วิธีการ รักษาอาการปวดหลังส่วนบน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดหลังส่วนบน (บริเวณกระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic spine) ใต้คอลงมา ตามความยาวของซี่โครง) มักเป็นผลมาจากการนั่งหรือยืนผิดท่า หรือมาจากอาการบาดเจ็บเล็กน้อยหลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ลักษณะอาการคือจับแล้วปวดระบม เพราะกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด[1] วิธีรักษาที่แนะนำมักเป็นการพักผ่อนหรือดูแลตัวเองที่บ้าน แล้วจะหายใน 2-3 วัน แต่ถ้าปวดแปลบและ/หรือแสบร้อน และมีอาการนานกว่า 1 อาทิตย์ทั้งที่รักษาบรรเทาอาการเองอยู่ ให้ไปหาหมอจะดีที่สุด[2]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลบรรเทาอาการปวดหลังส่วนบนด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปลี่ยนแปลงหรือหยุดกิจวัตรประจำวัน.
    อาการปวดหลังส่วนบนมักเป็นเพราะคุณทำท่าบางอย่างซ้ำๆ หรือบาดเจ็บเล็กน้อยจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนักๆ ขั้นแรกในการดูแลตัวเองคือให้หยุดกิจกรรมต้นเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อฉีก และพักผ่อน 2-3 วัน ถ้าบาดเจ็บจากการทำงาน ให้ปรึกษาหัวหน้าเพื่อขอสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ชั่วคราว หรือปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงานให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพร่างกายกว่านี้ ถ้าปวดหลังเพราะออกกำลังกาย แปลว่าอาจจะออกหนักไปหรือผิดท่า แบบนี้ให้ปรึกษาเทรนเนอร์มืออาชีพหรือนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจะดีกว่า
    • เวลาปวดหลังไม่ควรนอนพักบนเตียงอย่างเดียว เพราะต้องขยับเขยื้อนบ้าง (แค่เดินเล่นก็ยังดี) เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ร่างกายจะได้ฟื้นตัวเร็ว[3]
    • ตอนนอนก็สำคัญ ฟูกนิ่มไปไหม หมอนสูงไปหรือเปล่า พวกนี้ทำให้ปวดหลังส่วนบนได้ทั้งนั้น พยายามอย่านอนคว่ำ เพราะจะทำให้หัวและคอบิดแบบที่เสี่ยงปวดหลัง[4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ซื้อยา NSAIDs กินเอง.
    ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatories (NSAIDs)) เช่น ไอบูโพรเฟน, นาพรอกเซน หรือแอสไพริน พวกนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบที่หลังส่วนบนชั่วคราวได้ แต่กินแล้วอาจระคายเคืองกระเพาะ ตับ และไตได้ เพราะงั้นอย่ากินติดต่อกันเกิน 2 อาทิตย์
    • ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ ก็คือ 200–400 มก. โดยกินทุก 4-6 ชั่วโมง[5]
    • หรือกินยาแก้ปวด (analgesics) เช่น acetaminophen (Tylenol) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxants) เช่น cyclobenzaprine แต่ห้ามกินคู่กับยา NSAIDs เด็ดขาด
    • ห้ามกินยาตัวไหนก็ตามที่แนะนำไปตอนท้องว่าง เพราะจะไประคายเคืองเยื่อบุกระเพาะ ทำให้เสี่ยงเกิดแผลในกระเพาะ (ulcer) ได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ประคบเย็นที่หลังส่วนบน.
    เอาน้ำแข็งประคบนี่แหละช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บเล็กน้อยที่กล้ามเนื้อและกระดูกแทบทุกแบบได้เห็นผลที่สุด รวมถึงอาการปวดหลังส่วนบนด้วย การประคบเย็นเหมาะสำหรับอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน (ภายใน 48 ชั่วโมง) ให้ประคบเย็นตรงแผ่นหลังบริเวณที่กดเจ็บ เพื่อลดอาการปวดบวม ให้ประคบเย็น 20 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1-2 วัน พอเริ่มปวดบวมน้อยลงก็ประคบให้ห่างกว่านั้นได้[6]
    • ประคบน้ำแข็งที่หลังโดยใช้แผ่นรัดประคอง (elastic support) ร่วมด้วย จะช่วยลดอาการอักเสบ
    • ต้องห่อน้ำแข็งหรือเจลแพ็คด้วยผ้าบางๆ ก่อน ความเย็นจะได้ไม่กัดผิว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 แช่น้ำผสมดีเกลือ (Epsom salt).
    แช่หลังในน้ำอุ่นผสมดีเกลือหรือ Epsom salt ช่วยลดอาการปวดบวมได้ดี โดยเฉพาะถ้าปวดหลังเพราะกล้ามเนื้อฉีก[7] นั่นเพราะแมกนีเซียมในเกลือช่วยคลายกล้ามเนื้อ แต่ระวังอย่าให้น้ำร้อนไป (เดี๋ยวลวกตัว) และอย่าแช่น้ำนานเกิน 30 นาที เพราะน้ำเกลือจะไปดึงน้ำจากร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดน้ำ
    • ถ้าปัญหาหลักๆ คืออาการบวมที่หลังส่วนบน พอแช่น้ำเกลืออุ่นแล้วให้ตามด้วยประคบเย็นจนหลังชา (ประมาณ 15 นาทีขึ้นไป)
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พยายามยืดเหยียด (stretching) หลังส่วนบนช้าๆ.
    การยืดเหยียดหลังบริเวณที่ปวดบางทีก็ทำให้อาการดีขึ้นได้ โดยเฉพาะถ้าทำตั้งแต่เพิ่งเป็นใหม่ๆ ให้ยืดเหยียดช้าๆ สม่ำเสมอ และหายใจเข้า-ออกลึกๆ ไปด้วย ให้ยืดค้างไว้ประมาณ 30 วินาที และทำซ้ำ 3-5 ครั้งต่อวัน
    • ปูเสื่อโยคะหรืออะไรที่นุ่มๆ แล้วนั่งคุกเข่าบนส้นเท้า จากนั้นงอแล้วยืดตัวไปข้างหน้า ค่อยๆ ขยับปลายนิ้วห่างออกไปเรื่อยๆ ให้ไกลเท่าที่ทำได้ จนจมูกแตะพื้น
    • ลองยืดกล้ามเนื้อสะบัก (rhomboid muscles) ด้วยการยืดตัวกับกรอบประตู ชูมือเหนือศีรษะเกาะตรงกรอบประตู และค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้าจนรู้สึกตึงตรงหัวไหล่
    • ยืนตัวตรง สองมือประสาน ประคองท้ายทอย จากนั้นค่อยๆ ดันหัวไปข้างหลัง แอ่นอกยืดสันหลังให้ท้องยื่นออกมา
    • ยืนตัวตรง แยกเท้า 1 ช่วงไหล่ (เพื่อให้ทรงตัวได้ดี) ยื่นแขนไปข้างหน้า งอข้อศอก แล้วค่อยๆ หมุนลำตัวท่อนบนไปซ้ายหรือขวาให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 2-3 วินาที จากนั้นสลับไปทำอีกข้าง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้ foam roller.
    ไถตัวไปมากับลูกกลิ้งโฟมแน่นๆ ก็ช่วยนวดหลัง คลายปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้ โดยเฉพาะบริเวณกลางหลัง (thoracic) ปกติ foam roller นิยมใช้ในการทำกายภาพบำบัด โยคะ และพิลาทิส
    • คุณหาซื้อ foam roller ได้ตามแผนกอุปกรณ์กีฬาหรือออนไลน์ ส่วนใหญ่จะราคาไม่แพงแถมทนทาน
    • วาง foam roller ที่พื้น ตั้งฉากกับบริเวณที่คุณจะเอนตัวลงนอน ต่อมานอนหงายให้ foam roller อยู่ใต้ไหล่ พอตัวคุณประกอบร่างกับ foam roller จะได้ออกมาเป็นตัว "t"
    • วางเท้าราบไปกับพื้น งอเข่า แล้วยกหลังส่วนล่างขึ้น ให้ไถไปมากับโฟม (หน้า-หลัง)
    • ไถตัวโดยใช้เท้าช่วย เท่ากับเป็นการนวดสันหลัง (อย่างน้อย 10 นาที) ทำซ้ำกี่ครั้งก็ได้ แต่ทำครั้งแรกอาจจะเมื่อยตัวหน่อย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ฝึกการรักษาท่วงท่าที่ดีตลอดทั้งวัน.
    หลายคนที่มีปัญหาปวดหลังก็เป็นผลมาจากการมีท่วงท่าที่ผิดสุขลักษณะ ในขณะนั่งโดยเฉพาะเวลาต้องนั่งนานๆ คุณควรดูให้มั่นใจว่ากระดูกสันหลังเหยียดตรงเหนือสะโพก
    • การตั้งเวลาเตือนที่โทรศัพท์มือถือหรือใช้แอปเตือนตลอดทั้งวันให้นั่งตัวตรงหรือยืนตัวตรงไม่หลังค่อมก็ช่วยทำให้คุณจัดท่วงท่าถูกต้องได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาหมอเฉพาะทาง.
    คุณหมอเฉพาะทาง เช่น ด้านกระดูก ด้านประสาทวิทยา หรือด้านโรคข้อ จะวินิจฉัยได้ชัดเจนกว่า ว่าอาการปวดหลังส่วนบนของคุณมาจากสาเหตุอันตรายหรือเปล่า เช่น อาการติดเชื้อ (กระดูกอักเสบ หรือ osteomyelitis), โรคมะเร็ง, กระดูกพรุน (osteoporosis), กระดูกสันหลังหัก, หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (herniated disc) หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis)[8] ถึงอาการปวดหลังส่วนบนโดยทั่วไปจะไม่ได้เกิดจากโรคที่ว่า แต่ถ้าดูแลตัวเองที่บ้านแล้วยังไม่ดีขึ้น แปลว่าสาเหตุอาจร้ายแรงกว่าที่คุณคิด
    • คุณหมอเฉพาะทางมักทำการเอ็กซเรย์, สแกนกระดูก, ทำ MRI, CT scan และอัลตร้าซาวด์ประกอบการวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนบนของคุณ
    • นอกจากนี้อาจมีการตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือการติดเชื้อในสันหลัง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ต (facet joint injection).
    ที่คุณปวดหลังส่วนบน อาจเป็นเพราะข้ออักเสบเรื้อรัง วิธีการฉีดยาเข้าข้อ facet ก็คือใช้เครื่องเอ็กซเรย์แบบ real-time ชื่อ fluoroscopic นำทางเข็มผ่านเข้าไปในกล้ามเนื้อหลัง และไปยังข้อกระดูกสันหลังที่อักเสบหรือระคายเคือง จากนั้นก็ฉีดยาชาผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) เข้าไป ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบอย่างรวดเร็ว การฉีดยาเข้าข้อ facet จะใช้เวลาประมาณ 20–30 นาที ผลการรักษาจะอยู่ได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ไปจนถึง 2-3 เดือน[9]
    • ภายในระยะเวลา 6 เดือน สามารถฉีดยาเข้าข้อ facet ได้แค่ 3 ครั้งเท่านั้น
    • ปกติฉีดยาเข้าข้อ facet แล้วจะเริ่มหายปวดหลังผ่านไป 2-3 วัน ข้อเสียคือกว่าจะถึงตอนนั้น อาจปวดหลังกว่าเดิมเล็กน้อยด้วย
    • อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดเมื่อฉีดยาเข้าข้อ facet ก็เช่น เกิดการติดเชื้อ เลือดออก กล้ามเนื้อลีบฝ่อบางส่วน หรือเส้นประสาทอักเสบ/เสียหาย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรึกษาคุณหมอเรื่องโรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis).
    เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังคดไปด้านข้าง มักเกิดกับคนอายุน้อย คือเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์[10] เป็นแล้วจะปวดหลังส่วนบนและส่วนกลาง ถ้าเป็นโรคกระดูกสันหลังคดขั้นต้นจะไม่ค่อยรู้ตัว แต่ก็ยังทำให้เจ็บปวด และปวดขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อันตรายกว่า เช่น ปอดหรือหัวใจเสียหาย รูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ไหล่หรือสะโพกไม่เท่ากัน และซี่โครงยื่นออกมา[11]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อาจจะต้องผ่าตัด.
    การผ่าตัดรักษาอาการปวดหลังถือเป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่วิธีอื่นไม่ได้ผลจริงๆ หรือในกรณีที่ต้นเหตุของอาการทำให้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้ต้องผ่าตัดรักษาอาการปวดหลังส่วนบนก็เช่น เพื่อแก้ไขซ่อมแซมกระดูกที่แตกหัก (จากการกระทบกระเทือนหรือโรคกระดูกพรุน) ผ่าตัดเนื้องอก รักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือปรับแก้กระดูกสันหลังที่คดงอ
    • หลังผ่าตัดกระดูกสันหลังอาจต้องใช้แท่งเหล็กหรือลวดแข็งและอุปกรณ์อื่นๆ ดามกระดูกไว้
    • อาการแทรกซ้อนที่พบได้หลังผ่าตัดหลังก็เช่น ติดเชื้อบางส่วน แพ้ยาสลบ เส้นประสาทเสียหาย เป็นอัมพาต รวมถึงมีอาการปวดและ/หรือบวมเรื้อรัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้วิธีทางเลือกอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปนวด.
    กล้ามเนื้อฉีกมักเกิดจากการยืดเส้นใยกล้ามเนื้อเกินความสามารถ จนฉีกขาดในที่สุด ทำให้เจ็บปวด อักเสบ ไปจนถึง guarding คือกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งเพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายไปมากกว่าเดิม ถ้านวดแบบ deep tissue คือเน้นหนักถึงกล้ามเนื้อส่วนลึก จะดีต่อกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง เพราะช่วยลดอาการกระตุกเกร็ง การอักเสบ และช่วยคลายกล้ามเนื้อ[14] นวดแค่ 30 นาทีก่อน โดยเน้นที่หลังส่วนบนและต้นคอลงมา พยายามให้หมอนวดกดลงไปลึกๆ เท่าที่คุณจะทนไหว
    • หลังนวดเสร็จต้องดื่มน้ำตามให้มากๆ จะได้ขับสิ่งที่เกิดจากการอักเสบ กรดแลคติก และสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย ถ้าไม่ดื่มน้ำระวังจะปวดหัวหรือคลื่นไส้นิดหน่อย
    • ถ้าไม่ชอบไปนวดตามร้าน อาจจะลองนวดหลังตัวเองด้วยลูกเทนนิสเหมือนการใช้ foam roller โดยวางลูกเทนนิสแล้วนอนหงายทับลงไป ให้ลูกเทนนิสอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (หรือบริเวณที่ปวด) จากนั้นไถตัวให้ลูกเทนนิสกลิ้งไปมาช้าๆ 10–15 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน จนอาการดีขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ไปหานักจัดกระดูก (chiropractor) หรือหมอกระดูก (osteopath).
    chiropractor กับ osteopath คือนักบำบัดหรือหมอเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ที่จะช่วยบำบัดรักษาให้กระดูกสันหลังข้อเล็ก หรือก็คือข้อ facet ที่เชื่อมต่อกับกระดูกสันหลัง กลับมาเคลื่อนไหวและใช้งานได้ตามปกติ วิธีที่ใช้ก็คือ manual joint manipulation หรือการจัดกระดูก เพื่อปรับตำแหน่ง ให้ข้อ facet ที่ขัดหรือผิดที่ผิดทางจนเกิดการอักเสบและปวดแปลบ โดยเฉพาะตอนที่ขยับตัว กลับมาตรงตามเดิม เวลาจัดกระดูกมักได้ยินเสียง "popping" หรือเสียงกระดูกลั่น นอกจากนี้ก็ยังมีการถ่วงน้ำหนัก (traction) หรือยืด (stretching) กระดูกสันหลังด้วย
    • บางคนไปจัดกระดูกแค่ครั้งเดียวก็หายปวดหลังเลย แต่ปกติต้องจัดกระดูก 3 - 5 ครั้งถึงจะเห็นผลชัดเจน
    • นอกจากนี้นักจัดกระดูกยังมีวิธีบำบัดรักษากล้ามเนื้อฉีกโดยเฉพาะอีกหลายวิธี ซึ่งก็อาจจะตรงจุดกว่าสำหรับอาการปวดหลังของคุณก็ได้
    • นักจัดกระดูกช่วยเรื่องข้อขัด ขยับตัวไม่สะดวกได้ด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลองทำกายภาพบำบัด.
    ถ้าคุณปวดหลังส่วนบนบ่อยๆ (เรื้อรัง) เพราะกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังอ่อนแรง นั่งผิดท่า หรือกระดูกเสื่อมตามวัย เช่น เป็นโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ก็ควรทำกายภาพบำบัดจริงจัง นักกายภาพบำบัดจะแนะนำและออกแบบท่ายืดเหยียดและเสริมสร้างความแข็งแรงตามอาการปวดหลังให้คุณเอง[15] ปกติต้องทำกายภาพ 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ ติดต่อกัน 4-8 อาทิตย์ ถึงจะได้ผลดีสำหรับคนปวดหลังเรื้อรัง
    • ถ้าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อโดยใช้กระแสไฟฟ้า (electrotherapy) เช่น ทำกายภาพบำบัดโดยใช้อัลตร้าซาวด์ หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า (electronic muscle stimulation)
    • การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ดีต่อหลังส่วนบน ก็คือการว่ายน้ำ พายเรือ และยืดเหยียดหลัง แต่ทางที่ดีควรรักษาอาการบาดเจ็บซะก่อน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองฝังเข็ม.
    acupuncture ก็คือการเอาเข็มเล่มบางมากๆ จิ้มลงไปตามจุดพลังงานต่างๆ ในผิวหนัง เพื่อลดอาการปวดและอักเสบ[16] ฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ โดยเฉพาะถ้ายิ่งทำแต่เนิ่นๆ ตามหลักของแพทย์แผนจีน การฝังเข็มจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารต่างๆ เช่น เอนดอร์ฟิน (endorphins) และเซโรโทนิน (serotonin) ที่ช่วยลดอาการเจ็บปวด
    • นอกจากนี้การฝังเข็มยังช่วยกระตุ้นให้ลมปราณ (ชี่ (chi)) ไหลเวียนดี
    • การฝังเข็มจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น นักกายภาพบำบัด นักจัดกระดูก นักธรรมชาติบำบัด (naturopath) หมอนวดที่มีใบอนุญาต และคุณหมอทั่วไป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาจิตแพทย์.
    อย่าเพิ่งงงว่าเจ็บตัวทำไมไปหาหมอหรือนักบำบัดจิต แต่เขาพิสูจน์แล้วว่าความคิดและพฤติกรรมบำบัด (cognitive-behavioral therapy) ช่วยลดความตึงเครียด รวมถึงไปอาการปวดหลังได้ในผู้ป่วยหลายๆ เคส[17]
    • จดบันทึกอาการเจ็บปวด จะช่วยให้รับมือกับอาการเจ็บปวดได้ดีขึ้น ทั้งยังมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษา เวลาไปหาหมอให้เอาไปด้วย
    • หาอะไรทำคลายเครียด เช่น ฝึกสมาธิ, ฝึกไทชิ และฝึกการหายใจ จะช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง และป้องกันไม่ให้บาดเจ็บซ้ำได้[18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าพยายามใช้กระเป๋าสะพายข้าง (ทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย) ที่ทำให้ไหล่รับน้ำหนักข้างเดียว ให้เปลี่ยนไปใช้กระเป๋าแบบมีล้อ หรือกระเป๋าเป้ที่บุสายสะพายให้นุ่มๆ แทน
  • ถ้าอยากยืนให้ถูกท่าถูกทาง ต้องทิ้งน้ำหนักที่เท้าเท่ากันทั้ง 2 ข้าง และอย่าล็อคเข่า ให้เก็บก้น เก็บพุง จะได้ยืนหลังตรง พยายามใส่รองเท้าส้นเตี้ยหรือพื้นหนานุ่มถ้าต้องยืนนานๆ และลดอาการกล้ามเนื้อล้าโดยพักเท้าข้างหนึ่งบนเก้าอี้เตี้ยๆ หรือที่วางเท้า
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ออกซิเจนกับสารอาหารที่จำเป็นเลยไปไม่ถึงกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่ออื่นๆ
  • ถ้าอยากนั่งให้ถูกท่า ต้องเลือกเก้าอี้แน่นๆ มั่นคง ถ้ามีที่พักแขนได้ยิ่งดี นั่งให้หลังส่วนบนตั้งตรง อย่าเกร็งไหล่ อาจจะหาหมอนใบเล็กๆ มารองรับหลังส่วนล่าง เพราะหลังคนเราจะมีส่วนโค้งโดยธรรมชาติ วางเท้าราบไปกับพื้น หรือพักเท้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ หรือพื้นผิวอื่นๆ ถ้าจำเป็น อย่านั่งนานเกินไป ลุกยืน เดินไปมา และยืดเส้นยืดสายบ้าง กล้ามเนื้อจะได้ไม่ตึงเกร็ง[19]
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้รีบไปหาหมอทันทีถ้ามีอาการต่อไปนี้[20][21]
    • ปวดหลังแล้วมีไข้ เป็นเหน็บชา ปวดเกร็งที่ท้อง และน้ำหนักลดฮวบฮาบร่วมด้วย
    • บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์จนกระทบกระเทือนรุนแรง
    • กลั้นอึฉี่ไม่ได้
    • เดินขาลากอย่างเห็นได้ชัด
    • ปวดนานเกิน 6 อาทิตย์
    • ปวดตลอดและยิ่งแย่ลง
    • ตอนกลางคืนจะปวดมาก อาการรุนแรงขึ้น
    • อายุเกิน 70 ปี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jarod Carter, DPT, CMT
ร่วมเขียน โดย:
นักกายภาพบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jarod Carter, DPT, CMT. จารอด คาร์เตอร์เป็นนักกายภาพบำบัด ที่ปรึกษาและเจ้าของ Carter Physiotherapy ในออสติน เท็กซัส ที่เน้นการบำบัดด้วยมือและให้บริการปรึกษาทางไกลในการรักษาอาการปวด เขามีประสบการณ์กว่า 15 ปี ได้รับปริญญาเอกทางกายภาพบำบัดจากมหาวิทยาลัยเซนต์ออกุสติน และยังได้รับปริญญาตรีด้านกายภาพจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแห่งออสติน บทความนี้ถูกเข้าชม 32,598 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,598 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา