วิธีการ ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การปรับบุคลิกท่าทางการนั่งการยืนให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพกายและจิตของคุณให้สมบูรณ์แข็งแรงเป็นอย่างมาก เพราะในระหว่างที่คุณพยายามสร้างบุคลิกภาพที่ดี อวัยวะต่างๆ จะได้รับการจัดวางให้เข้าที่เข้าทางอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ การสร้างบุคลิกภาพที่ดีจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดปัญหาสุขภาพนานาที่หลายคนกำลังประสบ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลังปวดคอ ปวดศีรษะ หรือภาวะร่างกายอ่อนแรงเรื้อรัง เท่านั้นยังไม่พอ การดูแลสุขภาพโดยรวม รวมถึงการยืน (หรือนั่ง) หลังตรงยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้แก่คุณ ในบทความนี้ เราจึงนำวิธีการปรับปรุงและรักษาบุคลิกของคุณให้ดูดีทุกท่วงท่ามาฝากกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 9:

เทคนิคชิคๆ ในการปรับบุคลิกท่าทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คิดถึงเส้นเชือก.
    ลองจินตนาการว่ามีเส้นเชือกงอกขึ้นมาจากศีรษะและกำลังดึงคุณขึ้นไปยังเพดานเบาๆ การจินตนาการภาพเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยไกด์ให้คุณสามารถกะตำแหน่งและความสูงของท่วงท่าที่เหมาะสมได้ดีทีเดียว
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ให้เพื่อนแปะเทปกาวเป็นรูปตัว X ใหญ่ๆ ไว้บนหลัง พาดยาวตั้งแต่ไหล่ข้างหนึ่งไปยังสะโพกอีกข้าง. ตามด้วยการแปะเทปกาวเป็นเส้นตรงจากไหล่ข้างหนึ่งไปยังอีกข้างเพื่อปิดช่องเปิดด้านบนตัว X และแปะทิ้งไว้ทั้งวันเพื่อช่วยดัดหลังของคุณเสียใหม่ วิธีการนี้ใช้การได้ดีอย่าบอกใครโดยเฉพาะถ้าก่อนหน้านี้คุณชอบเผลอห่อไหล่บ่อยๆ โดยแนะนำให้ใช้เทปกาวที่ไม่ยืดและกว้างสักหน่อย และถ้าเปลี่ยนเทปกาวทุกวันได้จะถือว่าดีมาก
  3. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    พยายามเดินอย่างสมดุลเหมือนคุณมีหนังสือวางอยู่บนศีรษะตลอดเวลา
  4. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ถ้าคุณจำเป็นต้องมีตัวช่วยเตือนความจำให้คอยรักษาบุคลิกท่าทางอยู่เสมอ อาจจะลองคิดถึงวัตถุหรือสีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อนึกถึงวัตถุนี้ขึ้นมาเมื่อไร ให้เช็คท่วงท่าของร่างกายทันที
  5. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ในขณะเดิน ลองรักษาท่วงท่าและสมดุลของร่างกายโดยอาศัยช่วงน่องให้มากยิ่งขึ้น ปล่อยตัวตามสบายและก้าวย่างไปด้วยความกระฉับกระเฉง คุณจะรู้สึกราวกับลำตัวช่วงบนได้รับการปลดปล่อย ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและตั้งลำตัวให้ตรงได้มากขึ้น อีกทั้งยังได้ยืดช่วงหลัง ไหล่ และลำคอ รวมถึงบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องไปด้วยในตัว วิธีนี้จึงถือว่าเจ๋งสุดๆ เพราะเป็นโอกาสที่น่องและกล้ามเนื้อของเราจะได้อวดความแข็งแรง!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 9:

ท่านั่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    คุณโดนแม่เอ็ดเรื่องนี้มากี่ครั้งแล้ว? หลายๆ คน คงเริ่มได้ยินคำเตือนนี้จากคุณแม่ไล่เลี่ยกับคำเตือนอย่าง “กินผักด้วย” หรือ “ ทำอย่างนั้นระวังตาจะเหล่เข้าจริงๆ” ความจริงสิ่งที่คุณแม่พร่ำบ่นก็มีเหตุผลว่าไหม อย่างน้อยก็เรื่องการนั่งของเรา โดยเฉพาะตอนนี้ที่หลายๆ คนต้องนั่งโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน การปฏิบัติตามคำแนะนำพื้นฐานเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญทั้งต่อบุคลิกภาพและสุขภาพของคุณเอง
    • สำหรับผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับโต๊ะนานหลายชั่วโมง ถ้าเลือกได้ล่ะก็ ควรใช้เก้าอี้ที่ออกแบบมาให้เข้ากับสรีระของมนุษย์ และเหมาะกับส่วนสูงและน้ำหนักของคุณ แต่ถ้าเลือกไม่ได้จริงๆ ลองใช้หมอนใบเล็กๆ รองตรงช่วงเอวดูหน่อยเป็นไง
    • วางแผ่นหลังให้เข้ากับพนักพิงของเก้าอี้ออฟฟิศ วิธีการนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณงอตัวหรือโน้มตัวไปข้างหน้า ซึ่งเป็นท่วงท่าที่คุณอาจเผลอทำเมื่อนั่งกับโต๊ะนานๆ
    • ถ้าคุณต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ลองปรับตำแหน่งหน้าจอให้หันขึ้นมากกว่าปกติสักนิด โดยเฉพาะสำหรับคนที่ชอบนั่งตัวงอ วิธีการนี้จะบังคับให้คุณต้องนั่งหลังตรงเพื่อมองจอให้ชัดขึ้นนั่นเอง
    • ในส่วนของท่ายืน ให้ตั้งไหล่ตรง 180 องศา เชิดหน้ามองตรง และจัดวางลำคอ หลัง และส้นเท้าให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม
    • วางเท้าทั้ง 2 ข้างไว้บนพื้นหรือที่วางเท้า (ถ้ายืดขาไม่ถึงพื้น)
    • ปรับเก้าอี้และตำแหน่งของลำตัวให้แขนงอเข้า ไม่ยืดตรง โดยทำมุมประมาณ 75-90 องศาตรงข้อศอก เพราะถ้ายืดแขนตรงเกินไป จะทำให้ลำตัวของคุณงอไปด้านหลังมากเกินไป และถ้ายืดออกมากกว่า 90 องศา จะทำให้คุณนั่งใกล้จอคอมมากเกินไปหรือนั่งตัวงอนั่นเอง
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    แม้คุณจะนั่งด้วยท่วงท่าสุดเพอร์เฟคบนเก้าอี้ที่ได้รับออกแบบมาดีที่สุดในโลก (ซึ่งยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเก้าอี้นี้มีจริงหรือไม่)[1] อย่างไรคุณก็ยังต้องยืนขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปรอบๆ และออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ หรือยืนขึ้นเฉยๆ แค่ 2-3 นาทีก็ยังดี เพราะร่างกายของคนเราไม่ได้ออกแบบมาให้นั่งอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยซิดนีย์เมื่อเร็วๆ นี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า "การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจนำไปสู่สาเหตุของโรคหลากหลายชนิด ไม่ว่ากิจกรรมอื่นที่คุณทำจะมีลักษณะอย่างไรก็ตาม" รอช้าอยู่ใย ขยับร่างกายกันหน่อยดีกว่า!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 9:

ท่าเดิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การเดินในท่าที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากการยืนอย่างถูกวิธี นั่นคือ หน้าตั้ง อกผาย ไหล่ผึ่ง และตามองตรงไปข้างหน้า
    • พยายามอย่าโน้มศีรษะไปด้านหน้า
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 9:

การนอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    แม้คุณจะไม่สามารถควบคุมท่านอนได้ในระหว่างที่กำลังหลับ แต่รู้หรือไม่ว่า วิธีการนอนก็มีผลต่อท่วงท่าในยามตื่นของคุณด้วยเช่นเดียวกัน
    • การใช้เบาะนอนที่แข็งขึ้นเพื่อให้รองรับแผ่นหลังได้อย่างเหมาะสมเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยได้
    • การนอนหงายจะทำให้ไหล่ของคุณตั้งตรง และมักทำให้หลังรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าการนอนคว่ำ
    • ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบนอนตะแคง ลองสอดหมอนแบนๆ ใบเล็กๆ ไว้ระหว่างเข่าเพื่อปรับกระดูกสันหลังให้เข้าที่และตั้งตรง
    • ใช้หมอนรองที่เหมาะสมเพื่อให้ศีรษะและไหล่วางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่ต้องระวังอย่าใช้หมอนมากเกินไป เพราะอาจทำให้ศีรษะของคุณหันไปในตำแหน่งที่ผิดธรรมชาติ การนอนผิดท่าในลักษณะนี้จะทำให้คุณรู้สึกตึง ปวด และวิงเวียนศีรษะเมื่อตื่นขึ้นมา
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 9:

ท่าขับรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การนั่งในท่าที่ถูกต้องไม่ได้ส่งผลดีต่อบุคลิกภาพของคุณเพียงเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อความปลอดภัยอื่นๆ อีกด้วย เพราะตำแหน่งของเก้าอี้และระบบป้องกันต่างๆ ภายในรถล้วนได้รับออกแบบมาสำหรับผู้ที่นั่งบนเก้าอี้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ท่านั่งจึงมีผลต่อความปลอดภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
    • พิงหลังกับเก้าอี้และวางศีรษะบนพนักพิง
    • ปรับเก้าอี้ให้ห่างจากแป้นเหยียบและพวงมาลัยในระยะที่เหมาะสม ถ้านั่งแล้วรู้สึกว่าลำตัวเอียงไปข้างหน้า นิ้วเท้าชี้ไปข้างหน้า หรือต้องยืดแขนไปยังพวงมาลัย แสดงว่าคุณนั่งไกลออกมามากเกินไป แต่ถ้าลำตัวของคุณเบียดแน่น คางวางอยู่เหนือพวงมาลัย แสดงว่าคุณอยู่ใกล้เกินไป
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    คุณควรปรับพนังศีรษะให้ช่วงกลางศีรษะพิงอยู่บนพนัก และปรับเอนพนักตามความจำเป็น เพื่อให้ส่วนหลังของศีรษะอยู่ห่างออกมาจากพนักพิงไม่เกิน 4 นิ้ว (10 ซม.)
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 9:

บริหารกล้ามเนื้อส่วนสำคัญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ในการดูแลระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกทั้งหมดให้สมดุลเพื่อให้สามารถรองรับท่วงท่าของคุณได้เป็นอย่างดี อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญนั่นคือการรักษาหุ่นให้สมส่วนอยู่เสมอ ลองนำเทคนิคต่อไปนี้ไปใช้ดูสิ:
    • นอนหงายลงกับพื้นและงอขาเป็นมุม 90 องศาตรงช่วงเข่า โดยให้ขาวางอยู่บนบนพื้น
    • ดึงสะดือเข้าหากระดูกสันหลังจนสุดและค้างไว้ นี่เป็นอีกหนึ่งท่าหดเกร็งลำตัวที่ต่างจากท่าครันช์ (ท่าครันช์จะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนหน้าเสียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ท่านี้จะเน้นบริหารกล้ามเนื้อด้านในที่อยู่ใกล้กับช่วงหลังของคุณ)
    • ทำค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำจนครบ 8 รอบ โดยควรทำเป็นประจำทุกวัน
    • รักษาท่วงท่าให้เหมาะสมอยู่เสมอแม้คุณจะรู้สึกเหนื่อยและไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นเลย เช่น กล้ามเนื้อหลังหรือก้น
    • พยายามหายใจด้วยจังหวะปกติในระหว่างที่ทำท่านี้ เพราะเป้าหมายของเราคือการบริหารอวัยวะในร่างกายให้คงอยู่ในท่านี้ได้ในระหว่างที่เราทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 9:

ท่ายืน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ท่ายืนที่ถูกต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดวางลำตัวและรักษาสมดุลของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับคุณ และนี่คือเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณยืนตรงได้อย่างถูกต้อง:
    • กางขาออกให้ห่างจากกันประมาณช่วงไหล่ เหมือนในเวลาที่คุณออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้แรง
    • ยืนตัวตรง ขั้นตอนนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญของการยืนอย่างถูกต้องและต้องอาศัยการทำซ้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อคุณฝึกนิสัยให้ยืนอย่างถูกต้องอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติในที่สุด
    • ทิ้งน้ำหนักไปบนฝ่าเท้าส่วนหน้า เพราะการทิ้งน้ำหนักไปที่ส้นเท้ามักจะทำให้คุณงอตัวโดยไม่รู้ตัว ลองลุกขึ้นและพยายามยืนบนฝ่าเท้าส่วนหน้า แล้วสังเกตว่าอวัยวะส่วนอื่นๆ มีการตอบสนองอย่างไร จากนั้นจึงเปลี่ยนกลับมาทิ้งน้ำหนักลงบนส้นเท้า คุณจะสังเกตได้ว่าการเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียวนี้ทำให้ลำตัวทั้งหมดเข้าสู่โหมด "ห่อตัว" ในทันที
    • ตั้งไหล่ให้ตรงอยู่เสมอ คุณอาจรู้สึกไม่ชินในช่วงแรกๆ หากไม่เคยฝึกนิสัยการจัดวางลำตัวให้ถูกต้องมาก่อน แต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ คุณจะทำสิ่งนี้ได้โดยสัญชาตญาณเหมือนในการฝึกยืนตรง
    • เงยหน้ามองตรง ลองจินตนาการว่าศีรษะของคุณกำลังถูกดึงขึ้นไปยังเพดาน โดยให้ศีรษะตั้งตรงอยู่บนลำคอและกระดูกสันหลัง วิธีนี้นอกจากจะช่วยปรับบุคลิกภาพของคุณแล้ว ยังทำให้คุณดูสูงและผอมเพรียวขึ้นอีกด้วย มาลองดูกัน!
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ทำให้ร่างกายรับรู้ว่าท่าที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร. โดยการยืนเอาหลังพิงประตูหรือกำแพง ให้ส่วนหลังของศีรษะ ไหล่ และก้นสัมผัสกับประตูหรือกำแพงเพียงเบาๆ มันอาจจะรู้สึกแปลกๆ และไม่สบายตัวไปบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเมื่อคุณฝึกนิสัยการยืนอย่างถูกต้องพร้อมบริหารร่างกายด้วยท่าต่างๆ ไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดคุณจะรู้สึกไม่สบายตัวถ้า "ไม่" ยืนในท่านี้
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 9:

ท่าทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การสร้างบุคลิกท่าทางที่ดีไม่มีอะไรมากไปกว่าการจัดวางร่างกายให้ถูกต้อง หากต้องการยืนอย่างถูกต้อง เพียงยืดหลังขึ้น ไหล่ตรง คางตั้ง อกตึง เก็บหน้าท้องเข้า เท้าชี้ไปด้านหน้า พร้อมรักษาสะโพกและเข่าให้อยู่ตรงกลางเข้าไว้ ถ้าคุณสามารถวาดเส้นตรงจากติ่งหูผ่านช่วงไหล่ สะโพก เข่า ไปจนถึงช่วงกลางข้อเท้าได้ นั่นล่ะใช่เลย! วิธีการค้นหาท่วงท่าที่เหมาะสำหรับคุณ มีดังนี้:
    • จัดตำแหน่งของหู ไหล่ และสะโพกให้ถูกต้องโดยใช้กระจกเป็นตัวช่วย ถ้าคุณจัดวางอวัยวะเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม หูของคุณจะวางอยู่เหนือช่วงไหล่และสะโพก และเหมือนอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ คุณจะสามารถลากเส้นตรงผ่านอวัยวะเหล่านี้ได้ ในขณะที่กระดูกสันหลังของคุณจะโค้งคล้ายๆ ตัว 'S' โดยไม่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บเลยแม้แต่น้อย ถ้ารู้สึกเจ็บล่ะก็ ลองหันลำตัวด้านข้างและมองไปยังกระจกเพื่อเช็คดูว่าหลังของคุณกำลังบิดตัวไปในตำแหน่งที่ผิดธรรมชาติรึเปล่า แต่ถ้าไม่รู้สึกเจ็บเลย ให้พยายามรักษาท่านี้เอาไว้อย่าให้เปลี่ยนเชียว เพราะถ้าคุณปล่อยให้อวัยวะเหล่านี้อยู่ผิดที่ มันอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
    • กระดูกสันหลังของคนเราจะมีส่วนโค้งเว้าตามธรรมชาติที่เรียกว่าเส้นรูป "ดับเบิลซี" (double C) หรือรูปตัว "เอส" หรือที่เรียกได้อีกอย่างว่าเส้นแอ่น (lordotic) และเส้นโก่ง (kyphotic) เส้นแอ่น คือ เส้นโค้งที่อยู่ตรงกระดูกส่วนเอว เมื่อมุมตรงส่วนนี้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เราจะเรียกอาการนี้ว่าอาการหลังแอ่นตรงกระดูกเอว ในขณะที่เส้นโก่งจะพบได้ตรงกระดูกส่วนอก เมื่อไรที่เส้นโค้งตรงจุดนี้มีขนาดมากกว่า 50 องศา เราจะเรียกอาการนี้ว่าอาการหลังโก่งตรงกระดูกอก เส้นโค้งเหล่านี้พบได้ตั้งแต่ช่วงฐานของศีรษะลงมาจนถึงช่วงไหล่ และจากหลังช่วงบนไปจนถึงส่วนฐานของกระดูกสันหลัง ลองยืนตัวตรงและพยายามถ่ายน้ำหนักไปยังเท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน เพราะก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือหาท่าที่เหมาะสม คุณควรจะยืนในท่านี้ได้อย่างสบายตัวเสียก่อน
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังช่วงบนและกล้ามเนื้อไหล่จะทำให้คุณสามารถรักษาท่าทางให้เหมาะสมได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ดี คุณไม่จำเป็นต้องบริหารหุ่นให้ฟิตเปรี๊ยะ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือการทำให้ "กล้ามเนื้อจดจำตำแหน่ง" เพื่อให้คุณสามารถรักษาท่วงท่าที่ถูกต้องได้โดยสัญชาตญาณโดยไม่รู้สึกเมื่อยล้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ยกเวท อย่าลืมบริหารกล้ามเนื้อทั้งส่วนทำการ (agonist) และกล้ามเนื้อต้าน (antagonist) ให้เท่าๆ กัน เช่น บริหารกล้ามเนื้อช่วงต้นขาด้านหลังให้เท่าๆ กับช่วงต้นขาด้านหน้า และช่วงหน้าอกให้เท่าๆ กับช่วงหลัง เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณรักษาท่วงท่าให้ถูกต้องอยู่เสมอได้ ลองทำเทคนิคต่อไปนี้ไปใช้กันดู (จะใช้ดัมเบลหรือไม่ใช้ก็ได้)
    • ท่าที่ 1
      • จัดวางลำตัวให้ตรงและหน้าตั้ง เพื่อให้ใบหูอยู่ในแนวเดียวกับช่วงไหล่
      • กางแขนทั้ง 2 ข้างออกให้อยู่ในระนาบเดียวกับใบหู และหงายฝ่ามือขึ้น
      • งอแขนส่วนหน้าขึ้นลงเข้าหาไหล่ โดยพยายามให้ปลายนิ้วสัมผัสกับกระดูกสะบัก
      • ทำซ้ำ 10 ครั้งด้วยแขนทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นทำซ้ำ 10 ครั้งทีละข้าง
    • ท่าที่ 2
      • จัดตำแหน่งของหูและไหล่เหมือนอย่างในท่าที่ 1
      • กางแขนทั้ง 2 ข้างออกให้อยู่ในระดับไหล่ค้างไว้พร้อมนับ 1-10 ช้าๆ
      • ค่อยๆ พับแขนลงมาข้างลำตัวช้าๆ พร้อมนับ 1-10 ไปด้วย
      • ค่อยๆ กางแขนออกในระดับไหล่ดังเดิมพร้อมนับ 1-10 ในระหว่างที่ยกแขนขึ้น
      • ทำซ้ำ 10 ครั้ง และอย่าลืมเช็คการจัดวางลำตัวไปด้วยในแต่ละครั้ง ถ้าการทำซ้ำ 10 ครั้งดูจะเป็นการฝืนมากเกินไปสำหรับการเริ่มต้นของคุณ ให้ทำเท่าที่ทำได้ดูก่อน แต่อย่างน้อยๆ ควรฮึดสู้ทำจนรู้สึกล้าหน่อยๆ ตรงกล้ามเนื้อช่วงไหล่
  3. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ในระหว่างที่รอหน้าเว็บโหลดหรือขนมปังปิ้งได้ที่ ลองกางข้อศอกออกข้างลำตัวและเอามือแตะไหล่
    • วางมือค้างไว้บนไหล่ โดยให้หูอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ ยกข้อศอกทั้ง 2 ข้างขึ้น (นับ 1-2) จากนั้นจึงยกกลับลงมา (นับ 1-2) ทำซ้ำมากเท่าที่จะทำได้ แล้วคุณจะตกใจเมื่อได้รู้ว่าคุณออกกำลังกายได้มากเพียงใดภายในเวลาแค่ 30 วินาที
  4. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    วิธีการนี้ช่วยได้มากทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังหรือคอ อีกทั้งยังเป็นเทคนิคดีๆ ที่ทำระหว่างวันได้สำหรับผู้ที่ทำงานที่ต้องนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
    • เอียงหรือยืดศีรษะไปทุกทิศทางรอบๆ ไหล่ (หน้า, หลัง, ซ้าย, ขวา) ตามด้วยนวดคอเบาๆ แต่ให้หลีกเลี่ยงการหมุนเป็นวงกลม เพราะอาจทำให้รู้สึกตึงมากยิ่งขึ้น
    • วางมือและเข่าลงกับพื้นในท่าคลาน 4 ขา โก่งหลังขึ้นเหมือนแมว จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นแอ่นหลังลง โดยแอ่นลงไปจนถึงจุดที่คิดว่าคุณสามารถวางถ้วยลงไปบนช่วงเว้าบนแผ่นหลังได้
    • บริหารร่างกายด้วยท่าข้างต้นซ้ำ 2-3 ครั้งเป็นประจำทุกวัน ถ้าทำในช่วงเช้า จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณได้ยืดเส้นยืดสายคลายความอ่อนแรงหลังการนอนหลับ ในขณะที่การทำเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน จะช่วยเพิ่มระดับพลังงานของคุณได้เหมือนการออกกำลังกายอย่างหนักเลยทีเดียว
  5. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การเล่นโยคะส่งผลดีทั้งต่อบุคลิกภาพและสุขภาพโดยรวมของคุณ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างสมดุลของร่างกาย เพราะการเล่นโยคะทำให้คุณได้บริหารกล้ามเนื้อหลักให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการจัดวางร่างกายให้เหมาะสมนั่นเอง
    • นอกจากนี้ โยคะยังช่วยสอนถึงวิธีการจัดวางลำตัวให้ตรงทั้งในขณะนั่ง ยืน และเดิน ลองหาคลาสเรียนโยคะใกล้บ้าน หรือเสาะหาคลิปสอนดีๆ บน YouTube กันดูนะ
    โฆษณา
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 9:

การยกของหนัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้หลังได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ. การยกของหรือถือของทำให้คุณต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นจนอาจทำให้เกิดปัญหาในการรักษาสมดุล ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในกิจกรรมออกแรงตามปกติที่คุณทำในแต่ละวัน การยกหรือถือสิ่งของโดยไม่คำนึงถึงรูปร่างสรีระของคุณจึงอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว ปวดเมื่อย หรือในบางกรณีอาจถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรงได้เลยทีเดียว และนี่คือคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับท่ายกของที่เหมาะสม:
    • เมื่อต้องยกสิ่งของใดๆ ก็ตามที่มีน้ำหนักมากกว่าน้องแมวตัวน้อยขึ้นมาจากพื้น ให้คุณย่อตัวลงไปด้วยการงอเข่าทุกครั้ง อย่าเผลองอช่วงเอวเป็นอันขาด เพราะกล้ามเนื้อหลังของคนเราไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการยกของหนัก ส่วนที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับหน้าที่นี้โดยเฉพาะคือกล้ามเนื้อท้องและขาซึ่งมีขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้นให้พยายามใช้กล้ามเนื้อตรงส่วนนี้เข้าไว้
    • ถ้าคุณต้องยกของหนักบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในการยกเวทหรือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน อาจจะลองหาเข็มขัดช่วยพยุงมาสวมใส่ดู อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดวางร่างกายได้อย่างเหมาะสมในระหว่างที่ยกของ
    • ถือไว้ให้กระชับที่สุด ในขณะที่ยกวัตถุหนักๆ นั้น ยิ่งคุณถือไว้ใกล้กับหน้าอกมากเท่าไร จะยิ่งทำให้คุณใช้หลังช่วงล่างน้อยลง โดยเราจะเปลี่ยนมาใช้กล้ามเนื้อแขน หน้าอก และหลังช่วงบนแทน
      • ลองถือถุงแป้งทำขนมที่หนักประมาณ 5 ปอนด์ (2.26 กก.) แล้วยื่นออกไปไกลๆ ทางด้านหน้าของคุณ จากนั้นจึงค่อยๆ ดึงกลับเข้ามาที่หน้าอก คุณจะรู้สึกได้เลยว่าคุณใช้กล้ามเนื้อคนละกลุ่มในแต่ละช่วง
    • รักษาสมดุลในการยกของเพื่อป้องกันอาการตึงและเมื่อยล้า เช่น ในขณะที่ถือกระเป๋าหนักๆ ให้พยายามเปลี่ยนแขนบ่อยๆ คุณจะรู้ได้เองเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

เคล็ดลับ

  • ใจเย็นกับตัวเองสักหน่อย การปรับแก้บุคลิกท่วงท่าอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะถ้าคุณยืนนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องติดต่อกันนานหลายปี
  • ยกหน้าจอคอมหรือหนังสือขึ้นให้อยู่ในระดับสายตา แทนที่จะก้มหน้าลงไปอ่าน
  • อย่าเผลอเดินตัวงอเป็นอันขาด เพราะมันจะทำให้เกิดอาการลงพุง
  • ลองฝึกยืดไหล่ให้ผายออก หน้าตั้ง และหลังตรงเป็นเวลา 5 นาที คุณอาจจะรู้สึกแปลกๆ ไปบ้างในช่วงแรกๆ แต่ถ้าพยายามทำอย่างสม่ำเสมอ การจัดวางลำตัวของคุณจะดีขึ้นอีกแยะเมื่อเวลาผ่านไป
  • อย่ายืดกล้ามเนื้อจนเกร็งในขณะที่พยายามจัดวางลำตัวให้ตรง เพราะมันจะทำให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อของคุณตึงเครียดมากเกินไป อีกทั้งยังส่งผลต่อกระดูก และลงเอยด้วยการทำร้ายบุคลิกภาพ หรือแม้แต่วิธีการเคลื่อนไหวและการหายใจของคุณ ลองเปลี่ยนเป็นค่อยๆ ปรับลำตัวอย่างผ่อนคลาย เมื่อไรที่รู้สึกปวดหลัง ให้หยุดทันที! เพราะอาการปวดแสดงให้เห็นว่าคุณอาจกำลังทำให้กล้ามเนื้อตึงมากเกินไปโดยไม่จำเป็น การแยกแยะระหว่างอาการปวดหลังกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกล้ามเนื้อที่คุณต้องใช้ยังไม่คุ้นชินกับท่าทางการจัดวางลำตัวที่ถูกต้อง มันจึงอาจยังไม่แข็งแรงพอในตอนนี้ เทคนิคมีอยู่ว่า ถ้าทำท่าไหนแล้วรู้สึกหายใจติดขัด ให้รีบเปลี่ยนทันที ให้ลมหายใจเป็นเครื่องช่วยนำทางให้กับคุณ ท่าที่ถูกต้องควรทำให้คุณรู้สึกดีในทุกลมหายใจ! ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่ากล้ามเนื้อจะแข็งแรงและรักษาสมดุลให้กับท่าต่างๆ ได้ แม้จะเป็นงานที่หนักเอาการ แต่รับประกันว่าผลลัพธ์ในท้ายที่สุดคุ้มค่าอย่างแน่นอน
  • ถ้าศีรษะของคุณกำลังเอียงไปด้านข้าง นั่นคงไม่ใช่ท่าที่ถูกต้องเป็นแน่ เพราะศีรษะของคุณจะต้องอยู่ในระดับที่ทำให้คุณสามารถมองตรงไปข้างหน้าได้โดยไม่ต้องเหลือบตาขึ้น ถ้าคุณไม่สามารถมองตรงได้โดยไม่รู้สึกตึงบริเวณลำคอล่ะก็ แสดงว่าคุณกำลังทำให้กล้ามเนื้อตึงมากเกินไปโดยไม่จำเป็น
  • ลองนำขั้นตอนต่อไปนี้ไปใช้ในการจัดวางร่างกาย: ดันไหล่ไปด้านหน้า จากนั้นจึงดึงขึ้นตรงๆ ตามด้วยการดันไปด้านหลัง ปิดท้ายด้วยการดึงลงมาตรงๆ รู้สึกดีใช่ไหม ถ้าคุณรู้สึกแข็งหรือตึงๆ ที่ไหล่ แสดงว่าคุณอาจกำลังทำให้ไหล่ตึงเครียดโดยไม่จำเป็น
  • ลองสวมใส่เสื้อรูปแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเรื่องการจัดวางร่างกายโดยเฉพาะ เสื้อชนิดนี้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยฝึกดีๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และกระตุ้นให้ไหล่ของคุณรักษาท่วงท่าให้ถูกต้องได้ตลอดทั้งวัน
  • การตั้งหน้ามองตรงและจัดหู/ไหล่/สะโพกให้อยู่ในแนวเดียวกันอยู่เสมอมีอีกหนึ่งข้อดีสุดเลิศ นั่นคือ ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและปรับทัศนคติที่คุณมีต่อตัวคุณเอง เพราะการมองตรงไปข้างหน้าในขณะที่เดินจะทำให้คุณดูมั่นอกมั่นใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้คุณรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น วิธีการนี้นอกจากจะช่วยปรับวิธีการคิดและอารมณ์ของคุณได้แล้ว ยังทำให้การเดินหน้ามองตรงกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นไปอีก
  • หลีกเลี่ยงการใช้แล็ปท็อปติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้งานนานกว่า 1 ชั่วโมง ลองหาแท่นวางแล็ปท็อปมาใช้เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณวางอยู่ในท่าที่เหมาะสม
  • บางคนอาจมีเท้าที่ผิดรูปแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในระยะปฏิสนธิ (หรือที่เรียกว่า "รอธบาร์ทฟุต" หรือ "อาการเท้าปุก") สิ่งนี้อาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพของคุณ แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่า "การบำบัดระบบประสาทรับรู้ภาวะรอธบาร์ท" (Rothbarts Proprioceptive Therapy)
โฆษณา

คำเตือน

  • สิ่งหนึ่งที่สำคัญและต้องเตือนไว้ก่อนนั่นคือ เมื่อไรก็ตามที่เราพยายามแก้ไขบุคลิกท่าทาง เรามักจะประสบกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกายหลังการออกกำลังกายและเมื่อพยายามรักษาท่วงท่าให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา นั่นเพราะร่างกายของเราอยู่กับท่าทางที่ผิดมาเป็นเวลานาน และกำลังพยายามปรับตัวเข้าสู่ท่าทางใหม่
  • อย่าฝืนออกกำลังกายต่อไปถ้ารู้สึกปวด เกิดเสียงลั่นในข้อต่อ กล้ามเนื้อตึงเกร็ง หรือรู้สึกมากกว่าแค่อาการล้าเบาๆ เพราะการฝืนไม่ได้ช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายเร็วขึ้น มันรังแต่จะทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดและพาลไม่อยากออกกำลังกายอีก อีกทั้งยังเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บรุนแรง ถ้าคุณสามารถทำแต่ละท่าซ้ำได้มากที่สุดแค่ 3 ครั้ง ขอเพียงหมั่นทำบ่อยๆ สัก 3 ครั้งหลังตื่นนอน 3 ครั้งหลังอาหารเช้า และอีก 3 ครั้งก่อนออกจากบ้าน วิธีการนี้จะช่วยให้คุณทำได้มากขึ้นเป็น 4 ในวันพรุ่งนี้หรือวันถัดไป และค่อยๆ เพิ่มเป็น 7 ครั้ง 10 ครั้งไปเรื่อยๆ
  • ถ้าคุณตั้งใจจะเข้าคอร์สปรับบุคลิกภาพ ขอแนะนำให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของคำแนะนำที่คุณได้รับทุกครั้ง เพื่อนของคุณอาจมีคำแนะนำเกี่ยวกับครูสอนที่ผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณตรวจสอบข้อมูลอ้างอิงเพื่อหาวิธีการที่ได้ผลสำหรับคุณ แม้คำแนะนำที่ได้รับจะเป็นวิธีการทางการแพทย์หรือเป็นงานวิจัยของแพทย์ประจำตัวคุณก็ตาม
  • การบำบัดร่างกายและการแพทย์แผนออสทีโอพาธี (Osteopathy) เป็นหนึ่งวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำ อีกทั้งยังสามารถขอเบิกเงินประกันได้ในบางประเทศ การรักษาในแขนงอื่นๆ ที่อาจครอบคลุมอยู่ในเงื่อนไขประกันได้แก่ การรักษาด้วยวิธีการไคโรแพรกติก การฝังเข็ม และเทคนิคอเล็กซานเดอร์ (ซึ่งออกแบบมาสำหรับปรับบุคลิกภาพโดยเฉพาะ) อย่างไรก็ดี วิธีการเหล่านี้ยังไม่มีการรับรองผลในทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์อีกหลายแขนงที่ออกแบบมาเพื่อปรับบุคลิกภาพและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการรับรองทางการแพทย์และบริษัทประกันยังไม่ให้ความสำคัญ
  • ผู้ที่เคยมีอาการบาดเจ็บบริเวณหลัง คอ หัวเข่า หรืออุ้งเชิงกรานไม่ควรพยายามปรับแก้การวางตัวของร่างกายด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในแขนงอื่นๆ ก่อนที่จะลองปรับแนวการจัดวางร่างกาย
  • มีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อที่อธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ยาก และยากยิ่งกว่าเมื่อคุณต้องทำความเข้าใจและแปลสารออกมาเป็นการเคลื่อนไหวที่คุณรับรู้ได้ หากท่าบริหารต่างๆ ที่พูดถึงในหน้านี้ไม่ช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น ไม่สามารถทำให้คุณยืดอวัยวะต่างๆ ออกได้มากขึ้นในลักษณะที่คุณสามารถสัมผัสได้ในทันที ควรหยุดและขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ไม่ควรฝืนทำตามคำแนะนำในที่นี้ต่อไปเรื่อยๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 55,793 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 55,793 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา