ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

มันดูเหมือนจะเป็นงานง่าย แต่การกลืนยาเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่และเด็กหลายคนทำได้ยากมาก ความกลัวที่จะอาเจียนเป็นสาเหตุทำให้คอรัดแน่นซึ่งจะทำให้ยายังอยู่ในปากจนกระทั่งคุณคายมันทิ้ง โชคดีที่ยังมีหลายวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาและทำให้คุณผ่อนคลาย เอาชนะความกลัวการสำลัก และกลืนยาได้อย่างง่ายดาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การทานยากับอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทานขนมปัง.
    ถ้าคุณกำลังพยายามที่จะทานยาและดูเหมือนว่าไม่สามารถที่จะกลืนมันลงไปได้ ลองใช้ขนมปังสักชิ้น ดึงขนมปังชิ้นเล็กออกมาสักชิ้นแล้วเคี้ยวมันจนกระทั่งคุณพร้อมที่จะกลืน ก่อนคุณกลืน ทานยาเข้าไปและทำให้มันติดอยู่กับขนมปังที่อยู่ในปากคุณ ทันทีที่คุณปิดปาก กลืนขนมปังกับยานั้นเข้าไป ยานั้นก็จะลงไปได้อย่างราบรื่น[1]
    • คุณสามารถใช้ส่วนของคุกกี้ ขนมปังกรอบ หรือขนมปังแบบวงได้เช่นกัน เนื้อของมันคล้ายกับยาที่จะสามารถจะช่วยให้ยามันลงไปได้ทันทีที่อาหารถูกเคี้ยว
    • คุณสามารถดื่มน้ำตามได้หลังจากที่กลืนขนมปังเพื่อให้ยาลงไปง่ายกว่าเดิม
    • ยาบางตัวต้องทานขณะท้องว่าง ดูที่ขวดยาของคุณเพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณจำเป็นต้องทานยาตอนท้องว่างหรือไม่
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตัดเยลลี่หมี.
    คุณสามารถติดมันกับเยลลี่หมีเพื่อช่วยให้คุณกลืนยาได้ นำเยลลี่หมีมาตัดตรงท้องให้เป็นช่องเล็กๆ ใส่ยาลงไปในช่อง ทานเยลลี่หมีลงไปโดยไม่ต้องเคี้ยว การเคี้ยวยาบางชนิดจะเปลี่ยนเวลาการออกฤทธิ์ของยา แค่พยายามกลืนมัน ทันทีที่มันลงไปในคอให้รีบดื่มน้ำตาม[2]
    • วิธีนี้อาจจะยากถ้าคุณไม่สามารถกลืนเยลลี่หมีได้ อาจจะต้องฝึก
    • วิธีนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กหลายคน การซ่อนยาลงไปในเยลลี่หมีจะช่วยให้เด็กทานยาได้ง่ายขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใส่ยาลงไปในน้ำผึ้งหรือเนยถั่ว.
    ยาสามารถถูกทานกับน้ำผึ้งหรือเนยถั่วได้เพราะพวกมันจะช่วยเปิดทางให้ยาลงไปในคอได้ง่าย ตักน้ำผึ้งหรือเนยถั่วให้เต็มช้อน ใส่ยาลงไปตรงกลาง ทำให้แน่ใจว่าคุณกดยาให้ลงไปข้างในอาหารแล้ว ต่อไปก็กลืนน้ำผึ้งหรือเนยถั่วที่มียาอยู่ด้านในนั้นลงไป แล้วดื่มน้ำตาม [3]
    • คุณควรดื่มน้ำทั้งก่อนและหลังวิธีนี้ น้ำผึ้งและเนยถั่วค่อนข้างที่จะเหนียวและสามารถไหลลงไปได้ช้า ดื่มน้ำก่อนและหลังจะช่วยให้อาหารลงไปได้เร็วขึ้นและไม่สำลัก
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองอาหารที่นุ่ม.
    ถ้าคุณไม่สามารถกลืนยากับขนมปังได้ ลองใส่ยาลงไปในอาหารที่นุ่ม เช่น ซอสแอปเปิล โยเกิร์ต ไอศกรีม พุดดิ้ง หรือเจลาติน นี่เป็นวิธีทั่วไปที่ใช้ในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่กลืนยายาก ทำอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ยาลงไปในอาหาร ทานอาหารสักนิดก่อนที่คุณจะทานส่วนที่มียาอยู่เข้าไป ทานอาหารที่มียาอยู่ข้างในเข้าไป มันควรจะลงไปได้ง่ายพร้อมกับอาหารที่คุณกลืน [4]
    • ทำให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เคี้ยวยา
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลองฝึกกับลูกอมเม็ดเล็กๆ ก่อน.
    เหตุผลหลักอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปพบว่ากลืนยายากเพราะคอของพวกเขาจะปฏิเสธยาที่เข้าไปและเกิดการเกร็ง เพื่อที่จะเอาชนะมัน คุณควรฝึกกลืนลูกอมเม็ดเล็กๆ ก่อนเพื่อให้คอของคุณคุ้นชินกับการกลืนบางสิ่งโดยที่คุณจะไม่เสี่ยงต่อการสำลักหรือได้รับบาดเจ็บ ทานลูกอมเม็ดเล็กๆ เช่น ลูกอม Sprinkle ลูกอม mini M&M หรือลูกอม Nerd ใส่มันลงไปในปากของคุณเหมือนกับยาแล้วกลืนมันลงไปกับน้ำ ทำซ้ำๆ จนคุณรู้สึกสบายกับขนาดของมัน
    • ต่อไป ให้คุณลองเปลี่ยนมาใช้ลูกอมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ลูกอม Skittle ลูกอม M&M เยลลี่รูปถั่ว หรือลูกอม Tic Tac ทำซ้ำๆ แบบเดิมกับลูกอมขนาดนี้จนคุณรู้สึกกลืนได้สบาย[5]
    • ฝึกทุกวันประมาณวันละ 10 นาที จนกระทั่งคุณสามารถกลืนลูกอมที่มีขนาดเดียวกันกับยาที่คุณจะต้องทาน
    • วิธีนี้จะช่วยให้เด็กทานยาได้ แค่ให้แน่ใจว่าคุณอธิบายว่าการทานยาเป็นสิ่งสำคัญและยานั้นไม่ควรถูกคิดว่าเป็นลูกอม
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ทานส้มแมนดาริน.
    ลองกลืนส้มสักชิ้น หลังจากที่คุณชินกับมัน ใส่ยาของคุณลงไปในชิ้นส้มแล้วกลืนมันทั้งชิ้น เนื้อบางๆ ของส้มแมนดารินจะช่วยเปิดทางให้ยาลงไปและทำให้กลืนได้ง่าย [6]
    • หลังจากนั้นให้ดื่มน้ำตาม เพื่อให้แน่ใจว่ามันลงไปได้ง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การทานยากับของเหลว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จิบน้ำเย็นปกติ.
    เมื่อคุณกำลังจะทานยา คุณต้องแน่ใจก่อนว่าคอของคุณมีน้ำพอที่จะทำให้ยาผ่านทางไปได้ง่าย จิบน้ำสักสองสามนาทีก่อนทานยา ใส่ยาลงไปที่โคนลิ้น แล้วดื่มน้ำตามจนคุณกลืนยาลงไป
    • กลืนน้ำอึกใหญ่ๆ สักสองสามอึกหลังจากที่ยาอยู่ในคอของคุณเพื่อช่วยให้มันไหลลงไป
    • น้ำควรเย็นแบบปกติหรือมีอุณหภูมิห้อง แต่ไม่ควรเย็นหรือร้อนมาก[7]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลองวิธีดื่มน้ำอึกใหญ่สักสองอึก.
    ทานยาโดยวางยาไว้ที่โคนลิ้น ดื่มน้ำอึกใหญ่ๆ และกลืนน้ำลงไป แต่อย่างเพิ่งกลืนยา ต่อไปให้ดื่มน้ำอึกใหญ่อีกหนึ่งอึกแล้วกลืนมันลงไปพร้อมกับยา ดื่มน้ำตามปกติอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยเปิดทางให้ยาลงไป
    • วิธีนี้จะช่วยเปิดคอของคุณให้กว้างขึ้นด้วยการกลืนน้ำครั้งแรก ซึ่งจะช่วยให้ยาลงไปในคอของคุณได้ง่าย และกลืนน้ำตามครั้งที่สอง[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้หลอด.
    สำหรับบางคน การใช้หลอดดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มจะช่วยให้ยาลงไปได้ดีกว่า วางยาลงไปที่โคนลิ้น ดื่มบางสิ่งที่เป็นของเหลวโดยใช้หลอดและกลืนมันลงไปพร้อมกับยา และจิบน้ำตามอีกสักหน่อยเพื่อช่วยให้ยาไหลลงไป
    • การดูดที่ใช้ในการดึงของเหลวผ่านหลอดขึ้นมาทำให้กลืนยาได้ง่ายขึ้น [9][10]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดื่มน้ำให้มากเป็นอันดับแรก.
    บางคนพบว่าการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยเปิดช่องทางให้ยา ดื่มน้ำให้เต็มคำ เปิดริมฝีปากของคุณออกสักนิดเพื่อใส่ยาเข้าไปในปาก ต่อไปให้กลืนน้ำนั้นลงไปพร้อมกับยา
    • ถ้ายายังติดอยู่ในคอของคุณ คุณสามารถดื่มน้ำตามได้อีกหลังจากที่คุณกลืนยา
    • ให้น้ำอยู่ในปากประมาณ 80 %. ถ้าในปากมีน้ำมากเกินไป คุณจะไม่สามารถกลืนน้ำได้ทันที และวิธีนี้ก็จะหมดประสิทธิภาพ
    • คุณอาจะรู้สึกว่ามีน้ำและยาอยู่ในคอของคุณ มันจะไม่ไปกระตุ้นอาการอาเจียนและไม่เป็นอันตาย
    • คุณสามารถใช้วิธีนี้กับเครื่องดื่มอย่างอื่นได้นอกจากน้ำเปล่า[11]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ช่วยลูกของคุณให้กลืนยา.
    เด็กเล็กที่มีอายุสามขวบอาจจะต้องทานยา ในวัยนี้ ลูกของคุณอาจพบว่ามันยากที่จะเข้าใจการกลืนยาหรืออาจกลัวการสำลัก ถ้าเป็นกรณีนี้ ช่วยให้เขาเข้าใจก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้เขากลืนยาคือให้พวกเขาดื่มน้ำและอมไว้ขณะที่เงยมองเพดาน ใส่ยาเข้าไปในปากและคอยจนยาไหลไปอยู่ที่โคนลิ้น รอสักหน่อยแล้วบอกให้เขากลืน และยาควรที่จะไหลลงไปในคอพร้อมกับน้ำ[12]
    • คุณสามารถลองใช้วิธีอื่นๆ กับลูกของคุณได้ด้วยอาหารและเครื่องดื่มอย่างอื่น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การลองใช้เทคนิคอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลองใช้วิธีจุกปากขวดน้ำ.
    เติมน้ำลงไปในขวดพลาสติก ใส่ยาลงไปที่ลิ้นของคุณ ต่อไปให้ปิดริมฝีปากและจ่อไว้ที่ปากขวดเอนหัวไปด้านหลังและดื่มน้ำ ให้ปากของคุณอยู่ติดกับปากขวดและดูดน้ำเข้าไปในปากของคุณ น้ำและยาก็จะลงไปในคอของคุณ
    • อย่าให้อากาศเข้าไปในขวดขณะที่คุณดื่มน้ำ
    • วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อต้องใช้กับยาที่มีขนาดใหญ่[13][14]
    • การดูดน้ำของคุณจะช่วยเปิดคอของคุณให้กว้างและช่วยให้คุณกลืนยาได้ดีกว่า
    • วิธีนี้อาจไม่เหมาะสำหรับเด็ก เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้นที่ควรลองวิธีนี้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้วิธีการก้มหน้า.
    สำหรับวิธีนี้ ใส่ยาลงไปที่ลิ้นของคุณ ดื่มน้ำแต่อย่าเพิ่งกลืน ก้มหน้าลงไปให้คางชนกับหน้าอก ให้ยาลอยขึ้นมาที่ด้านหลังของปากแล้วกลืนมันลงไป
    • วิธีนี้เหมาะที่สุดกับยาที่เป็นแบบแคปซูล[15][16]
    • คุณสามารถใช้วิธีนี้กับลูกของคุณได้เช่นกัน หลังจากที่เขาจิบน้ำเข้าไปแล้ว แค่ให้เขาจ้องไปที่พื้นขณะที่คุณใส่แคปซูลเข้าไปในปากของเขา ยาก็จะลอยอยู่และเขาก็สามารถที่จะกลืนมันลงไปพร้อมกับน้ำ [17]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ผ่อนคลาย.
    ความกังวลสามารถเป็นปัจจัยสำคัญในการกลืนยาของแต่ละคน ความผ่อนคลายจึงสำคัญ ถ้าคุณกังวล ร่างกายของคุณจะเกร็งและคุณจะกลืนยาได้ลำบาก เพื่อป้องกันสิ่งนี้ คุณต้องผ่อนคลาย นั่งลงพร้อมมีน้ำสักแก้วแล้วทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณคลายกังวลได้ หาสถานที่เงียบๆ ฟังเพลง ซึ่งจะช่วยให้คุณสงบผ่อนคลายหรือมีสมาธิ
    • วิธีนี้จะช่วยให้คุณคลายความกังวล และช่วยทำลายความเครียดขณะทานยา ดังนั้นคุณจะรู้สึกอยากอาเจียนน้อยลง
    • ถ้าคุณกำลังรู้สึกลำบาก คุณสามารถปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อให้ช่วยคุณคลายความกังวลขณะทานยาได้ [18]
    • ถ้าคุณพยายามที่จะช่วยให้เด็กกลืนยา ช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายโดยการทำให้พวกเขาไม่คิดเรื่องการทานยาก่อนที่จะให้พวกเขาทานยา อ่านนิยายให้เขาฟัง เล่นเกม หรือหากิจกรรมอื่นๆที่ช่วยให้เขาผ่อนคลายก่อนให้เขากินยา ยิ่งเขาสงบผ่อนคลายมากแค่ไหน เขาก็มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะทานยาได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สยบความกลัวของคุณ.
    คุณอาจจะกังวลว่ายาจะไปติดอยู่ที่คอของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นยาเม็ดใหญ่ เพื่อช่วยให้คุณทำลายความกลัวนี้ได้ ให้ยืนหน้ากระจก เปิดปากของคุณแล้วพูดว่า “อาาาาา” มันจะทำให้คุณเห็นว่าคอของคุณกว้างแค่ไหน และควรแสดงให้เห็นว่ายาสามารถที่จะไหลลงไปได้ [19]
    • คุณสามารถดูกระจกเวลาที่คุณใส่ยาไปที่ลิ้นของคุณได้ ยิ่งใส่ไปได้ลึกเท่าไหร่ ระยะทางก่อนที่คุณจะกลืนก็จะสั้นลงมากเท่านั้น
    • คุณสามารถทำแบบนี้กับเด็กที่กลัวการสำลักได้ ทำมันไปกับเขาเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจความกลัวที่เขามี แต่ต้องทำให้เขาเชื่อว่าไม่มีอะไรต้องกลัว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หายารูปแบบอื่น.
    มียาหลายชนิดซึ่งมีรูปแบบหลากหลาย คุณอาจจะให้ยาของคุณเป็นแบบน้ำ แผ่น ครีม สูดดม เหน็บหรือยาแบบละลายตัวได้ดีในน้ำก็ได้ ไม่ว่าวิธีไหนที่คุณลองก็ตาม บอกหมอของคุณเกี่ยวกับตัวเลือกของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีปัญหาหนักในการกลืนยา[20]
    • อย่าทานยาและลองใช้มันในทางอื่นถ้าหมอไม่บอกว่าคุณสามารถทำได้ อย่าบดยาและละลายมันในน้ำ หรือลองใช้ยาที่ไม่ใช่ยาเหน็บเอาไปเป็นยาเหน็บ ปรึกษาหมอเสมอก่อนที่คุณจะเปลี่ยนวิธีการทานยา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองซื้อยาแบบเคลือบ พวกมันจะไหลลงคอได้ง่ายและมีแนวโน้มน้อยที่จะมีรสชาติแย่ถ้ามันอยู่ที่ลิ้นนาน
  • ลองดื่มมันกับโซดาเย็นๆ หรือบางสิ่งที่มีรสชาติ มันจะกลบรสชาติของยาได้ ถึงแม้ว่ายาบางชนิดจะไม่สามารถทานกับน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ได้ ถามหมอของคุณก่อนถ้าคุณมีความกังวล
  • ทุกวิธีเหล่านี้สามารถช่วยให้เด็กทานยาได้ ทำให้แน่ใจว่าคุณตระหนักมากพอถึงขนาดของอาหารที่เด็กจะทานเข้าไป
  • ลดเวลาขณะที่ยาอยู่ที่ลิ้นให้น้อยลง ทำให้เป็นนิสัยด้วยการใส่ยาลงไปที่ลิ้นของคุณและดื่มน้ำตามด้วยความราบรื่นและรวดเร็ว
  • กล้วยที่ถูกเคี้ยวอย่างละเอียดในปากสามารถใช้แทนน้ำได้
  • ใช้ยาแบบเจลหรือของเหลวเพื่อให้กลืนได้ง่ายกว่า
  • อย่าบดยาของคุณถ้าหมอหรือเภสัชกรบอกว่าคุณไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ยาบางตัวสามารถสูญเสียประสิทธิภาพได้เมื่อถูกบดหรือปล่อยสารออกมาเร็วเกินไป[21]
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้ทานยาลงไปจริงๆ ตอนที่ฝึกหรือเพื่อความสนุก
  • เก็บยาให้ห่างจากเด็ก กลิ่นที่พิเศษหลายกลิ่นจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ยามีรสชาติที่ดีขึ้น เด็กๆ มักจะมองหารสชาติเหล่านี้ การที่ทานมันมากเกินขนาดอาจเป็นอันตรายได้ อย่าบอกเด็กว่ายาเหล่านั้นคือลูกอม
  • ปรึกษาหมอหรือเภสัชกรเสมอถ้าคุณทานยากับอาหารอย่างอื่นนอกจากน้ำ ยาหลายชนิดจะสูญเสียประสิทธิภาพหรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เมื่อทานร่วมกับอาหารหรือเครื่องดื่มอย่างอื่น ยกตัวอย่าง ยาปฏิชีวนะไม่ควรทานร่วมกับอาหารประจำวัน
  • ถ้าคุณยังมีความลำบากในการกลืนยา คุณอาจจะมีความผิดปกติในด้านการกลืนอาหาร ให้ปรึกษาหมอเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะจำไว้ว่าคนเหล่านั้นมีปัญหาการกลืนอาหารลำบากด้วย ไม่ใช่แค่ยาเท่านั้น
  • อย่าทานยาขณะที่นอนอยู่ ให้ทานขณะนั่งหรือยืน [22]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Ronn Callada, RN, MS
ร่วมเขียน โดย:
พยาบาลฝึกหัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Ronn Callada, RN, MS. รอนน์ คาลลาดาเป็นพยาบาลฝึกหัดในศูนย์มะเร็ง Memorial Sloan Kettering ในนิวยอร์ก เขาได้รับปริญญาพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสโตนนีบรูคในปี 2013 บทความนี้ถูกเข้าชม 19,671 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,671 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา