วิธีการ แก้เจ็บคอหลังอาเจียน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

นอกจากความรู้สึกพูดไม่ออกบอกไม่ถูกแล้ว เวลาอ้วกเสร็จก็จะตามมาด้วยอาการเจ็บคอพักใหญ่ด้วย ซึ่งก็ไม่ต้องอดทนรอให้หายไปเองแต่อย่างใด เพราะมีหลายวิธีใช้แก้เจ็บคอหลังอาเจียนได้อย่างเห็นผลและรวดเร็ว ทั้งเคล็ดลับง่ายๆ การซื้อยามากินเอง และการใช้สมุนไพร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

แก้เจ็บคอด้วยวิธีง่ายๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดื่มน้ำหรืออะไรที่ใสๆ.
    หลังอาเจียนถ้าดื่มน้ำตามนิดหน่อย ก็จะช่วยให้สบายคอขึ้นได้ รวมถึงป้องกันการขาดน้ำด้วย น้ำจะช่วยกำจัดกรดเกินในกระเพาะที่ล้นขึ้นมาเคลือบผนังคอตอนคุณอ้วก
    • ถ้ายังปวด ไม่สบายท้อง ให้ดื่มน้ำช้าๆ และอย่าดื่มมากไป เพราะบางกรณีถ้าน้ำเต็มกระเพาะ หรือดื่มน้ำเร็วไป จะกระตุ้นให้อ้วกซ้ำได้ เน้นจิบไปทีละนิดตอนที่รู้สึกเจ็บคอจะดีกว่า
    • หรือดื่มน้ำแอปเปิ้ลไม่ก็น้ำใสๆ อื่นๆ ทีละนิดแทน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ.
    ถ้าน้ำเปล่าไม่ช่วยให้หายเจ็บคอ ก็ต้องลองดื่มอะไรอุ่นๆ เช่น ชาหรือน้ำสมุนไพร เพราะอุณหภูมิอุ่นๆ ของเครื่องดื่มอย่างชา จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ถ้าค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเลือกชาสมุนไพร โดยเฉพาะถ้าตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ หรือเป็นเบาหวานและโรคหัวใจ[1]
    • น้ำขิงก็ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ที่ไม่ยอมหายได้ รวมถึงแก้เจ็บคอ แต่ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดื่ม[2] หรือเปลี่ยนเป็นชาเปปเปอร์มินต์แทน เพราะช่วยให้ชา หายระคายคอ แต่ก็ต้องระวังว่าอย่าดื่มชาเปปเปอร์มินต์ถ้าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD) และห้ามให้เด็กเล็กๆ ดื่มเช่นกัน
    • ระวังอย่าให้เครื่องดื่มนั้นร้อนเกินไป ถ้าเครื่องดื่มร้อนจัดจะทำให้เจ็บ แสบ หรือระคายเคืองคอมากกว่าเดิม
    • ลองผสมน้ำผึ้งลงไปในเครื่องดื่มอุ่นๆ เพราะนอกจากชาแล้ว น้ำผึ้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ดี[3] แต่ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนกินน้ำผึ้ง เพราะเสี่ยงเกิดโรคโบทูลิซึมในทารก (infant botulism)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ.
    น้ำเกลืออุ่นๆ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหลังอาเจียนได้ หลักการก็คือน้ำเกลือจะไปลดบวม ช่วยบรรเทาอาการ[4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กินอาหารอ่อน.
    ถ้าเจ็บคอหลังอาเจียนแต่หิวน่าดู ให้กินอาหารอ่อนหรืออะไรนิ่มๆ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอและให้กระเพาะไม่ว่าง อาหารที่ไม่หยาบหรือมีอะไรแข็งๆ ผสมอยู่จะดีกว่า เพราะกลืนง่ายแม้เจ็บคอ แถมบรรเทาอาการระคายคอจากกรดในกระเพาด้วย
    • ให้กินอาหารอย่างเยลลี่ หวานเย็น หรือกล้วยทีละน้อย เพราะนิ่มหน่อย ช่วยลดอาการเจ็บคอได้[6]
    • หลังอาเจียนแล้วจะกินอะไรต้องระวัง โดยเฉพาะถ้ายังคลื่นไส้อยู่ เพราะถ้ากินเยอะแล้วจะกระตุ้นให้อ้วกเพิ่มได้ นอกจากนี้ถึงจะอยากกินอะไรเย็นๆ เนียนๆ อย่างโยเกิร์ตหรือไอศครีม ก็ต้องงดผลิตภัณฑ์นมไปก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่าหายอาเจียนแล้วจริงๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ซื้อยากินเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้สเปรย์แก้เจ็บคอ.
    สเปรย์แก้เจ็บคอจะมียาชาเฉพาะที่ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ชั่วคราว แต่ก็ต้องอ่านวิธีใช้งานที่ฉลากให้ละเอียด ว่าต้องฉีดกี่ครั้ง และบ่อยแค่ไหน[7]
    • สเปรย์พวกนี้มีขายตามร้านขายยาทั่วไป รวมถึงร้านขายยาในห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินยาอมแก้เจ็บคอ.
    ก็เหมือนสเปรย์แก้เจ็บคอ เม็ดอมหรือยาอมพวกนี้จะมียาชาเฉพาะที่ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ โดยมีหลายรสชาติให้เลือกซื้อ มีขายตามร้านขายยาทั่วไป กระทั่งในซูเปอร์และ 7-11[8]
    • ถึงจะเหมือนลูกอม แต่ก็เช่นเดียวกับยาอื่นๆ คือต้องอ่านคำแนะนำที่ฉลากว่ากินได้บ่อยแค่ไหน
    • ยาชาเฉพาะที่ไม่ได้แก้เจ็บคอแบบถาวร ใช้บรรเทาอาการได้ชั่วคราวเท่านั้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินยาแก้ปวด.
    คุณซื้อยากินเองเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ ได้ รวมถึงอาการเจ็บคอหลังอาเจียน แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าเลิกคลื่นไส้และอาเจียนแล้ว ถึงกินยาแก้ปวดได้ เพราะระคายกระเพาะได้จนอาจเกิดอาการซ้ำ
    • ยาแก้ปวดที่ใช้แก้เจ็บคอหลังอาเจียนได้ก็เช่น อะเซตามิโนเฟน ไอบูโพรเฟน และแอสไพริน[9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษาคุณหมอก่อน.
    ถึงปกติคนทั่วไปจะใช้สมุนไพรได้ปลอดภัยดี แต่ก็อย่าเพิ่งรีบด่วนสรุปว่าอะไรที่มาจากธรรมชาติจะปลอดภัยหรือเหมาะสมกับคุณเสมอไป บางทีสมุนไพรก็ไปทำปฏิกิริยากับยาบางตัว ซึ่งอาจทำให้โรคประจำตัวแย่ลงได้ และสมุนไพรบางทีก็ไม่ปลอดภัยกับคนบางกลุ่ม เช่น เด็ก หญิงมีครรภ์ และผู้สูงอายุ ยังไงต้องระวังไว้ก่อน และปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้สมุนไพรใดๆ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กลั้วคอด้วยรากชะเอมเทศ.
    ให้เคี่ยว licorice root หรือรากชะเอมเทศใช้ทำน้ำกลั้วคอเพื่อบรรเทาอาการ เพราะเขาวิจัยกันมาแล้วว่าช่วยแก้คอแห้ง เจ็บคอ หลังการวางยาสลบได้ เพราะงั้นก็น่าจะแก้เจ็บคอหลังอาเจียนได้เช่นกัน[10]
    • มียาบางตัวที่ทำปฏิกิริยากับชะเอมเทศ เพราะงั้นต้องปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ โดยเฉพาะถ้ากินยารักษาโรคประจำตัวอยู่ เช่น ความดันสูง โรคไต โรคตับ หรือโรคหัวใจ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มชารากต้นมาร์ชแมลโลว์.
    ชา marshmallow root นั้นไม่ใช่ชาใส่มาร์ชแมลโลว์ที่เป็นขนมแต่อย่างใด แต่เป็นชาจากรากต้นไม้ที่มีสรรพคุณทางยา เช่น บรรเทาอาการเจ็บคอได้
    • ชารากต้นมาร์ชแมลโลว์ปกติมีขายตามร้านขายอาหารสุขภาพและในเน็ต
    • รากต้นมาร์ชแมลโลว์ช่วยบรรเทาอาการระคายกระเพาะได้ด้วย หรืออาจแก้สาเหตุที่ทำให้อาเจียนได้ รวมถึงอาการเจ็บคอหลังอาเจียน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กิน slippery elm.
    ตัวยาจากต้น slippery elm จะไปเคลือบคอเหมือนเจล ช่วยแก้เจ็บคอได้ ปกติมีทั้งแบบผงและเม็ดอม ถ้าได้แบบผงมาให้เอาไปละลายในน้ำร้อนแล้วดื่ม[11]
    • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ ห้ามกินอะไรก็ตามที่ทำจาก slippery elm
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ.
    ถึงปกติอาเจียนแล้วมักจะดีขึ้นและหายคลื่นไส้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีบางกรณีที่ควรไปตรวจรักษากับคุณหมอต่อไป เพราะถึงเป็นไข้หวัดไม่รุนแรง แต่ถ้าขาดน้ำนานๆ ก็กลายเป็นอันตรายร้ายแรงได้ ให้ไปหาหมอถ้าคุณหรือลูกมีอาการต่อไปนี้[12][13]
    • ดื่มน้ำหรือกินอาหารแล้วอาเจียนเรื่อยๆ
    • อาเจียนมากกว่า 3 ครั้งใน 1 วัน
    • บาดเจ็บที่หัวก่อนจะเริ่มอาเจียน
    • ไม่ได้ฉี่มา 6 - 8 ชั่วโมง
    • ถ้าเป็นเด็กอายุไม่ถึง 6 ขวบ: อาเจียนต่อเนื่องเกิน 2 - 3 ชั่วโมง ท้องเสีย มีอาการขาดน้ำ มีไข้ หรือไม่ได้ฉี่มา 4 - 6 ชั่วโมง
    • ถ้าเป็นเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป: อาเจียนอย่างเดียวต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง ท้องเสียและอาเจียนต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง มีอาการขาดน้ำ มีไข้สูงเกิน 38°C (101°F) หรือไม่ได้ฉี่มานานเกิน 6 ชั่วโมง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เมื่อไหร่ควรไปแผนกฉุกเฉิน.
    บางกรณี คุณหรือลูกอาจต้องได้รับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้โทรเรียกศูนย์ช่วยเหลือหรือรถพยาบาลทันที[14]
    • อาเจียนมีเลือดปน (สีแดงสดหรือสีเข้มเหมือนกากกาแฟ)
    • ปวดหัวรุนแรง หรือคอแข็ง
    • เฉื่อยชา สับสนมึนงง ไม่ค่อยตื่นตัว หรือการตอบสนองช้าลง
    • ปวดท้องรุนแรง
    • หายใจหอบถี่ ใจเต้นเร็ว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Andrea Rudominer, MD, MPH
ร่วมเขียน โดย:
กุมารแพทย์และแพทย์ทางการรักษาแบบผสมผสาน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Andrea Rudominer, MD, MPH. ดร.แอนเดรีย รูโดมิเนอร์เป็นกุมารแพทย์และแพทย์ทางการรักษาแบบผสมผสานในซานฟรานซิสโก เธอมีประสบการณ์กว่า 15 ปีโดยเชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพแบบป้องกัน การดูแลวัยรุ่น โรคอ้วน เธอจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเดวิสและผ่านการเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลเด็กลูซิล แพ็กการ์ดที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด บทความนี้ถูกเข้าชม 34,335 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 34,335 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา