วิธีการ ทักทายเป็นภาษาเกาหลี

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การเรียนรู้วิธีทักทายเป็นสิ่งสำคัญในทุกๆ ภาษา แต่การเรียนรู้วิธีทักทายชาวเกาหลีที่ถูกวิธีเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการถูกตำหนิได้ การพูดว่า “สวัสดี” ในภาษาเกาหลีโดยมาตรฐานแล้วจะพูดว่า “อันยอง ฮาเซโย” แต่ก็ยังมีวิธีพูดอีกมากมายที่คุณควรเรียนรู้และพิจารณาใช้โดยขึ้นอยู่กับระดับความเป็นทางการของการพบเจอในครั้งๆ นั้น ยังมีวิธีทักทายอีกหลายรูปแบบที่คุณควรใช้โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บทความนี้จะรวมรวบคำพูด “สวัสดี” ในภาษาเกาหลีที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณ แม้อาจจะต้องใช้เวลาสักเล็กน้อยในเรียนวิธีอ่านตัวอักษรภาษาเกาหลี แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไป และวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการเรียนคำใหม่ๆ แล้วอ่านออกเสียงอย่างถูกวิธี บทความนี้จะใช้ทั้งตัวอักษรลาติน ตัวอักษรไทย และตัวอักษรเกาหลี หรือที่เรียกว่า ฮันกูล (Hangul)

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

คำว่า “สวัสดี” โดยมาตรฐาน

ดาวน์โหลดบทความ

ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคที่ใช้พูดโดยพื้นฐานเวลาทักทายใครสักคน และประโยคเหล่านี้ล้วนมีความหมายเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่ระดับความเคารพ จำไว้ว่าให้ใช้คำที่เหมาะสมกับสถานการณ์จะดีที่สุด

  1. How.com.vn ไท: Step 1 พูดว่า “อันยอง” กับเพื่อนด้วยกัน.
    คำนี้เป็นภาษาพูดที่ง่ายที่สุดในการพูดว่า “เฮ้” หรือ “หวัดดี” โดยตัวอักษรภาษาเกาหลีจะเขียนว่า 안녕 ซึ่งอ่านได้ว่า “อัน ยอง” (ahn yong)
    • ใช้คำนี้ทักทายเพื่อนหรือญาติสนิทที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากัน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ทักทายอย่างไม่เป็นทางการ ดังนั้น คุณจึงสามารถใช้คำนี้กับคนที่คุณคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
    • หลีกเลี่ยงการใช้คำนี้กับคนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าคุณ เช่น อาจารย์ ที่ปรึกษา หรือผู้สูงอายุ และควรหลีกเลี่ยงการพูดคำนี้กับคนแปลกหน้าด้วย
    • การทักทายแบบนี้ยังมีความหมายซ่อนอยู่ อาจจะหมายความว่า “สบายดี” หรือ “มีความสุข”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พูดว่า “อันยอง ฮาเซโย” กับสถานการณ์ทั่วไป.
    [1] คำนี้ออกเสียงว่า “อัน-ยอง ฮา-เซ-โย” (ahn-yong hah-say-yoh) คำๆ นี้เป็นคำที่พูดในสถานการณ์ทั่วไป และสามารถใช้ได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนที่คุณเคารพในระดับหนึ่ง โดยตัวอักษรภาษาเกาหลีจะเขียนว่า 안녕하세요.
    • คุณสามารถใช้คำว่า “อันยอง ฮาเซโย” ได้ทั้งกับเพื่อนและผู้ใหญ่ แม้คำนี้อาจจะไม่ได้มีความสุภาพสูงสุดในการทักทายผู้คน แต่ก็เป็นวิธีพูดว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ” ที่สุภาพ ซึ่งเหมาะกับการทักทายในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมด
    • ประโยคนี้สามารถพูดได้ตลอดทั้งวัน และคำทักทายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา จึงไม่มีคำทักทายที่เฉพาะ เช่น “สวัสดีตอนกลางวัน” “สวัสดีตอนเย็น” หรือ “สวัสดี” อย่างไรก็ตาม ภาษาเกาหลีมีคำว่า “สวัสดีตอนเช้า” ก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก
    • คำทักทายนี้ยังมีความหมายว่า “ขอให้สบายดี” หรือ “ขอให้มีความสุข” ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับคำว่า “อันยอง” เพราะมีความสุภาพมากกว่า [2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เปลี่ยนไปพูดว่า “อันยอง ฮาชิมนิกกา”...
    เปลี่ยนไปพูดว่า “อันยอง ฮาชิมนิกกา” เพื่อแสดงความเคารพมากขึ้น. [3] ใช้คำนี้เมื่อคุณต้องการแสดงความจริงใจหรือความเคารพในระดับสูงสุดเท่าที่เป็นได้ โดยตัวอักษรภาษาเกาหลีจะเขียนว่า 안녕하십니까 อ่านได้ว่า “อัน-ยอง ฮาชิม-นี-กา” (ahn-yong hahshim-nee-kah)
    • เพราะเป็นการทักทายที่สุภาพ จึงไม่ค่อยใช้กับเพื่อนหรือคนสนิทในสถานการณ์ประจำวัน โอกาสที่จะใช้คำนี้อาจจะเป็นการต้อนรับคนที่สำคัญมากๆ คุณอาจจะใช้คำนี้กับคนที่คุณรักที่ไม่ได้เจอกันมาสักพักเพื่อแสดงความรู้สึกที่มากขึ้นเมื่อได้เจอกันอีกครั้ง
    • สามารถออกเสียงอย่างง่ายๆ ว่า “อัน-ยอง ฮาชิม-นี-กา” (an-yoh hashim-nee-kah)
    โฆษณา


วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การทักทายรูปแบบอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รับสายโทรศัพท์ด้วยคำว่า “โยโบเซโย.”
    [4] ตัวออักษรภาษาเกาหลีเขียนว่า 여보세요 ซึ่งอ่านว่า “โย-โบ-เซ-โย”
    • ใช้คำนี้ในการรับสายโทรศัพท์ โดยไม่ต้องคำนึงว่าคนที่อยู่ปลายสายนั้นเป็นใคร
    • คำนี้จัดว่าเป็นคำที่สุภาพในระดับหนึ่ง แต่จะใช้ในการพูดผ่านโทรศัพท์เท่านั้น คุณไม่ควรพูดคำนี้ในการทักทายต่อหน้า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พูดว่า “โช-อึ้น อะ-ชิม” ในตอนเช้า.
    [5] คำนี้แปลได้ว่า “สวัสดีตอนเช้า” และเขียนเป็นภาษาเกาหลีได้ว่า 좋은 아침 อ่านออกเสียงได้ว่า “โช-อึน อา-ชิม” (jong-un ah-chim)
    • คำนี้เป็นคำพูดอีกแบบหนึ่งที่ใช้ทักทายผู้คนในตอนเช้า แต่มักไม่ใช้ในการพูดจริงๆ คำว่า “อันยอง ฮาเซโย” ยังคงเป็นมาตรฐานในการพูดว่า “สวัสดี” แม้จะเป็นตอนเช้าก็ตาม คำว่า “โชอึน อะชิม” เป็นเพียงอีกวิธีหนึ่งที่คุณสามารถใช้ได้ถ้าคุณต้องการเปลี่ยน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดว่า “มันนาซอ พันกั๊บซึมนีดา”...
    พูดว่า “มันนาซอ พันกั๊บซึมนีดา” เมื่อพบกับคนใหม่ๆ. ภาษาเกาหลีจะเขียนว่า 만나서 반갑습니다 ซึ่งอ่านออกเสียงได้ว่า “มัน-นา-ซอ พัน-กั๊บ-ซึม-นี-ดา” (mahn-nah-soh pahn-ghap-sum-nee-dah)
    • ประโยคนี้มีความหมายเหมือนกับว่า “ยินดีที่ได้พบกัน” แต่ถ้าแปลตรงตัวจะหมายถึง “เพราะได้เจอคุณ ฉันถึงดีใจมาก”
    • ประโยคนี้เป็นประโยคที่เป็นทางการและสุภาพที่สุดในการทักทาย และเป็นประโยคที่ควรใช้ทักทายกับคนที่มีอายุมากกว่าหรือผู้ที่อาวุโสที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ
    • คุณสามารถพูดว่า “มันนาโซ พันกาวอยอ” เมื่อเจอผู้คนทั่วไป ประโยคนี้ยังจัดเป็นประโยคที่สุภาพ แต่จะสุภาพน้อยกว่าคำก่อนหน้า ซึ่งเหมาะสมกับการพูดเวลาเจอเพื่อนร่วมชั้นใหม่ เพื่อนของเพื่อน หรือคนแปลกหน้าที่มีอายุเท่ากันหรือน้อยกว่าคุณในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการมากนัก
    • ภาษาเกาหลีเขียนคำว่า “มันนาซอ พันกาวอยอ” ว่า 만나서 반가워요 อ่านออกเสียงว่า “มัน-นา-ซอ พัน-กา-วอ-ยอ”
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ นักเขียนที่อาสาสมัครมาได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 132,558 ครั้ง
หมวดหมู่: ภาษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 132,558 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา