วิธีการ ช่วยเหลือคนดื่มน้ำมันรถ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การสูบน้ำมันรถจากตัวถังโดยใช้วิธีการลักน้ำอาจทำให้เผลอกลืนน้ำมันรถได้ การดื่มน้ำมันรถนั้นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอก หากเราได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็ไม่ต้องหามส่งโรงพยาบาล แต่หากได้รับน้ำมันรถเข้าไปในจำนวนมาก จะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก น้ำมันรถเพียงแค่ 1ออนซ์ (ประมาณ 28 มิลลิลิตร) หากผู้ใหญ่ดื่มเข้าไปอาจทำให้มึนหรือหมดสติ ส่วนเด็กดื่มเพียงแค่ครึ่งออนซ์อาจถึงตายได้ ดังนั้นเราต้องดูแลผู้ป่วยที่ดื่มน้ำมันรถอย่างใกล้ชิด และ“ห้าม”ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาอย่างเด็ดขาด หากมีข้อสงสัยให้รีบพบแพทย์ทันที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ช่วยคนที่ดื่มน้ำมันรถเข้าไปในปริมาณเล็กน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อยู่กับผู้ป่วยและพยายามทำให้เขาสงบ.
    ย้ำกับผู้ป่วยบ่อยๆ ว่าเขาดื่มน้ำมันรถไปในปริมาณเพียงเล็กน้อยและทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี พยายามให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลาย [1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ห้าม
    ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน. น้ำมันรถปริมาณเพียงเล็กน้อยเป็นไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารมากเท่าไหร่นัก แต่หากน้ำมันรถเพียงไม่กี่หยดเข้าสู่ปอด จะเป็นอันตรายมากต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการอาเจียนจะเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะสำลักน้ำมันรถเข้าสู่ปอด เราจึงไม่ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียน [2]
    • หากผู้ป่วยจำเป็นต้องอาเจียนจริงๆ ให้ผู้ป่วยเอนตัวโค้งไปด้านหน้าเพื่อป้องกันการสำลัก และบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหลังอาเจียนเสร็จ จากนั้นให้ติดต่อศูนย์พิษทันที [3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวานหลังจากบ้วนปากแล้ว....
    ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวานหลังจากบ้วนปากแล้ว. ให้ผู้ป่วยดื่มช้าๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือไอ หากผู้ป่วยหมดสติหรือไม่สามารถดื่มได้ด้วยตนเอง “ห้าม” พยายามนำน้ำเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย ให้ติดต่อศูนย์พิษทันที
    • ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มนม ยกเว้นว่านั่นเป็นคำสั่งของผู้เชี่ยวชาญด้านสารพิษหรือแพทย์ เพราะนมจะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำมันรถได้เร็วขึ้น [4]
    • ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มอัดลม เพราะจะทำให้เรอ
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ติดต่อศูนย์พิษใกล้บ้านและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น....
    ติดต่อศูนย์พิษใกล้บ้านและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น. ในประเทศไทย ติดต่อศูนย์พิษ โรงพยาบาลรามาธิบดี มีสายให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เบอร์ 1367 หากผู้ป่วยมีอาการทรุดลง เช่น อาการไอ หายใจติดขัด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียนหรืออาการที่หนักกว่านี้ ให้ติดต่อศูนย์พิษโดยด่วนที่สุด [5]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เช็ดน้ำมันรถที่เปื้อนตามตัวผู้ป่วย.
    ผู้ป่วยต้องถอดเสื้อผ้าที่โดนน้ำมันรถออก ล้างผิวที่โดนน้ำมันรถด้วยน้ำเปล่านาน 2-3 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งและเช็ดให้แห้ง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ห้ามให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ภายในเวลา 72 ชั่วโมงและห้ามสูบบุหรี่ใกล้ผู้ป่วย....
    ห้ามให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ภายในเวลา 72 ชั่วโมงและห้ามสูบบุหรี่ใกล้ผู้ป่วย. น้ำมันรถและไอระเหยของน้ำมันนั้นติดไฟง่ายมาก การสูบบุหรี่อาจทำให้น้ำมันติดไฟได้ ควันบุหรี่จะส่งผลร้ายต่ออวัยวะภายในและปอดของผู้ป่วยมากกว่าเดิม
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ย้ำกับผู้ป่วยว่าการเรอออกมาเป็นกลิ่นน้ำมันนั้นเป็นเรื่องปกติ....
    ย้ำกับผู้ป่วยว่าการเรอออกมาเป็นกลิ่นน้ำมันนั้นเป็นเรื่องปกติ. อาการนี้จะเกิดต่อเนื่องประมาณ 24 ชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน การดื่มน้ำเยอะๆ อาจลดอาการเรอได้และช่วยขับน้ำมันรถออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
    • หากผู้ป่วยอาการทรุดลง ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ซักเสื้อผ้าที่เปื้อนคราบน้ำมัน.
    เสื้อผ้าที่เปื้อนน้ำมันอาจติดไฟได้ จึงควรทิ้งไว้นอกบ้านให้แห้งอย่างต่ำ 24 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันระเหยเป็นไอก่อนนำไปซัก ซักเสื้อผ้าที่เปื้อนน้ำมันรถโดยใช้น้ำร้อนและซักแยกจากเสื้อผ้าปกติ ใส่แอมโมเนียหรือผงฟูลงไปจะทำให้ซักคราบน้ำมันออกได้ง่ายขึ้น ตากให้แห้งเพื่อให้กลิ่นน้ำมันหมดไป ถ้ายังมีกลิ่นน้ำมันให้ซักอีกรอบ[6]
    • อย่าใส่เสื้อผ้าที่ยังมีกลิ่นน้ำมันเข้าในเครื่องอบผ้าแห้ง เพราะเสื้อผ้าอาจจะไหม้ได้!
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ช่วยคนที่ดื่มน้ำมันรถเข้าไปในปริมาณมาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รีบดึงผู้ป่วยออกห่างจากน้ำมัน.
    สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ดื่มน้ำมันรถเข้าไปมากกว่านี้แล้ว ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ให้ทำตามขั้นตอนที่ 3 ทันที
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเป็นเด็ก ไม่ว่าจะดื่มน้ำมันรถเข้าไปมากแค่ไหนก็นับว่าเป็นอันตรายมาก....
    ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเป็นเด็ก ไม่ว่าจะดื่มน้ำมันรถเข้าไปมากแค่ไหนก็นับว่าเป็นอันตรายมาก. ถ้าไม่รู้ว่าเด็กดื่มเข้าไปมากแค่ไหน ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉินทันทีและรีบติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 โทรหาหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน.
    อธิบายเหตุการณ์โดยละเอียด หากผู้ประสบเหตุเป็นเด็ก ต้องระบุให้ชัดเจนเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือทันที
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด.
    หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ให้ย้ำกับเขาว่าหน่วยแพทย์ฉุกเฉินกำลังมา และอย่าพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ถ้าผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำได้ ให้เขาดื่มน้ำเปล่า ช่วยผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนน้ำมันรถและล้างน้ำมันที่เปื้อนตามตัว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ หยุดไอหรือหมดสติ ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก...
    ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ หยุดไอหรือหมดสติ ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก ให้ทำ CPR ทันที. จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นราบและเริ่มกดหน้าอก การกดหน้าอกแต่ละครั้ง ให้กดลงตรงกลางของหน้าอก กดลงไปลึกประมาณ 2 นิ้ว หรือประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ ครึ่งหนึ่งของความลึกของหน้าอก กดหน้าอก 30 ครั้งด้วยความเร็วประมาณ 100 ครั้งต่อนาที หลังจากนั้นจัดหัวผู้ป่วยให้ตรง เชิดคางผู้ป่วยขึ้น บีบจมูกแล้วเป่าลมเข้าช่องปากจนให้หน้าอกพองขึ้น การเป่าลมหายใจเข้าปากผู้ป่วยให้เป่า 2 ครั้ง แต่ละครั้งนานประมาณ 1 วิ และสลับกับการกดหน้าอกอีกหนึ่งชุด [8]
    • กดหน้าอก 30 ครั้งและเป่าลม 2 ครั้งอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นหรือความช่วยเหลือจะมาถึง
    • หากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในสายโทรศัพท์ พนักงานรับโทรศัพท์จะคอยแจ้งวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้องให้กับคุณ
    • สภากาชาดแนะนำให้ การทำ CPR สามารถทำให้แก่เด็กได้เหมือนกับผู้ใหญ่ เพียงแต่ว่าในเด็กทารกหรือเด็กเล็ก การกดหน้าอกให้กดลงไปเพียง 1.5 นิ้วเท่านั้น [9]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ห้าม ทำให้ผู้ที่ดื่มน้ำมันรถอาเจียนเด็ดขาด การอาเจียนจะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายมากกว่าเดิม
  • เก็บให้ดี เก็บน้ำมันรถในภาชนะที่มิดชิด พร้อมเขียนบอกให้ชัดเจนและเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • อย่า บรรจุน้ำมันรถในขวดน้ำดื่ม เช่น ขวดน้ำเปล่า
  • ห้าม ดื่มน้ำมันรถเด็ดขาด
  • ห้าม ใช้สูบน้ำมันรถขึ้นมาด้วยปาก ให้ใช้เครื่องสูบหรือใช้ความดันอากาศเพื่อสูบน้ำมันขึ้นมา [10]
โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ขั้นตอนทั้งหมดด้านบนสามารถใช้ได้กับน้ำมันดีเซล น้ำมันดิบ และน้ำมันเบนซิน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 66,056 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 66,056 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา