วิธีการ รู้ตัวเมื่อตับโต

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ตับ เป็นอวัยวะภายในขนาดใหญ่ รูปร่างเหมือนลูกรักบี้ อยู่แถวๆ ด้านขวาบนของท้องเรา ถือเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ตับช่วยฟอกเลือด ขับสารพิษและสารเคมีอันตรายที่ร่างกายสร้างแล้วเข้ากระแสเลือด นอกจากนี้ตับยังสร้างน้ำดี ช่วยย่อยไขมันในอาหาร รวมถึงกักเก็บน้ำตาล (กลูโคส) ที่เอาไว้ใช้ตอนร่างกายต้องการพลังงานได้[1] ภาวะตับโต เรียกว่า hepatomegaly ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการของโรคต่างๆ เช่น โรคพิษสุรา (alcoholism), ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ (viral infection (hepatitis)), การเผาผลาญผิดปกติ (metabolic disorder), มะเร็ง, นิ่วในถุงน้ำดี (gallstones) และโรคหัวใจบางชนิด ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองตับโตไหม ก็ต้องรู้จักสังเกตสัญญาณต่างๆ และลักษณะอาการ ไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ และระวังปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักสัญญาณและลักษณะอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตอาการของโรคดีซ่าน.
    Jaundice หรือโรคดีซ่าน อาการคือมีตัว มูกหรือเมือก ไปจนถึงตาขาวกลายเป็นสีเหลือง เพราะบิลิรูบิน (bilirubin) ในกระแสเลือดเยอะเกินไป Bilirubin เป็นสารสีส้มเหลืองที่พบได้ในน้ำดีของตับนั่นเอง[2] ปกติตับที่แข็งแรงดีจะกำจัด bilirubin ส่วนเกินได้ ถ้าตกค้าง แสดงว่าตับมีปัญหา[3]
    • นอกจากตัวและตาเหลืองแล้ว อาการอื่นๆ ของดีซ่านก็เช่น เหนื่อยล้า ปวดท้อง น้ำหนักลด อาเจียน ไข้ขึ้น อึสีซีด และฉี่สีเข้ม
    • ปกติดีซ่านจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อตับเสียหายหนักแล้ว เพราะงั้นต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน ถ้ามีอาการตามที่ว่า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ท้องบวม (ท้องใหญ่กว่าปกติ) หรือปวดท้อง.
    ท้องบวมหรือใหญ่กว่าปกติทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ มักเป็นสัญญาณบอกว่ามีไขมัน ของเหลว หรือของเสียสะสม ไม่ก็เนื้องอก ซีสต์ เนื้องอกมดลูก หรืออวัยวะอื่นๆ เกิดโตขึ้นมา เช่น ตับ หรือม้าม[4] ถ้าอาการหนักมาก อาจท้องโตเหมือนคนท้อง 8 เดือนได้เลย สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ท้องบวมก็เช่นเป็นอาการของโรคต่างๆ ไม่ว่าข้อไหนก็ควรไปตรวจร่างกายก่อน[5]
    • ถ้าท้องบวมเพราะมีของเหลวคั่ง จะเรียกว่า ascites หรือท้องมาน เป็นอาการที่พบบ่อยเมื่อตับโต
    • พอท้องบวมแล้วมักตามด้วยอาการไม่ค่อยอยากอาหาร เพราะ “รู้สึกอิ่ม” จนกินไม่ลง เป็นอาการที่เรียกว่า “ภาวะอิ่มเร็ว (early satiety)” หรือบางคนก็ไม่อยากอาหารเลยเพราะท้องอืดแน่นท้องนั่นเอง[6]
    • บางคนก็ขาบวมด้วย[7]
    • ปวดท้อง โดยเฉพาะด้านขวาบน เป็นสัญญาณบอกตับโตเช่นกัน ยิ่งถ้ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยยิ่งชัดเจน[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการทั่วไปที่เป็นสัญญาณบอกตับโต.
    ถ้ามีไข้ ไม่ค่อยอยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องด้านขวาบน และน้ำหนักลด ไม่ได้แปลว่าเป็นตับโตเสมอไป แต่เป็นสัญญาณของโรคตับและตับโตได้ ถ้าอาการหนัก เป็นนานไม่ยอมหาย หรืออยู่ๆ ก็เป็น[9]
    • อาการไม่ค่อยอยากอาหาร หรือไม่อยากอาหารเลย มักเกิดควบคู่ไปกับอาการท้องบวม ตามที่กล่าวไปด้านบน นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกความผิดปกติในถุงน้ำดี ที่ผู้ป่วยมักไม่อยากอาหารเพราะกินแล้วปวดท้อง แต่อาการไม่อยากอาหารบางทีอาจเกิดเพราะมะเร็งหรือตับอักเสบได้เช่นกัน
    • ปกติคุณหมอจะฟันธงว่าน้ำหนักตัวลด ก็ต่อเมื่อลดลงไปเกิน 10% ของน้ำหนักตัวคุณ ถ้าคุณไม่ได้จงใจลดน้ำหนักเอง แล้วสังเกตว่าตัวเองน้ำหนักลดผิดปกติ แนะนำให้พบแพทย์จะดีกว่า[10]
    • มีไข้แปลว่ามีการอักเสบในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ปกติตับโตได้ถ้ามีการติดเชื้อ เช่น ตับอักเสบ เพราะงั้นต้องหมั่นสังเกตและวัดไข้เมื่อเป็น
    • อึที่สีซีด เทาอ่อน ไปจนขาว อาจเป็นสัญญาณบอกโรคตับ[11]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อ่อนเพลีย.
    ถ้าเกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยมากทั้งๆ ที่ออกแรงเล็กน้อย เป็นไปได้ว่าตับสูญเสียสารอาหารที่กักตุนไว้ ทำให้ร่างกายไปดูดจากกล้ามเนื้อเป็นแหล่งพลังงานทดแทน[12]
    • อาการอ่อนเพลียเป็นสัญญาณของโรคตับได้ โดยมักมีอาการบวมร่วมด้วย อย่างโรคไวรัสตับอักเสบและมะเร็ง ก็ทำให้อ่อนเพลียได้ทั้งนั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 คันคะเยอ.
    พอตับเสียหาย คุณอาจมีอาการ pruritus (คันตามผิวหนัง) จะเฉพาะจุดหรือทั้งตัวก็ได้ เป็นอาการที่เกิดเมื่อท่อน้ำดีที่ตับอุดกั้น ทำให้เกลือน้ำดีที่เข้าสู่กระแสเลือดสะสมคั่งค้างในผิว จนเกิดอาการคัน[13]
    • บางทีก็คันจนอยากเกาหนักๆ แต่ถ้ากลัวจะเป็นโรคตับ แนะนำให้รีบไปหาหมอก่อน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ระวัง spider angiomas.
    spider angiomas (หรือ spider nevi) คืออาการหลอดเลือดโป่งพอง แผ่กระจายจากจุดแดงตรงกลางออกไป จนเหมือนใยแมงมุม ปกติจะเกิดตามหน้า คอ มือ และหน้าอกท่อนบน ซึ่งเป็นสัญญาณที่พบบ่อยของโรคตับและตับอักเสบ[14]
    • ถ้ามี spider nevus แค่เส้นเดียว ก็ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่ถ้ามีโรคหรืออาการอื่นร่วมด้วย เช่น เซื่องซึม อ่อนเพลีย ท้องอืด/บวม หรืออาการของดีซ่าน ให้รีบไปหาหมอ เพราะเป็นอาการของโรคตับ แต่ถ้ามี spider nevi เยอะจนผิดสังเกต ให้รีบไปหาหมอทันที เพราะตับผิดปกติแน่นอน[15]
    • ขนาดของ spider angiomas จะแตกต่างกันไป จากเล็กๆ ไปจนถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม.
    • ถ้าใช้นิ้วออกแรงกดพอประมาณ สีแดงจะหายไป 1 - 2 วินาที กลายเป็นสีขาว (blanching หรือหลอดเลือดหดตัว) เพราะเลือดไหลออกจากจุดนั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตรวจร่างกายกับคุณหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นัดหมอตรวจร่างกาย.
    ขั้นแรก คุณหมอจะเช็คประวัติการรักษาและซักถามอาการ ซึ่งคุณต้องอธิบายให้ละเอียดและตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์ในการรักษา
    • บางทีคุณหมออาจจะถามอะไรที่เป็นส่วนตัวมากๆ เช่น คุณเคยใช้สารเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์ไหม ไปจนถึงเรื่องคู่นอน ขอให้ตอบไปตามจริง เพราะสำคัญต่อการตรวจรักษามาก ย้ำว่าต้องตอบชัดเจนและตรงตามความเป็นจริง
    • ถ้าใช้ยา อาหารเสริม รวมถึงวิตามินและสมุนไพรอะไรอยู่ ก็ต้องแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตรวจร่างกาย.
    การตรวจร่างกาย (clinical physical examination) เป็นขั้นแรกของการตรวจวินิจฉัยอาการตับโต คุณหมอจะเริ่มจากตรวจผิวหาดีซ่านและ spider angiomas ถ้าคุณไม่ได้แจ้งอาการที่ว่า ต่อมาก็ตรวจตับโดยใช้มือกดตามหน้าท้อง[16]
    • ตับโตคลำ/กดแล้วจะรู้สึกต่างจากปกติ นุ่มหรือแข็ง มีหรือไม่มีก้อน ก็ขึ้นอยู่กับโรคต้นเหตุ การกดหรือคลำตามหน้าท้อง จะช่วยระบุขนาดและผิวสัมผัสของตับได้ คุณหมอจะได้ใช้ประเมินระยะของตับโตต่อไป ปกติการตรวจตับโตมี 2 วิธีด้วยกัน คือ percussion test กับ palpation test
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ประเมินสภาพตับด้วย percussion test.
    percussion เป็นวิธีตรวจหาขนาดตับ ให้แน่ใจว่าตับไม่ใหญ่เกิน costal margin (ชายโครง) ที่เป็นเหมือนเกราะปกป้องตับ เป็นการสำรวจอวัยวะภายในโดยวิเคราะห์จากเสียงสะท้อน คุณหมอจะตรวจโดยเคาะที่หน้าท้อง แล้วฟังเสียงที่ได้ ถ้าเสียงทึบยาวเลยชายโครงลงไปเกิน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) เป็นไปได้มากว่าตับโต ถ้าท้องบวมด้วย การทดสอบนี้อาจจะได้ผลไม่ชัดเจน จะแน่ใจได้ต้องทำอัลตราซาวด์[17][18]
    • ถ้าคุณหมอถนัดขวา จะวางมือซ้ายที่หน้าอก แล้วใช้นิ้วกลางกดลงไปที่ผนังทรวงอก จากนั้นใช้นิ้วกลางขวาเคาะตรงกลางของนิ้วกลางมือซ้าย โดยออกแรงจากข้อมือ (เหมือนเล่นเปียโน)
    • เริ่มตรวจจากใต้หน้าอก เคาะแล้วจะได้ยินเสียงก้องๆ เหมือนกลองทิมปานี เพราะเป็นตำแหน่งของปอด ซึ่งในปอดมีอากาศอยู่
    • คุณหมอจะค่อยๆ เคาะไล่ลงไปช้าๆ เป็นเส้นตรง เหนือตับ คอยฟังเสียงที่จะเปลี่ยนจากเสียงก้องๆ โล่งๆ ไปเป็นเสียงทึบดัง “ตุ้บ” แปลว่าอยู่เหนือตับแล้ว ซึ่งจะเป็นเสียงทึบแบบนี้ไปเรื่อยๆ ต้องสังเกตดีๆ เพราะอยู่แถวสุดชายโครง ว่าเสียง "ตุ้บ" ที่ว่านั้นยาวลงไปแค่ไหน คุณหมอจะเลิกเคาะก็ต่อเมื่อเสียง "ตุ้บ" เปลี่ยนเป็นเสียงผสมกันภายในลำไส้ (แก๊สและของเหลวขลุกขลัก)
    • ถ้าเสียงทึบของตับยาวเลยชายโครงลงไป คุณหมอจะเช็คว่าเกินไปกี่เซนติเมตร แปลว่าตับผิดปกติบางอย่าง เพราะปกติชายโครงจะปกป้องอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ตับและม้าม (ถ้าลมในปอดเยอะ (hyperinflated lungs) แต่ร่างกายแข็งแรงดี คุณหมอก็ยังเคาะเจอขอบของตับได้)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เช็ครูปทรงและผิวสัมผัสของตับด้วย palpation test.
    คุณหมออาจจะเช็คตับโตโดยทดสอบ palpation ร่วมด้วย palpation ก็เหมือน percussion คือการสัมผัสและกดด้วยมือ[19][20]
    • ถ้าคุณหมอถนัดขวา จะวางมือซ้ายที่ด้านล่างของลำตัวด้านขวา คุณต้องหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ คุณหมอจะพยายาม “หาจนเจอ” ตับที่อยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยใช้ปลายนิ้วคลำหาตับ ระหว่างขอบของตับ กับใต้ชายโครง จุดสำคัญที่ต้องหาให้เจอคือรูปทรง ความนิ่ม/แข็ง พื้นผิว กดเจ็บไหม และความคมของขอบ
    • คุณหมอจะคลำเช็คว่าตับขรุขระ พื้นผิวผิดปกติ หรือมีปุ่มปมอะไรไหม รวมถึงเช็คว่าตับนิ่มหรือแข็ง คุณหมอจะถามด้วยว่ากดแล้วคุณเจ็บไหม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ตรวจเลือด.
    ส่วนใหญ่คุณหมอจะเจาะเลือดคุณไปตรวจประเมินการทำงานและความแข็งแรงของตับด้วย ปกติการตรวจเลือดจะใช้เวลาต้องการหาการติดเชื้อไวรัส อย่างตับอักเสบ เป็นต้น[21][22]
    • ตรวจเลือดแล้วจะรู้ระดับเอนไซม์ของตับ ทำให้มีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสภาพและการทำงานของตับ บางทีก็ต้องตรวจเลือดเพิ่มเติม เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood cell count : CBC), ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ (hepatitis virus screen) และทดสอบการแข็งตัวของเลือด (blood clotting test) อย่างหลังสำคัญมากต่อการประเมินการทำงานของตับ เพราะตับมีหน้าที่สร้างโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว[23]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ตรวจโดยการสร้างภาพ.
    เช่น อัลตราซาวด์, CT scan (computed tomography) และ MRI (magnetic resonance imaging) คุณหมอมักแนะนำให้ตรวจพวกนี้เพิ่มเติม เพื่อให้วินิฉัยและประเมินสภาพตับกับเนื้อเยื่อโดยรอบได้ชัดเจนกว่าเดิม ตรวจวิธีนี้แล้วจะได้ข้อมูลลงลึก ให้คุณหมอได้ใช้ประเมินสภาพตับแบบละเอียดต่อไป[24]
    • Abdominal Ultrasound — อัลตราซาวด์ช่องท้องจะทำโดยให้คุณนอนลง แล้วคุณหมอใช้แท่งตรวจเลื่อนไปตามหน้าท้อง แท่งที่ว่านี้จะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่จะสะท้อนกับอวัยวะภายในกลับมาให้คอมได้ค่าตามต้องการ โดยคลื่นเสียงที่ว่าจะกลายเป็นรูปภาพของอวัยวะภายในช่องท้องของคุณ คุณหมอจะแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจให้คุณเอง ส่วนใหญ่คือห้ามกินอาหารและดื่มน้ำก่อนตรวจ[25]
    • Abdominal CT scan — ทำ CT scan ช่องท้อง คือใช้ x-ray สร้างภาพตัดขวางบริเวณช่องท้อง ขั้นตอนคือให้คุณนอนบนโต๊ะแคบๆ ที่จะไหลเข้าไปในเครื่อง CT ระหว่าง x-ray ต้องนอนนิ่งที่สุด โดยเครื่องจะหมุนตัวคุณไปมาด้วย ค่าที่ได้จะกลายเป็นภาพในคอม คุณหมอจะแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจให้คุณเอง เวลาตรวจต้องฉีดสีย้อมพิเศษที่เรียกว่า contrast เข้าไปในตัวคุณ (มีทั้งฉีดและกลืน) เพราะงั้นห้ามกินอาหารหรือดื่มน้ำมาก่อน[26]
    • MRI abdominal scan — ทำ MRI สแกนช่องท้อง คือใช้คลื่นแม่เหล็กกับคลื่นวิทยุสร้างภาพภายในช่องท้อง ไม่ได้ใช้รังสี (x-ray) โดยคุณต้องนอนบนโต๊ะแคบๆ ที่จะไหลเข้าไปในเครื่องสแกนเหมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่ จะสแกนให้ได้ภาพอวัยวะภายในออกมาชัดเจน ต้องใช้สีย้อมด้วย ซึ่งคุณหมอจะแนะนำวิธีการเตรียมตัวและขั้นตอนการตรวจให้คุณทราบล่วงหน้า การตรวจวิธีนี้ก็เหมือนวิธีผ่านๆ มา คือห้ามกินอาหารและดื่มน้ำมาก่อน[27]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic-Retrograde Cholangiopancreatography...
    ส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic-Retrograde Cholangiopancreatography (ERCP)). เป็นการตรวจหาสิ่งผิดปกติในท่อทางเดินน้ำดี หรือท่อที่น้ำดีไหลผ่านจากตับไปยังถุงน้ำดีและลำไส้เล็ก[28][29]
    • ขั้นตอนคือฉีดยาผ่านทางแขนให้คุณผ่อนคลาย จากนั้นคุณหมอจะสอดกล้อง endoscope เข้าปาก ต่อไปยังหลอดอาหารและกระเพาะ จนถึงลำไส้เล็ก (ส่วนที่ติดกับกระเพาะ) คุณหมอจะสอดหลอดสวนผ่านกล้อง เข้าไปในท่อทางเดินน้ำดีที่เชื่อมต่อกับตับอ่อนและถุงน้ำดี ต่อมาคุณหมอจะฉีดสีเข้าท่อทางเดินน้ำดี เพื่อให้เห็นส่วนที่มีปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สุดท้ายคือ x-ray[30]
    • คุณหมอมักตรวจวิธีนี้หลังตรวจด้วยการสร้างภาพ อย่างอัลตราซาวด์ CT scan และ MRI
    • เหมือนกับการตรวจวิธีอื่นๆ คือคุณหมอจะแนะนำวิธีเตรียมตัวและขั้นตอนการตรวจให้ล่วงหน้า คุณต้องยินยอมให้ทำ ERCP และงดน้ำกับอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
    • ERCP เป็นทางเลือกที่ดี เพราะใช้อำนวยความสะดวกระหว่างการรักษาไปในตัว เช่น ถ้ามีนิ่วหรือสิ่งอุดกั้นในท่อทางเดินน้ำดี คุณหมอก็จะกำจัดออกระหว่างทำ ERCP[31]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 บางทีก็ต้องเจาะชิ้นเนื้อตับไปตรวจ.
    ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยภาวะตับโตกับโรคตับอื่นๆ ได้แม่นยำ ต้องอาศัยประวัติสุขภาพ/การรักษา การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และการสร้างภาพ แต่บางเคสคุณหมออาจแนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยเฉพาะเคสที่ยังฟันธงไม่ได้ หรือสันนิษฐานว่าจะเป็นมะเร็ง[32]
    • ขั้นตอนคือสอดเข็มบางๆ ยาวๆ เข้าไปในตับ เพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อตับมาตรวจต่อไป ปกติจะเป็นขั้นตอนที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านตับโดยเฉพาะ (แพทย์โรคทางเดินอาหาร (gastroenterologist) หรือนักวิทยาตับ (hepatologist)) การตรวจวิธีนี้ต้องอาศัยการผ่าตัด เพราะฉะนั้นจะมีการวางยาสลบหรือฉีดยาชาร่วมด้วย ชิ้นเนื้อที่ได้จะส่งต่อไปที่แล็บเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม โดยเฉพาะดูว่ามีเซลล์มะเร็งหรือเปล่า
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ทำ MRE (magnetic resonance elastography).
    เป็นเทคนิคการสร้างภาพที่ค่อนข้างใหม่ โดย MRE เป็นการผสมผสานเทคนิคการสร้างภาพด้วย MRI กับการใช้คลื่นเสียงสร้างแผนภาพ (elastograph) เพื่อประเมินความแข็งของเนื้อเยื่อในร่างกาย หรือกรณีนี้ก็คือตับนั่นเอง ตับที่แข็งขึ้นเป็นอาการบอกโรคตับเรื้อรัง ซึ่ง MRE จะตรวจพบได้ เป็นการตรวจที่ไม่ใช่การผ่าตัด ถือเป็นอีกทางเลือกที่ไม่ต้องเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อของตับไปตรวจ[33][34]
    • MRE เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว จะมีให้บริการก็แต่ในศูนย์การแพทย์เฉพาะทางดังๆ เท่านั้น คาดว่าอีกไม่นานคงแพร่หลายกว่านี้ ยังไงลองปรึกษาคุณหมอถ้าจำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีนี้จริงๆ[35]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ระวังปัจจัยเสี่ยง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความเสี่ยงที่เกิดจากตับอักเสบ.
    ไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี (Hepatitis A, B และ C) ทำให้ตับอักเสบจนตับโต ส่วนที่ขอบจะนิ่ม กดเจ็บ ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นตับโต[36]
    • ที่ตับเสียหายเพราะเลือดและเซลล์ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตับ ต้านการติดเชื้อตับอักเสบ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เช็คว่าหัวใจห้องขวาล้มเหลวหรือเปล่า.
    หัวใจห้องขวาล้มเหลว (right-sided heart failure) แล้วทำให้ตับโตได้ จนขอบตับนุ่ม กดเจ็บ[37]
    • สาเหตุเกิดจากเลือดคั่งในตับ เพราะหัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดีพอ พูดง่ายๆ ว่าหัวใจขี้เกียจจนเลือดย้อนกลับเข้าไปในตับ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ความเสี่ยงที่เกิดจากตับแข็ง.
    ตับแข็ง (Cirrhosis) เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้ตับแข็งขึ้นได้ เพราะเกิดพังผืด (fibrosis) ปกติตับแข็งเกิดเพราะพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลเสียต่อตับ โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสาเหตุหลักของตับแข็ง[38]
    • ตับแข็งแล้วอาจทำให้ตับโตหรือหดได้ แต่ส่วนใหญ่พบว่าทำให้ตับโตมากกว่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พันธุกรรมกับระบบเผาผลาญก็มีผล.
    คนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือระบบเผาผลาญ เช่น เป็นโรควิลสัน (Wilson's disease)[39] และโรคเกาเชอร์ (Gaucher's disease)[40] จะเสี่ยงเป็นตับโตมากกว่าคนทั่วไป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ความเสี่ยงจากมะเร็ง.
    คนที่เป็นมะเร็ง จะมีโอกาสตับโตง่ายกว่าคนอื่น เพราะมะเร็งลาม (metastasis) เข้าตับ[41] ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งอวัยวะที่อยู่แถวๆ ตับ จะยิ่งเสี่ยงเกิดตับโตง่ายกว่าเดิม
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ระวังอันตรายจากการดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด.
    ถ้าดื่มแอลกอฮอล์หนักหรือหนักจนติด ไม่ใช่แค่อาทิตย์ละไม่กี่แก้ว ก็แน่นอนว่าอันตรายต่อตับพัง และส่งผลต่อการฟื้นฟูตับ ตับจะเสียหาย แถมทำหน้าที่บกพร่อง ถึงขั้นตับพังได้เลย[42]
    • พอตับทำหน้าที่ได้ไม่ดีเหมือนเดิมเพราะแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้ตับบวมโต เพราะระบายน้ำได้น้อยลง รวมถึงเกิดภาวะตับคั่งไขมันอันเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดด้วย
    • สถาบันวิจัยเรื่องติดสุราและโรคพิษสุราแห่งชาติของอเมริกา (The National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism) ชี้ว่าการดื่มแค่ "พอประมาณ" คือไม่เกิน 1 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิง และไม่เกิน 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย[43]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ระวังเรื่องใช้ยา.
    ยาที่ซื้อกินเองหลายตัวเป็นอันตรายต่อตับได้ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ หรือถ้าใช้เกินขนาด ยาที่อันตรายต่อตับมากที่สุดก็เช่น ยาคุมกำเนิด อนาบอลิกสเตียรอยด์ ไดโคลฟีแนค อะมิโอดาโรน และสแตติน เป็นต้น[44]
    • ถ้ามียาประจำตัวที่ต้องใช้ติดต่อกันนานๆ แนะนำให้ตรวจร่างกายบ่อยๆ และทำตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด
    • Acetaminophen (Tylenol) โดยเฉพาะถ้ากินเกินขนาด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตับวายและตับโต และจะยิ่งเสี่ยงกว่าเดิมถ้ากิน acetaminophen ผสมกับแอลกอฮอล์[45]
    • สมุนไพรบางตัว เช่น black cohosh, อีเฟดรา (ma huang/ephedra) และมิสเซิลโท ก็ทำให้ตับเสี่ยงเสียหายมากกว่าเดิมได้
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ระวังอาหารไขมันสูง.
    ถ้ากินของมันเป็นประจำ เช่น เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ และอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ก็ทำให้ไขมันไปสะสมในตับได้ เรียกว่าภาวะตับคั่งไขมัน (fatty liver) โดยไขมันที่เอ่อคั่งนี้จะเพิ่มขึ้นจนทำลายเซลล์ตับในที่สุด[46]
    • ตับที่เสียหายจะทำงานผิดปกติ บางทีก็บวมโตขึ้นมาเพราะจัดการเลือด สารพิษ และไขมันที่คั่งได้น้อยลง
    • ใครน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคตับกว่าปกติ ไม่ว่าจะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อวัดจาก BMI (body mass index) หรือดัชนีมวลกาย วิธีคำนวณคือเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมตั้ง แล้วหารด้วยความสูงเป็นเมตรแบบยกกำลัง 2 ถ้าได้ BMI อยู่ที่ 25 - 29.9 ถือว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์แล้ว แต่ถ้า BMI เกิน 30 ขึ้นไป ถือเป็นโรคอ้วน[47]
    โฆษณา
  1. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/liver-cancer/about/symptoms-of-liver-cancer
  2. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003275.htm
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-liver/basics/symptoms/con-20024769
  4. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/liver-cancer/about/symptoms-of-liver-cancer
  5. http://patient.info/doctor/spider-naevus
  6. http://www.healthline.com/health/spider-angioma#Overview1
  7. Bates, Barbara: Guide to Physical Exam and History Taking, Lippincott, author Lynn Buckley, 7th edition.
  8. Bates, Barbara: Guide to Physical Exam and History Taking. , Lippincott, author Lynn Buckley, 7th edition.
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK421/
  10. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK421/
  11. Bates, Barbara: Guide to Physical Exam and History Taking. , Lippincott, author Lynn Buckley, 7th edition.
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-liver/basics/tests-diagnosis/con-20024769
  13. http://www.webmd.com/hepatitis/enlarged-liver-causes
  14. http://www.medicinenet.com/liver_anatomy_and_function/page4.htm
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003275.htm
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003275.htm
  17. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003789.htm
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003796.htm
  19. http://www.webmd.com/hepatitis/enlarged-liver-causes
  20. Dushyant V. Sahani and Sanjeeva P Kalva, Imaging the Liver ,The Oncologist July 2004 vol. 9vol. 9 no. 4 385-39.
  21. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007479.htm
  22. http://www.medicinenet.com/ercp/article.htm
  23. http://www.medicinenet.com/liver_anatomy_and_function/page6.htm
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-liver/basics/tests-diagnosis/con-20024769
  25. http://www.mayo.edu/research/labs/magnetic-resonance-imaging/magnetic-resonance-elastography
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3066083/
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-liver/basics/symptoms/con-20024769
  28. http://www.medicinenet.com/liver_anatomy_and_function/page4.htm
  29. http://www.medicinenet.com/liver_anatomy_and_function/page2.htm#cirrhosis
  30. http://www.liverfoundation.org/abouttheliver/info/wilson/
  31. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gauchers-disease/basics/definition/con-20031396
  32. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003275.htm
  33. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-liver/basics/symptoms/con-20024769
  34. http://www.niaaa.nih.gov/alcohol-health/overview-alcohol-consumption/moderate-binge-drinking
  35. http://www.medicinenet.com/liver_anatomy_and_function/page3.htm
  36. Robert j Fontana MD, Acute Liver Failure including Acetaminophen Medical Clinician of North America 2008 July 92 (4) 761-794
  37. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-liver/basics/risk-factors/con-20024769
  38. http://www.cdc.gov/healthyweight/assessing/bmi/adult_bmi/index.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Luba Lee, FNP-BC, MS
ร่วมเขียน โดย:
กรรมการพิจารณายา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Luba Lee, FNP-BC, MS. ลูบา ลีเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีประกาศนียบัตรในเทนเนสซี่ เธอได้รับปริญญาด้านพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ในปี 2006 บทความนี้ถูกเข้าชม 3,380 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,380 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา