วิธีการ แยกแยะว่าการบำบัดเด็กออทิสติกแบบ ABA นั้นเป็นอันตรายหรือเปล่า

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การบำบัดด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์ หรือ ABA (Applied Behavior Analysis) นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านภาวะออทิสติกหรือโรคออทิสซึม ว่าเป็นอันตรายหรือเปล่า เห็นผลมากน้อยแค่ไหน บางคนก็ว่าตัวเองหรือลูกถูกทำร้าย บางคนก็เห็นต่างว่าได้ผลดีเป็นพิเศษ ในฐานะคนที่อยากเลือกแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกหรือคนสำคัญ คุณจะรู้ได้ยังไงว่าการบำบัดนี้ดีจริงหรือมีอันตรายร้ายแรงแอบแฝง? ถ้าสังเกตและใส่ใจมากพอ ก็รู้ได้แน่นอน บทความวิกิฮาวนี้เขียนขึ้นโดยคำนึงถึงความรู้สึกและสวัสดิภาพของเด็กเป็นหลัก แต่ก็เป็นแนวทางสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกได้เช่นกัน

หมายเหตุ: บทความนี้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น การบำบัดที่เคร่งครัดเกินไปหรือเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ จนอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความไม่สบายใจได้ โดยเฉพาะคนที่เกิด PTSD (อาการเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ) เพราะการบำบัด ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจกับเรื่องราวทำนองนี้ หรืออ่านๆ ไปรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจขึ้นมา ก็ข้ามบทความนี้ไปได้ทุกเมื่อ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

กำหนดเป้าหมายในการบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ

ควรกำหนดเป้าหมายในการบำบัดให้ชัดเจน โดยเน้นช่วยพัฒนาทักษะของลูก ทำให้ชีวิตลูกสะดวกสบายและมีความสุขขึ้น อย่าไปตั้งเป้ากำจัดพฤติกรรมออทิสติก

  1. How.com.vn ไท: Quiet Hands.png
    1
    ถามตัวเองว่าจะบำบัดเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือคงอัตลักษณ์ของลูกไว้. UN ชี้ว่าเด็กพิการก็มีสิทธิ์คงอัตลักษณ์ของตัวเองไว้ เช่น เป็นตัวของตัวเอง แม้จะแสดงความเป็นออทิสติกออกมาชัดเจนก็ตาม การบำบัดที่ดีจะยอมให้เด็กเป็นตัวของตัวเองแม้จะแตกต่างจากคนอื่น จะไม่มุ่งเน้นทำลายบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก เช่น
    • พฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง (stimming) ส่วนใหญ่[1][2] (คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า "quiet hands" หรือ "table ready" คือสั่งให้เด็กหยุดนิ่ง งดพฤติกรรม stimming)
    • เดินเขย่งปลายเท้า
    • ไม่ยอมสบตา[3][4][5]
    • ไม่ชอบเข้าสังคมหรือมีเพื่อนหลายๆ คน
    • พฤติกรรมผิดแผกอื่นๆ (เด็กต้องมีสิทธิ์เลือก ว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือเปล่า อย่าไปบังคับ)
  2. How.com.vn ไท: Crying Child Told to Stop.png
    2
    นักบำบัดบังคับให้เด็กแสดงความรู้สึกในเชิงบวกหรือเปล่า. นักบำบัดบางคนจะฝึกให้เด็กออทิสติกแสดงสีหน้าท่าทางว่าตัวเองมีความสุข ทั้งที่ไม่ตรงกับอารมณ์จริงของเด็กตอนนั้น
    • ไม่ควรมีใครถูกบังคับให้ยิ้มหรือฝืนมีความสุขทั้งที่จริงๆ ไม่ได้รู้สึกแบบนั้น
    • อย่าฝึกหรือกดดันให้เด็กกอดหรือหอมแก้ม แม้ว่าจะฝืนความรู้สึกก็เถอะ สำคัญมากว่าต้องมีขอบเขต ไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อของการถูกทำร้ายจิตใจหรือล่วงละเมิดทางเพศ[6][7]
  3. How.com.vn ไท: Mom Smiles while Autistic Daughter Stims.png
    3
    นักบำบัดสนับสนุนหรือต่อต้านความคิดของเด็ก.[8] ถ้าเป็นนักบำบัดที่ไม่เหมาะสม จะหัวชนฝาพยายามดัดนิสัยให้เด็กไม่แสดงพฤติกรรมออทิสติก แต่ถ้านักบำบัดดีๆ เขาจะปรับเข้าหาเด็ก เสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เติบโตอย่างมีความสุข เป็นผู้ใหญ่ที่ช่วยเหลือตัวเองได้[9] นักบำบัดควรเน้นการสร้างเด็ก/ผู้ใหญ่ออทิสติกที่มีความสุข ไม่ใช่มุ่งเน้นดัดนิสัยให้หายจากอาการออทิสติก เป้าหมายการบำบัดที่ดีก็เช่น
    • ปรับให้เด็กกระตุ้นตัวเองแบบไม่เป็นอันตรายและดีต่อตัวเอง อย่าไปบังคับให้หยุดการกระตุ้นตัวเองทั้งหมด
    • หาวิธีสร้างเสริมตัวตนของเด็ก แก้ไขปัญหาด้านประสาทสัมผัส
    • พัฒนาทักษะการเข้าสังคมในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ และกล้าแสดงออกแต่ไม่ก้าวร้าว
    • รับฟังความต้องการของเด็ก และตอบสนองหรือร่วมกันพัฒนาไปจนถึงเป้าหมายนั้น
  4. How.com.vn ไท: Boy Using AAC Button.png
    4
    นักบำบัดเน้นพัฒนาทักษะการสื่อสารหรือแค่ให้ทำตามใจผู้ใหญ่. การสื่อสารที่ว่าไม่ใช่เน้นคำพูดอย่างเดียว (ต้องให้ความสำคัญกับพฤติกรรมและ AAC หรือการสื่อความหมายทดแทนด้วย)[10][11] คำศัพท์เบื้องต้นที่สอนเด็ก ควรเน้นสื่อความต้องการพื้นฐาน อย่าเน้นเอาใจผู้ใหญ่
    • คำอย่าง "ใช่" "ไม่ใช่" "หยุด" "หิว" และ "เจ็บ" นั้นมีประโยชน์กว่า "หนูรักแม่" หรือ "แม่จ๋า" เยอะเลย
    • สนใจและใส่ใจทุกพฤติกรรมด้วย ถึงจะอยู่ในช่วงหัดสื่อสารด้วยคำพูดหรือ AAC ก็เถอะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สังเกตขั้นตอนการบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ

นักบำบัดที่ดีจะใจดีใจเย็น เอาใจใส่และรับฟังเด็ก เพราะไม่มีใครออทิสติกเกินไปจน "สอนไม่ได้"

  1. How.com.vn ไท: Woman and Autistic Girl Sitting.png
    1
    นักบำบัดเล็งเห็นศักยภาพของเด็กหรือเปล่า. นักบำบัดที่ดีต้องเหมาไปก่อนเลยว่าเด็กใส่ใจฟังอยู่ (ถึงจะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองก็เถอะ) และจะมองว่าเด็กทำเต็มที่แล้วแต่แรก[12]
    • เด็กที่พูดน้อยหรือไม่พูดเลย บางทีก็มีความคิดลึกซึ้ง แค่สื่อหรือแสดงออกมาไม่เป็น[13][14] หรือควบคุมและแสดงภาษากายไม่ได้ดั่งใจ เลยทำให้แสดงความคิดหรือความต้องการออกมาผิดเพี้ยนไปได้[15][16][17]
    • นักบำบัดต้องใส่ใจว่าทำไมเด็กถึงทำแบบนั้นลงไป อย่าเหมาไปเองว่าแค่ทำไปอย่างนั้นเอง หรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เด็กออทิสติกพยายามจะสื่อ[18][19][20]
    • อย่างแบบฝึกหัดสำหรับเด็ก 4 ขวบ ก็ไม่เหมาะกับวัยรุ่นอายุ 16 แน่นอน
  2. How.com.vn ไท: Cheerful Boy and Therapist Write Bedtime Ideas.png
    2
    นักบำบัดมองเด็กเป็นเพื่อนร่วมทีมหรือเป็นคู่แข่งที่ต้องเอาชนะ. การซื้อใจเด็กเป็นสิ่งสำคัญ นักบำบัดที่ดีจะปรับจูนเข้าหาเด็ก เพื่อร่วมมือประสานงานกัน ทำอะไรในมุมมองของเด็ก ไม่ใช่จ้องจะเอาชนะ จนการบำบัดกลายเป็นการทรมานกันไปทั้งเด็กและนักบำบัด[21]
    • มองว่าการบำบัดเป็นการร่วมมือหรือทำงานร่วมกัน[22][23]
    • เด็กต้องมีโอกาสแสดงความคิดเห็น ความกังวล และความต้องการของตัวเอง ซึ่งนักบำบัดที่ดีจะวางแผนการบำบัดโดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
    • นักบำบัดต้องใส่ใจคำว่า "ไม่" ของเด็ก ถ้าเด็กไม่ยอม ไม่ทำ ปฏิเสธ แล้วนักบำบัดไม่รับฟัง เด็กจะเข้าใจและจดจำว่าคำว่า "ไม่" นั้นไม่สำคัญ ถ้าคนอื่นพูดมา ไม่ต้องฟังไม่ต้องใส่ใจก็ได้[24]
    • ถ้าเป็นไปได้ การบำบัดต้องเป็นไปด้วยความสนุกสนาน คือเป็นการละเล่นที่มีประโยชน์และมีแบบแผน
  3. How.com.vn ไท: Girl Wants High Five Not Hug.png
    3
    การบำบัดต้องมีขอบเขต. เด็กต้องมีสิทธิ์ปฏิเสธ และนักบำบัดต้องรับฟัง อย่าไปบังคับ กดดัน ดุด่า ทำให้กลัว หรือขู่ว่าถ้าไม่ยอมทำจะหักคะแนนหรือเสียสิทธิ์บางอย่างไป[25]
    • ถ้าเด็กบอกว่าไม่หรือสื่อว่าตัวเองไม่พอใจ ไม่สบายใจ (จะด้วยคำพูดหรืออะไรก็ตาม) นักบำบัดต้องยอมรับและเข้าใจ
    • เด็กออทิสติก (ผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกก็ด้วย) จะมีโอกาสถูกแกล้งหรือล่วงละเมิดทางเพศมากกว่าปกติ เลยควรฝึกเรื่องการแสดงออกอย่างมั่นใจแต่ไม่ก้าวร้าวด้วย[26][27]
  4. How.com.vn ไท: Sad Man Looks Down.png
    4
    ฝึกโดยให้รางวัล. ถือเป็นการฝึกที่เห็นผล แต่ระวังอย่าเอารางวัลมาล่อตลอด[28] หรือใช้ในทางที่ผิด เช่น นักบำบัดที่ไม่เหมาะสม จะบอกให้คุณห้ามเด็กไม่ให้ทำสิ่งที่ชอบ ถ้าไม่ยอมฝึกตามแผนการบำบัดซะก่อน[29] สังเกตว่านักบำบัดห้ามหรือเอาสิ่งต่อไปนี้มาล่อให้เด็กทำการฝึกหรือเปล่า
    • อาหาร
    • ทำอะไรที่ชอบ เช่น เล่นตุ๊กตาหมีตัวโปรด หรือกิจกรรมที่สนใจ
    • ใช้วิธีว่าถ้าทำผิดจะถูกลงโทษ เช่น "ดึงความสนใจด้วยวิธีรุนแรง" หรือทำร้ายร่างกาย (เช่น ตบ ตี บีบน้ำส้มสายชูใส่ปาก บังคับให้สูดดมแอมโมเนีย หรือช็อตไฟฟ้า)[30][31][32][33]
    • ให้ไปพัก
    • ถ้าเอารางวัลมาล่อมากเกินไป ระวังเด็กออทิสติกจะกลายเป็นคนทำอะไรก็หวังผลตอบแทนหรือต้องมีอะไรแลกเปลี่ยน หนักกว่านั้นคือสูญเสียแรงกระตุ้นหรือความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง
  5. How.com.vn ไท: Autistic Girl Smiling and Finger Flicking.png
    5
    ต้องมีพักเบรคให้เด็กได้สงบหรือกระตุ้นตัวเอง. นักบำบัดที่ไม่เหมาะสมจะบังคับให้เด็กฝึกนานๆ ทั้งที่ควรพักแล้ว หรือเห็นเป็นโอกาสปราบพยศให้เด็กเชื่อฟัง แต่นักบำบัดที่ดีจะยอมให้เด็กได้พักมากเท่าที่ต้องการ[34]
    • ถ้าอัดการบำบัดมากถึง 40 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ก็ยังกับส่งเด็กไปทำงานประจำเลย ทั้งเครียดและเหนื่อย โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กเล็กๆ
    • นักบำบัดที่ดีจะสนับสนุนให้เด็กสื่อความต้องการว่าอยากพัก แล้วปล่อยให้พักทุกครั้งที่เด็กต้องการหรือนักบำบัดเห็นสมควร
  6. How.com.vn ไท: Woman Hugs Autistic Girl.png
    6
    เด็กรู้สึกปลอดภัยไหมตอนบำบัด. การบำบัดที่ดีจะทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายสบายใจ[35] ถ้าทุกครั้งที่ต้องบำบัด เด็กกรี๊ด ร้องไห้สะอื้น หรืออาละวาด ไม่อยากหรือไม่ยอมไป แสดงว่าไม่เป็นไปด้วยดี[36]
    • แต่บางทีเด็กก็แค่งอแง ไม่ได้มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้น แบบนี้ต้องพิจารณาว่าเป็นเพราะนักบำบัดหรือเปล่า และนักบำบัดจะรับมือยังไง
  7. How.com.vn ไท: Man Consoles Teen Boy.png
    7
    นักบำบัดแคร์ความรู้สึกของเด็กหรือเปล่า. การบำบัดแบบ ABA เน้นหลัก ABC คือ antecedent (ตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม) behavior (พฤติกรรม) และ consequence (ผลของพฤติกรรมนั้น) ซึ่งถือว่าได้ผลดีมาก แต่จะอันตรายถ้าประสบการณ์ภายใน (คืออารมณ์ความรู้สึกหรือความเครียด) ของเด็กไม่ได้รับการใส่ใจ[37] นักบำบัดที่ดีจะสังเกตและใส่ใจเด็ก และพยายามปรับจูน มองโลกในมุมมองของเด็ก[38]
    • นักบำบัดที่ดีจะไม่กดดันเด็ก และให้พักเมื่อเด็กต้องการ
    • นักบำบัดที่ไม่เหมาะสมจะไม่ยอมหยุดแม้จะทำเด็กกลัวหรือไม่สบายใจ ดีไม่ดีจะยิ่งบังคับหนักกว่าเดิม[39]
  8. How.com.vn ไท: Shocked Woman Sees Autistic Girl Self Injuring.png
    8
    ดูว่านักบำบัดรับมือยังไงเวลาเด็กร้องหรือไม่พอใจ. นักบำบัดที่ดีจะพยายามปลอบเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และแสดงความเป็นห่วง (หรือขอโทษ) ต่อเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นนักบำบัดที่ไม่เหมาะสม จะยิ่งกดดัน จับกดกับพื้น หรือ "เอาชนะ" เด็ก ประมาณว่ามาดูกันซิว่าใครจะเหนือกว่ากัน
    • นักบำบัดที่ดีจะมองสถานการณ์ตามจริง และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเดิมขึ้นอีก รวมถึงไม่ปล่อยผ่านเรื่องที่เด็กเสียใจหรือไม่พอใจ
    • นักบำบัดที่ไม่ได้เรื่องจะบอกว่าเด็กแค่ "อาละวาดหรือเอาแต่ใจ" มองว่าเป็นพฤติกรรมที่ต้องแก้ไขโดยใช้ไม้แข็ง
    • ถ้าปล่อยเด็กร้องไห้หรืออาละวาดไปนานๆ หลายอาทิตย์ เดือน หรือปี สุดท้ายเด็กดีๆ จะกลายเป็นก้าวร้าวใช้ความรุนแรงไป[40][41][42]
  9. How.com.vn ไท: Girl Cries as People Talk.png
    9
    ระวังการเข้ามาแทรกแซงโดยใช้กำลังหรือทำร้ายร่างกาย. นักบำบัดบางคนจะทำร้ายร่างกายหรือใช้กำลังบังคับให้เด็กออทิสติกทำตามแผนการบำบัด เช่น
    • เบี่ยงเบนความสนใจแรงๆ เช่น ฉีดพ่นน้ำส้มสายชูใส่ปาก หรือบังคับให้เด็กกินพริกหรือวาซาบิ[43]
    • คว้าตัวหรือกระชากให้ไปไหนทำอะไรโดยที่เด็กไม่ต้องการ (เช่น เอามือไปจับหรือกุมมือเด็กโดยที่เด็กไม่ต้องการ)[44]
    • ตรึงตัวเด็กไว้ให้หยุดการกระทำ (เช่น เอามือไปตบโต๊ะ จับกดกับพื้นแทนที่จะปลอบ)[45]
    • เอาไปขัง (ในห้อง "สงบสติอารมณ์" โดยที่ล็อคประตู หรือมัดตัวไว้กับเก้าอี้)
  10. How.com.vn ไท: Little Girl Hugging Toy Fish in Corner.png
    10
    สังเกตว่าเด็กไร้เหตุผลหรือน่ากลัวขึ้นไหม. ถ้าบำบัดแบบอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ เด็กจะเครียดจัดได้ จนพฤติกรรมออทิสติกเลวร้ายลงหรือใช้ความรุนแรง เช่น "ทำตัวแปลกไป" ระหว่างบำบัดหรือทำใส่นักบำบัด กระทั่งแสดงพฤติกรรมนั้นตลอดเวลา[46] เช่น[47]
    • อาละวาดบ่อยขึ้นหรือง่ายขึ้น
    • วิตกกังวลมากขึ้น ไว้ใจผู้ใหญ่น้อยลง
    • สูญเสียทักษะบางอย่าง
    • แสดงพฤติกรรมสุดโต่ง เช่น เอาแต่ใจ ก้าวร้าว ไม่มีปากมีเสียงจนผิดปกติ ซึม ปลีกตัว กระสับกระส่าย
    • พยายามฆ่าตัวตาย[48]
    • เครียดจัดหรือเป็นทุกข์ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังบำบัด[49]
    • ก้าวร้าวกว่าเดิมหรืออย่างที่ไม่เคยเป็น[50]
    • อารมณ์แปรปรวน สูญเสียทักษะ หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป[51]
    • บางทีการบำบัดอาจไม่ใช่สาเหตุ แต่ถ้านักบำบัดไม่ใส่ใจเรื่องที่เด็กพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือเครียด/กังวลเรื่องการบำบัด แสดงว่าผิดปกติแล้ว[52]
  11. How.com.vn ไท: Quiet Hands in Praxis.png
    11
    ลองคิดดูว่าถ้าคนที่ไม่ได้เป็นออทิสติกโดนทำแบบนั้นจะโอเคไหม. ไม่มีใคร "ไร้สมรรถภาพ" ซะจนจะปฏิบัติด้วยยังไงก็ได้ จะเห็นภาพกว่าถ้าเทียบการกระทำของนักบำบัดเหมือนลูกคุณไม่ได้เป็นออทิสติก ลองคิดพิจารณาดูสักนาที ว่าคุณจะโอเคกับการกระทำนั้นไหม?[53]
    • คุณจะสะกิดใจจนต้องเข้าไปขวางไหม ถ้านักบำบัดทำแบบนั้นกับน้อง ลูก หรือเพื่อนของคุณ?
    • ลองจินตนาการว่าคุณอายุเท่าลูก จะรู้สึกแย่หรืออับอายไหมถ้าโดนทำแบบนั้น?
    • ถ้าพ่อแม่ทำกับเด็กอื่นที่ไม่ใช่ออทิสติกแบบเดียวกัน คุณจะแจ้งสังคมสงเคราะห์ไหม?
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคุณและนักบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ

ส่วนนี้เอาไว้ใช้เวลาคุณพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับนักบำบัด

  1. How.com.vn ไท: Sly Woman Lies to Innocent Woman.png
    1
    อย่าไปหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง. นักบำบัดที่ไม่เหมาะสมจะไม่บอกความจริง แต่หลอกให้ความหวังลมๆ แล้งๆ หรือโฆษณาเกินจริง โดยไม่ใส่ใจปัญหาที่ควรแก้ แต่จะโทษคุณและ/หรือลูกเวลามีอะไรผิดพลาดไป เรื่องที่ควรรู้ไว้ก็เช่น
    • เด็กเป็นออทิสติกแล้วก็เป็นเลย[54] ลูกคุณ "ไม่มีทาง" เลิกแสดงอาการออทิสติก
    • เด็กออทิสติกก็มีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันไป[55] จะเหมารวมบำบัดแบบเดียวกันหมดไม่ได้ ต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะตัว
    • นักบำบัดดีๆ ก็มี ถ้าเจอนักบำบัดขี้คุย จะบำบัดรักษาให้เด็กหายขาดจากอาการออทิสติกได้เหมือน "ทำคีโมรักษามะเร็ง" หรือโจมตีการบำบัดของคนอื่น แสดงว่าน่าเป็นห่วง ร้ายกว่านั้นคือเป็นพวกหลอกลวง
    • การบำบัดแบบ ABA จะฝึกทักษะบางอย่างได้ดีเป็นพิเศษ โดยเฉพาะทักษะทางกาย เช่น การแต่งตัว หรือดึงความสนใจของคนอื่นโดยแตะไหล่ แต่เพราะเป็นการฝึกแบบเน้นป้อนข้อมูล เลยอาจใช้ฝึกทักษะการพูดหรือแยกประสาทระหว่างความคิดกับร่างกาย (เช่น ชี้บัตรคำที่ถูกต้อง) ได้ไม่ดีเท่าที่ควร[56][57]
    • เป็นออทิสติกก็มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนคนทั่วไป ถ้าลูกกลัวหรือเจ็บปวด ก็จะแสดงอาการออกมาตามนั้น
    • เป็นออทิสติกใช่ว่าจะมีชีวิตอย่างมีความสุขไม่ได้ เด็กออทิสติกก็โตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขและช่วยตัวเองได้
  2. How.com.vn ไท: Negative Man Speaks Badly of Autism.png
    2
    สังเกตว่านักบำบัดมองภาวะออทิสติกและลูกคุณยังไง. ถึงลูกจะไม่พูดและไม่ตอบสนอง แต่ก็เข้าใจคำพูดหรือรู้ว่านักบำบัดรู้สึกยังไงกับตัวเอง ถ้าพูดหรือทำอะไรแย่ๆ เด็กจะเสียใจและเสียความมั่นใจได้ อาจจะฝังใจไปเลยว่านักบำบัดเกลียดหรือจงใจทำไม่ดีด้วย ทัศนคติที่บอกว่าเป็นนักบำบัดที่น่ากลัวก็คือ
    • มองว่าเศร้าจังที่เด็กเกิดมาเป็นออทิสติก หรือมองเป็นภาระหนัก ทำลายชีวิตพ่อแม่ และอื่นๆ
    • เรียกลูกคุณว่าเป็นเด็กเอาแต่ใจ "จอมบงการ" หรือมีปัญหาในการบำบัดทีไรก็โทษลูกคุณหมด[58]
    • สนับสนุนให้คุณทำโทษลูกแรงๆ[59]
  3. How.com.vn ไท: Closed Door.png
    3
    นักบำบัดยอมให้คุณเข้าร่วมสังเกตการณ์ไหม. ถ้าเคยทำร้ายเด็ก (จะทางร่างกายหรือจิตใจก็แล้วแต่) นักบำบัดจะไม่ค่อยสะดวกใจให้คุณรับชม
    • นักบำบัดอาจจะบอกว่าคุณอยู่แล้วลูกจะไขว้เขวเปล่าๆ หรือมารบกวนการบำบัด ซึ่งฟังดูไม่ชอบมาพากล[60][61]
    • ถ้าไม่ให้เข้าร่วม แต่จะรายงานผลมาทีหลัง เป็นไปได้ว่านักบำบัดอาจบิดเบือนความเป็นจริงหรือไม่ยอมเปิดเผยปัญหาที่แท้จริงกับคุณ
  4. How.com.vn ไท: Woman Listens to Man.png
    4
    นักบำบัดรับฟังและใส่ใจเรื่องที่คุณกังวลไหม. ในฐานะพ่อแม่ ผู้ดูแล หรือคนที่รักและเข้าใจลูกที่สุด ความกังวลของคุณสำคัญเสมอ แม้จะแค่สังหรณ์ใจก็ตาม[62][63] ถ้าอะไรที่ไม่สมควรหรือไม่เหมาะกับลูก ก็บอกไปตามจริง ถ้าเป็นนักบำบัดที่ดีจะยอมรับฟังทุกปัญหาและเรื่องกังวล แล้วนำไปใช้ในการบำบัดต่อไป แต่ถ้าเป็นนักบำบัดที่ไม่เหมาะสม จะออกปากปกป้องว่าการบำบัดของตัวเองถูกต้องและดีแล้ว จะยกตนข่มท่านในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือมองว่าปัญหาของคุณไร้สาระ
    • นักบำบัดที่ไม่เหมาะสมจะบอกว่าคุณคิดหรือกังวลไปเองทั้งที่ไม่มีอะไร ซึ่งอันตรายมาก ถึงเขาจะมีความรู้และประสบการณ์ แต่ไม่ได้แปลว่าความเห็นหรือความรู้สึกของคุณไม่สำคัญ
    • ถ้าคุณยืนกรานไม่เห็นด้วย นักบำบัดแย่ๆ จะพยายามลากพวกมากมาข่ม
  5. How.com.vn ไท: Woman and Autistic Girl Leave Angry Man.png
    5
    เชื่อสัญชาตญาณตัวเอง. ถ้าคุณตะหงิดๆ ว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล ก็อย่าปล่อยผ่าน คุณเปลี่ยนนักบำบัดได้เสมอ แถมไม่ได้มีแค่การบำบัดแบบ ABA ด้วย ต้องคิดเยอะและเลือกมากหน่อยเพื่อความสุขของลูก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผลการบำบัดในแต่ละเคสนั้นแตกต่างกันไป บางคนก็เห็นผลดีเป็นพิเศษ บางคนก็ไม่เห็นผลเลย ถ้าสุดท้ายคุณเลิกพาลูกไปบำบัดแบบ ABA ก็ไม่ได้แปลว่าคุณเป็นพ่อแม่หรือผู้ดูแลที่ไม่ดี ถ้ากังวลเรื่องไหน หรือตัดสินใจยังไง ก็ขอให้ทำไปตามนั้น
  • เด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกบางคนจะร้องไห้ตลอด โดยเฉพาะคนที่ยังสื่อสารไม่ค่อยได้หรือมีปัญหาวิตกกังวลหรือซึมเศร้า เพราะงั้นถ้าบำบัดแล้วอยู่ๆ ร้องไห้ออกมาก็ไม่ได้แปลว่าอันตรายหรือผิดปกติเสมอไป เว้นแต่ลูกจะร้องไห้ เยอะผิดปกติ ก็ต้องหาสาเหตุกันต่อไป (บางทีพอชวนคุยเรื่องความรู้สึกหรือปัญหาก็พาน้ำตาแตกได้ เพราะงั้นถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดก็อย่าเพิ่งรีบตีโพยตีพาย)
  • ผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกส่วนใหญ่จะเคยบำบัดแบบ ABA มาแล้ว ไม่ว่าเห็นผลหรือไม่ก็ตาม ลองถามความเห็นหรือฟังเขาเล่าประสบการณ์ดู ว่าอะไรที่ดี อะไรที่ไม่ค่อยได้ผล
  • นักบำบัดแย่ๆ บางคนก็ตีหน้าซื่อซะเนียน คุณไม่เห็นธาตุแท้แต่แรกก็ไม่แปลก อย่าโทษว่าเป็นความผิดตัวเอง
โฆษณา
  1. http://smallbutkindamighty.com/2013/10/27/autism-and-aac-five-things-i-wish-i-had-known/
  2. http://stimmyabby.tumblr.com/post/93506124680/aba-teaches-kids-how-not-to-communicate (More relaxed versions of ABA may look different from this; watch some sessions if you're unsure)
  3. http://emmashopebook.com/2013/03/07/presume-competence-what-does-that-mean-exactly/
  4. http://themighty.com/2015/04/i-have-nonverbal-autism-heres-what-i-want-you-to-know/
  5. http://unstrangemind.com/what-does-helpful-vs-harmful-therapy-look-like/
  6. http://idoinautismland.com/?p=269
  7. http://autismwomensnetwork.org/my-uncooperative-body/
  8. http://idoinautismland.com/?p=4
  9. https://sociallyanxiousadvocate.wordpress.com/2015/05/22/why-i-left-aba/
  10. http://www.thinkinclusive.us/on-aba-and-rethinking-effective-behavioral-interventions/
  11. http://loveexplosions.net/2013/09/15/touch-nose-gummi-bear-what-is-aba-and-why-does-it-suck/
  12. http://unstrangemind.com/what-does-helpful-vs-harmful-therapy-look-like/
  13. http://www.thinkingautismguide.com/2014/10/dr-jonine-biesman-avoiding-crises.html
  14. http://loveexplosions.net/2013/01/30/the-cost-of-compliance-is-unreasonable/
  15. http://www.thinkinclusive.us/aba-and-the-thorny-problem-of-control-and-consent/
  16. http://loveexplosions.net/2013/01/30/the-cost-of-compliance-is-unreasonable/
  17. http://loveacceptautistics.tumblr.com/post/99314703726/compliance-based-therapies-such-as-aba-leave
  18. http://www.thinkinclusive.us/aba-and-the-thorny-problem-of-control-and-consent/
  19. http://www.motherjones.com/politics/2015/05/schools-behavior-discipline-collaborative-proactive-solutions-ross-greene
  20. https://www.facebook.com/notes/amythest-schaber/then-we-did-it-again-and-again-and-again/1632106577053627
  21. https://tash.org/advocacy-issues/human-rights/
  22. http://www.autcom.org/articles/Aversives.html
  23. http://neurodiversity.com/aversives.html
  24. http://ink-and-daggers.tumblr.com/post/112076858794/im-sorry-but-thats-not-earning-your-token
  25. http://unstrangemind.com/aba/
  26. http://www.thinkinclusive.us/on-aba-and-rethinking-effective-behavioral-interventions/
  27. https://sociallyanxiousadvocate.wordpress.com/2015/05/22/why-i-left-aba/
  28. http://www.thinkinclusive.us/on-aba-and-rethinking-effective-behavioral-interventions/
  29. http://adiaryofamom.com/2013/11/22/perspective/
  30. http://unstrangemind.com/what-does-helpful-vs-harmful-therapy-look-like/
  31. http://unstrangemind.com/what-does-helpful-vs-harmful-therapy-look-like/
  32. http://www.thinkinclusive.us/aba-and-the-thorny-problem-of-control-and-consent/
  33. http://autisticadvocacy.tumblr.com/post/86028534951/we-are-like-your-child-a-checklist-for
  34. http://ink-and-daggers.tumblr.com/post/112076858794/im-sorry-but-thats-not-earning-your-token
  35. http://unstrangemind.com/aba/
  36. http://stophurtingkids.com/2014/03/20/no-harm-done-think-again/
  37. http://loveexplosions.net/2013/09/13/touch-nose-gummi-bear-aba-in-our-family/
  38. http://emmashopebook.com/2012/10/10/tackling-that-troublesome-issue-of-aba-and-ethics/
  39. http://ink-and-daggers.tumblr.com/post/125936427334/my-name-is-christine-and-i-work-with-children-with
  40. http://www.thevisibleparent.com/389-2/
  41. http://unstrangemind.com/what-does-helpful-vs-harmful-therapy-look-like/
  42. https://restlesshands42.wordpress.com/2014/11/12/breaking-down-aba-again-part-1-ethics-standards-and-side-effects/
  43. http://www.astraeasweb.net/politics/aba.html
  44. http://www.speakforyourself.org/2014/02/22/accept-behavior-towards-non-autistic-child/
  45. http://www.autism.org.uk/about-autism/introduction/what-is-autism.aspx
  46. https://spectrumnews.org/features/deep-dive/genetics-first-a-fresh-take-on-autisms-diversity/
  47. https://restlesshands42.wordpress.com/2014/11/06/breaking-down-aba/
  48. http://stimmyabby.tumblr.com/post/93506124680/aba-teaches-kids-how-not-to-communicate
  49. http://emmashopebook.com/2012/10/10/tackling-that-troublesome-issue-of-aba-and-ethics/
  50. https://www.childwelfare.gov/pubpdfs/whatiscan.pdf
  51. http://www.astraeasweb.net/politics/aba.html
  52. http://emmashopebook.com/2012/03/09/grappling-with-the-right-thing-to-do/
  53. http://adiaryofamom.com/2013/09/20/the-mama-gut/
  54. http://emmashopebook.com/2012/10/10/tackling-that-troublesome-issue-of-aba-and-ethics/
  55. The Misbehaviour of Behaviourists (บทความโดย Michelle Dawson)
  56. Neurowonderful: The basics of ABA and good therapy
  57. Ask an Autistic: Compliance Training (วีดีโอมีบทบรรยายภาษาอังกฤษ)
  58. On Autism: Whom to Trust, and Whom to Avoid Like the Plague (เกี่ยวกับองค์กรและพฤติกรรมต้มตุ๋นหลอกลวง)
  59. http://loveexplosions.net/resources-compliance-aba-social-skills-indistinguishability-whole-body-listening/ (รายชื่อแหล่งข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติม)
  60. http://emmashopebook.com/2014/07/24/alone-frightened-worried/
  61. Love Explosions: Caregiver Burnout เคล็ดลับดีมีประโยชน์

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ นักเขียนที่อาสาสมัครมาได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 2,219 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,219 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา