ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

จมูกเป็นอวัยวะของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก ดังนั้นแม้แต่บาดแผลที่เล็กสุดๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องซับซ้อนที่จะรักษามันได้และบางครั้งก็อาจจะทำให้เจ็บปวด การดูแลแผลในจมูกให้เหมาะสมนั้นจะทำให้แผลหายและป้องกันการติดเชื้ออันไม่พึงประสงค์ ไปพบแพทย์ถ้าเลือดที่แผลไม่หยุดไหล แผลไม่สมานกัน หรือคุณมีอาการติดเชื้อ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ล้างแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือ.
    ขอให้แน่ใจว่ามือของคุณสะอาดเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลเปิดในจมูกติดเชื้อแบคทีเรียที่มือ[1] ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและใช้สบู่ถูมือเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที (ร้องเพลง "สุขสันต์วันเกิด" สองรอบ)[2] จากนั้นล้างมือและใช้ผ้าขนหนูสะอาดเช็ดมือให้แห้ง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หยุดเลือด.
    ถ้าบาดแผลนั้นมีเลือดออกและมันอยู่ใกล้ๆ กับริมจมูก ค่อยๆ ใช้สิ่งของที่สะอาดประคบจนกว่าเลือดจะหยุดไหล อย่ากดเลือดจนหายใจไม่ออกและอย่ากดที่รูจมูก [3]
    • ถ้าแผลนั้นมองเห็นไม่ค่อยชัดหรือไม่ได้อยู่ตรงริมรูจมูก ให้ใช้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อหยุดเลือด[4]
    • นั่งหลังตรงจากนั้นก้มไปข้างหน้าเล็กน้อย การนั่งในตำแหน่งลักษณะนี้จะช่วยลดความดันในเส้นเลือดที่อยู่ในจมูกและป้องกันไม่ให้คุณกลืนเลือดเข้าไป
    • ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบจมูกและบีบไว้เป็นเวลา 10 นาที ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก หลังจากผ่านไป 10 นาทีแล้ว ให้คลายนิ้วที่บีบออก
    • ถ้าจมูกยังมีเลือดออกอยู่ ให้ทำขั้นตอนนี้ซ้ำ ถ้าเลือดยังออกอยู่แม้ว่าจะผ่านไป 20 นาทีแล้ว ให้ไปรับการรักษา เพราะอาการบาดเจ็บอาจจะรุนแรงเกินกว่าการปฐมพยาบาลจะช่วยได้
    • ในระหว่างขั้นตอนนี้ ให้ผู้ที่มีแผลในจมูกรู้สึกเย็นที่สุดโดยการใช้ผ้าเย็นหรืออมเม็ดอมเย็นๆ[5]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ค่อยๆ เอาผิวตรงแผลที่หลุดออกมาด้วยความระมัดระวัง....
    ค่อยๆ เอาผิวตรงแผลที่หลุดออกมาด้วยความระมัดระวัง. เพื่อลดการติดเชื้อและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ให้ใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อแล้วดึงเอาผิวหนังตรงแผลที่หลุดออกมา[6]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด.
    ถ้าคุณคิดว่ามีบางสิ่งที่ติดแน่นอยู่ตรงแผลหรือคุณต้องการที่จะนำเศษผิวหนัง เนื้อเยื่อ หรือลิ่มเลือด ออกมาจากจมูก ให้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่คุณจะใช้ ถ้าคุณไม่สามารถนำอุปกรณ์ไปฆ่าเชื้อได้ ขอให้แน่ใจว่ามันสะอาดที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[7]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นำอุปกรณ์ที่คุณต้องการใช้ไปฆ่าเชื้อ[8]Xแหล่งข้อมูลอ้างอิง...
    นำอุปกรณ์ที่คุณต้องการใช้ไปฆ่าเชื้อ[8]
    • ใช้สบู่และน้ำล้างมือให้สะอาด
    • ล้างเครื่องมือ เช่น แหนบ ด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด จากนั้นล้างสบู่ออกให้หมด
    • เอาอุปกรณ์ที่ใช้ไปใส่ในหม้อหรือกระทะ เติมน้ำให้ท่วมอุปกรณ์ทุกชิ้นอย่างพอดีๆ
    • ใช้ฝาหม้อปิดกระทะไว้และนำไปต้ม ต้มเป็นเวลา 15 นาทีโดยปิดฝาเอาไว้อย่างนั้น
    • ยกกระทะออก ปิดฝามันไว้อย่างนั้น และปล่อยให้มันเย็นลงจนมีอุณหภูมิห้อง
    • เทน้ำออกจากกระทะโดยไม่สัมผัสอุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะใช้อุปกรณ์นั้น ให้วางมันไว้ในหม้อหรือกระทะที่เทน้ำออกแล้วและเปิดฝาไว้
    • ค่อยๆ นำอุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วออกมาเมื่อคุณจะใช้ โดยนำออกมาอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการจับอุปกรณ์ตรงที่มันจะต้องสัมผัสกับบาดแผล ให้จับที่ด้ามเท่านั้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ไปขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ถ้าแผลอยู่ลึกจนเข้าถึงยาก....
    ไปขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ถ้าแผลอยู่ลึกจนเข้าถึงยาก. ถ้าคุณมองเห็นแผลไม่ชัด หรือมันอยู่ลึกเกินไปจนไม่สามารถเข้าถึงได้ คุณอาจจะมีปัญหาในการรักษาแผลบริเวณนั้นให้เหมาะสม คุณอาจจะทำให้มันยิ่งเสียหายหรือทำให้มันติดเชื้อแบคทีเรียถ้าแผลอยู่ลึกในจมูก[9]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เลือกน้ำยาทำความสะอาดแผล.
    ปกติแล้ว สบู่และน้ำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการทำความสะอาดบาดแผล แผลจากของมีคม และแผลเล็กๆ น้อยๆ ที่ผิวหนัง แต่บางส่วนของร่างกายที่บอบบางและไวต่อความรู้สึก มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำยาทำความสะอาดและเป็นสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่แนะนำให้ใช้กับบริเวณนั้นโดยเฉพาะ[10]
    • ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ใช้กันทั่วไปโดยเป็นทั้งสบู่ในการทำความสะอาดและเป็นสารต้านการฆ่าเชื้อ โดยมีชื่อเรียกว่าคลอเฮกซิดีน (Chlorhexidine) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไป[11] คลอเฮกซิดีนนั้นจะเจือจางสูงเมื่อใช้บนเนื้อเยื่อเมือก (ภายในจมูก)
  8. How.com.vn ไท: Step 8 อ่านฉลากของผลิตภัณฑ์.
    อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้ภายในจมูกได้
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ทำความสะอาดผิวและเนื้อรอบบาดแผล.
    เพื่อที่จะเข้าถึงบาดแผลและทำความสะอาดมันได้ คุณอาจจะต้องใช้คอตตอนบัดหรือเศษผ้าก๊อซในการทำความสะอาดมันด้วยความระมัดระวัง[12]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ดูแลบาดแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมืออยู่เสมอ.
    บาดแผลของคุณนั้นเป็นทางเข้าของแบคทีเรียที่จะเข้าไปในกระแสเลือดของคุณ[16]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามแพทย์เกี่ยวการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในจมูก.
    ครีมหรือขี้ผึ้งฆ่าเชื้อโรคและต้านการติดเชื้อนั้นผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับแผลตื้นๆ หรือรอยเกาตื้นๆ แต่อาจจะไม่เหมาะสมที่ใช้กับแผลที่รุนแรงกว่าที่อยู่ภายในจมูก ถามแพทย์ว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยที่จะใช้รักษาบาดแผลภายในจมูกหรือไม่ ผลิตภัณฑ์เช่นนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป[17]
    • ถ้าแพทย์ยืนยันว่าใช้ได้ ให้ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งต้านการติดเชื้อในปริมาณน้อยๆ ทาที่ปลายคอตตอนบัดหรือที่ผ้าก๊อซชิ้นเล็กๆ ค่อยๆ ทายาที่ผิวรอบๆ บาดแผลด้วยความระมัดระวัง[18]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หลีกเลี่ยงการสัมผัสบาดแผลด้วยนิ้วมือ.
    ถ้าคุณจะต้องใช้นิ้วมือในการทายาจริงๆ ขอให้แน่ใจว่าได้ล้างมืออย่างสะอาดแล้ว[19]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าแกะหรือดึงผิวหนังบริเวณนั้น.
    เมื่อคุณได้ทายาที่แผลแล้ว ให้ปล่อยผิวที่มีแผลไว้ อย่าใช้มือไปยุ่งกับบริเวณนั้นและอย่าดึงที่สะเก็ดแผล การดึงที่บริเวณนั้นจะทำให้แผลไม่หายและเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ[20]
    • ค่อยๆ ทำความสะอาดบริเวณนั้นและใช้ครีมที่ให้ความชุ่มชื้นที่ปลอดภัยสำหรับใช้ที่ผิวทาภายในจมูก นี่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีสะเก็ดแผลที่ใหญ่และไม่สบายจมูก ลองใช้ขี้ผึ้งต้านการติดเชื้อหรือปิโตรเลียมเจลลี่ในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้บริเวณนั้นชุ่มชื้น
    • นี่จะช่วยให้บาดแผลมีขนาดเล็กลงและสะเก็ดแผลจะอ่อนนุ่มขึ้น มันจะช่วยให้ผิวบริเวณนั้นสมานเอง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทายาซ้ำถ้าจำเป็น.
    ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบาดแผล ความยาว และความลึก คุณอาจจะต้องทายาซ้ำ ทุกวันหรือทุก 2-3 วัน ทำด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ติดเชื้อแบคทีเรีย[21]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดการกับบาดแผลที่รุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปรับการรักษาถ้าเลือดไม่หยุดไหลง่ายๆ.
    การมีเลือดออกอย่างต่อเนื่องอาจจะบ่งบอกได้ว่ามีกระดูกหัก บาดแผลลึกภายในจมูก หรืออาการที่รุนแรงอื่นๆ ถ้ามีเลือดออกต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 15-20 นาที มันเป็นสัญญาณเตือนว่ามีบางอย่างที่รุนแรงเกิดขึ้น[22]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ไปพบแพทย์ถ้าแผลไม่เริ่มสมานภายใน 2-3 วัน.
    บาดแผลบางอย่างที่เกิดขึ้นที่ภายในรูจมูกจะต้องไปรับการรักษาทางการแพทย์ จมูกเป็นบริเวณที่บอบบางและมีเส้นเลือดอยู่มาก มันมีของเหลว (อย่าง น้ำมูก) และของเสียที่ระบายจากโพรงไซนัส ทั้งหมดนี้ล้วนมีแบคทีเรีย แผลบางอย่างที่อยู่ภายในจมูกจะต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษาหรือแม้แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์หู คอ จมูก[23]
    • ในบางกรณี บาดแผลอาจจะดูเหมือนสมานดีแล้ว แต่จะกลับมาเป็นอีกภายใน 2-3 เดือนหรืออาทิตย์ นี่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ คุณอาจจะต้องถามแพทย์เกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อและการรักษาทางการแพทย์ที่จะป้องกันไม่ให้แผลกลับมาเป็นอีก[24]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ไปหาแพทย์ถ้าบาดแผลนั้นเกี่ยวข้องกับสัตว์ด้วย....
    ไปหาแพทย์ถ้าบาดแผลนั้นเกี่ยวข้องกับสัตว์ด้วย. ถ้าบาดแผลของคุณเกิดจากสัตว์ หรือจากบางสิ่งที่สกปรกหรือขอบของบาดแผลที่ไม่เรียบ คุณจะต้องแน่ใจว่าได้ทำความสะอาดบริเวณนั้นและรักษาอย่างเหมาะสม ยิ่งคุณระบุอาการติดเชื้อได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาและควบคุมบาดแผลได้ง่ายขึ้น[25]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดูสัญญาณของการติดเชื้อ.
    ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้มีบาดแผล เมื่อมีอาการติดเชื้อควรที่จะรีบไปหาแพทย์ อาการติดเชื้อนั้นมีดังนี้[27]
    • บริเวณนั้นไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหรือเริ่มที่จะแย่ลง
    • บริเวณนั้นบวมขึ้นและรู้สึกอุ่นๆ เมื่อสัมผัส
    • บาดแผลทำให้มีน้ำหนองหนาๆ และคุณสังเกตว่ามันมีกลิ่นออกมาจากบาดแผลหรือของเสียที่ระบายออกมา
    • คุณเริ่มที่จะมีไข้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถามแพทย์เกี่ยวกับการรักษาการติดเชื้อ.
    ในกรณีส่วนใหญ่ แพทย์จะเขียนใบจ่ายยาทั้งยาฆ่าเชื้อแบบทานและแบบใช้เฉพาะที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการรักษา แผลจะสมานภายใน 1-2 อาทิตย์เมื่อคุณเริ่มใช้ยาฆ่าเชื้อโรค[28]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บาดแผลที่อยู่นานกว่าหลายอาทิตย์หรือนานกว่านั้น อาจจะบ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงกว่า และเป็นสัญญาณเตือนว่าต้องไปหาแพทย์
  • ปล่อยแผลเอาไว้อย่างนั้น การไปดึงที่แผลหรือรอยบาดภายในจมูกจะเป็นการขัดขวางการสมานของแผลและทำให้บริเวณนั้นอาจติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อ
  • ถ้าคุณสังเกตว่ามีอาการบาดเจ็บ บวม หรือมีรอยช้ำ นั่นแปลว่ากระดูกอาจจะหักได้และอาจจะไม่ใช่บาดแผล ไปพบแพทย์ถ้าคุณเริ่มมีอาการแบบนี้
  • อาการเลือดออกที่บริเวณนั้นที่เกิดขึ้นอีกหรือที่ยาวนาน อาจจะบ่งบอกว่าคุณจะต้องไปรับการรักษาทางการแพทย์ แผลนั้นอาจจะลึกมากหรือยาวมากกว่าที่คุณคิด
  • ถ้าบาดแผลนั้นอยู่ลึกมากในทางเดินหายใจจะไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายหรือเข้าถึงได้ง่าย ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
  • ทานผักและผลไม้มากๆ เพื่อให้แผลสมานเร็ว
  • ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักอย่างสม่ำเสมอ ผู้ใหญ่จะต้องฉีดวัคซีนนี้ทุกๆ 10 ปี
โฆษณา
  1. http://www.hartfordmedicalgroup.com/ed_instr_hibidens.php
  2. http://www.hartfordmedicalgroup.com/ed_instr_hibidens.php
  3. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  4. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  5. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  6. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  7. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  8. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  9. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  10. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  11. http://woundcaresociety.org/heal-cut-inside-nose
  12. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  13. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  14. http://woundcaresociety.org/heal-cut-inside-nose
  15. http://www.simple-remedies.com/home-remedies/ent-disorder/sores-in-nose-causes-treatment.html
  16. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  17. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  18. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  19. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Asmi Sanghvi, DO
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์ผิวหนังที่มีใบรับรองจากคณะกรรมการ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Asmi Sanghvi, DO. ดร. อัสมี แสงวี เป็นแพทย์ผิวหนังที่มีใบรับรองจากคณะกรรมการในนิวยอร์ก เธอเชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังทั่วไปและเวชสำอางด้านผิวพรรณ และมีความหลงใหลในการให้ความรู้แก่ผู้อื่น ดร. แสงวี ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญหลายฉบับ รวมทั้ง Journal of the American Academy of Dermatology and Cutis เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์ จาก Northwestern University และแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูก (DO) จาก Lake Erie College of Osteopathic Medicine บทความนี้ถูกเข้าชม 129,714 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 129,714 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา