วิธีการ รักษาอาการซี่โครงช้ำ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณรู้สึกเจ็บเมื่อไอ จาม หายใจเข้าลึกๆ หรือเมื่อบิดงอลำตัวล่ะก็ นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณมีอาการซี่โครงช้ำ คุณสามารถรักษาอาการบาดเจ็บนี้ได้ด้วยตัวเอง แต่ก็อาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่อาการเริ่มหนักจนทนไม่ไหว และในกรณีที่อาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวดและหายใจเข้าลึกๆ อาจถึงเวลาที่คุณต้องไปพบคุณหมอแล้วล่ะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

วิธีบรรเทาอาการแบบเร่งด่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ต้องแน่ใจก่อนว่าซี่โครงของคุณไม่ได้หัก.
    ซี่โครงที่ช้ำหรือร้าวอาจเสียหาย แต่ก็ยังคงอยู่ประจำที่ในผนังทรวงอกของคุณ แต่การที่ซี่โครงหักถือเป็นสัญญาณอันตราย เพราะมันจะเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ และมีโอกาสแทงทะลุปอดหรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ของคุณ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน คุณจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าซี่โครงของคุณไม่ได้แตกหักแต่อย่างใด
    • ค่อยๆ ไล่มือไปตามผนังทรวงอก โดยบริเวณรอบจุดที่ซี่โครงร้าวหรือช้ำอาจรู้สึกบวมขึ้นมา แต่ไม่ควรจะมีอะไรยื่นออกมาหรือยุบลงไป ถ้าสงสัยว่าอาจมีซี่โครงหักล่ะก็ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
    • มองหาสัญญาณของภาวะอกรวน ภาวะอกรวนเกิดขึ้นเมื่อกระดูกซี่โครง 3 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ติดๆ กันหัก ซึ่งอาจขัดขวางการหายใจได้อย่างรุนแรง[1] เพราะฉะนั้นถ้าสงสัยว่ากระดูกซี่โครงมากกว่า 1 ชิ้นอาจได้รับบาดเจ็บ และรู้สึกว่าหายใจเข้าลึกๆ ไม่ได้ล่ะก็ ควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้น้ำแข็งถูจุดที่บาดเจ็บ.
    การใช้น้ำแข็งถูที่ซี่โครงจะช่วยให้อาการปวดและบวมทุเลาลง จึงทำให้เนื้อเยื่อที่บอบช้ำหายเร็วขึ้นได้นั่นเอง โดยควรถูน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ และต้องพยายามหักห้ามใจไม่หันไปหยิบแผ่นประคบร้อนมาใช้
    • ลองหาถุงใส่ผลไม้แช่แข็ง (เช่น ถั่วหรือข้าวโพด) หรือใส่เกล็ดน้ำแข็งลงไปในกระเป๋าพลาสติกแบบเปิดปิดปากถุงได้ จากนั้นจึงใช้ผ้าขนหนูหรือเสื้อห่อถุงน้ำแข็งไว้ และประคบลงบริเวณที่ซี่โครงช้ำ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทานยาแก้ปวด.
    ถ้าคุณรู้สึกเจ็บในทุกลมหายใจเข้าออกล่ะก็ การใช้ยาระงับความเจ็บปวดจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้มากทีเดียว ลองทานยาแก้ปวดที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรืออะเซตามิโนเฟนตามคำแนะนำที่เขียนไว้บนขวด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พักผ่อน.
    เพราะตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะกับการลงแรงทำสิ่งใด โดยเฉพาะถ้าแม้แต่หายใจก็ทำให้รู้สึกเจ็บแปลบแล้ว การพักผ่อนจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้อาการหายไปโดยเร็ว ลองหยิบหนังสือขึ้นมาสักเล่มหรือเปิดหนังดู จากนั้นจึงนอนแผ่ลงในท่าที่รู้สึกสบายมากที่สุด และอยู่ในท่านั้นให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยพยายามอดใจไม่ลุกไปเข้าห้องน้ำหรือเดินไปหาขนมทานเล่น
    • ลางานสักวันสองวันถ้าทำได้ โดยเฉพาะถ้างานที่คุณทำต้องยืนเป็นเวลานานๆ หรือเป็นงานประเภทใช้แรงงาน
    • ลองนอนเอาด้านที่เจ็บลง ถ้าคอและหลังของคุณยังใช้การได้ดีล่ะก็ ลองนอนโดยเอาด้านที่ซี่โครงช้ำลง ฟังดูขัดกับสัณชาตญาณของเราไปหน่อยจริงไหม แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการนี้จะช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้น (เพียงแต่อย่าลืมทานยาแก้ปวดอย่างสม่ำเสมอก่อนเท่านั้น)
    • อย่าเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่กระตุ้นอาการบาดเจ็บของคุณเอง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ควบคุมการหายใจ.
    ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า วิธีการที่คนทั่วไปแนะนำให้ใช้กันมากที่สุดเพื่อรักษาอาการซี่โครงช้ำ คือการพันผ้ารอบผนังทรวงอก ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นวิธีการที่ไม่ดีเอาเสียเลย เพราะการหายใจติดขัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ฯลฯ ตามมา เพราะฉะนั้นขอย้ำอีกครั้ง “ห้ามพันผ้ายืดรอบซี่โครงเป็นอันขาด” และนี่คือวิธีการที่คุณควรทำ:
    • หายใจเข้าลึกๆ ทุกครั้งที่ทำได้ โดยลองหายใจลึกสัก 1 ครั้งทุกๆ 2-3 นาที พยายามสูดลมหายใจเข้าให้นานที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ ปล่อยออกมา
      • ถ้าหากซี่โครงบาดเจ็บมากจนดูเหมือนจะทำไม่ได้จริงๆ ล่ะก็ ลองเปลี่ยนเป็นหายใจลึกสักชั่วโมงละครั้งในทุกๆ ชั่วโมง
      • แต่ถ้าหายใจลึกแค่ชั่วโมงละครั้งก็ยังไม่ไหว คงได้เวลาที่ต้องปรึกษาคุณหมอแล้วล่ะ
    • ฝึกการหายใจ เมื่อรู้สึกว่าคุณเริ่มกลับมาหายใจได้ตามปกติบ้างแล้ว ลองฝึกหายใจเข้าช้าๆ 3 วินาที ตามด้วยกลั้นหายใจ 3 วินาที แล้วจึงหายใจออกอีก 3 วินาที ทำซ้ำแบบนี้สัก 2-3 รอบ ประมาณ 1-2 ครั้งต่อวัน
    • อย่าสูบบุหรี่ ในระหว่างที่พักฟื้นจากอาการบาดเจ็บบริเวณซี่โครง สารที่ทำให้ปอดระคายเคืองอาจทำให้คุณมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น เพราะฉะนั้น ลองใช้โอกาสนี้เลิกสูบบุหรี่เป็นการถาวรดูหน่อยเป็นไง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เมื่อไรที่ต้องเข้ารับการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ควรไปพบแพทย์ถ้าอาการเจ็บไม่ยอมห่างหายหรือเจ็บจนทนไม่ไหวจริงๆ....
    ควรไปพบแพทย์ถ้าอาการเจ็บไม่ยอมห่างหายหรือเจ็บจนทนไม่ไหวจริงๆ. อาการเจ็บหน้าอกอาจมีได้หลายสาเหตุ และบางกรณีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว การตรวจหาสาเหตุของอาการที่แน่นอนจึงเป็นเครื่องรับประกันได้ว่าคุณกำลังแก้ปัญหาอย่างถูกจุด โดยคุณหมออาจสั่งเอ็กซเรย์ทรวงอก ทำซีทีสแกน ทำ MRI หรือสแกนกระดูกถ้าสงสัยว่ารอยแตกอาจเป็นสาเหตุของโรคบางอย่าง หากแต่การตรวจเหล่านี้จะไม่แสดงให้เห็นอาการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนหรือรอยช้ำ และอาการต่อไปนี้คือสัญญาณบ่งชี้ว่าถึงเวลาที่ต้องให้คุณหมอช่วยตรวจดูอาการแล้วล่ะ[3]
    • จู่ๆ ก็รู้สึกหายใจติดขัด
    • รู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อยๆ บริเวณหน้าอก ช่องท้อง และไหล่
    • มีอาการไอหรือไข้ขึ้น
    • รู้สึกเจ็บบริเวณทรวงอกอย่างรุนแรง แต่ยังสามารถหันหน้ามองข้ามไหล่ได้โดยไม่รู้สึกเจ็บมากขึ้น เพราะอาการซี่โครงช้ำจะทำให้คุณรู้สึกแย่ขึ้นเมื่อบิดลำตัว ในขณะที่อาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่าจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด

เคล็ดลับ

  • เมื่อสังเกตว่าตัวเองกำลังจะจามหรือไอ ให้ลองกดจุดที่เป็นแผล วิธีการนี้จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • ทานยาแก้ปวดที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป หรือทายาแก้ปวดกล้ามเนื้อชนิดครีมทาเฉพาะที่ตามความจำเป็น (โดยที่แพทย์อนุญาตแล้ว) แพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดหรือแนะนำให้ฉีดยาระงับประสาทที่มีฤทธิ์นาน
  • พยายามนั่ง นอน ยืนในท่าปกติ เพราะการบิดลำตัวเพื่อบรรเทาอาการเจ็บซี่โครงเป็นสาเหตุโดยตรงที่อาจนำไปสู่อาการปวดหลัง จนอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดกระดูกโดยไม่จำเป็น
  • ใช้กล้ามเนื้อช่วงท้องให้น้อยที่สุดและนอนหงายเข้าไว้ เพราะนี่จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บซี่โครงและช่วงไหล่ได้
  • ทานยาแก้แพ้ถ้ารู้สึกเจ็บเนื่องจากภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจตอนบน การไอและจามจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บเมื่อมีอาการซี่โครงช้ำ และการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นขณะที่คุณไอและจามจะทำให้อาการหายช้าขึ้นอีกด้วย
  • แช่น้ำร้อน พร้อมเติมเกลืออนามัย หรือน้ำมันยูคาลิปตัส หรือผงฟูลงไป โดยใช้เพียงอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็เพียงพอ ขอบอกว่าใช้ได้ผลดีทีเดียว
โฆษณา

คำเตือน

  • ควรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินถ้ารู้สึกหายใจไม่สะดวก รู้สึกถึงแรงกด เจ็บกลางหน้าอก หรือมีอาการเจ็บแผ่ออกมาจากช่วงไหล่หรือแขน เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวายได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ถุงพลาสติกชนิดเปิดปิดได้
  • เกล็ดน้ำแข็งหรือผักแช่แข็งชิ้นเล็กๆ
  • ผ้าชิ้นบางๆ (เช่น ผ้าเช็ดจาน)
  • เจลบรรเทาอาการปวด

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 125,250 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 125,250 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา