ให้พันทับด้วยยางยืดช่วย support จะได้ลดอาการอักเสบ
    • ต้องห่อน้ำแข็งหรือเจลแพ็คด้วยผ้าบางๆ ก่อนเสมอ ความเย็นจะได้ไม่กัดผิว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 แช่น้ำผสมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt bath).
    ถ้าแช่หลังส่วนบนและคอในน้ำอุ่นผสมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt) จะช่วยลดอาการปวดบวมได้ดีมาก โดยเฉพาะถ้าปวดเพราะกล้ามเนื้อฉีก[6] แมกนีเซียมในเกลือนี่แหละที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แต่น้ำที่แช่ต้องอย่าร้อนจัดเกินไป (จะได้ไม่ลวก) และอย่าแช่นานเกิน 30 นาที เพราะน้ำเกลือจะดึงน้ำในร่างกายไป ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
    • ถ้าปัญหาหลักๆ คือคอบวม พอแช่น้ำอุ่นผสมดีเกลือแล้ว ให้ต่อด้วยประคบเย็นจนคอชา (ประมาณ 15 นาทีขึ้นไป)
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ค่อยๆ ยืดเหยียดคอ.
    เพราะอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ (เพราะลดแรงกดทับที่เส้นประสาท หรือทำให้ข้อฟาเซ็ตของคอหายขัด) โดยเฉพาะถ้ารีบแก้ตั้งแต่มีอาการใหม่ๆ[7] ให้เคลื่อนไหวช้าๆ อย่างมั่นคง หายใจเข้า-ออกลึกๆ ไปด้วยตอนยืดเหยียด โดยยืดเหยียดค้างไว้ประมาณ 30 วินาที จากนั้นทำซ้ำ 3 - 5 ครั้งต่อวัน
    • ตอนยืนและมองตรงไปข้างหน้า ให้ค่อยๆ เอียงคอ ให้หูมาใกล้ไหล่ที่สุด พัก 2 - 3 วินาที แล้วทำซ้ำกับอีกข้าง
    • ให้ยืดเหยียดทันทีหลังอาบน้ำอุ่นหรือประคบด้วยอะไรร้อนๆ ชื้นๆ เพราะกล้ามเนื้อคอจะคลาย ยืดหยุ่นได้ดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาหมอเฉพาะทาง.
    แพทย์เฉพาะทาง เช่น ศัลยแพทย์กระดูก แพทย์ระบบประสาท หรือแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม จะตรวจวินิจฉัยได้ว่าอาการปวดคอของคุณมาจากสาเหตุอันตรายร้ายแรงหรือเปล่า เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท กระดูกอักเสบติดเชื้อ โรคกระดูกพรุน กระดูกสันหลังหัก โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือมะเร็ง[8] ปกติปวดคอแล้วไม่ค่อยเกิดจากโรคพวกนี้ แต่ถ้าดูแลตัวเองและบำบัดรักษาตามปกติแล้วไม่ได้ผล ก็ถึงเวลาตรวจหาสาเหตุที่อาจอันตรายร้ายแรงกว่า
    • เอกซเรย์ สแกนกระดูก MRI CT scan และการตรวจโดยการกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า คือการตรวจวินิจฉัยที่แพทย์เฉพาะทางนิยมใช้หาสาเหตุของอาการปวดคอ[9]
    • คุณหมออาจตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเปล่า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดเรื่องด้วยการดึงคอ....
    ปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดเรื่องด้วยการดึงคอ. traction เป็นเทคนิคใช้ยืดหรือเพิ่มช่องว่างระหว่างข้อกระดูกสันหลัง ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่นักกายภาพบำบัดใช้มือดึงคอให้เอง ไปจนถึงใช้เตียงดึงคอและสะโพก (traction table) อุปกรณ์สำหรับดึงคอเองที่บ้านก็มี แต่ต้องทำช้าๆ อย่างระมัดระวังที่สุด ถ้าทำแล้วเจ็บหรือชาลงแขน ให้หยุดแล้วไปหาหมอทันที แต่ทางที่ดีให้ปรึกษาคุณหมอ นักจัดกระดูก หรือนักกายภาพบำบัดก่อนดีกว่า จะได้เลือกวิธีให้ถูกกับอาการ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พิจารณาฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อฟาเซ็ต.
    บางทีที่ปวดคออาจเพราะข้ออักเสบเรื้อรัง ขั้นตอนของการฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ต คือจะใช้ fluoroscopic (เอกซเรย์) นำทางเพื่อสอดเข็มผ่านกล้ามเนื้อคอ ไปยังข้อกระดูกสันหลังที่อักเสบหรือระคายเคือง แล้วฉีดยาชาผสมสเตียรอยด์เข้าไป จะช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้อย่างรวดเร็ว ขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาที และผลการรักษาจะคงอยู่ประมาณ 2 - 3 อาทิตย์ ไปจนถึง 2 - 3 เดือน[10]
    • คุณฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ตได้ไม่เกิน 3 ครั้งใน 6 เดือน
    • ฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ตแล้ว จะเริ่มหายปวดก็ตอนเข้าวันที่ 2 - 3 ระหว่างนั้นอาจมีปวดคอกว่าเดิมนิดหน่อยด้วยซ้ำ
    • ผลข้างเคียงที่พบได้หลังฉีดยา ก็คือติดเชื้อ เลือดไหล กล้ามเนื้อบางส่วนลีบฝ่อ และเส้นประสาทเสียหายหรือเกิดการระคายเคือง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อาจจะต้องผ่าตัด.
    ถือเป็นวิธีรักษาอาการปวดคอที่ควรเก็บไว้ท้ายสุด หลังจากใช้วิธีอื่นๆ ตามปกติแล้วไม่ (ค่อย) ได้ผล หรือถ้าคุณหมอพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดเหมาะกับสภาพอาการมากกว่า สาเหตุที่ต้องผ่าตัดรักษาคอก็เช่น แก้ไขหรือประคองกระดูกที่หัก (จากแรงกระแทกหรือโรคกระดูกพรุน) ผ่าตัดเนื้องอก หรือแก้ไขภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท[11] ถ้าเส้นประสาทที่คอเป็นสาเหตุของอาการปวด จะรู้สึกเจ็บแปลบ ชา และ/หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนและ/หรือมือลีบ
    • ผ่าตัดกระดูกสันหลังแล้วอาจมีการดามด้วยแท่งเหล็ก น็อต หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อพยุงโครงสร้างไว้ด้วย
    • ถ้าแก้ไขโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมกระดูก 2 ท่อนขึ้นไป (ข้อกระดูกสันหลัง) เข้าด้วยกัน ทำให้ระยะการเคลื่อนไหวแคบลง
    • ผลข้างเคียงที่มักพบหลังผ่าตัดหลังก็เช่น ติดเชื้อบริเวณที่ผ่า แพ้ยาสลบ เส้นประสาทเสียหาย เป็นอัมพาต และปวด/บวมเรื้อรัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วิธีทางเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นวดคอ.
    กล้ามเนื้อฉีกคือการที่เส้นใยกล้ามเนื้อบางส่วนถูกยืดหรือดึงเกินระยะจนฉีกขาด ทำให้ปวด อักเสบ และกล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นอาการที่เราเรียกว่า "เส้นประสาทถูกกดทับ" อาจเกิดจากกล้ามเนื้อคอฉีกก็ได้ การนวดเนื้อเยื่อระดับลึก (deep tissue massage) จะเห็นผลถ้ากล้ามเนื้อฉีกเล็กน้อยถึงปานกลาง เพราะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ต้านอักเสบ และช่วยให้ผ่อนคลาย[12] เริ่มจากนวด 30 นาที โดยเน้นคอและหลังส่วนบน พยายามให้หมอนวดกดลึกๆ เท่าที่คุณทนได้ ไม่ทรมานเกินไป
    • หลังนวดเสร็จให้รีบดื่มน้ำเยอะๆ จะได้ขับพิษ กรดแลคติก และสารตกค้างจากการอักเสบออกไปจากร่างกาย ไม่งั้นจะปวดหัวหรือคลื่นไส้นิดหน่อยได้
    • ถ้าไม่ชอบให้คนแปลกหน้ามานวด ก็นวดกล้ามเนื้อคอเองได้ โดยใช้ลูกเทนนิสหรือเครื่องนวดแบบสั่น หรือดีกว่านั้นคือให้เพื่อนช่วยนวดซะเลย ให้กลิ้งลูกเทนนิสช้าๆ ตรงคอบริเวณที่กดเจ็บ ประมาณ 10 - 15 นาที 2 - 3 ครั้งต่อวัน จนอาการดีขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำกายภาพบำบัด.
    ถ้าปวดคอบ่อยๆ จนเข้าค่ายเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท่าทางการนั่ง ยืน เดินเปลี่ยนไป หรือมีการเสื่อมสภาพ เช่น ข้อเสื่อม ก็ต้องฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะจัดท่ายืดเหยียดและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตามอาการปวดคอของคุณให้เอง[13] ต้องทำกายภาพประมาณ 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ติดต่อกัน 4 - 6 อาทิตย์ อาการผิดปกติที่สันหลังแบบเรื้อรังถึงจะดีขึ้นอย่างเห็นผล
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ไปหานักจัดกระดูก.
    chiropractors หรือ osteopaths เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เน้นจัดกระดูกให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติ กระดูกสันหลังข้อเล็ก (ข้อฟาเซ็ต) กลับมาใช้งานได้ตามเดิม นอกจากนี้ยังจัดกระดูกเพื่อแก้ข้อฟาเซ็ตขัด จัดเรียงข้อฟาเซ็ตของกระดูกสันหลังที่บิดเบี้ยวซะใหม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบและอาการปวดแปลบ โดยเฉพาะตอนที่เคลื่อนไหว การดึงคอ (traction) ก็ช่วยบรรเทาปวดได้เช่นกัน
    • บางคนจัดกระดูกครั้งเดียวก็หายปวดจากอาการเส้นประสาทคอถูกกดทับเลย แต่ส่วนใหญ่ต้องจัดกระดูกซ้ำ 3 - 5 ครั้งถึงจะเห็นผลชัดเจน
    • นักจัดกระดูกอาจรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อเน้นรักษากล้ามเนื้อฉีก ซึ่งก็ต้องดูตามอาการปวดคอของคุณ
    • ถ้าจำเป็น นักกายภาพจะรักษากล้ามเนื้อคอที่ปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า เช่น บำบัดด้วยอัลตราซาวด์ หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า
    • วิธีออกกำลังกายคอที่น่าสนใจก็เช่น ว่ายน้ำ โยคะบางท่า และเล่นเวท แต่ต้องให้หายใจอาการเก่าซะก่อน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ฝังเข็ม.
    acupuncture ก็คือการฝังเข็มตามจุดพลังงานใต้ผิวหนัง/กล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ ฝังเข็มก็ช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้ดี โดยเฉพาะถ้ารักษาแต่เนิ่นๆ[14] ถ้าตามหลักของแพทย์แผนจีน การฝังเข็มช่วยให้ร่างกายหลั่งสารต่างๆ เช่น เอนดอร์ฟินส์และเซโรโทนิน ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้
    • นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของพลังงาน (chi)
    • คนที่จะฝังเข็มให้คุณได้ก็เช่น คุณหมอ หมอจีน นักกายภาพบำบัด นักจัดกระดูก นักธรรมชาติบำบัด ไปจนถึงหมอนวดที่ผ่านการอบรมและมีใบอนุญาต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่านอนอ่านหนังสือบนเตียงแบบหนุนหมอนสูงให้หัวตั้งบ่า เพราะคอจะฝืนเกินไป
  • อย่าสะพายกระเป๋าที่ถ่ายน้ำหนักไปที่ไหล่แค่ข้างใดข้างหนึ่ง เช่น กระเป๋าสะพายเฉียง หรือกระเป๋าสะพายของผู้หญิง เพราะคอจะเคล็ดได้ ถ้ากระเป๋าหนักมาก ให้เลือกแบบมีล้อ หรือใช้เป้ที่สะพายด้วยไหล่ทั้ง 2 ข้างเท่ากัน โดยเฉพาะเป้ที่มีแผ่นนุ่มๆ รองบ่า
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ออกซิเจนกับสารอาหารที่จำเป็นเลยไปไม่ถึงกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่ออื่นๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ก่อนรักษาตัวเองด้วยวิธีไหนในบทความนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือนักจัดกระดูกเรื่องอาการปวดหรือบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังของคุณก่อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Steve Horney PT, MPT, MTC, CSCS
ร่วมเขียน โดย:
นักกายภาพบำบัดและเจ้าของ Integrated Health Sciences
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Steve Horney PT, MPT, MTC, CSCS. สตีฟ ฮอร์นีเป็นนักกายภาพบำบัดและเป็นเจ้าของ Integrated Health Sciences บริษัทที่ให้ความรู้ ออกผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและคู่มือการทำกายภาพบำบัดในนิวยอร์ก เขามีประสบการณ์กว่า 15 ปีทางการดูแลนักกีฬาโดยเนนไปที่การช่วยพวกเขาประสบอาการบาดเจ็บน้อยลง เขาจบปริญญาตรีด้านสุขภาพในปี 2004 และปริญญาโทด้านกายภาพบำบัดในปี 2006 จากมหาวิทยาลัยควินนิเปียค และได้ประกาศนียบัตรรับรองจากมหาวิทยาลัยเซนต์ออกุสทีนในปี 2014 บทความนี้ถูกเข้าชม 15,829 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,829 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา