ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะดื่มมากไปหน่อยและตอนนี้ก็ได้เวลาที่คุณต้องสร่างเมาโดยด่วน เราเคยผ่านจุดนั้นกันมาแล้ว และมี “วิธีการรักษา” มากมายที่หลายคนอ้างว่าทำแล้วคุณจะสร่างเมาอย่างรวดเร็ว แต่วิธีการพวกนั้นมันได้ผลจริงหรือเปล่า ในบทความนี้เราจะมาวิเคราะห์ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับวิธีทำให้สร่างเมาอย่างรวดเร็วที่พบบ่อยที่สุด และอธิบายว่าจริงๆ แล้วคุณจะทำให้ตัวเองสร่างเมาและเริ่มรู้สึกดีขึ้นได้อย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

ความเชื่อ : กาแฟช่วยให้สร้างเมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความจริง :
    คาเฟอีนอาจทำให้คุณ รู้สึก กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยให้คุณสร่างเมา. เมื่อคุณดื่มแอลกอฮอล์ มันจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้คุณรู้สึกมึนเมา แต่การดื่มกาแฟไม่ได้ช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ได้ช่วยให้คุณเมาน้อยลง คุณอาจจะรู้สึกตื่นตัวมากขึ้นหลังจากดื่มกาแฟเข้าไป แต่คุณไม่ได้มึนเมาน้อยลงหรือมีสติมากขึ้น[1]
    • การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลังดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่แม้ว่าคุณจะรู้สึกเมาน้อยลงก็ตาม
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

ความเชื่อ : การรับประทานอาหารหลังดื่มจะช่วยให้คุณสร่างเมามากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความจริง :
    เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดแล้ว การรับประทานอาหารไม่ได้มีผลอะไร. จริงอยู่ว่าการรับประทานอาหารก่อนหรือระหว่างดื่มแอลกอฮอล์ช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปได้และทำให้คุณเมาน้อยลง[2] แต่น่าเสียดายที่การรับประทานอาหารหลังจากที่แอลกอฮอล์ซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วนั้นกลับไม่ได้ช่วยให้คุณสร่างเมาเร็วขึ้น อาหารไม่ได้ช่วยให้ร่างกายย่อยสลายแอลกอฮอล์ที่ดูดซึมเข้าไปแล้ว[3]
    • การดื่มตอนท้องว่างอาจทำให้คุณเมาเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นคุณควรรับประทานอาหารสักมื้อก่อนหรือระหว่างดื่ม
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

ความเชื่อ : การอาบน้ำเย็นช่วยให้สร่างเมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความจริง :
    การอาบน้ำเย็นไม่มีผลต่อระดับความมึนเมา. บางคนแนะนำให้อาบน้ำเย็นเวลาเมาเพื่อให้สร่างเมา แต่การอาบน้ำเย็นไม่ได้ช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย มันอาจจะทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ชั่วคราว แต่คุณก็ยังไม่ได้กลับมามีสติเท่าเดิม[4]
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ความเชื่อ : การอาเจียนช่วยกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความจริง :
    การอาเจียนออกมาไม่ได้ช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปแล้ว. เมื่อคุณเริ่มรู้สึกถึงฤทธิ์ที่เกิดจากการดื่ม นั่นหมายความว่าแอลกอฮอล์ได้ซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปแล้ว เพราะฉะนั้นการอาเจียนจึงเป็นแค่การเอาสิ่งที่อยู่ในท้องออกมา แต่ไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปแล้ว[5]
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ความเชื่อ : การออกกำลังกายช่วยให้แอลกอฮอล์ “ไหลออกมาตามเหงื่อ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความจริง :
    แอลกอฮอล์อยู่ในเลือด ไม่ใช่ในเหงื่อ. การเข้าฟิตเนส ออกไปวิ่ง หรือเดินนานๆ ไม่ได้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด[6] แถมการออกกำลังกายยังอันตรายด้วยหากคุณไม่ได้สติและอาจทำให้คุณยิ่งขาดน้ำ
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

สั้นๆ ง่ายๆ : เวลาเท่านั้นที่ช่วยให้สร่างเมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ร่างกายใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงย่อยสลายแอลกอฮอล์...
    ร่างกายใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงย่อยสลายแอลกอฮอล์ 1 ดริงค์. การให้เวลาร่างกายย่อยสลายแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้คุณเมาน้อยลงและมีสติมากขึ้น ให้เวลาร่างกายได้สร่างเมา[7]
    • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอหรือแค่รอให้ฤทธิ์แอลกอฮอล์หมดไปเองคือวิธีที่ดีที่สุด แต่ถ้าคุณกังวลว่าตัวเองหรือคนรู้จักอาจเกิดภาวะสุราเป็นพิษ (อาการได้แก่ อาเจียน ชัก มึนงง หายใจช้าลงและไม่สม่ำเสมอ ภาวะตัวเย็นเกิน และ/หรือผิวหนังม่วงและซีด) อย่ารอหรือนอนรอให้อาการหายไป เรียกหน่วยบริการฉุกเฉินทันที
    • ระหว่างนั้นก็ดื่มน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกาย การดื่มน้ำไม่ได้ช่วยให้สร่างเมาเร็วขึ้น แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำจากแอลกอฮอล์
    • ถ้าวันต่อมายังมีอาการเมาค้าง ให้รับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) หลีกเลี่ยงกลุ่มยาอะซิตามิโนเฟน เช่น ไทลินอล เพราะมันอาจไปทำลายตับถ้ายังมีแอลกอฮอล์หลงเหลือในร่างกาย[8]

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองจะดื่ม ให้ดื่มสลับกับน้ำเปล่าเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ปรึกษานักจิตบำบัดหากคุณกังวลว่าตัวเองดื่มมากเกินไป นักจิตบำบัดจะช่วยให้มุมมองที่เป็นกลางและแนะนำเครื่องมือและวิธีการที่เป็นประโยชน์ให้

คำเตือน

  • ถ้าดื่มอย่าขับรถหรือควบคุมเครื่องจักรเด็ดขาด
  • ร่างกายของคุณยังสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เรื่อยๆ แม้ว่าคุณจะหลับหรือหมดสติไปแล้ว[9]

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Murphy Perng
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษาด้านไวน์ที่มีใบรับรอง
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Murphy Perng. เมอร์ฟี่ เผิงเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านไวน์ที่มีใบรับรองและเป็นผู้ก่อตั้ง Matter of Wine ธุรกิจที่ให้ความรู้เรื่องไวน์ จัดกิจกรรมหรืองานสร้างเครือข่ายในลอสแองเจลิส เมอร์ฟี่ร่วมมือกับแบรนด์อย่าง Equinox, Buzzfeed, WeWork, และ Stage & Table เป็นต้น เธอมีใบรับรอง WSET (Wine & Spirit Education Trust) Level 3 Advanced Certification บทความนี้ถูกเข้าชม 410,962 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 410,962 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม