ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

แผลริมฝีปากแตกอาจเป็นความเจ็บปวดที่ทรมานมากได้ ถ้าไม่รักษาอย่างเหมาะสม มันอาจเปลี่ยนจากการระคายเคืองเป็นการติดเชื้อรุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสะสมในแผลทำให้แผลไม่สะอาด บทความนี้จะอธิบายทั้งวิธีการห้ามเลือดที่แผลในระยะสั้น และวิธีรักษาแผลหลังจากนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือเกิดรอยแผลเป็น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำความสะอาดแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือให้สะอาด.
    ก่อนจะทำแผลใดๆ ก็ตาม ต้องอย่าลืมล้างมือให้สะอาดที่สุดเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามมือ ใช้น้ำอุ่นและสบู่ฆ่าเชื้อสำหรับล้างมือ (ถ้ามี) การใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อหลังจากล้างมือแล้วก็สามารถช่วยได้ [1]
    • ใช้ถุงมือไวนิล (ถ้ามี) หรือถุงมือยางก็ได้ แต่ควรระวังว่าผู้ที่คุณจะทำแผลให้นั้นไม่ได้แพ้ยาง สิ่งสำคัญคือการใช้วัสดุที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค เป็นตัวกั้นระหว่างมือกับแผล [2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงการทำให้แผลสกปรก.
    พยายามไม่หายใจหรือไอ จาม ใส่บริเวณแผล [3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เอียงศีรษะของผู้บาดเจ็บมาด้านหน้า.
    ให้ผู้ที่ปากเลือดออกนั่งตัวตรง และเอียงศีรษะลงมาด้านหน้าให้ปลายคางชี้ไปที่อก การทำให้เลือดไหลออกจากแผลที่ปากนั้น จะเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เจ็บกลืนเลือดลงไป ซึ่งอาจทำให้อาเจียนหรือสำลักจนเป็นอันตรายได้ [4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดูว่ามีอาการบาดเจ็บอื่นๆ ด้วยหรือไม่.
    บ่อยครั้งที่เมื่อได้รับบาดเจ็บจนปากแตก มักจะมีอาการบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากสาเหตุเดียวกัน ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้
    • ฟันโยกหรือหัก [5]
    • กระดูกหน้าหรือขากรรไกรหัก [6]
    • กลืนน้ำลายหรือหายใจลำบาก [7]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บาดเจ็บได้รับวัคซีนครบ....
    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บาดเจ็บได้รับวัคซีนครบ. ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดแผลคือชิ้นส่วนโลหะ หรือวัตถุหรือพื้นผิวที่สกปรก ผู้เจ็บอาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อบาดทะยักได้ [8]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 นำวัตถุที่เอาออกได้ออกจากปาก.
    ให้ผู้บาดเจ็บถอดเครื่องประดับที่มีรอบแผลออก เช่น ห่วงเจาะลิ้นหรือปาก และคายอาหารหรือหมากฝรั่งที่กินอยู่ออกจากปากด้วย [13]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ทำความสะอาดแผล.
    ขั้นตอนนี้มีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเป็น [14]
    • ถ้ามีวัตถุอยู่ในแผล เช่น สิ่งสกปรกหรือกรวด ต้องเอาออกโดยการให้ผู้บาดเจ็บเปิดน้ำล้างแผลจนกว่าจะไม่มีสิ่งตกค้างเหลืออยู่ [15]
    • ถ้าทำวิธีนั้นไม่ได้ ก็ให้เติมน้ำใส่แก้วแล้วนำมาล้างแผลแทน ทำซ้ำจนกว่าจะล้างสิ่งสกปรกออกหมด
    • ใช้สำลีชุบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อทำความสะอาดแผลอย่างล้ำลึก ระวังอย่าให้ผู้เจ็บเผลอกลืนน้ำยาเข้าไป [16]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ห้ามเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กดแผลห้ามเลือด.
    ถ้าจะให้ดี ผู้บาดเจ็บควรกดห้ามเลือดเอง แต่ถ้าคุณต้องช่วยทำ อย่าลืมสวมถุงมือยางที่สะอาดด้วย [17]
    • ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซ หรือผ้าพันแผล กดแผลเบาๆ แต่ให้แน่น 15 นาทีเต็ม ถ้าผ้าชุ่มเลือดแล้วให้เพิ่มผ้าอีกชั้นโดยไม่ต้องเอาชั้นแรกออก [18]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูแผลอีกครั้งหลังจาก 15 นาที.
    แผลอาจยังมีเลือดหยดหรือซึมได้ถึง 45 นาที แต่ถ้ายังมีเลือดไหลอย่างสม่ำเสมอหลังจาก 15 นาทีแรก ควรไปพบแพทย์ [19]
    • ปาก รวมถึงเหงือก ลิ้น และริมฝีปาก เป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดและเลือดอยู่มาก ดังนั้นแผลบาดเจ็บที่ปากมักจะมีเลือดออกมากกว่าแผลที่เกิดบริเวณอื่นของร่างกาย [20]
    • กดแผลเข้าด้านใน เข้าไปทางฟัน ขากรรไกร หรือเหงือก
    • ถ้าผู้เจ็บทนไม่ได้ ให้ยัดผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดไว้ระหว่างฟันกับริมฝีปาก พักแล้วค่อยกดอีกครั้ง [21]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ติดต่อแพทย์หากจำเป็น.
    ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหลหลังจากกดแผลติดต่อกัน 15 นาที หรือผู้เจ็บมีปัญหาในการหายใจหรือกลืนน้ำลาย ฟันโยกหรือเคลื่อนจากตำแหน่งปกติ หรือถ้าคุณไม่สามารถล้างสิ่งสกปรกหรือเศษต่างๆ ออกได้หมด หรือกังวลว่าผู้เจ็บจะมีอาการบาดเจ็บอื่นๆ บริเวณใบหน้าอีก คุณควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าต้องเย็บแผลหรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือไม่ ควรรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะโอกาสที่จะติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าปล่อยให้แผลเปิดและมีเลือดไหล หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรติดต่อแพทย์
    • ถ้าแผลเป็นทางยาวตลอดริมฝีปาก จำเป็นต้องพบแพทย์ทันที [22] ถ้าแผลอยู่ในส่วนที่เป็นสีแดงของริมฝีปาก และส่วนที่เป็นผิวปกติเหนือหรือล่างริมฝีปากด้วย (ข้ามเส้นขอบปาก) ผู้เจ็บต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการเย็บแผล การเย็บจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ และช่วยให้มั่นใจได้ว่าแผลจะรักษาตัวได้ด้วยวิธีทางการแพทย์
    • แพทย์อาจแนะนำให้เย็บแผลหากมีแผลลึกและมีช่องเปิด หมายความว่าถ้าคุณสามารถใช้นิ้วจับขอบแผลทั้งสองข้างแล้วแยกให้มันเปิดออกได้โดยใช้แรงเพียงเล็กน้อย [23]
    • แพทย์อาจแนะนำให้เย็บแผลด้วย หากมีเนื้อหลุดที่สามารถเย็บได้ [24]
    • การฉีกขาดอย่างลึกที่ต้องเย็บ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 8 ชั่วโมงในการเข้ารับการรักษาอย่างปลอดภัย[25]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้ว่าควรคาดหวังแค่ไหน.
    แผลเล็กๆ ด้านในปากมักจะหายได้เองภายใน 3-4 วัน แต่แผลที่ใหญ่หรือลึกมากจะใช้เวลาในการรักษานานกว่านั้น โดยเฉพาะถ้าอยู่บริเวณริมฝีปากที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างมากระหว่างเคี้ยวอาหารและดื่มน้ำ [26]
    • ถ้าผู้บาดเจ็บได้พบแพทย์แล้ว ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลรักษาแผล รวมถึงกินยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น ยาปฏิชีวนะ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบเย็น.
    ถุงน้ำแข็งหรือน้ำแข็งก้อนห่อด้วยผ้าสะอาดหรือถุงซิปล็อก จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดการอักเสบได้ [27]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเฉพาะส่วนหรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ....
    เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเฉพาะส่วนหรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ. หลังจากที่ได้ห้ามเลือดเบื้องต้นแล้ว คุณต้องดูแลบาดแผลเพื่อให้มันหายขาด มีความขัดแย้งในวงการแพทย์ว่าครีมฆ่าเชื้อนั้นจำเป็นหรือช่วยได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าใช้มากเกินไป [29] อย่างไรก็ตาม บางผลการศึกษาชี้ว่ามันสามารถช่วยในการรักษาได้หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
    • ถ้าคุณเลือกจะใช้ครีมทาแผลเฉพาะที่ คุณสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าผลิตภัณฑ์ตัวใดจะดีสำหรับแผลของคุณที่สุด และควรใช้ตามปริมาณที่แนะนำเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการทาเยอะหรือบ่อยเกินไป
    • อีกทางหนึ่ง คุณสามารถทาน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายลงบนแผลได้ น้ำตาลจะช่วยดูดซับน้ำออกจากแผล ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเติบโตจากความชื้น ส่วนน้ำผึ้งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย [30] ผลการศึกษาพบว่าการทาน้ำตาลหรือน้ำผึ้งลงบนแผลก่อนปิดแผลจะช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันการติดเชื้อได้ [31]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จำกัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของปาก.
    [32] ถ้าผู้บาดเจ็บอ้าปากกว้างเกินไป เช่น ขณะหาว หัวเราะหนักๆ หรือกินอาหารคำใหญ่ จะทำให้เจ็บแผลและอาจทำให้แผลเปิดอีกได้ ในกรณีหลังจะเป็นอันตรายต่อการติดเชื้อ และต้องกลับไปเริ่มทำการรักษาใหม่ตั้งแต่แรก
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินอาหารอ่อนๆ.
    [33] ยิ่งผู้บาดเจ็บต้องเคี้ยวอาหารน้อยเท่าไหร่ ยิ่งลดโอกาสที่แผลจะเปิดได้มากเท่านั้น และควรดื่มน้ำให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อคงความชุ่มชื้นให้ร่างกายและเนื้อเยื่อ และยังช่วยป้องกันไม่ให้แผลเปิดอีกด้วย
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แจ้งแพทย์ทันทีหากมีสัญญาณบอกอาการติดเชื้อ.
    แม้ว่าคุณจะได้ทำตามวิธีที่ทำได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการเกิดบาดแผลเพิ่มแล้ว บางสิ่งอาจไม่เป็นไปตามที่คุณคิด ควรติดต่อแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้
    • มีไข้ 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า [36]
    • อุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ[37]
    • แผลมีอาการบวม แดง รู้สึกร้อนหรือเจ็บแผลมากขึ้น หรือแผลเป็นหนอง [38]
    • ปัสสาวะน้อยลง [39]
    • ชีพจรเต้นเร็ว [40]
    • หายใจเร็ว[41]
    • คลื่นไส้และอาเจียน [42]
    • ท้องร่วง [43]
    • อ้าปากไม่ค่อยได้
    • ผิวหนังบริเวณรอบแผลเป็นรอยแดง กดเจ็บ หรือบวม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อคงความชุ่มชื้น
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าจับแผล ยกเว้นเวลาทำแผล เพราะมันจะเจ็บและอาจทำให้ติดเชื้อจากสิ่งสกปรกหรือแบคทีเรียได้
  • โรคติดต่อทางเลือดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายๆ ถ้าไม่ระมัดระวังอย่างเหมาะสม ควรสวมถุงมือยาง และล้างมือทั้งก่อนและหลังจากทำแผลให้ผู้อื่น
  • ถ้าแผลมีอาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์ทันที
  • ควรรีบไปพบแพทย์หากแผลนั้นเกิดจากการถูกกัดโดยสัตว์ เช่น สุนัข หรือแมว เพราะแผลแบบนี้มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้
โฆษณา
  1. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000615.htm
  2. http://www.cdc.gov/features/tetanus/
  3. http://www.cdc.gov/features/tetanus/
  4. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  5. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02836
  6. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02836
  7. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  8. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  9. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  10. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  11. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02836
  12. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  13. http://www.everydayhealth.com/kids-health/stitches.aspx
  14. http://www.everydayhealth.com/kids-health/stitches.aspx
  15. http://www.everydayhealth.com/kids-health/stitches.aspx
  16. http://www.uofmhealth.org/health-library/sig240490
  17. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  18. http://www.simplestepsdental.com/SS/ihtSS/r.==/st.32219/t.32774/pr.3.html
  19. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20051094
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609166/
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17708384
  23. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  24. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  25. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  26. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  27. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  28. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  29. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  30. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  31. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  32. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  33. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  34. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 113,181 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 113,181 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา