วิธีการ แก้ไอแบบไม่ใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การไอ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ โดยปกป้องปอด กำจัดสิ่งระคายเคืองหรือกีดขวางหลอดลม เช่น ควัน หรือเสมหะ และป้องกันการติดเชื้อ ถ้านานๆ ไอที ก็ถือว่าระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานดี แต่ถ้าไอถี่ ไม่ยอมหยุด แปลว่าอาจมีโรคหรือการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ยิ่งไอต่อเนื่องแค่ไหนก็ยิ่งส่งผลข้างเคียงอันตราย เช่น เจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย วิงเวียน และกลั้นฉี่ลำบาก นอกจากนี้การไอยังรบกวนการนอน และอาจกระทบความสัมพันธ์ และหน้าที่การงานด้วย[1] บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำขั้นตอนง่ายๆ ในการป้องกันและบรรเทาอาการไอแบบไม่ใช้ยาให้คุณเอง แต่ก็ควรปรึกษาคุณหมอประจำตัวหรือเภสัชกรก่อนเริ่มรักษาตัวด้วยสมุนไพรหรืออาหารเสริม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 7:

ดูแลตัวเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อมยาอม.
    ยาอมจะมีส่วนผสมแก้ไอ แถมทำให้ชุ่มคอ เลยไม่ระคายคอ ยิ่งไม่ไอ ยาอมไม่ใช่ยาแก้ไอโดยตรง แต่ช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายให้ชุ่มคอ ยาอมเหมาะกับอาการไอแห้งมากกว่าไอแบบมีเสมหะ
    • ซื้อยาอมที่มีส่วนผสมอย่าง น้ำผึ้ง มะนาว ยูคาลิปตัส และมินต์ จะช่วยแก้ไอได้ดี
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบร้อน.
    ใช้ผ้าอุ่นประคบที่คอหรือหน้าอก จะช่วยลดเสมหะในปอดและจมูก จะเป็นการกระตุ้นให้ขับเสมหะ ลดการระคายคอ วิธีคือแช่ผ้าขนหนูในน้ำอุ่น 3 - 5 นาที จากนั้นบิดหมาด แล้วเอามาประคบที่หน้าอกและคอ 5 นาที พอผ้าหายอุ่นก็ชุบน้ำใหม่แล้วทำซ้ำ ประมาณ 20 นาที
    • อย่าประคบร้อนนานเกิน 20 นาที เว้นแต่ปรึกษาคุณหมอแล้ว
    • ถ้าไม่อยากใช้ผ้าขนหนู จะใช้เจลแพ็คร้อน ถุงน้ำร้อน หรือขวดใส่น้ำอุ่นก็ยังได้ ขอแค่ไม่ร้อนลวกผิว อย่าลืมเอาผ้าห่อไว้ด้วย อย่าประคบผิวโดยตรง
    • ถ้ามีอาการบวมหรือเป็นไข้ อย่าประคบร้อน ให้ประคบเย็นแทน คนที่เลือดไหลเวียนไม่ค่อยดี หรือเป็นเบาหวาน ต้องระวังมากๆ ถ้าจะประคบร้อน[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อาบน้ำอุ่น.
    เวลาไอหนักๆ ถ้าอาบหรือแช่น้ำอุ่นสัก 5 - 10 นาที จะช่วยให้หายระคายคอ ขับเสมหะได้ง่ายขึ้น และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ความชื้นกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะช่วยขยายหลอดลม ไอแล้วขับเสมหะได้มากขึ้น แต่ระวังอย่าให้น้ำร้อนหรือเย็นเกินไป โดยเฉพาะถ้ามีไข้ร่วมด้วย นอกจากนี้การรักษาความสะอาดของร่างกายก็ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเพิ่มเติมด้วย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ.
    ถ้าไอเพราะเจ็บคอ ต้องกลั้วน้ำเกลืออุ่นๆ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ โพรงไซนัสจะชุ่มชื้น ขับน้ำมูกและเสมหะง่าย ไม่เกิด postnasal drip (น้ำมูกไหลลงคอ) ที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการไอ สูตรน้ำเกลือกลั้วปากและคอ คือผสมเกลือ 1/2 ช้อนชาในน้ำที่ฆ่าเชื้อแล้วหรือน้ำกลั่นอุ่นๆ 1 แก้ว แล้วคนจนละลายเข้ากันดี ใช้กลั้วปากและคอ 1 - 2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง อย่ากลืนลงไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 7:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้เปปเปอร์มินต์.
    เปปเปอร์มินต์มีเมนทอลที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและไอแห้ง แถมช่วยลดเสมหะ เปปเปอร์มินต์มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น สารสกัดในอาหารเสริม ยาอม น้ำมันหอมระเหย และชาหรือน้ำสมุนไพร อีกวิธีคือใช้สมุนไพรสดแต่งรสอาหารประจำวัน
    • อาจจะดื่มชาเปปเปอร์มินต์ 1 - 3 ครั้งต่อวัน หรือทา/ดมน้ำมันเปปเปอร์มินต์แบบอโรมาเธอราพี ย้ำว่าห้ามกินน้ำมันเปปเปอร์มินต์เด็ดขาด
    • ห้ามใช้เปปเปอร์มินต์หรือเมนทอลกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ[6]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินกระเทียม.
    กระเทียมมีสรรพคุณต้านไวรัสและอาการอักเสบ เลยช่วยบรรเทาอาการคอและจมูกอักเสบได้ แถมกระเทียมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น วิตามินบี 6 วิตามินซี และแมงกานีส ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น กระเทียมมีเอนไซม์ซัลฟิวริกชื่อ alliin ช่วยป้องกันไวรัสได้ แนะนำให้กินกระเทียมสด 1 กลีบ จะได้ alliin เต็มที่
    • แต่ถ้าอยากให้กินง่ายกว่านั้น ก็ต้องบดกระเทียมผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันมะกอก 1 ช้อน กินแล้วภูมิคุ้มกันจะแข็งแรง ถ้ากินทุกวันก็จะไม่ค่อยเป็นหวัด หรือถ้าเป็นก็หายเร็ว
    • ลองปรุงอาหารโดยใช้กระเทียมสับ 2 - 4 กรัม หรือเจียวให้เป็นสีน้ำตาลอ่อนโดยใช้ไฟอ่อน จะได้ไม่สูญเสียสารที่มีประโยชน์ไป
    • เขาวิจัยกันมาแล้วว่ากระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายหลายอย่าง เช่น ลดคอเลสเตอรอลในเลือด และลดความดัน
    • กระเทียมพร้อมใช้มีหลายแบบ เช่น ซอสปรุงรส กระเทียมผง และเกลือผสมกระเทียม แต่ระวังถ้ากินกระเทียมมากไปก็ปากเหม็นและความดันต่ำได้ เพราะงั้นพยายามกินอยู่ที่ประมาณ 2 - 4 กลีบต่อวัน[7][8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้รากชะเอมเทศ.
    รากชะเอมเทศมีสรรพคุณขับเสมหะ ใช้รักษาบรรเทาอาการได้หลายอย่าง รวมถึงลดหรือแก้ไอ รากชะเอมเทศมีทั้งแบบเม็ดและน้ำ หรือจะกินรากชะเอมเทศสด 1 - 5 กรัมแทนก็ได้ ให้เลือกลูกอมชะเอมเทศที่มีรากชะเอมเทศเป็นส่วนผสมหลัก ไม่ใช่แต่งรสด้วยโป๊ยกั๊กหรือชะเอมเทศ
    • นอกจากกินเปล่าๆ แล้ว ยังใช้ชงชาได้ด้วย โดยแช่แท่งชะเอมเทศ 1 - 5 กรัมในน้ำเดือด 1 ถ้วยตวง แล้วทิ้งไว้ 3 - 5 นาที จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ใช้ดื่มอาทิตย์ละครั้ง
    • อย่าให้เด็กดื่มชาชะเอมเทศเกิน 1 วันโดยไม่ปรึกษาคุณหมอ และห้ามให้เด็กอ่อนหรือเด็กแบเบาะดื่มเลย คนอีกกลุ่มที่ต้องหลีกเลี่ยงชะเอมเทศ ก็คือคนความดันสูง ตับอักเสบ หรือเป็นโรคตับ โรคไต[9]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองใช้ blue vervain.
    blue vervain มีสรรพคุณขับเสมหะ ทำให้เสมหะเหลวขึ้น ขับจากคอและหน้าอกได้ง่าย ทำให้ไม่ไอหนักเท่าเดิม blue vervain มีทั้งแบบอาหารเสริม ชา และยาน้ำ หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือวิตามิน ปริมาณที่แนะนำคือ 1 แคปซูล โดยกินหลังอาหารแล้วดื่มน้ำตาม อย่างน้อย 1 - 2 ครั้งต่อวัน
    • ถ้าจะชงชา ให้ใส่ blue vervain 1/2 ช้อนชาในน้ำเดือด 1 ถ้วยตวง ทิ้งไว้ 3 - 5 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใช้ดื่ม 1 - 2 ครั้งต่อวัน
    • ไม่ควรกิน blue vervain ถ้าใช้ยาขับปัสสาวะอยู่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเยอะ เพราะจะทำให้ขาดน้ำได้
    • ปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ blue vervain ถ้าตั้งครรภ์ มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร หรือใช้ยาอะไรอยู่[10]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้สารสกัดเอลเดอร์เบอร์รี่.
    เพราะมีสรรพคุณต้านการอักเสบและไวรัส คนเลยนิยมใช้เอลเดอร์เบอร์รี่บรรเทาอาการในทางเดินหายใจ เจ็บคอ ไอ และไข้ สารสกัดเอลเดอร์เบอร์รี่มีทั้งแบบยาอม แคปซูลอาหารเสริม และยาน้ำ หาซื้อได้ตามร้านขายยาและวิตามินทั่วไป
    • หรือใช้ดอกเอลเดอร์เบอร์รี่อบแห้งชงเป็นชาแทน โดยแช่ดอกแห้ง 3 - 5 กรัมในน้ำเดือด 1 ถ้วยตวง ทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 นาที ใช้ดื่ม 1 - 3 ครั้งต่อวัน
    • แต่ควรดื่มแค่ 2 - 3 วันครั้ง ไม่แนะนำให้ใช้เอลเดอร์เบอร์รี่ต่อเนื่องนานๆ เพราะมีสรรพคุณเจือจางเลือด โดยเฉพาะไม่แนะนำให้คนที่ความดันต่ำใช้
    • ห้าม กินเอลเดอร์เบอร์รี่ดิบหรือปรุงยังไม่สุก เพราะเป็นพิษได้[11]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้สารสกัดยูคาลิปตัสหรืออโรมาเธอราพี.
    ยูคาลิปตัสช่วยบรรเทาอาการไอ ต้านการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ และลดเสมหะคัดจมูก ยูคาลิปตัสมีทั้งแบบ vapor bath (ผสมน้ำอุ่นแล้วสูดไอระเหย) และเม็ดอมแก้อาการเจ็บคอ หรือแบบขี้ผึ้งยาที่มีส่วนผสมของใบยูคาลิปตัส ใช้ป้ายจมูกและหน้าอก เพื่อขับเสมหะและแก้คัดจมูก ไม่ให้น้ำมูกหรือเสมหะไประคายคอจนไอไม่หยุด
    • ผู้ใหญ่ทายูคาลิปตัสได้ ปลอดภัยดี
    • ใช้ใบสดชงชา โดยแช่ใบแห้ง 2 - 4 กรัมในน้ำร้อน 1 ถ้วย ทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 นาที หรือใช้ใบทำน้ำยูคาลิปตัสอุ่นสำหรับกลั้วแก้เจ็บคอ
    • ห้าม กินใบหรือน้ำมันยูคาลิปตัส เพราะเป็นพิษได้[12]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ใช้ slippery elm.
    slippery elm จะมี mucilage เป็นเมือกเหมือนเจลที่จะไปเคลือบ ลดการระคายเคืองที่ปาก คอ กระเพาะ และลำไส้ ช่วยบรรเทาอาการไอได้ มีทั้งแบบเม็ด เม็ดอม และสารสกัดแบบผง หาซื้อได้ตามร้านขายยาและวิตามินทั่วไป หรือชงชาโดยใช้เปลือกไม้ที่บดเป็นผงแล้ว 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ทิ้งไว้ 3 - 5 นาที แล้วใช้ดื่ม 1 - 3 ครั้งต่อวัน
    • เด็กและสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ slippery elm โดยไม่ปรึกษาแพทย์[13][14]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 7:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้เครื่องทำความชื้น (humidifier).
    อากาศแห้งๆ จะทำให้หวัดยิ่งแย่ น้ำมูกจะเหนียวข้น สั่งยาก พอมีทั้งน้ำมูกและเสมหะ ก็ระคายคอยิ่งไอ ถ้าใครเปิดแอร์ตลอด ให้หา humidifier หรือเครื่องทำความชื้นมาตั้งในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น จะได้เพิ่มความชื้นในอากาศ โพรงไซนัสคุณจะโล่ง คอก็หายเจ็บ แต่ก็ต้องปรับความชื้นให้เหมาะสม คือประมาณ 30% - 55%
    • ถ้าความชื้นสูงไป ระวังเรื่องราและไรฝุ่น เพราะ 2 อย่างนี้เป็นตัวก่อภูมิแพ้และอาการไอ
    • ถ้าความชื้นต่ำไป จะทำให้ตา คอ และโพรงไซนัสแห้ง เกิดการระคายเคือง วิธีวัดและปรับความชื้นให้ง่ายที่สุด คือใช้ humidistat หาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ช่างและก่อสร้าง
    • ทั้งเครื่องทำความชื้นแบบตั้งโต๊ะกับในระบบระบายอากาศ ต้องทำความสะอาดเป็นประจำให้หมดจด เพราะจะมีเชื้อราและแบคทีเรียปนเปื้อนได้[15]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปลูกต้นไม้ในบ้าน.
    ถ้าไม่อยากใช้เครื่องทำความชื้น ก็ให้ลองปลูกต้นไม้ในบ้านดู เพราะช่วยเพิ่มความชื้นจากกระบวนการคายน้ำ คือมีน้ำระเหยจากดอก ใบ และก้าน พืชที่ปลูกในบ้านได้ก็เช่น ปาล์มไผ่ ว่านหางจระเข้ เขียวหมื่นปี ตระกูลฟิโลเดนดรอนและดราแคนา ไปจนถึงไทรย้อยใบแหลม
    • ต้นไม้กระถางจะช่วยฟอกอากาศ กรองคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะต่างๆ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน และไตรคลอโรเอธิลีน ที่ทำคุณระคายคอได้[16]
    • แต่ระวังอย่าใช้ต้นที่คุณแพ้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้เครื่องฟอกอากาศ.
    นอกจากเครื่องทำความชื้นแล้ว ยังมีเครื่องฟอกอากาศ (air purifier) ที่ช่วยกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ที่อาจทำคุณไอ แถมใช้แล้วบ้านหอมสะอาดด้วย อีกทีคือใช้เครื่องฟอกอากาศแบบ electronic cleaner จะมีจานที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ใช้ดักจับเชื้อราและละอองเกสรในอากาศได้
    • เครื่องฟอกอากาศอีกแบบคือ ionizer เป็นเครื่องกำจัดไฟฟ้าสถิต จะปล่อยไอออนที่ไปเกาะกับฝุ่นผงในอากาศ แล้วติดตามผนัง เพดาน และผ้าม่าน ทำความสะอาดง่าย ไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ[17]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นอนตะแคง.
    เวลาไอหนักๆ จะนอนไม่ค่อยหลับ ทั้งๆ ที่การนอนหลับพักผ่อนสำคัญต่อการฟื้นตัวของร่างกายและหายจากอาการไอมาก มีงานวิจัยที่ชี้ว่าอดนอนบ่อยๆ จะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้ ฮอร์โมนเครียดยิ่งเพิ่มสูง ทำให้ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง อายุขัยสั้นลง
    • ถ้าไอหนัก ไอไม่หาย ให้ลองนอนตะแคงข้างที่จมูกตันน้อยกว่า จะได้หายใจสะดวกขึ้น สั่งน้ำมูกง่าย[18][19]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นอนหนุนหมอนสูง.
    ถ้าหายใจลำบากตอนนอนเพราะไอตลอด ให้ลองหนุนหมอนสูงให้คอตั้งขึ้น อากาศจะได้ไหลเวียนสะดวก น้ำมูกหรือเสมหะไม่เหนียวข้นอุดตันโพรงไซนัสและคอ หมอนที่หนุนควรจะรองรับตรงต้นคอที่เว้าเข้าไปพอดี นอนและหายใจสบายขึ้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ดื่มน้ำเยอะๆ.
    น้ำช่วยบรรเทาอาการที่ทำให้ไอ เช่น คัดจมูกเพราะเป็นหวัด น้ำมูกไหลลงคอ หรือคอแห้ง ดื่มน้ำแล้วคอชุ่มชื้น น้ำมูกและเสมหะเหลวขึ้นสั่ง/ขับออกง่าย พยามยามดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8 ออนซ์ทุก 2 ชั่วโมง และดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน (ผู้ใหญ่ทั่วไป) แต่ถ้าดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นประจำ ก็ต้องดื่มน้ำ 1 ลิตรต่อคาเฟอีน 1 แก้ว
    • ถ้าดื่มน้ำน้อย จะเกิดภาวะขาดน้ำได้ ตามมาด้วยปวดหัว กระวนกระวาย วิงเวียน หัวใจเต้นผิดปกติ และหายใจติดขัด นอกจากน้ำเปล่าแล้ว เครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มเกลือแร่แบบไม่มีกลูโคสก็ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้[21][22]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อย่าออกกำลังกายหนักเกินไป.
    ถ้าไอ เป็นหวัด เป็นไข้ หรือปวดหัวอยู่ ต้องอย่าเพิ่งออกกำลังกายหนักๆ เพราะยิ่งไปกระตุ้นให้ไอ รวมถึงมีอาการอื่นเพิ่มเติม เช่น หายใจมีเสียงวี้ด เจ็บแน่นหน้าอก และหายใจติดขัด บางทีคุณอาจเป็น exercise-induced bronchoconstriction (EIB) คือหลอดลมตีบจากการออกกำลังกายจนกลายเป็นหอบหืด ไม่จำเป็นต้องเป็นหอบหืดอยู่แล้วก็เป็น EIB ได้ หรือคนที่เป็นภูมิแพ้ก็อาจหายใจไม่สะดวกได้ตอนออกกำลังกาย
    • ปรึกษาคุณหมอหรือนักภูมิคุ้มกันวิทยา เพื่อหาแผนออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณ อย่าเพิ่งไปที่อากาศหนาวๆ แห้งๆ หรือความดันอากาศเปลี่ยนแปลง เพราะจะกระตุ้นให้เกิด EIB ได้[23]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 เลิกสูบบุหรี่...
    เลิกสูบบุหรี่. สูบบุหรี่แล้วทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพราะหลอดเลือดที่เป็นเส้นทางให้เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อแขนขาและสมองจะตีบลง ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง กระทั่งโรคหลอดเลือดสมอง การสูบบุหรี่ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคหลอดลมอักเสบและไอเรื้อรังด้วย หรือที่เรียกกันว่า smoker’s cough คืออาการไอจากการสูบบุหรี่
    • ระวังควันบุหรี่มือสองและควันพิษอื่นๆ ถ้าไอหรือเจ็บคออยู่ ใครที่สูบบุหรี่ก็ต้องงดสูบบุหรี่ช่วงที่ปวดหัวหรือเป็นไข้ เพราะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและอาการหายช้า ยังไงลองปรึกษาคุณหมอเรื่องลดละเลิกบุหรี่ดู[24]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 7:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินน้ำผึ้ง.
    ถ้าไอเมื่อไหร่ให้ดื่มชาหรือน้ำอุ่นผสมเลมอนและมะนาว จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไอน้อยลง ให้ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนชากับน้ำอุ่นหรือชา แล้วดื่มตอนเช้ากับก่อนนอน จะช่วยแก้ไอได้ สูตรนี้สะดวกเพราะคุณหาซื้อน้ำผึ้งได้ตามตลาดหรือซูเปอร์ทั่วไปเลย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินซุป.
    กินซุปอุ่นๆ (หรือข้าวต้ม ไม่ก็โจ๊ก) ช่วยลดการอักเสบเจ็บคอได้ ทำให้น้ำมูกไม่เหนียวข้น สั่งง่าย เหมาะกับคนที่ไอต่อเนื่อง เป็นหวัด เป็นไข้ จะทำซุปเองหรือซื้อมากินก็ได้ แต่ให้เลือกที่ไม่ใส่ผงชูรสและโซเดียมต่ำ เวลากินไม่ต้องร้อนมากแค่พออุ่น กินได้ 1 - 3 ครั้งต่อวันจนอาการดีขึ้นหรือหายขาด
    • ถ้าปรุงรสให้เผ็ดหน่อยๆ ก็จะช่วยให้ไอน้อยลง คอโล่งขึ้น ลองหั่นพริกชี้ฟ้าใส่ไป หรือใช้พริกป่น 1 - 2 ช้อนชาก็ได้
    • หรือซดน้ำแกงแทน พวกแกงจืด ซุปไก่ ซุปผัก จะซื้อหรือทำเองก็ได้ทั้งนั้น แต่ถ้าซื้อก็ระวังเรื่องโซเดียม พยายามเลือกที่โซเดียมต่ำหรือไม่มีโซเดียม
    • ให้เด็กและทารกกินซุปหรือน้ำแกงจืดๆ เท่านั้น จะได้ไม่คลื่นไส้อาเจียน[26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินสับปะรด.
    สับปะรดอุดมเอนไซม์ bromelain ที่ใช้ทำยา มีสรรพคุณลดอาการบวมและอักเสบในหลอดลม ป้องกันไม่ให้น้ำมูกหรือเสมหะเยอะจนคัดจมูกและไอ กินสับปะรดแล้วช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไอได้ด้วย พยายามกินสับปะรดสดหรือน้ำสับปะรดในแต่ละวัน เพื่อให้ได้คุณประโยชน์จาก bromelain
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ.
    อาหารบางอย่างจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้าลง ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือยิ่งเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน ยิ่งไอหนักใหญ่
    • ลดหรืองดอาหารที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น อาหารทอดๆ เนื้อลูกวัว แฮม สเต็ก ไส้กรอก มาการีน เนยขาว น้ำมันหมู คาร์โบไฮเดรตขัดสี ขนมปังขาว พาสต้า โดนัท น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง[28]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินอาหารลดการอักเสบให้เยอะๆ.
    อาหารบางชนิดยิ่งทำให้อักเสบ แต่อีกหลายชนิดก็ช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการเจ็บคอได้ อาหารที่แนะนำให้กินเยอะๆ ก็คือ ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ และส้ม นอกจากนี้ให้เน้นอาหารที่ดีต่อหัวใจ เช่น อัลมอนด์ วอลนัท ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า และน้ำมันมะกอก ต่อมาคือธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง เมล็ดแฟลกซ์ และคีนัว เพราะช่วยลดการอักเสบทั้งนั้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรุงอาหารด้วยพริกชี้ฟ้า.
    พริกชี้ฟ้ามี capsaicin ที่มีสรรพคุณต้านไวรัส เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านอักเสบ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว พริกชี้ฟ้าช่วยลดอาการคัดจมูก ไอ และเป็นไข้ แต่ใครที่แพ้ลาเท็กซ์ กล้วย กีวี่ เชสนัท หรืออะโวคาโด อาจแพ้พริกชี้ฟ้าได้
    • อย่ากินอะไรที่มีแคปไซซิน ถ้าเป็นกรดไหลย้อน น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือกินยาเจือจางเลือดอยู่
    • พริกชี้ฟ้าอาจทำให้เด็กคลื่นไส้และระคายคอได้ เพราะงั้นอาหารของเด็กและทารกไม่ควรใส่พริก[30]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 7:

รักษาสุขอนามัยส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือบ่อยๆ.
    หนึ่งในสาเหตุทำคุณป่วยได้ง่ายๆ ก็คือแตะต้องพูดคุยกับคนป่วน หรือไปข้างนอกมาทั้งวันแล้วไม่ล้างมือก่อนแตะต้องใบหน้าหรือกินอาหาร แบคทีเรียและไวรัสแพร่เร็วมากผ่านทางการสัมผัส เพราะงั้นต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ ทั้งก่อนและหลังอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ก่อนแตะต้องใบหน้า หรือหลังแตะต้องใบหน้าถ้าป่วยอยู่ และอีกหลายกรณี จะได้ไม่แพร่เชื้อให้คนอื่นตอนมีอาการไอ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เวลาไอให้ใช้ทิชชู่ปิดปาก.
    เวลาจามหรือไอให้ใช้ทิชชู่ปิดปาก เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายในอากาศ ตอนหายใจเข้า จะได้ไม่ติดแบคทีเรียหรือไวรัสอื่นเพิ่มเติมเข้าปอดด้วย แต่ถ้าไม่มีทิชชู่ ให้จามหรือไอโดยใช้ข้อศอกปิดแทน อย่าใช้ฝ่ามือ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้.
    สารก่อภูมิแพ้นี่แหละที่ทำให้ไซนัสระคายเคือง จนคัดจมูก หายใจลำบาก เกิด postnasal drip น้ำมูกไหลลงคอ สุดท้ายก็ไอหรือเจ็บคอ ที่บอกว่าเป็นภูมิแพ้ก็คือระบบภูมิคุ้มกันผลิตสารภูมิต้านทาน (antibodies) มาสู้สารอนุมูลอิสระ โดยปล่อยสารอย่างฮิสตามีน จนเกิดการอักเสบและแสดงอาการแพ้ ที่พบบ่อยสุดคือแพ้ละอองเกสร ฝุ่น และเชื้อรา
    • สารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ก็เช่น ควันพิษ ควันบุหรี่ และควันบุหรี่มือสอง สัตว์น้ำเปลือกแข็ง กุ้ง ปลา ไข่ นม ถั่วลิงสง ข้าวสาลี ถั่วเหลือง แพ้สัตว์เพราะขนหรือสะเก็ดผิวหนัง แมลงสัตว์กัดต่อย ยาบางตัว สารบางอย่างที่สวมใส่หรือแตะต้อง ไปจนถึงสารเคมี และสีย้อมผ้า[34]
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 7:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาหมอ.
    ปกติอาการไอจะหายไปเองใน 2 - 3 อาทิตย์ แต่บางทีก็เป็นสัญญาณอันตรายบอกโรคอื่น ให้ไปหาหมอทันทีที่เริ่มไอ ถ้าคุณหรือคนใกล้ชิดเจ็บคอ มีไข้สูง ไอก้องๆ (เหมือนหมาเห่า) ไอกรน (มีเสียงหอบ) หรือมี postnasal drip (น้ำมูกไหลลงคอ) ร่วมด้วย เพราะเป็นสัญญาณบอกว่ามีอาการติดเชื้อ คุณหมอจะตรวจร่างกายคร่าวๆ ให้ เช่น ส่องดูคอ หู และจมูก คลำบริเวณคอว่าต่อมน้ำเหลืองบวมไหม รวมถึงฟังเสียงหายใจด้วยหูฟัง stethoscope
    • ให้หาหมอทันที ถ้าเคยเป็นหรือเป็นภูมิแพ้ หอบหืด หลอดลมอักเสบ กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก เพราะถ้าไอร่วมด้วย จะทำให้โรคหรืออาการที่เป็นอยู่แย่ลง
    • ต้องไปหาหมอ ถ้าตอนนี้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors อยู่แล้วเกิดไอต่อเนื่อง เพราะยากลุ่ม ACE inhibitors ทำให้เกิดอาการไอได้ เป็นสัญญาณว่าคุณแพ้ยา คุณหมอจะได้พิจารณาเปลี่ยนยาลดความดันให้
    • ถ้าเป็นสิงห์อมควัน จะไอเยอะกว่าปกติ ต้องไปหาหมอถ้าไอนานเกิน 3 - 4 อาทิตย์
    • รีบไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที ถ้าคุณไอเป็นเลือดหรือหายใจไม่ค่อยออก[35][36]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำ throat swab ถ้าท่าทางว่าจะคอติดเชื้อ.
    คุณหมออาจจะเก็บตัวอย่างไปทดสอบ 2 - 3 อย่าง เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ถ้าคอแดง มีหนอง คุณหมอจะทำ throat swab คือใช้สำลีพันก้านที่ฆ่าเชื้อแล้วป้ายเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจในห้องแล็บ ว่ามีแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัสไหม เพราะเป็นสาเหตุทำให้คุณเจ็บคอ (สเตรปโธรท) รวมถึงหาการติดเชื้อไวรัสด้วย การทดสอบจะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีไปจนถึง 48 ชั่วโมง[37]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เอกซเรย์หน้าอก.
    คุณหมออาจแนะนำให้เอกซเรย์หน้าอก ถ้ามีอาการหายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง หรือมีไข้ การเอกซเรย์หน้าอกใช้เวลาสั้นๆ ไม่เจ็บ ไม่ต้องเจาะหรือผ่าอะไร เอกซเรย์แล้วจะได้รูปของโครงสร้างในหน้าอก เช่น หัวใจ ปอด และหลอดเลือด ถึงเอกซเรย์แล้วจะบอกสาเหตุชัดเจนไม่ได้ ว่าทำไมคุณถึงไอ แต่อย่างน้อยก็ใช้เช็คมะเร็งปอด ปอดบวม และโรคปอดอื่นๆ ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาคุณหมอหูคอจมูก.
    คุณหมออาจจะแนะนำ โอนเคสไปยังคุณหมอเฉพาะทาง คือหูคอจมูก (otolaryngologist) เพื่อตรวจคอเพิ่มเติม ในกรณีที่มีอาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส หรือในกรณีที่ไอเพราะเป็นอาการของโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับหูคอจมูก (เช่น ไซนัสอักเสบ) คุณหมอจะทำ nasal endoscopy คือใช้กล้องไฟเบอร์ออพติกส่องตรวจในโพรงไซนัส หาริดสีดวงจมูกหรือความผิดปกติอื่นๆ ในโครงสร้าง
    • แต่จะทำเฉพาะกรณีที่มีการติดเชื้อในจมูกเท่านั้น บางทีคุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคปด้วยถ้าจำเป็น
    • ถ้ามีโรคอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจ ต้องแจ้งคุณหมอด้วย[39]
    • ถ้าคุณหมอแน่ใจว่าคุณติดเชื้อในปอด จะโอนเคสต่อไปที่คุณหมอโรคปอด (pulmonologist)
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 7:

ตรวจหาโรคที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการไอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาหมอทันที ถ้าไอกรน.
    ไอกรน (whooping cough หรือ pertussis) ก็เหมือนหวัดทั่วไป คือจะเริ่มจากน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก จาม ไอเล็กน้อย เป็นไข้ และอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พอผ่านไป 1 - 2 อาทิตย์ จะเริ่มไอรุนแรง ไอกรนเป็นการไอแรงๆ สั้นๆ ซ้ำๆ จนลมหมดปอด เวลาไอเลยฝืนๆ มีเสียง หอบ ดังๆ บางทีก็มีอาเจียนร่วมด้วย
    • ต้องไปหาหมอทันทีถ้ามีอาการไอกรน ที่น่ากลัวกว่าคือเด็กอ่อนส่วนใหญ่เป็นไอกรนแล้วจะไม่มีอาการไอ แต่ทำให้หยุดหายใจได้เลย เพราะฉะนั้นถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กอ่อนและเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ต้องรีบไปหาหมอทันที[40]
    • คุณฉีดวัคซีนไอกรนได้ แนะนำให้พาลูกไปฉีดเลย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สังเกตอาการติดเชื้อในโพรงจมูกหรือทางเดินหายใจ....
    สังเกตอาการติดเชื้อในโพรงจมูกหรือทางเดินหายใจ. โดยจะมีอาการไอและเจ็บคอ ถ้าคุณหมอสันนิษฐานว่าคุณน่าจะติดเชื้อในโพรงจมูกเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบ ก็จะตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา เช่น เอกซเรย์ CT (computed tomography) scan หรือทำ MRI (magnetic resonance imaging) อาการอื่นๆ ที่พบได้ก็เช่น ปวดหัว เป็นไข้ ถ้าไข้สูงหรือปวดหัวรุนแรง ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
    • อาจจะรู้สึกแน่นหรือกดทับบริเวณหน้าผาก ขมับ แก้ม จมูก ขากรรไกร ฟัน กระบอกตา หรือกลางกระหม่อม นอกจากนี้ก็อาจมีอาการคัดแน่นจมูก แน่นหน้าไซนัส ไม่ได้กลิ่น น้ำมูกหรือขี้มูกเขียวออกเหลือง หรือน้ำมูกไหลลงคอ (post-nasal drip)
    • ถ้าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการที่พบได้แต่ไม่ค่อยเกิด คือเกิดลิ่มเลือด ฝี เบ้าตาอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และกระดูกที่หน้าอักเสบ เป็นต้น[41]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการหลอดลมอักเสบ.
    bronchitis ก็คือมีอาการอักเสบและเสมหะสะสมในหลอดลมที่ต่อไปยังปอด อาจลามเป็นไอเรื้อรังหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) ได้ ไม่ว่าจะเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ตาม สาเหตุส่วนใหญ่คือเชื้อไข้หวัด ควันบุหรี่มือสอง หรือกรดไหลย้อน ถ้าคุณหรือคนในบ้านมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นไข้ หอบหายใจเสียงวี้ด เจ็บคอ เหนื่อยล้า เท้าบวม และไอเรื้อรัง เสมหะเหนียวข้น ให้รีบไปหาหมอเพื่อตรวจว่าเป็นหลอดลมอักเสบหรือเปล่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถ้าเป็นหวัดรุนแรงต้องรีบหาหมอ.
    ต้องรีบไปหาหมอ ถ้าเป็นหวัดแล้วไอ มีเสมหะเขียวออกเหลืองหรือมีเลือดปน มีไข้สูง 40°C (104°F) ติดเชื้อในหูหรือจมูก มีน้ำมูก ผื่นขึ้น หรือหายใจไม่ออกเพราะหอบหืดหรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ต้องหาหมอด่วนหรือไปแผนกฉุกเฉิน
    • ถ้าเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่แล้วอาการหนัก หรือเคยเป็นโรคทางเดินหายใจมาก่อน ต้องไปหาหมอทันที เด็กเล็กยิ่งเป็นหวัดง่าย เพราะภูมิคุ้มกันยังอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย หรือคลุกคลีกับเด็กโตที่เล่นแล้วไม่ล้างมือ
    • อาการเริ่มต้นเมื่อเด็กเป็นหวัดก็เช่น คัดจมูก มีขี้มูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร หงุดหงิดไม่สบายตัว ไม่ยอมนอน ป้อนอาหารหรือนมยาก ไอ และมีไข้ต่ำๆ ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 2 - 3 เดือน ต้องพาไปหาหมอตั้งแต่แสดงอาการแรกๆ เลย
    • เด็กเป็นหวัดแล้วเสี่ยงหายใจไม่ออก เพราะ "หายใจได้แค่ทางจมูก" ถ้าเด็กคัดจมูก จะหายใจลำบากแน่นอน
    • รีบพาลูกไปหาหมอ ถ้าเด็กเป็นไข้สูงเกิน 38°C (100.4°F) ตาแดง ตาฉ่ำ หายใจลำบาก หรือปากเขียว ไอเป็นเลือด ไอแรงจนอาเจียน และ/หรือไม่ยอมกินนมหรือน้ำ จนเกิดภาวะขาดน้ำ[45][46]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณตั้งครรภ์ การกินยา สมุนไพร หรืออาหารเสริม จะเป็นอันตรายต่อเด็กในท้องได้ ต้องหลีกเลี่ยง
  • ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หรือถุงลมโป่งพอง แล้วเป็นหวัด ต้องรีบไปหาหมอ
  • สมุนไพรและอาหารเสริมบางอย่างก็ออกฤทธิ์ต้านกันกับยาของหมอได้ อันตรายมาก บางทีก็อาจถึงแก่ชีวิต เพราะงั้นต้องปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้
โฆษณา
  1. Chillemi, M., Chillemi S., (2013) The Complete Herbal Guide: A Natural Approach to Healing the Body, ISBN: 978-1430328742
  2. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/elderberry
  3. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/eucalyptus
  4. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  5. http://news.psu.edu/story/198936/2007/01/12/slippery-elm-may-ease-sore-throat
  6. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=498
  7. http://www.extension.umn.edu/garden/yard-garden/houseplants/houseplants-help-clean-indoor-air
  8. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=498
  9. http://healthysleep.med.harvard.edu/healthy/getting/overcoming/tips
  10. http://healthysleep.med.harvard.edu/healthy/matters/consequences/sleep-and-disease-risk
  11. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4460
  12. http://umm.edu/health/medical/ency/articles/dehydration
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/359266
  14. http://www.aaaai.org/conditions-and-treatments/library/asthma-library/asthma-and-exercise.aspx
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19813055
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3287010
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/health-tip/art-20048631
  18. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3287010
  19. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  20. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/cayenne
  22. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/hand-washing/art-20046253
  23. http://kidshealth.org/parent/firstaid_safe/home/hand_washing.html
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sore-throat/basics/prevention/con-20027360
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/allergies/basics/causes/con-20034030
  26. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/that-nagging-cough
  27. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/cough
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sore-throat/basics/tests-diagnosis/con-20027360
  29. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/cxray
  30. https://www.entnet.org/content/what-otolaryngologist
  31. http://www.cdc.gov/pertussis/about/signs-symptoms.html
  32. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinusitis
  33. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/bronchitis
  34. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/brnchi/signs
  35. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02930
  36. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/common-cold
  37. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold-in-babies/basics/definition/con-20033841

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Erica Docimo, L.Ac., Dipl. O.M.
ร่วมเขียน โดย:
นักฝังเข็มที่มีใบอนุญาตและนักสมุนไพร
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Erica Docimo, L.Ac., Dipl. O.M.. เอริกา โดซิโม เป็นนักฝังเข็มที่ได้รับใบอนุญาตจาก California and National Certification Commission for Acupuncture and Oriental Medicine (NCCAOM) นักสมุนไพร และเจ้าของ Mind and Body Acupuncture สตูดิโอด้านการดูแลสุขภาพและไลฟ์สไตล์แบบองค์รวมที่ตั้งอยู่ในลอสแองเจลิส ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี เธอเชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม การสั่งยาสมุนไพร และโภชนาการตะวันออกและตะวันตก เอริกาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการแพทย์แผนจีนจาก The Emperor's College โดยมุ่งเน้นที่สุขภาพของสตรี เธอยังได้รับการฝึกอบรมที่ Academy of Orthopedic Acupuncture (AOA) เพื่อให้ได้รับใบรับรองด้านเทคนิคการปลดปล่อยความเจ็บปวดแบบรีเฟล็กซ์และการบล็อกเส้นประสาทด้วยมือ บทความนี้ถูกเข้าชม 2,199 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,199 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา