วิธีการ รักษาอาการเข่าลั่นเพราะข้อเสื่อม

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

"เข่า" ของคนเราประกอบด้วยกระดูก 3 ท่อนด้วยกัน คือกระดูกต้นขา (femur), กระดูกแข้ง (tibia) แล้วก็กระดูกสะบ้า (patella) หรือสะบ้าหัวเข่า (knee cap) โดยมีโครงสร้างนุ่มๆ คั่นกลางเรียกว่ากระดูกอ่อน (cartilage) ทำหน้าที่เป็นหมอนรอง[1] ถ้าเกิดเป็นโรคอย่าง osteoarthritis หรือข้อเสื่อมขึ้นมา กระดูกอ่อนที่คอยปกป้องจะเสื่อมลง ทำให้กระดูกแต่ละท่อนบดเบียดเสียดสีกันเอง จนเกิดเสียงดังกรอบแกรบที่เรียกว่า crepitus หรืออาการเข่าลั่น ซึ่งจะมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย บทความนี้จะแนะนำคุณเองว่าต้องทำยังไงถึงจะป้องกันและดูแลอาการเข่าลั่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาอาการเข่าลั่นเพราะข้อเสื่อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้จักอาการข้อเสื่อม.
    [2] ปกติเวลายืดเส้นหรือบิดขี้เกียจ เข่าคุณก็ลั่น มีเสียง "ตามปกติ" ซึ่งจะไม่เจ็บปวดอะไร แต่ถ้าเป็นอาการเข่าลั่นจากโรคข้ออักเสบ คุณจะเจ็บน่าดู ข้างล่างนี่คือหลายวิธีที่ใช้สังเกตว่าคุณเป็นโรคข้อเสื่อมหรือเปล่า[3]
    • เข่าปวด บวม แดง หรือขาแข็งเวลาเดินหรือเปล่า โดยเข่าลั่นจากข้ออักเสบมักเกิดที่เข่าด้านใน
    • จับให้รู้สึกเวลาเข่าลั่น โดยเอามือข้างหนึ่งวางบนเข่า แล้วลองยืดขางอขาดู คุณจะรู้สึกได้ว่ามีอะไรกรอบแกรบแบบทึบๆ [4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลดบวมเฉพาะจุด.
    ถ้าเข่าลั่นแล้วเจ็บด้วย หรือท่าทางจะอักเสบ ให้ใช้ถุงน้ำแข็ง (ห่อด้วยผ้า) มาประคบเย็นตรงจุดนั้น จะช่วยลดบวมตรงจุดที่อักเสบได้ รวมถึงคลายปวดด้วย
    • อนุโลมให้กินยายาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ หรือ NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs) ที่มีขายตามร้านขายยาได้แต่ในปริมาณน้อยๆ เช่น Advil (Ibuprofen) หรือ Naproxen (Aleve) เพราะช่วยบรรเทาปวดทันใจ แต่ห้ามกินติดต่อกันนานๆ เด็ดขาด เพราะอันตรายต่อไตกับระบบทางเดินอาหาร
    • ข้อดีของยา NSAIDs (ที่เป็นยาแก้อักเสบ) คือไม่ใช่แค่บรรเทาปวดแต่ยังลดการอักเสบด้วย
    • คุณอาจกินยา NSAID ร่วมกับยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไป เช่น Tylenol (Acetaminophen) ถึงจะไม่ลดการอักเสบ แต่ช่วยแก้ปวดได้แน่นอน แถม 2 ตัวยานี้ (NSAID กับ Tylenol) ถ้ากินคู่กันจะเห็นผลแบบทันใจ ช่วยให้คุณทำกิจวัตรประจำวันได้แบบลืมปวดไปเลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินยาแก้อักเสบตามหมอสั่ง.
    ยา NSAIDs ที่คุณหมอนิยมจ่ายให้ก็เช่น Indocin, Daypro, Relafen และอื่นๆ [5] ยาแก้อักเสบที่คุณหมอจ่ายให้จะแรงกว่าตามร้านขายยา เลยทำให้แก้อักเสบลดปวดจากอาการเข่าลั่นได้เห็นผลกว่ามาก แต่เพราะออกฤทธิ์แรงกว่าถึงต้องให้คุณหมอเป็นคนจ่ายให้เท่านั้น หรือก็คือคุณต้องไปตรวจอาการเข่าลั่นกับคุณหมอซะก่อน
    • ยา NSAIDs ที่คุณหมอจ่ายให้อาจมีผลข้างเคียงบางประการ แต่ที่พบบ่อยคือปวดท้องระคายเคืองกระเพาะ ถ้าหนักหน่อย (หรือในกรณีที่กินเกินขนาด) อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (stomach ulcers) หรือไตเสียหายได้[6] เพราะฉะนั้นต้องกินยาตามที่คุณหมอสั่งเท่านั้น ห้ามเพิ่มปริมาณเองเด็ดขาด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ฉีด cortisone.
    Cortisone เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่ร่างกายผลิตตามธรรมชาติเวลาเครียด (หมายเหตุ: คนละสเตียรอยด์กับที่นักกีฬาหรือนักเพาะกายชอบ (แอบ) ใช้) โดยจะไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดอาการอักเสบได้ดีมาก เวลาที่คุณเข่าลั่นแล้วปวดร่วมด้วย คุณหมออาจพิจารณาฉีด cortisone เข้าที่ข้อเข่าคุณโดยตรง เพื่อแก้อักเสบลดปวด
    • มีการวิจัยแล้วว่าการฉีด cortisone ช่วยรักษาอาการเข่าลั่นที่ "กำเริบ" เป็นระยะ แต่ถ้าฉีดซ้ำเข้าข้อบ่อยๆ ก็อาจทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมได้ จนปวดเพราะเข่าลั่นกว่าเดิม เพราะเหตุนี้การฉีด cortisone จึงไม่ค่อยเหมาะจะใช้รักษาในระยะยาว[7]
    • ไม่แนะนำให้ฉีด cortisone มากกว่า 3 เดือนครั้ง แต่ถ้าทิ้งระยะห่างเหมาะสมแล้วก็สามารถฉีดได้นานเท่าที่ยังรักษาได้ผล ซึ่งบางเคสอาจกินเวลาหลายปี
  5. Step 5 รักษาด้วยวิธี "viscosupplementation".
    ปกติในข้อเข่าของเราจะมี "น้ำไขข้อ (synovial fluid)" ไว้หล่อลื่น ประคองข้อให้เคลื่อนไหวได้อย่างที่ควรจะเป็น แต่คนที่เป็นโรคข้อเสื่อมบางคน จะมีน้ำไขข้อที่ "เจือจาง" หรือก็คือไม่เหนียวข้นเหมือนเดิม ทำให้กระดูกเสียดสีกันมากเกินไปและขยับข้อไม่ได้ตามปกติ เคสแบบนี้คุณหมอจะแนะนำให้ทำ "viscosupplementation" หรือก็คือการฉีดสารใหม่เข้าไปในข้อเข่าเพื่อหล่อลื่นและเสริมสร้างความแข็งแรงให้ข้อเข่า
    • ปกติวิธีนี้จะแบ่งออกเป็นการฉีดยา 3 - 5 ครั้ง ภายในหลายอาทิตย์
    • โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี "viscosupplementation" นั้นมีอาการดีขึ้น[8]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใส่อุปกรณ์พยุงข้อเข่า (knee brace).
    ถ้าข้อเข่าคุณอักเสบ คุณหมออาจรักษาโดยให้ใส่อุปกรณ์พิเศษสำหรับพยุงข้อเข่าโดยเฉพาะ อุปกรณ์นี้ช่วยแบ่งเบาน้ำหนักกดทับที่เข่าด้านใน อันเป็นจุดที่มักเกิดอาการเข่าลั่น[9] Knee braces หรืออุปกรณ์พยุงข้อเข่านั้นยังช่วยรองรับและพยุงข้อเข่าของคุณไว้ ทำให้งอเข่าได้ไม่เจ็บ และป้องกันไม่ให้บาดเจ็บหรือระคายเคืองกว่าเดิม
    • ปกติอุปกรณ์แบบนี้ก็มีขายตามร้านขายยาทั่วไปในราคาที่ถูกกว่า แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ได้จากคุณหมอโดยตรงจะมีการวัดขนาดให้พอดีกับข้อเข่าของคุณโดยเฉพาะ ถึงจะราคาแพงหน่อยแต่คุณภาพสมราคาแน่นอน ถ้าคุณสนใจก็สอบถามรายละเอียดกับคุณหมอได้เลย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ปรึกษาคุณหมอเรื่องการผ่าตัด.
    ถ้าคุณมีอาการเข่าลั่นแบบรุนแรงเพราะข้ออักเสบ ก็อาจต้องพิจารณาผ่าตัด ถ้าอาการปวดเข่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างร้ายแรง แถมรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้คุณลองปรึกษาคุณหมอเรื่องเข้ารับการผ่าตัดดู
    • การผ่าตัดเข่ามีหลายประเภทด้วยกัน แล้วแต่คุณหมอจะเห็นสมควร แต่ที่นิยมกันก็มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total knee replacement), ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน (partial knee replacement), ผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน (cartilage repair), การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (knee arthroscopy) และการผ่าตัดดัดเข่า (knee osteotomy)[10]
    • แต่ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการผ่าตัดที่ได้ผลกับคนอื่น บางทีอาจไม่ได้ผลกับคุณ โรคข้ออักเสบน่ะรักษาง่ายซะที่ไหน ให้คุณลองปรึกษาพิจารณาทุกวิธีที่เป็นไปได้กับคุณหมอก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลป้องกันไม่ให้อาการเข่าลั่นทรุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ต้องเริ่มจากการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อน.
    คุณปวดเข่าได้เพราะหลายสาเหตุ เช่น ข้อเสื่อม (เหมือนศัพท์วิศวกรรมที่เรียกว่า "wear and tear" คือข้อเข่า "สึกหรอ" เพราะใช้งานมานาน ซึ่งเป็นสาเหตุยอดนิยม), ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ rheumatoid arthritis (จากปัญหาภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง), ข้ออักเสบติดเชื้อ (infectious arthritis), อาการบาดเจ็บเดิมที่ข้อเข่า หรือสะบ้าเสื่อม (patellar dysfunction) เป็นต้น[11] สำคัญมากว่าคุณต้องรีบหาหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยให้ถูกต้อง เพราะต้องรู้ซะก่อนว่าเข่าคุณผิดปกติยังไง ถึงจะวางแผนรักษาได้ถูกต้องเหมาะสมที่สุด
    • เช่นเดียวกัน สมมุติว่าคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคข้อเสื่อม แต่ปรากฏว่ารักษาแล้วไม่ดีขึ้น ให้คุณรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติมทันที[12]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คุมน้ำหนักหน่อย.
    ถ้าน้ำหนักคุณเพิ่มขึ้นมา 1 กิโลกรัม ก็เท่ากับมีแรงกดเพิ่มเข้ามาที่ข้อเข่าอีก 6 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นคนอ้วนจะมีสิทธิ์เป็นโรคข้ออักเสบมากกว่าคนที่น้ำหนักตัวตรงตามเกณฑ์[13] ถ้าไม่อยากปวดเข่าตอนแก่ (หรืออยากบรรเทาอาการที่เป็นอยู่) ให้พยายามคุมน้ำหนัก หลักๆ ก็คือควบคุมอาหาร (ถ้าเจ็บเข่าอยู่แล้วอาจต้องจำกัดเรื่องการออกกำลังกาย)
    • คนที่เป็นโรคข้ออักเสบนั้นไม่ควรกินอาหารทอดๆ หรืออาหารแปรรูป รวมถึงน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตขัดสี เกลือ อาหารที่มีสารกันบูด แล้วก็น้ำมันข้าวโพด เพราะเหล่านี้จะทำให้ข้ออักเสบกว่าเดิม ไม่ก็ไปทำให้คุณอ้วนขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ออกกำลังกาย.
    กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อทำหน้าที่เป็นกันชนซับแรงกระแทก ช่วยรองรับและพยุงข้อเวลาคุณใช้งานหนักๆ (อย่างตอนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย) รวมถึงตอนคุณทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ยิ่งกล้ามเนื้อแข็งแรงเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยดูดซับแรงกดได้มากขึ้นเท่านั้น คุณป้องกันไม่ให้เกิดอาการเข่าลั่น (หรือบรรเทาถ้าเป็นอยู่) ได้โดยค่อยๆ สร้างเสริมกล้ามเนื้อรอบข้อด้วยการยกเวท
    • การออกกำลังกายที่เหมาะมากสำหรับอาการเข่าลั่นหรือ crepitus ก็คือการบริหารต้นขาด้านใน (thigh contraction) เพราะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรงขึ้น ให้คุณม้วนผ้าขนหนูเป็นแท่งแล้วสอดใต้เข่า จากนั้นให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาด้านในค้างไว้ 5 วินาที เสร็จแล้วคลายออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง
    • การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (Isometric exercises) อย่างการเหยียดขาตรงแล้วยกขึ้น (เข่าตึง) ฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา หรือหันหลังพิงผนังแล้วย่อตัว ช่วยให้ข้อแข็งแรงโดยไม่ต้องเคลื่อนไหวมากจนกระทบกระเทือน (ไม่งั้นอาจเจ็บหรืออักเสบกว่าเดิมได้)
    • cardio แบบเบาๆ อย่างปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ (แนะนำให้ออกอย่างน้อย 3 ครั้งต่ออาทิตย์) เพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ต้นขาด้านในและน่อง คาร์ดิโอช่วยลดน้ำหนักแถมยังลดปวดจากอาการเข่าลั่นด้วย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ประคบร้อนเย็นสลับกัน.
    [14] ทั้งการประคบร้อนประคบเย็นช่วยลดปวดจากอาการเข่าลั่นได้ ให้คุณลองประคบทั้งร้อนและเย็น และสังเกตดูว่าอันไหนได้ผลกว่ากัน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้อาหารเสริมได้แต่ต้องระวัง.
    คนที่เป็นโรคข้ออักเสบบางคนก็กินอาหารเสริม อย่าง glucosamine sulfate กับ chondroitin sulfate เพื่อรักษาและป้องกันอาการเข่าลั่นเหมือนกัน[15] แต่ขนาดในอเมริกา อาหารเสริมเหล่านี้ก็ ไม่ถูกรับรอง โดย FDA หรืออย. ของอเมริกา แถมยังไม่มีงานวิจัยมารองรับว่าได้ผลจริงหรือเปล่า นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมีข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงหากใช้เป็นเวลานานๆ ด้วย เรียกได้ว่ายังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยทางการแพทย์อยู่ ว่าอาหารเสริมพวกนี้ใช้แทนยาได้จริงไหม เพราะฉะนั้นให้คุณลองปรึกษาคุณหมอดูก่อน หรือสอบถามคน (ที่น่าเชื่อถือ) ที่เคยใช้อาหารเสริมพวกนี้ แล้วค่อยเริ่มใช้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Troy A. Miles, MD
ร่วมเขียน โดย:
ศัลยแพทย์ด้านกระดูก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Troy A. Miles, MD. ดร.ไมลส์เป็นศัลยแพทย์ด้านกระดูกในแคลิฟอร์เนียที่เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างไขข้อเทียมให้ผู้ใหญ่ เขาได้รับปริญญาโทจากคณะแพทย์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตย์คอลเลจในปี 2010 ตามด้วยการเป็นแพทย์ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์และสุขภาพของมหาวิทยาลัยโอเรกอนและแพทย์ประจำของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส บทความนี้ถูกเข้าชม 23,028 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,028 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา