วิธีการ พันข้อมือเมื่อบาดเจ็บ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ข้อมือเป็นส่วนบอบบางที่บาดเจ็บได้ง่าย เช่น เคล็ดหรือแพลง หรือเป็นผลมาจากโรคอื่นๆ อย่างข้ออักเสบ (arthritis) หรือโรคกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ (carpal tunnel syndrome) อีกสาเหตุคือใช้ข้อมือหนักเกินไป เช่น เล่นกีฬาอย่างโบว์ลิ่งหรือเทนนิส นอกจากนี้โรคเอ็นอักเสบ (tendonitis) หรือกระดูกหัก (fracture) ก็เป็นสาเหตุทำคุณปวดข้อมือได้เช่นกัน การพันข้อมือควบคู่ไปกับการดูแลตัวเองเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการปวด ทำให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าอาการหนักหรือบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก ก็ต้องดามหรือถึงขั้นเข้าเฝือก เพราะการพันข้อมือเป็นแค่การป้องกันอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่เกิดจากการเล่นกีฬา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

พันข้อมือที่บาดเจ็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พันข้อมือ.
    แล้วจะเหมือนการประคบ ช่วยลดปวดบวม และลดการขยับเขยื้อนไม่ให้บาดเจ็บไปกว่าเดิม ทำให้ฟื้นตัวรวดเร็ว[1]
    • ให้ใช้ผ้ายืดพันแผลรัดพยุงข้อมือไว้ โดยเริ่มพันจากจุดที่ห่างหัวใจก่อน[2]
    • นี่เป็นการป้องกันไม่ให้มือกับแขนท่อนล่างบวมจากการรัดพยุง[3]แถมยังช่วยให้ท่อน้ำเหลืองกับหลอดเลือดดำไม่อุดตันด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เริ่มพันจากบริเวณมือ.
    โดยพันรอบนิ้วล่างข้อนิ้ว และพันฝ่ามือทั้งหมด[4]
    • ผ่านมาที่ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ พัน 2 - 3 รอบที่ข้อมือ แล้วพันขึ้นไปถึงข้อศอก[5]
    • ที่ต้องพันจากมือยาวไปถึงข้อศอกก็เพื่อพยุงให้มั่นคง ให้ข้อมือได้ฟื้นตัว ไม่บาดเจ็บเพิ่มเติม[6]
    • เวลาพันย้อนขึ้น ต้องปกปิดขึ้นมา 50% ของส่วนเก่าที่พันไว้[7]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พันย้อนกลับ.
    พอพันมาถึงข้อศอกแล้ว ให้พันย้อนกลับไปถึงมือ เพราะฉะนั้นต้องใช้ผ้ายืดมากกว่า 1 ผืน
    • พันไขว้รอบมือ ระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ เป็นเลข 8 อย่างน้อย 1 รอบ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ยึดผ้าที่พันไว้.
    ด้วยคลิปที่มากับผ้าพันแผล หรือบางทีก็ติดอยู่ปลายผ้า ให้ยึดคลิปนี้กับส่วนที่พันไว้แน่นหนาดีบริเวณปลายแขน
    • จับนิ้วดูว่าร้อนไหม เพราะแปลว่ารัดแน่นไป ขอให้ยังขยับนิ้วสะดวกอยู่ ไม่ชาหรือตึง เวลาพันแผลควรพันให้กระชับแต่ไม่รัดแน่นจนเลือดไม่เดิน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถอดผ้าพันแผล.
    เช่น ตอนที่ต้องประคบเย็น[8]
    • ห้ามเข้านอนโดยที่ยังพันแผลไว้ บางอาการบาดเจ็บคุณหมอจะแนะนำเอง ว่าต้องพยุงข้อมือแบบไหนตอนนอน ให้คุณทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด[9]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พันข้อมือ 72 ชั่วโมงขึ้นไป.
    บางทีกว่าอาการบาดเจ็บจะหาย ก็นาน 4 - 6 อาทิตย์
    • ช่วงที่พันข้อมือไว้นี้ คุณสามารถกลับไปทำกิจกรรมอื่นๆ ตามปกติได้ แต่แบบค่อยเป็นค่อยไป ผ้าพันแผลจะช่วยรัดพยุงข้อมือไว้ ป้องกันไม่ให้บาดเจ็บเพิ่มเติม[10]
    • ตามปกติพอบาดเจ็บแล้วถ้าพันแผลไว้ 72 ชั่วโมง จะช่วยลดบวมได้[11]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 พอเริ่มกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ให้เปลี่ยนวิธีพันแผล....
    พอเริ่มกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ให้เปลี่ยนวิธีพันแผล. ถ้าเปลี่ยนวิธีพันข้อมือ อาจช่วยรัดพยุงบริเวณที่บาดเจ็บได้แน่นหนากว่าเดิม ทำให้คุณกลับไปทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ ได้เมื่อเริ่มหายดี
    • เริ่มพันให้แน่นหนาจากจุดที่เหนือบริเวณที่บาดเจ็บ หรือก็คือจากทางข้อศอกของมือข้างที่เจ็บลงมาทางปลายแขน โดยพัน 2 - 3 รอบ[12]
    • ผ่านส่วนที่บาดเจ็บ ลงมาพันรอบปลายแขนใต้จุดที่บาดเจ็บหลายๆ รอบ ใกล้กับมือ เพื่อรัดพยุงข้อมือ (ที่ตอนนี้อยู่ตรงกลาง) ให้แน่นหนา[13]
    • พันรอบนิ้วโป้งกับนิ้วชี้เป็นเลข 8 อย่างน้อย 2 รอบ โดยแต่ละครั้งให้พันรอบข้อมือ 1 รอบให้ยิ่งแน่นหนา[14]
    • พันย้อนจากข้อมือกลับไปที่ข้อศอก โดยปกปิด 50% ของส่วนเก่าที่พันไว้ปลายแขน[15]
    • พันกลับมาทางมืออีกครั้ง
    • ยึดปลายด้วยคลิปที่มาพร้อมผ้าพันแผล หรือเวลโครเทปที่ปลายผ้า
    • การพันรัดพยุงข้อมือจะเห็นผลที่สุดถ้าพันจากนิ้วหรือฝ่ามือไปจนถึงข้อศอก ซึ่งอาจต้องใช้ผ้าพันแผลมากกว่า 1 ผืน ถึงจะเพียงพอและแน่นหนา[16]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

บรรเทารักษาอาการบาดเจ็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รักษาตัวที่บ้าน.
    ถ้าบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ข้อมือเคล็ดหรือแพลง ก็รักษาตัวที่บ้านเองได้เลย[17]
    • กล้ามเนื้อฉีก (strain) คือกล้ามเนื้อหรือเอ็น (tendon) ที่ยึดกล้ามเนื้อไว้กับกระดูกยืดเหยียดมากเกินไปหรือกระตุก[18]
    • ข้อแพลง (sprain) คือ ligament หรือเอ็นที่ยึดกระดูกกับกระดูกนั้นยืดเหยียดมากเกินไปหรือฉีกขาด[19]
    • อาการของ 2 อย่างนี้จะคล้ายกันมาก คือปวด บวม และขยับข้อหรือกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บไม่ค่อยได้[20]
    • เวลาข้อแพลง มักมีรอยช้ำ รวมถึงมี “เสียงลั่น” ตอนเกิดเหตุ ส่วน strain นั้นเป็นเรื่องของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้นกล้ามเนื้อมักกระตุกเวลาบาดเจ็บ[21]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รักษาตัวแบบ R-I-C-E.
    ใช้ได้ผลดีทั้ง strain และ sprain[22]
    • R I C E ก็คือ Rest (พักส่วนที่บาดเจ็บ), Ice (ประคบเย็น), Compression(รัดพยุง) และ Elevation (ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง)[23]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พักส่วนที่บาดเจ็บ.
    อย่าใช้ข้อมือ ให้พักหลายๆ วันหน่อยจนกว่าจะหาย ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดใน RICE[24]
    • พักข้อมือก็คือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้มือ ไม่ต้องขยับหรือหยิบจับอะไรด้วยมือข้างนั้นจะดีที่สุด[25]
    • ห้ามหยิบหรือยกของ อย่าบิดมือหรือข้อมือ และอย่างอข้อมือ เพราะฉะนั้นให้งดเขียนหรือพิมพ์คอม แต่ก็แล้วแต่ระดับการบาดเจ็บด้วย[26]
    • ถ้าอยากให้ข้อมืออยู่นิ่งที่สุด ก็ต้องซื้อ wrist splint หรือเหล็กดาม เหมาะสำหรับคนที่บาดเจ็บที่เอ็นกล้ามเนื้อ เพราะช่วยยึดพยุงข้อมือให้อยู่กับที่ เป็นโอกาสให้ได้รักษาตัวและไม่บาดเจ็บมากไปกว่าเดิม ที่ดามข้อมือหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป[27]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ประคบเย็น.
    ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่บาดเจ็บ ความเย็นจะผ่านผิวหนังชั้นนอกลงไปถึงเนื้อเยื่ออ่อน[28]
    • แถมความเย็นยังช่วยลดการไหลเวียนของเลือดไม่ให้ไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ ทำให้ลดปวดบวม ลดอักเสบได้[29]
    • ใช้น้ำแข็งประคบ หรือใช้ถุงผักแช่แข็ง ไม่ก็เจลแพ็คแทน แต่ไม่ว่าจะใช้น้ำแข็ง ถุงผัก หรือเจลแพ็ค ก็ต้องห่อด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัวก่อน ห้ามเอาอะไรเย็นจัดมาประคบผิวโดยตรงเด็ดขาด[30]
    • ประคบเย็นครั้งละ 20 นาที แล้วปล่อยให้บริเวณนั้นกลับมาอุ่นเท่าอุณหภูมิห้องอีก 90 นาที ประคบซ้ำได้บ่อยตามต้องการ วันละ 2 - 3 ครั้งขึ้นไป โดยเฉพาะ 72 ชั่วโมงหลังบาดเจ็บ[31]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รัดพยุงข้อมือ.
    ช่วยลดบวม ยึดไว้ไม่ให้ขยับเขยื้อน ทำให้ไม่ปวดหรือบาดเจ็บไปกว่าเดิม[32]
    • ให้ใช้ผ้ายืดพันแผล เริ่มพันจากนิ้วมือหรือฝ่ามือไปจนถึงข้อมือ และไล่ขึ้นไปจนถึงข้อศอก ถ้าอยากให้ยิ่งแน่นหนาและฟื้นตัวเร็ว ถือว่าสำคัญมากที่ต้องพันยาวจากมือและนิ้วไปจนถึงข้อศอก[33]
    • วิธีนี้ใช้ลดมือและนิ้วบวมตอนรัดพยุง[34]
    • เวลาพันย้อนแต่ละครั้งให้ปกปิด 50% ของที่พันไว้[35]
    • เช็คให้แน่ใจว่าไม่ได้รัดแน่นเกินไป และนิ้วมือไม่ชาหรือตึง[36]
    • แกะผ้าพันแผลออกเวลาจะประคบเย็น[37]
    • ห้ามเข้านอนทั้งๆ ที่พันแผลไว้ บางอาการบาดเจ็บคุณหมอจะแนะนำเอง ว่าต้องพยุงข้อมือแบบไหนตอนนอน ให้คุณทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด [38]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ยกข้อมือสูง.
    ก็ช่วยลดปวดบวมช้ำได้[39]
    • ให้ยกข้อมือสูงกว่าระดับหัวใจ ตอนจะประคบเย็น ก่อนรัดพยุง และตอนพักข้อมือ[40]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 พันข้อมือ 72 ชั่วโมงขึ้นไป.
    บางทีกว่าอาการบาดเจ็บจะหาย ก็นาน 4 - 6 อาทิตย์ ถ้าระหว่างนี้พันข้อมือไว้ จะทำให้ค่อยๆ กลับไปทำกิจกรรมอื่นๆ ตามเดิมได้ และไม่บาดเจ็บเพิ่มเติม[41]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 กลับไปทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ.
    กลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำแบบค่อยเป็นค่อยไป[42]
    • ระหว่างบริหารข้อมือหรือเริ่มกลับไปขยับเขยื้อนทำกิจกรรมต่างๆ อาจยังไม่คล่องตัวบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ[43]
    • กินยา NSAIDS เช่น ไทลีนอล ไอบูโพรเฟน หรือแอสไพรินเพื่อแก้ปวด
    • ถ้าทำอะไรแล้วปวด ให้หลีกเลี่ยงไปก่อน ย้ำอีกทีว่าค่อยเป็นค่อยไป[44]
    • อาการบาดเจ็บจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน แต่ปกติมักหายใน 4 - 6 อาทิตย์[45]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

พันข้อมือก่อนเล่นกีฬา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ป้องกันการเหยียดหรืองอข้อมือเกินองศา.
    ที่ต้องรัดพยุงข้อก็เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา 2 ประเภทด้วยกัน ก็คือ hyperextension (เหยียดเกินองศา) กับ hyperflexion (งอเกินองศา)[46]
    • Hyperextension นี่แหละอาการข้อมือบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุด เกิดเวลาล้มหรือกระแทกแล้วแบมือยันไว้[47]
    • การล้มกระแทกแบบนี้ทำให้ข้อมืองอไปด้านหลังเพื่อรองรับน้ำหนักและแรงกระแทก จนข้อมือเหยียดเกินองศา[48]
    • ส่วน Hyperflexion จะเป็นการล้มกระแทกโดยใช้ข้อมือด้านนอกยันรับน้ำหนักแทน จนข้อมือบิดเข้ามาที่แขนมากเกินไป[49]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รัดพยุงข้อมือป้องกันการเกิด hyperextension.
    บางชนิดกีฬามักทำให้เกิดอาการบาดเจ็บชนิดนี้บ่อยกว่ากีฬาอื่นๆ นักกีฬาประเภทนั้นเลยมักพันข้อมือป้องกันไม่ให้เกิด hyperextension หรือไม่ให้บาดเจ็บซ้ำสอง[50]
    • ขั้นแรกในการพันข้อมือป้องกัน hyperextension ก็คือเริ่มจาก pre-wrap[51]
    • pre-wrap คือเทปที่นักกีฬาใช้พันป้องกันการเสียดสี มักใช้พันก่อนพันผ้าพันแผลหรือเทปอื่นๆ ที่เหนียวกว่า[52]
    • pre-wrap บางทีก็เรียก underwrap ปกติจะกว้าง 2.75 นิ้ว (7 ซม.) มีหลายสีหลายพื้นผิวให้เลือกใช้ บางแบบก็หนาหน่อย หรือรู้สึกเหมือนโฟมนุ่มๆ[53]
    • ให้พันข้อมือด้วย pre-wrap ก่อน 1/3 หรือครึ่งทางระหว่างข้อมือกับข้อศอก[54]
    • พัน pre-wrap ให้กระชับแต่อย่าคับแน่น พันรอบข้อมือหลายๆ รอบหน่อย แล้วขึ้นมาที่มือ พันระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้งอย่างน้อย 1 รอบ เสร็จแล้วพันย้อนกลับไปทางข้อมือและปลายแขน โดยพันทบหลายๆ รอบ[55]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ยึด pre-wrap ให้แน่น.
    โดยใช้เทปพันแผลหรือเทปที่นักกีฬาใช้แบบมาตรฐาน 1 ½ นิ้ว (ประมาณ 4 ซม.) โดยแปะทับ pre-wrap หลายๆ จุดจะได้ไม่เลื่อนหลุด[56]
    • Anchors ก็คือชิ้นเทปที่พันรอบข้อมือได้แล้วเหลือปลายอีก 2 - 3 นิ้ว (ประมาณ 5 - 7 ซม.) ไว้ยึดให้แน่นหนา[57]
    • เริ่มพัน anchors โดยพันรอบ pre-wrap เริ่มจากใกล้ข้อศอก พันทับ pre-wrap ต่อไปตามข้อมือและปลายแขน[58]
    • pre-wrap บริเวณมือก็ต้องยึดให้แน่นหนาด้วยเทปแถบยาวหน่อย โดยพันตามแนว pre-wrap[59]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เริ่มพันข้อมือ.
    ใช้เทปพันแผลหรือเทปที่นักกีฬาใช้แบบมาตรฐาน 1 ½ นิ้ว (ประมาณ 4 ซม.) โดยใช้เทปแถบเดียวเริ่มพันจากทางข้อศอกยาวมาจนถึงข้อมือ ค่อยดึงเทปเพิ่มจากม้วนเทปอย่าให้ขาด[60]
    • พันตามแนวเดิมของ pre-wrap รวมถึงระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้หลายๆ รอบ[61]
    • พันรอบข้อมือไปเรื่อยๆ จนปกคลุมบริเวณที่มี pre-wrap รวมถึงขอบ anchors[62]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ติดพัด (fan).
    เป็นส่วนสำคัญในการพันข้อมือ นอกจากจะยึดให้ไม่เลื่อนหลุดง่ายๆ แล้วยังทำให้ข้อมือไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนที่เกินองศาจนบาดเจ็บหรือกลับมาบาดเจ็บอีกรอบ[63]
    • ถึงจะเรียก fan (พัด) แต่จริงๆ แล้วส่วนนี้จะหน้าตาเหมือนกากบาทหรือหูกระต่าย (bow tie) มากกว่า เริ่มจากวัดเทปให้ยาวจากฝ่ามือไปจนถึงข้อมือ แล้วต่อขึ้นไปที่ปลายแขนอีก 1/3[64]
    • แปะเทปบนโต๊ะสะอาด แล้วแปะเทปอีกแถบที่ยาวเท่ากันไขว้เฉียงตรงกลาง[65]
    • แปะอีกแถบเฉียงไปคนละข้าง แต่องศาเท่ากัน จนได้ออกมาเหมือนหูกระต่ายติดคอเสื้อ[66]
    • แปะอีกแถบทับแนวนอนเหมือนเทปแถบแรก เพื่อให้ยิ่งแข็งแรง[67]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แปะ fan บนผ้าที่พันข้อมือไว้.
    แปะปลายข้างหนึ่งที่ฝ่ามือ จากนั้นงอมือนิดหน่อย แล้วแปะปลาย fan อีกข้างที่ข้อมือด้านใน[68]
    • อย่างอข้อมือมากเกินไป เดี๋ยวแปะแล้วตอนเล่นกีฬาจะไม่สะดวก ที่ให้งอมือแล้วค่อยแปะเทป เพราะจะทำให้ยังใช้มือได้ แต่พันไว้แน่นหนาพอจะไม่เกิด hyperextension[69]
    • แปะ fan แล้วพันรัดพยุงทั้งข้อมือและปลายแขนซ้ำอีกรอบเพื่อยึด fan ให้อยู่กับที่[70]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รัดพยุงข้อมือป้องกันการเกิด hyperflexion.
    วิธีการพันป้องกัน hyperflexion ก็เหมือนกับของ hyperextension เว้นแต่การแปะ fan[71]
    • ตอนทำ fan ก่อนแปะก็เหมือนเดิม คือแปะเทปให้กลายเป็นรูปหูกระต่าย[72]
    • แต่ให้แปะ fan ที่ข้อมือด้านนอกแทน โดยตอนแปะให้งอข้อมือออกเล็กน้อย แล้วแปะปลาย fan ข้างที่เหลือยาวมาถึงข้อมือ และเทปเก่าที่พันปลายแขนอยู่[73]
    • พันเทปรอบข้อมือและแขนทับ fan เหมือนตอนป้องกัน hyperextension โดยใช้เทปแถบเดียวยาวๆ อย่าลืมปกปิด fan ให้มิดชิดแล้วยึดเทปไว้ให้แน่นหนา[74]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 พันน้อยหน่อย.
    บางทีแค่พันบางๆ ก็พอแล้ว[75]
    • พัน pre-wrap แถบแรกรอบมือตามข้อนิ้วและระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้[76]
    • พัน pre-wrap แถบที่ 2 ใต้ข้อมือด้านนอก[77]
    • แปะเทป 2 แถบไขว้กัน จากหลังมือตรงระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มาถึงที่ใต้ข้อมือ[78]
    • แปะเทป 2 แถบไขว้กันแบบเดิม คราวนี้ที่ฝ่ามือลงมาถึงข้อมือและปลายแขน[79]
    • ใช้เทป pre-wrap พันรอบข้อมือโดยเริ่มจากปลายแขน และพันทับหลายรอบหน่อยที่ข้อมือ ตามด้วยแปะไขว้กากบาท จากนั้นพัน pre-wrap ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ รอบมือและข้อนิ้ว จากนั้นย้อนมาที่ข้อมือ[80]
    • พันแบบไขว้ทั้งฝ่ามือและหลังมือ โดยพันยึดรอบข้อมือและปลายแขนในแต่ละครั้ง[81]
    • ตามด้วยยึด anchors โดยใช้เทปพันแผลหรือเทปที่นักกีฬาใช้แบบมาตรฐาน 1 ½ นิ้ว (ประมาณ 4 ซม.) เริ่มจากปลายแขนไล่มาจนถึงมือ โดยพันตามแนวของ pre-wrap[82]
    • พอยึด anchors แล้ว ให้พันเทปยาวๆ ตามแนว pre-wrap[83]
    • ปกปิด pre-wrap ให้หมด รวมถึงปลายของ anchors ที่ห้อยอยู่[84]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เช็คให้ดีว่าข้อมือไม่ได้หัก.
    เพราะข้อมือหักหรือร้าวต้องได้รับการตรวจรักษาจากคุณหมอด่วน โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้[85]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ห้ามคิดว่าไม่เป็นไร.
    ถ้ารอช้า อาจหายช้าหรือเป็นหนักถึงขั้นพิการถาวร[92]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อาการที่บอกว่ากระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid bone)...
    อาการที่บอกว่ากระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid bone) อาจจะหัก. กระดูกนี้จะรูปร่างคล้ายเรือ อยู่นอกกระดูกอื่นๆ ของข้อมือ ใกล้กับนิ้วโป้ง ถ้าหักจะไม่ค่อยแสดงอาการชัดเจน ข้อมือจะไม่ผิดรูปแถมไม่ค่อยบวม อาการที่พบก็เช่น[94]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อาการอื่นๆ ที่ต้องพบแพทย์ด่วน.
    ถ้าข้อมือเลือดไหล บวมจนน่ากลัว หรือเจ็บปวดรุนแรง ให้ไปโรงพยาบาลทันที[100]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ป้องกันอาการบาดเจ็บที่ข้อมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เพิ่มแคลเซียม.
    เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง[104]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ระวังตัวอย่าล้ม.
    หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ข้อมือบาดเจ็บ ก็คือล้มถลาไปข้างหน้า แล้วเอามือยันไว้[106]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะกับสรีระ (ergonomic).
    เช่น ถ้ารู้ตัวว่าต้องนั่งพิมพ์คอมทั้งวัน ก็ต้องเลือกใช้คีย์บอร์ดแบบ ergonomic หรือมีแผ่นโฟมรองข้อมือเวลาใช้เมาส์ จะได้ไม่ฝืนข้อมือเวลาใช้งานนานๆ[110]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้อุปกรณ์ป้องกันตอนเล่นกีฬา.
    ถ้าเล่นกีฬาที่ใช้ข้อมือเยอะๆ ก็ต้องสวมอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ[112]
    • กีฬาหลายชนิดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ข้อมือมากกว่าชนิดอื่น ให้สวมอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น สนับข้อมือ (wrist guards) หรือที่รัดพยุงข้อมือ (wrist supports) เพื่อป้องกันหรือลดอาการบาดเจ็บ[113]
    • ชนิดกีฬาที่มักเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ข้อมือก็เช่น อินไลน์สเก็ต (in-line skating) สเก็ต สโนว์บอร์ด สกี ยิมนาสติก เทนนิส รักบี้ โบว์ลิ่ง และกอล์ฟ เป็นต้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 บริหารข้อมือ.
    ถ้ารู้จักบริหาร ยืดเหยียด และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ก็จะช่วยป้องกันหรือลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้[114]
    โฆษณา
  1. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  2. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  3. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  4. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  5. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  6. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  7. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  9. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  10. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958
  13. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  14. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  15. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  16. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  17. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  18. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  19. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  20. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  21. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  22. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  23. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  24. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  25. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  26. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  27. http://share.upmc.com/2015/01/wrap-ankle-wrist-sprain/
  28. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  29. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  30. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  31. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  32. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  33. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  34. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  35. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  36. http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/strains_sprains.html
  37. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  38. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  39. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  40. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  41. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  42. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  43. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  44. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  45. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  46. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  47. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  48. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  49. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  50. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  51. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  52. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  53. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  54. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  55. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  56. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  57. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  58. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  59. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  60. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  61. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  62. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  63. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  64. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  65. http://hlknweb.tamu.edu/content/wrist-taping-101
  66. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  67. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  68. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  69. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  70. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  71. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  72. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  73. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  74. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  75. http://www.physioadvisor.com.au/11376450/wrist-taping-wrist-strapping-strap-wrist-phy.htm
  76. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  77. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  78. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  79. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  80. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  81. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  82. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  83. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  84. http://www.mayoclinic.org/search/search-results?q=broken wrist
  85. http://www.ucsfhealth.org/conditions/hand_and_wrist_fractures/
  86. http://www.ucsfhealth.org/conditions/hand_and_wrist_fractures/
  87. http://www.ucsfhealth.org/conditions/hand_and_wrist_fractures/
  88. http://www.ucsfhealth.org/conditions/hand_and_wrist_fractures/
  89. http://www.ucsfhealth.org/conditions/hand_and_wrist_fractures/
  90. http://www.ucsfhealth.org/conditions/hand_and_wrist_fractures/
  91. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  92. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958
  93. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958
  94. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  95. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  96. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  97. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  98. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  99. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  100. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  101. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  102. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  103. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wrist-pain/basics/definition/con-20031860
  104. http://kidshealth.org/PageManager.jsp?dn=KidsHealth&lic=1&ps=207&cat_id=20019&article_set=20379
  105. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958
  106. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958
  107. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains-and-strains/basics/definition/con-20020958

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Claire Bowe, M.Ed., PT, Cert. MDT
ร่วมเขียน โดย:
นักกายภาพบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Claire Bowe, M.Ed., PT, Cert. MDT. แคลร์ โบว์เป็นนักกายภาพบำบัดและเป็นเจ้าของ Rose Physical Therapy Group ในกรุงวอชิงตัน เธอมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมากกว่า 20 ปีและเชี่ยวชาญการดูแลแบบตัวต่อตัว เธอได้ใบรับรอง Mechanical Diagnosis & Therapy (MDT) จากสถาบันแม็คเคนซี่ เธอจบปริญญาโททางกายภาพบำบัดจากมหาวิทยาลัยกัฟเวอเนอร์สเตทและปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท บทความนี้ถูกเข้าชม 77,346 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 77,346 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา