วิธีการ แก้น้ำมูกไหลเพราะภูมิแพ้

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณแพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น หรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยงเป็นประจำใช่ไหม? ถ้าโรคภูมิแพ้คุณกำเริบทุกทีที่พบเจอสารก่อภูมิแพ้ (allergens) เหล่านี้ รับรองเลยว่าต้องน้ำมูกไหลไม่หยุดแน่นอน นอกจากจะเจ็บจมูกแล้วยังรำคาญอีก แต่ถ้ารู้จักดูแลตัวเองให้ถูกวิธี คุณก็สามารถแก้อาการน้ำมูกไหล ให้เยื่อบุจมูกแฉะๆ หายบวมกลับมาแห้งสบาย หายใจได้เหมือนเดิม เราต้องเริ่มจากลดน้ำมูกก่อน แล้วค่อยขยับไปดูแลป้องกันตัวจากโรคภูมิแพ้ ไม่ให้กำเริบบ่อยๆ ในอนาคต

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

แก้น้ำมูกไหล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินยาแก้แพ้.
    ยาแก้แพ้ หรือ antihistamines ก็ตรงตัวเลย anti คือต้าน ส่วน histamines คือสารเคมีที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อพบเจอสารก่อภูมิแพ้จนทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่างๆ เรากินยานี้เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างฮิสตามีนเพิ่ม น้ำมูกจะได้หยุดไหล เพราะยาแก้แพ้ช่วยให้เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง คุณหาซื้อยาแก้แพ้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยมีตัวยาต่างๆ เช่น loratadine หรือ diphenhydramine ยี่ห้อที่นิยมกันก็คือ Allegra, Claritin, Zyrtec, Benadryl, Phenergan แล้วก็ Clarinex [1]
    • Benadryl จะกดประสาททำให้มึนงงมากที่สุด ส่วน Claritin จะเกิดผลข้างเคียงน้อยสุด ยาแก้แพ้ส่วนใหญ่มักทำให้คุณง่วงเหงาหาวนอน เพราะงั้นถ้าจะใช้ยาขอให้พิจารณางดกิจกรรมบางอย่าง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ไปหาหมอ.
    คุณหมอจะจ่ายยาแก้แพ้ให้คุณได้ตรงจุดและปลอดภัยที่สุด ไม่ antihistamine ก็ corticosteroid (ยาพ่นจมูก) รวมถึงยาแก้คัดจมูก (decongestants) ชนิดต่างๆ ยากลุ่ม leukotriene inhibitors แล้วก็ยาฉีดแก้ภูมิแพ้ (allergy shots) ซึ่งอย่างหลังสุดคุณหมอจะพิจารณาฉีดให้ในกรณีที่คุณเลี่ยงเกสรดอกไม้หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ไม่ได้จริงๆ แต่เป้าหมายโดยรวมก็คือปรับร่างกายคุณให้เคยชินกับสารก่อภูมิแพ้บางตัว [2]
    • แน่นอนว่ายาแก้แพ้ที่คุณหมอจ่ายให้จะออกฤทธิ์แรงกว่ายาตามร้านขายยา และที่ตามมาก็คือผลข้างเคียงที่รุนแรงพอกัน เช่น อาการวิตกกังวล ท้องเสีย ความดันสูง กระทั่งนอนไม่หลับ [3]
    • มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าคุณพ่นยา corticosteroid เข้าจมูกทุกวัน จะช่วยลดอาการผิดปกติในโพรงจมูกที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ได้เห็นผลเป็นอย่างมาก สเปรย์พ่นจมูกบางตัวอย่าง Flonase กับ Nasacort นั้นหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากคุณหมอแต่อย่างใด
    • แต่ก็อย่าพ่นจมูกบ่อยหรือเยอะเกินไป เพราะหลังหยุดยาอาจกลับมาคัดแน่นจมูกอีก (rebound congestion) ทำให้สุดท้ายต้องใช้ยาพ่นไปตลอด [4]
    • ไปหาหมอเถอะถ้าคุณแพ้เข้าขั้นรุนแรง มีอาการไอ หายใจหอบดังวี้ดๆ (wheezing) หรือใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ล้างจมูก.
    ใช้สเปรย์น้ำเกลือล้างจมูก (saline nasal spray) เพราะช่วยเพิ่มความชื้นให้เยื่อบุโพรงจมูก หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากคุณหมอ โดยสเปรย์จะไปเพิ่มความชื้นให้เยื่อบุโพรงจมูกแล้วชะล้างสิ่งสกปรกหรือทำให้ระคายเคืองออกมา
    • บางคนก็ทำสเปรย์น้ำเกลือใช้เองเลย ง่ายๆ แค่โรยเกลือใส่กระทะหรือหม้อที่เติมน้ำไว้ 1 ถ้วยตวง ใช้เกลือแค่ 1/2 ช้อนชา กับผงฟูอีก 1 หยิบมือ จากนั้นก็ต้มน้ำเกลือที่ผสมแล้วของคุณจนเดือด พอเริ่มเดือดปุดๆ ก็ให้เทใส่ชาม เอาผ้าคลุมหัวก่อน แล้วค่อยก้มหน้าไปอังเหนือชาม ระวังอย่าใกล้ไปเดี๋ยวไอร้อนลวกหน้า ให้คุณหายใจสูดไอร้อนเข้าไป จะหยดขึ้ผึ้ง/น้ำมันยูคาลิปตัสลงไปด้วยก็ได้ ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองไซนัสได้ [5]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้กาเนติ (Neti pot).
    เติมน้ำอุ่นลงไป 240 มล. (คือประมาณ 8 ออนซ์ หรือ 1 ถ้วยตวง) จะใช้น้ำกลั่น น้ำกรอง หรือน้ำต้มสุกก็ได้ ห้ามใช้น้ำก๊อก เว้นแต่จะเอาไปต้มสุกและทิ้งไว้จนเย็นแล้ว ตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดก็คือน้ำกลั่นนี่แหละ จากนั้นคุณจะเอาไปผสมทำน้ำเกลือเอง หรือใส่น้ำเกลือสำเร็จตามร้านขายยาก็ได้
    • ยืนตรงอ่างล้างหน้า แล้วเอียงหัวไปด้านใดด้านหนึ่ง เสียบพวยกาเข้าไปในโพรงจมูกซ้ายหรือขวาก่อนก็ได้ แล้วเทน้ำในกาเนติเข้าไปครึ่งหนึ่ง ให้น้ำเข้าไปชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ แล้วไหลออกมาทางรูจมูกอีกข้าง [6] ทำซ้ำอีกข้าง เสร็จแล้วให้ล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อกาเนติด้วย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดื่มน้ำเยอะๆ.
    ไม่ใช่ว่ากระดกน้ำหมดแก้วปุ๊บแล้วน้ำมูกจะหยุดไหลปั๊บ จุดสำคัญคือคุณต้องดื่มน้ำเรื่อยๆ เวลาเป็นภูมิแพ้ การสั่งน้ำมูกซ้ำๆ และกินยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายขาดน้ำ จะทำให้เยื่อบุโพรงจมูกของคุณแห้งเป็นพิเศษ ให้คุณดื่มน้ำ 16 ออนซ์ (2 ถ้วยตวง) ทุก 1 - 2 ชั่วโมง จะช่วยปรับสภาพให้ร่างกายและโพรงจมูกของคุณกลับมาเป็นปกติได้ [7]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ลองรักษาด้วยสมุนไพร.
    คุณใช้สมุนไพรรักษาบรรเทาอาการตัวเองเบื้องต้นได้ บางตัวออกฤทธิ์ดีเหมือนยาแก้แพ้เลยทีเดียว
    • น้ำมันมัสตาร์ด หรือน้ำมันพรรณผักกาด (mustard oil) มีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน บีบมัสตาร์ดมาก้อนเล็กๆ ผสมน้ำไม่ต้องมากแล้วอุ่นในกระทะ พอเจือจางดีแล้วก็ใช้ที่หยอดตาดูดขึ้นมา หยดเข้าไปในจมูกนิดเดียวก็พอแล้วหายใจเข้าลึกๆ มัสตาร์ดปกติก็กลิ่นแรงอยู่แล้ว อาจต้องรอ 2 - 3 วินาทีกว่าคุณจะหายแสบจมูก
    • ขมิ้นชัน (turmeric) ทั้งคนอินเดียและไทยนิยมใช้ประกอบอาหารและปรุงยากันมาช้านาน ให้คุณผสมผงขมิ้นชันนิดหน่อยลงในน้ำมัน linseed oil (หรืออีกชื่อคือน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์) ให้ชุ่ม หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือในเน็ต จากนั้นเอาไปอังไฟจนเริ่มเหนียวข้นเข้ากัน ให้คุณสูดดมไอระเหยนั้นเข้าไป
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เพิ่มความชื้นในอากาศ.
    ซื้อเครื่องทำความชื้น (air humidifier) มาสักเครื่องหรือ 2 เครื่อง เดี๋ยวนี้มีขายกันมากมายหลายแบบ [8] อาจจะฟังดูตรงข้ามไม่เหมือนที่คุณคิด แต่อาการแพ้มัก ยับยั้ง ไม่ให้ร่างกายสร้างความชื้นในโพรงจมูก เวลาคุณพบเจอสารก่อภูมิแพ้เมื่อไหร่ ร่างกายจะผลิตสารเคมีอย่างฮิสตามีนออกมา ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวมและแห้งผาก จากนั้นพอฝุ่นผงหรืออะไรในอากาศ เช่น เกสรดอกไม้ รุกล้ำเข้ามาในโพรงจมูกแห้งๆ ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เริ่มมีน้ำมูก เพราะร่างกายพยายามขับสิ่งแปลกปลอมออกเพื่อปรับสมดุลร่างกาย เครื่องทำความชื้นจะช่วยให้อากาศไม่แห้ง โพรงจมูกก็จะชื้นตามธรรมชาติ หายใจสะดวก
    • เครื่องทำความชื้นที่แนะนำให้หาซื้อมาใช้ในบ้าน คือประมาณ 30 - 50% ถ้าต่ำกว่านั้นจมูกจะแห้งไป แต่ถ้าชื้นกว่านั้นเดี๋ยวจะอึดอัดหายใจไม่สะดวก ดีไม่ดีห้องจะอับชื้นจนเพาะเชื้อราและแบคทีเรีย [9]
    • เครื่องทำความชื้นส่วนใหญ่ไม่แรงพอจะสร้างความชื้นให้ทั้งบ้าน เพราะงั้นให้เลือกตั้งเครื่องในห้องที่คุณอยู่เป็นประจำดีกว่า จะเห็นผลที่สุด แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือพอคุณออกไปจากห้องที่มีเครื่องทำความชื้น เยื่อบุโพรงจมูกของคุณก็จะกลับมาแห้งระคายเหมือนเดิม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ไม่กลับไปน้ำมูกไหลอีก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาให้เจอ คุณแพ้อะไรกันแน่.
    คุณหมอทดสอบหาอาการแพ้ให้คุณได้ จะได้ตีวงให้แคบลงหรือชี้ชัดได้เลยว่าสารก่อภูมิแพ้ไหนที่เป็นตัวการ แต่บางทีก็ผลกำกวมหรือพบสารก่อภูมิแพ้หลายชนิด คุณต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ของตัวเองให้ละเอียด ถ้ารู้สาเหตุของน้ำมูกเมื่อไหร่ (คร่าวๆ ก็ยังดี) จะได้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ [10]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้แล้วต้องเลี่ยง.
    มลภาวะต่างๆ และสารก่อภูมิแพ้ อย่างเกสรดอกไม้ สะเก็ดผิวหนังและเส้นขนของสัตว์เลี้ยง ฝุ่นผง ไปจนถึงควันบุหรี่ ล้วนแล้วแต่ทำให้โพรงจมูกของคุณแห้งผากจนกระตุ้นให้น้ำมูกไหล เพราะงั้นในบ้านของคุณควรมีเครื่องกรองอากาศ (air purifier) เพื่อคัดกรองมลภาวะเหล่านี้ แต่สุดท้ายก็เป็นไปไม่ได้หรอกที่คุณจะเอาแต่หลบอยู่ในบ้านน่ะ
    • สารก่อภูมิแพ้ที่คนไทยประสบกันมากที่สุด คือพวกมลภาวะอย่างฝุ่นละออง ควันบุหรี่ และควันรถ เมืองร้อนที่รถราขวักไขว่อย่างบ้านเราแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะหลีกหนีจากมลภาวะเหล่านี้ได้ อาจต้องป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัยในบริเวณที่มลภาวะหนาแน่น หมั่นทำความสะอาดบ้านช่องของตัวเอง และออกกำลังกายให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแทน [11]
    • ออกจากบ้านไปทำงานไปโรงเรียนแต่เช้า จะได้ไม่เจอการจราจรติดขัด และอย่าลืมปิดประตูหน้าต่างให้สนิทในกรณีที่คุณแพ้ฝุ่นหรือเกสรดอกไม้
    • ขจัดไรฝุ่นในบ้าน โดยพยายามไม่ปูพรม ผ้าห่มอย่าขนหนาเกิน รวมถึงอย่าสุมตุ๊กตารวมกันไว้เป็นกอง แต่ถ้าจำเป็นก็ให้หมั่นทำความสะอาดแทน เดี๋ยวนี้ทั้งผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนก็มีแบบป้องกันไรฝุ่นให้เลือกซื้อกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใส่หน้ากากอนามัย.
    ออกจะเป็นวิธีปกป้องตัวเองจากสารก่อภูมิแพ้ไม่ให้น้ำมูกไหลที่สุดโต่งและแก้ไขที่ปลายเหตุไปหน่อย แต่ลองคิดดูถ้าสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายคุณไม่ได้แต่แรก คุณก็น้ำมูกไม่ไหล เอาเป็นว่าถ้าคุณแพ้เกสรดอกไม้แล้วต้องออกไปข้างนอก ก็ให้หาผ้าหรือหน้ากากอนามัยมาปิดปากและจมูกจะได้ปลอดภัยไว้ก่อน หรือใช้หน้ากากกรองอากาศได้ยิ่งดี
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ล้างมือบ่อยๆ.
    สารก่อภูมิแพ้จะได้ไม่แพร่กระจาย ล้างง่ายๆ ด้วยน้ำสะอาดกับสบู่นี่แหละ จะใช้สบู่อะไรก็ได้เพราะแค่ล้างเอาสารก่อภูมิแพ้ออกไป ไม่ได้เน้นฆ่าแบคทีเรีย ล้างไปถูไปอย่างน้อย 20 วินาที จากนั้นล้างน้ำแล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด [12]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ล้างหน้าหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้.
    ถ้าคุณแพ้สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง หลังจากเล่นกับน้องหมาน้องแมวต้องล้างหน้า ถ้าแพ้เกสรดอกไม้ก็ให้ล้างหน้าหลังอยู่นอกบ้านมาพักใหญ่ แบบนี้ช่วยลดอาการจากสารก่อภูมิแพ้ได้ [13]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 26,965 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,965 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา