วิธีการ แยกอาการปวดกล้ามเนื้อฉีกกับเจ็บแน่นหน้าอกเพราะโรคปอด

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกถือเป็นอาการน่าเป็นห่วง เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคปอด (หรือโรคหัวใจ) แต่ส่วนใหญ่อาการเจ็บแน่นบริเวณลำตัวช่วงบน มักเกิดจากโรคที่ไม่ค่อยอันตราย เช่น อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน และกล้ามเนื้อฉีก จริงๆ แล้วคุณแยกอาการปวดเพราะโรคปอดกับอาการปวดเพราะกล้ามเนื้อฉีกได้ไม่ยาก ถ้ารู้จักอาการโดยทั่วไปของแต่ละโรค ถ้าสงสัยไม่แน่ใจเรื่องอาการเจ็บแน่นหน้าอกของตัวเอง โดยเฉพาะถ้าอาการหนักขึ้น หรือมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เบาหวาน ความดัน คอเลสเตอรอลสูง และโรคอ้วน ควรนัดตรวจร่างกายแล้วเข้ารับการรักษากับคุณหมอต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้จักอาการที่แตกต่างกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปวดแบบไหน นานเท่าไหร่.
    ช่วงเวลาที่แสดงอาการปวดกล้ามเนื้อ จะต่างกับเจ็บแน่นหน้าอกเพราะโรคปอด ถ้ากล้ามเนื้อฉีกปานกลางถึงรุนแรง มักจะเจ็บทันที แต่ถ้ากล้ามเนื้อฉีกเล็กน้อย อาจใช้เวลาเป็นวันหรือนานกว่านั้น ที่ปวดกล้ามเนื้อมักเป็นเพราะใช้งานมากไป หรือเพราะแรงกระแทก/อุบัติเหตุ สรุปแล้วมักเกิดจากสาเหตุที่ชัดเจน[1] ปกติอาการเจ็บปอดจะบอกไม่ได้ว่าเกิดตอนไหน เพราะอะไร เพราะจะเจ็บตลอด
    • อุบัติเหตุรถยนต์ ลื่นล้มกระแทก บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (เช่น ฟุตบอล รักบี้ และฮอกกี้น้ำแข็ง) และยกเวทหนักเกินไปตอนเข้าฟิตเนส มักเป็นสาเหตุทำคุณปวดแบบเฉียบพลัน
    • มะเร็งปอด อาการติดเชื้อ และอักเสบ จะค่อยๆ หนักขึ้นเรื่อยๆ (ใช้เวลาเป็นวันหรือเป็นเดือน) และจะมีหลายอาการที่เกี่ยวข้อง อย่างภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax) ก็เป็นความผิดปกติของปอดที่อาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ เกิดขึ้นเพราะอาการบาดเจ็ล กิจกรรมที่ใช้แรงเยอะๆ หอบหืด ปอดบวม หรือมะเร็ง มีทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและเฉียบพลัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 มีอาการไอหรือเปล่า.
    โรคและอาการผิดปกติของปอดส่วนใหญ่ที่ทำให้เจ็บแน่นหน้าอกก็เช่น มะเร็งปอด ปอดติดเชื้อ (ปอดบวมเพราะแบคทีเรียหรือไวรัส และหลอดลมอักเสบ (bronchitis)) โรคลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism) เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (pleurisy) ภาวะปอดแตก (punctured lung) และความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension)[2] โรคและอาการแทบทั้งหมดที่ว่ามา จะมีอาการไอและ/หรือหายใจเสียงหวีดร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อฉีกบริเวณหน้าอกหรือลำตัว จะไม่ทำให้ไอ แต่อาจจะเจ็บแน่นเวลาหายใจลึกๆ ถ้าเป็นกล้ามเนื้อติดซี่โครง
    • ไอเป็นเลือดคืออาการทั่วไปของมะเร็งปอด ปอดบวมระยะลุกลาม (ระยะสุดท้าย) และภาวะปอดแตกเพราะการกระทบกระเทือน แนะนำให้ไปหาหมอทันที ถ้าเสมหะหรือเสลดมีเลือดปน
    • กล้ามเนื้อแถวซี่โครงก็เช่น กล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครง (intercostals), กล้ามเนื้อข้างลำตัว (obliques), กล้ามเนื้อหน้าท้อง (abdominals) และกล้ามเนื้อต้นคอ (scalene muscles)[3] กล้ามเนื้อพวกนี้จะขยับเวลาหายใจ ถ้าฉีกขึ้นมาก็จะทำให้เจ็บเวลาหายใจลึกๆ แต่ไม่ทำให้ไอ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาให้เจอว่าเจ็บตรงไหน.
    กล้ามเนื้อฉีกที่หน้าอกหรือลำตัวช่วงบน มักเป็นเพราะออกกำลังกายในฟิตเนสหรือเล่นกีฬา อาการปวดกล้ามเนื้อฉีกจะทึบๆ ยึดๆ แข็งๆ มักมีอาการแค่ด้านเดียวของลำตัว (unilateral) และหาจุดที่ปวดง่าย ถ้าเอามือจับๆ กดๆ ใกล้พอ[4] เพราะงั้นให้ลองกดตามหน้าอก ว่าตรงไหนที่รู้สึกเจ็บหรือปวด เวลาบาดเจ็บ กล้ามเนื้อมักหดเกร็ง จับแล้วจะเหมือนยางยืดตึงๆ ถ้าหาจุดที่เจ็บเจอ แสดงว่าเกิดจากกล้ามเนื้อฉีก ไม่ใช่โรคปอด เพราะโรคปอดส่วนใหญ่จะปวดแผ่ออกไป (มักจะปวดแปลบ) แค่กดจับบริเวณหน้าอก หาไม่เจอแน่นอน
    • ลองจับๆ แถวชายโครง เพราะกล้ามเนื้อแถวนั้นมักฉีกหรือบาดเจ็บได้ง่ายจากการบิดหมุนหรือเอี้ยวตัวมากเกินไป ถ้ามีอาการเจ็บปวดรุนแรงแถมกระดูกสันอก (sternum) แสดงว่ากระดูกอ่อนที่ซี่โครงฉีกขาด ไม่ใช่กล้ามเนื้อฉีกธรรมดา
    • ถ้ากล้ามเนื้อฉีก คุณจะเจ็บเฉพาะตอนขยับเขยื้อนหรือหายใจลึกๆ แต่ถ้าสาเหตุคือโรคปอด (โดยเฉพาะปอดติดเชื้อหรือมะเร็งปอด) จะปวดตลอด
    • กล้ามเนื้อที่อยู่เหนือปอดพอดีก็เช่น กล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยม (pectorals) ทั้งกลุ่มใหญ่และย่อย เป็นกล้ามเนื้อที่ฉีกได้จากการวิดพื้น โหนบาร์ หรือเล่นท่า "pec deck" ฝึกกล้ามเนื้ออกในฟิตเนส
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มีจ้ำช้ำไหม.
    ลองถอดเสื้อผ้าและชุดชั้นในแล้วสังเกตดูดีๆ ว่าบริเวณหน้าอก/ลำตัวมีรอยช้ำหรือแดงไหม ถ้ากล้ามเนื้อฉีกปานกลางถึงรุนแรง เส้นใยกล้ามเนื้อบางส่วนจะฉีกขาดด้วย ทำให้เลือดออกไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบ[5] จะทำให้มีจ้ำช้ำสีม่วงเข้มหรือแดง นานๆ ไปจะซีดจางลงจนกลายเป็นสีออกเหลือง บางทีก็มีรอยแดงที่ลำตัว เกิดจากแรงกระแทกตอนเล่นกีฬาหรือหกล้ม แต่ถ้าเป็นอาการหรือโรคปอด จะไม่มีรอยช้ำเป็นจ้ำให้เห็น เว้นแต่ปอดแตกเพราะซี่โครงหักรุนแรง
    • กล้ามเนื้อฉีกเล็กน้อยจะไม่ค่อยมีจ้ำช้ำหรือแดง แต่จะมีบวมเฉพาะที่บ้าง
    • นอกจากรอยช้ำแล้ว กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บบางทีก็กระตุกหรือสั่นนาน 2 - 3 ชั่วโมง (หรือเป็นวันๆ) ช่วงกำลังฟื้นตัว "fasciculations" หรือกล้ามเนื้อสั่นกระตุกแบบนี้ ยิ่งชัดเจนว่าเป็นเพราะกล้ามเนื้อฉีก ไม่ใช่โรคปอด
  5. How.com.vn ไท: Step 5 วัดไข้.
    สาเหตุยอดนิยมของโรคปอด คือจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogenic microorganisms) เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต หรือสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง (เช่น แร่ใยหิน, เส้นใยคมๆ, ฝุ่นผง และสารก่อภูมิแพ้) ดังนั้นนอกจากอาการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการไอ อุณหภูมิร่างกายก็มักสูงขึ้น (มีไข้) ด้วยเวลาเป็นโรคปอด แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อฉีก จะแทบไม่มีผลต่ออุณหภูมิแกนกลางลำตัวเลย เว้นแต่อาการรุนแรงจนเกิดภาวะหายใจเกินหรือโรคหอบจากอารมณ์ (hyperventilation) ดังนั้นให้ลองวัดไข้ดูด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล โดยอมไว้ใต้ลิ้น ส่วนใหญ่อุณหภูมิที่ได้จากการวัดไข้ใต้ลิ้นจะอยู่ที่ 36.8°C หรือ 98.2°F[6]
    • จริงๆ มีไข้ต่ำๆ ก็ดี เพราะแปลว่าร่างกายพยายามรักษาอาการติดเชื้อด้วยตัวเอง
    • แต่ถ้าไข้สูง (39°C หรือ 103°F ขึ้นไปในผู้ใหญ่) อาจเป็นอันตรายได้ ต้องเฝ้าระวังให้ดี
    • โรคปอดเรื้อรังในระยะยาว (เช่น มะเร็งปอด, โรคปอดอุดกั้น หรือวัณโรค) มักทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นแค่เล็กน้อย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นัดคุณหมอโรคทั่วไป.
    วิธีแยกอาการปวดกล้ามเนื้อฉีกกับเจ็บแน่นหน้าอกเพราะโรคปอดได้ดีและชัดเจนที่สุด ก็คือไปตรวจร่างกายกับคุณหมอประจำตัว ปกติกล้ามเนื้อฉีกส่วนใหญ่จะหายได้เองใน 2 - 3 วัน (หรือหลายอาทิตย์ถ้ารุนแรง) เพราะงั้นถ้าเจ็บหน้าอก/ลำตัวนานเกินระยะเวลาที่บอก หรืออาการหนักกว่าเดิม ควรนัดหมอตรวจร่างกายจะดีที่สุด คุณหมอจะเช็คประวัติการตรวจรักษา ตรวจร่างกาย และฟังเสียงปอดตอนคุณหายใจ ถ้าหายใจมีเสียง (เสียงแซมหายใจหรือหายใจหวีด) ก็เป็นสัญญาณชัดเจนว่ามีบางอย่างอุดกั้นหลอดลมอยู่ (ของเหลวหรือเศษอะไรบางอย่าง) หรือเกิดอาการตีบตัน (เพราะบวมหรืออักเสบ)[7]
    • นอกจากไอเป็นเลือดและเจ็บแน่นหน้าอกตอนหายใจเข้าลึกๆ แล้ว อาการอื่นๆ ของโรคมะเร็งปอดก็เช่น เสียงแหบ ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดฮวบฮาบ และเฉื่อยชา[8]
    • คุณหมออาจขอตรวจสารคัดหลั่งด้วย (เสมหะ/น้ำลาย/เลือด) แล้วลองเอาไปเพาะเชื้อดู เพื่อเช็คว่าใช่การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเปล่า (หลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม) แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเอกซเรย์ หรือตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เอกซเรย์หน้าอก.
    พอคุณหมอเช็คแล้วว่าไม่ได้กล้ามเนื้อฉีก แต่น่าจะเป็นปอดติดเชื้อ ก็จะส่งคุณไปเอกซเรย์หน้าอก เอกซเรย์แล้วจะเห็นเลยว่าซี่โครงหัก ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) มีเนื้องอกในปอด เนื้อเยื่อปอดเสียหายจากการสูบบุหรี่ มีสารก่อความระคายเคืองจากสภาพแวดล้อม ถุงลมโป่งพอง โรค cystic fibrosis หรือเคยเป็นวัณโรคมาก่อน[9]
    • ถ้าเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลาม ก็เอกซเรย์เจอแทบ 100% แต่ถ้าเป็นระยะเริ่มต้น อาจมีเล็ดลอดไปได้บ้าง
    • เอกซเรย์หน้าอกแล้วสามารถตรวจพบสัญญาณบอกภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart disease) ได้ด้วย
    • แต่เอกซเรย์หน้าอกแล้วจะไม่เจอกล้ามเนื้อฉีกบริเวณหน้าอกหรือลำตัวท่อนบน ถ้าคุณหมอสันนิษฐานว่าน่าจะกล้ามเนื้อหรือเอ็นฉีก ก็จะส่งไปทำอัลตราซาวด์, MRI หรือ CT scan แทน
    • CT scan จะสร้างภาพตัดขวางของหน้าอกขึ้นมา ช่วยให้คุณหมอวินิจฉัยโรคได้ดียิ่งขึ้น ในกรณีที่ตรวจร่างกายและเอกซเรย์หน้าอกแล้วไม่ชัดเจนพอ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตรวจเลือด.
    บางทีคุณหมอก็เห็นควรให้เจาะเลือดไปตรวจด้วย เพราะปอดติดเชื้อเฉียบพลัน (หลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม) จะไปกระตุ้นให้ระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวพุ่งสูง เพราะระบบภูมิคุ้มกันต้องใช้กำจัดจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogens) เช่น แบคทีเรียและไวรัส[10] ตรวจเลือดแล้วจะเช็คปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นวิธีวัดการทำงานของปอดทางอ้อม
    • แต่การตรวจเลือดจะฟันธงเรื่องกล้ามเนื้อฉีกไม่ได้ ถึงจะอาการรุนแรงก็เถอะ
    • การตรวจเลือดบอกระดับ oxygenation หรือการเติมออกซิเจนเข้ากระแสเลือด ไม่ได้เช่นกัน
    • การทดสอบ sedimentation rate หรืออัตราการตกตะกอน จะช่วยเช็คได้ว่าร่างกายตึงเครียด และมีอาการอักเสบเรื้อรังหรือเปล่า
    • การตรวจเลือดใช้วินิจฉัยมะเร็งปอดได้ไม่ได้ชัดเจนนัก ถ้าเอกซเรย์และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจจะเห็นผลกว่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อาการเจ็บปวด ตามมาด้วยไอเป็นเลือด มีเสมหะ หรือมูกสีแปลกๆ ไอมีเสมหะ และไอเรื้อรัง เป็นสัญญาณบอกโรคปอด
  • ที่ปอดระคายเคืองอาจเพราะหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เช่น ควัน หรือโรคที่ทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบเกิดการระคายเคือง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (pleurisy)
  • สาเหตุเกี่ยวกับการหายใจที่ทำให้เจ็บแน่นหน้าอกได้ก็เช่น หอบหืด การสูบบุหรี่ และโรคหอบจากอารมณ์ (hyperventilation)
  • อาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเจ็บปอด เป็นอาการหลักของโรคปอดบวม โดยเป็นได้ต่อเนื่องหลายอาทิตย์หลังฟื้นตัวจากการติดเชื้อ
  • โรคหอบจากอารมณ์มักเกิดขึ้นจากความวิตกกังวล อาการแพนิค หรือเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Luba Lee, FNP-BC, MS
ร่วมเขียน โดย:
กรรมการพิจารณายา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Luba Lee, FNP-BC, MS. ลูบา ลีเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีประกาศนียบัตรในเทนเนสซี่ เธอได้รับปริญญาด้านพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ในปี 2006 บทความนี้ถูกเข้าชม 8,746 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,746 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา