วิธีการ ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณรู้สึกว่านิ้วเท้าของตนเองอาจจะหัก แต่ไม่แน่ใจใช่หรือไม่ การทำกระดูกนิ้วเท้าร้าวเป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปหากคุณทำของหล่นใส่เท้า ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่สะดุดชนของอย่างแรง นิ้วเท้าที่ร้าวส่วนใหญ่มักรักษาอาการบาดเจ็บได้ด้วยการดูแลเพียงเล็กน้อย แต่ในบางกรณีนั้นคุณอาจต้องไปพบแพทย์ การประเมินดูว่านิ้วเท้าของคุณหักหรือไม่จึงสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจำเป็นจะต้องไปพบแพทย์หรือไม่

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

วิธีตรวจสอบนิ้วเท้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประเมินระดับความเจ็บปวด.
    หากกระดูกนิ้วเท้าของคุณร้าว คุณจะรู้สึกเจ็บเมื่อถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วนั้น คุณอาจจะยังเดินได้ปกติ แต่เมื่อหมุนไปรอบๆ อาการปวดอาจจะแย่กว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดในระดับนี้ไม่ได้หมายความว่านิ้วหัก แต่อาการปวดเรื้อรังต่างหากที่อาจเป็นสัญญาณบอกว่านิ้วเท้านิ้วนั้นได้ร้าวหรือหัก [1]
    • คุณควรพบแพทย์ทันที หากเมื่อถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วนั้นแล้วรู้สึกปวดมากจนทรมาน ซึ่งอาจแปลว่านิ้วของคุณได้หักอย่างรุนแรง ในทางตรงกันข้าม ถ้านิ้วเท้าร้าวไม่มาก คุณจะไม่รู้สึกปวดเท่ากรณีแรก และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์
    • หากรู้สึกเจ็บแปลบนอกจากอาการปวด นิ้วของคุณอาจจะหักมากกว่าร้าว
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    โดยดูว่าบวมหรือเปล่า หากบวม ก็แสดงว่ากระดูกนิ้วหัวเท้าของคุณอาจจะร้าว แต่หากคุณแค่สะดุดชนของอย่างแรง คุณจะรู้สึกว่านิ้วเท้าปวดตุบๆ เพียงครู่เดียว ก่อนที่อาการปวดจะหายไปโดยไม่มีอาการบวม ในขณะที่นิ้วเท้าที่กระดูกร้าวมักจะมีอาการบวม
  3. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    โดยดูว่านิ้วที่ปวดดูผิดรูปทรงหรือเคลื่อนไปจากปกติเมื่อเทียบกับนิ้วเดียวกันที่ปกติดีของเท้าอีกข้างหรือไม่ ถ้าผิดรูปผิดร่างหรือเคลื่อนที่ล่ะก็ กระดูกเท้าของคุณอาจจะหักอย่างรุนแรงและคุณจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที เพราะกระดูกร้าวจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของนิ้วเท้า
  4. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    เพราะนิ้วเท้าที่กระดูกร้าวจะไม่เหมือนนิ้วที่สะดุดชนของตรงที่มันจะเกิดการฟกช้ำและนิ้วจะเปลี่ยนสีในที่สุด ซึ่งนิ้วนั้นอาจจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เหลือง น้ำเงิน หรือดำ และอาจมีเลือดออก ซึ่งสัญญาณทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงว่านิ้วเท้าของคุณอาจหัก
    • หากเห็นว่ากระดูกนิ้วเท้าหักผ่านผิวหนัง ก็หมายความว่ากระดูกหักจริงๆ และคุณควรไปพบแพทย์โดยทันที
  5. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    หากรู้สึกว่ากระดูกเต้นตุบๆ อยู่ข้างใน หรือหากเคลื่อนไหวแล้วรู้สึกแปลกๆ ที่เท้า (นอกเหนือจากอาการปวด) ก็มีแนวโน้มว่านิ้วเท้านิ้วนั้นหัก
  6. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    คุณควรพบแพทย์หากมีอาการปวด นิ้วเท้าเปลี่ยนสี และอาการบวมเกินกว่า 2-3 วัน คุณอาจต้องเข้ารับการฉายรังสีเอ็กซเรย์เพื่อตรวจสอบว่านิ้วเท้าหักจริงๆ มีหลายกรณีที่แพทย์จะสั่งให้ไม่ยุ่งกับนิ้วเท้าและให้มันรักษาอาการบาดเจ็บเอง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่นิ้วเท้าหักอย่างรุนแรง แพทย์จะวินิจฉัยให้เข้ารับการรักษาทางการแพทย์
    • หากอาการปวดร้ายแรงมากจนเดินบนนิ้วเท้าที่บาดเจ็บไม่ได้ คุณควรไปพบแพทย์ทันที
    • ถ้านิ้วเท้าที่บาดเจ็บเหมือนจะชี้ไปผิดทิศผิดทาง หรือไม่ก็ผิดรูปทรงไปอย่างมาก คุณควรพบแพทย์ทันที
    • ขอเข้ารับงานบริการฉุกเฉินหากนิ้วที่บาดเจ็บเย็น เจ็บแปลบ หรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเพราะขาดออกซิเจน[3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

วิธีการดูแลรักษานิ้วเท้าที่หัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    นำน้ำแข็งก้อนใส่ให้เต็มถุงพลาสติกบรรจุอาหาร ห่อด้วยผ้าเช็ดจาน และวางบนนิ้วเท้าที่บาดเจ็บ. โดยประคบไว้ครั้งละ 20 นาทีจนกว่าจะพบแพทย์ ซึ่งน้ำแข็งจะช่วยลดอาการบวมและรักษาสมดุลของนิ้วที่บาดเจ็บ ยกเท้าให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ และอย่าพยายามเดินไกลๆ[4]
    • อย่าวางน้ำแข็งไว้ที่เดิมนานกว่า 20 นาที เพราะอาจทำลายผิวหนังของคุณได้หากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
    • คุณสามารถทานยาแก้ปวดอย่างไอบูโปรเฟนหรือแอสไพรินเพื่อบรรเทาอาการปวด
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    ตอนที่ไปพบแพทย์ แพทย์จะนำภาพถ่ายรังสีเอ็กซเรย์ไปวินิจฉัย และให้คำแนะนำในการดูแลนิ้วเท้า แพทย์อาจจัดกระดูกใหม่ในบางกรณี และสำหรับคนไข้รายที่บาดเจ็บอย่างรุนแรง อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยฝังหมุดหรือตะปูเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกเคลื่อน
  3. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    หยุดทำกิจกรรมที่ทำให้นิ้วเท้าบาดเจ็บเป็นอันดับแรก และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะกดทับนิ้วเท้าที่บาดเจ็บของคุณ คุณยังสามารถเดินเล่น ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยานได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือกีฬาที่อาจโดนผู้เล่นคนอื่นไปหลายสัปดาห์ พักนิ้วเท้าต่อเนื่องตามระยะเวลาที่แพทย์ของคุณแนะนำ
    • เมื่ออยู่บ้านให้ยกเท้าขึ้นสูงๆ เพื่อลดอาการบวม
    • หลังจากที่รักษานิ้วเท้าไปหลายสัปดาห์แล้ว ควรค่อยๆ เริ่มใช้นิ้วเท้าอีกครั้ง แต่อย่าฝืนใช้มากเกินไป หากรู้สึกเจ็บหรือแรงกดทับ ให้หยุดก่อนและพักเท้า
  4. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    นิ้วเท้าที่หักหรือร้าวส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้าเฝือก แต่แพทย์จะใช้วิธี “บัดดี้เทป ” โดยพันเทปนิ้วที่หักเข้ากับนิ้วข้างๆ ซึ่งช่วยดามไม่ให้นิ้วเคลื่อนหรือบาดเจ็บอีกรอบ ควรขอให้แพทย์หรือพยาบาลช่วยสาธิตวิธีเปลี่ยนเทปปิดแผล และผ้าพันแผลอย่างเหมาะสมที่ควรทำทุกๆ 2-3 วันเพื่อรักษาความสะอาดของบาดแผล
    • หากคุณไม่รู้สึกอะไรเลยในบริเวณที่พันแผล หรือสีของนิ้วที่พันแผลเปลี่ยนไป แสดงว่าเทปอาจรัดแน่นเกินไป ให้คุณรีบถอดออกทันที และขอคำแนะนำในการใช้เทปพันแผลจากแพทย์
    • คนไข้โรคเบาหวานไม่ควรพันแผลที่นิ้วเท้า แต่ควรสวมใส่รองเท้ารักษากระดูกและกล้ามเนื้อส้นแบนตามคำแนะนำของแพทย์[5]
  5. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    ดูแลนิ้วเท้าที่หักรุนแรงตามคำแนะนำของแพทย์. หากนิ้วเท้าหักร้ายแรงจนต้องเข้าเฝือก ใช้ไม้พยุง หรือใส่รองเท้าชนิดพิเศษ คุณอาจต้องพักเท้าเต็มๆ 6-8 สัปดาห์ ส่วนระยะเวลาในการรักษานิ้วหักที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอาจนานกว่า คุณอาจต้องไปพบแพทย์หลายครั้งในช่วงนั้นเพื่อให้แน่ใจว่านิ้วที่หักรักษาอย่างเหมาะสม
    • ดูให้แน่ใจว่าได้ทำตามคำสั่งแพทย์เมื่อรักษาอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรง เพราะหากละเลยคำสั่งของแพทย์ อาการบาดเจ็บอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าที่จำเป็น
    โฆษณา

อุปกรณ์ที่ใช้

  • ถุงประคบเย็น
  • เทปปิดแผล และผ้าพันแผล

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Allan Evangelista, MD
ร่วมเขียน โดย:
ศัลยแพทย์ด้านเท้าและข้อเท้า
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Allan Evangelista, MD. ดร.เอแวนเจลิสตาเป็นศัลยแพทย์เท้าและข้อเท้าจาก Mountaineer Orthopedic Specialists ในเวสต์เวอร์จิเนีย เขาเป็นสมาชิกสมาคมศัลยแพทย์ด้านกระดูกซาราโตซ่าในปี 2006 บทความนี้ถูกเข้าชม 193,506 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 193,506 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา