วิธีการ สะกดคำภาษาอังกฤษ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ภาษาอังกฤษอาจทำให้คุณสับสนได้ เพราะมันเต็มไปด้วยกฎที่ไม่ตายตัว หากใครหัดเรียนภาษานี้ใหม่ๆ ก็คงจะพอเห็นภาพได้ แม้ว่าการหัดเขียนและอ่านมากๆ จะพอช่วยได้ก็ตาม แต่มันจะเป็นประโยชน์มากขึ้น หากคุณศึกษากฎของการสะกดคำ (และข้อยกเว้น) ในภาษาอังกฤษเอาไว้บ้าง โดยใช้เทคนิคช่วยจำและสูตรอันชาญฉลาดมากมาย ที่นำมาให้คุณเรียนรู้และฝึกฝนการใช้คำที่สะกดผิดบ่อย ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยย่อท้อ เมื่อนั้น คุณก็จะเริ่มชำนาญเรื่องของสระที่ไม่ออกเสียง พยัญชนะที่มักสับสน และคำที่ออกเสียงประหลาดๆ อย่างที่คุณไม่คุ้นเคย ได้เชี่ยวชาญในเวลาไม่นาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

กฎของการสะกดคำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Step 1 รู้จักกฎ "i" ก่อน "e".
    กฎที่ว่านี้เป็นประโยชน์มากในการช่วยจำว่า ตัวอักษร "i" ย่อมมาก่อน "e" เสมอ หากในศัพท์คำนั้นมีสระ 2 ตัวนี้อยู่ติดกัน (เช่น "friend" หรือ "piece") ยกเว้นกรณีที่มีตัวอักษร "c" นำหน้า ซึ่งกรณีดังกล่าว ตัวสระ "e" จะต้องมาก่อน "i" (เช่น "receive") การจดจำกฎข้อนี้ไว้ จะช่วยให้คุณสะกดคำจำนวนมากที่คนมักสับสนระหว่างลำดับของ "i" และ "e" ได้แม่นยำ
    • ลองออกเสียง: อีกวิธีที่มีประโยชน์ในการคิดว่าตัวอักษรใดมาก่อน ก็คือการลองออกเสียงดูนั่นเอง หากเสียงที่ผสมกันออกมาระหว่าง "i" และ "e" มีเสียงยาวว่า “เอ” ก็แปลว่า ตัวอักษร "e" ย่อมมาก่อน "i" เช่นคำว่า "eight" or "weigh"
    • เข้าใจข้อยกเว้น: อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกฎทั่วไปเช่นกัน – คำที่ไม่เข้าข่ายการใช้กฎ "i" ย่อมมาก่อน "e" เสมอนี้ เช่นคำว่า: "either", "leisure", "protein", "their" และ "weird" โชคร้ายหน่อยที่ไม่มีสูตรจำเรื่องนี้ แต่คุณคงพอจำได้น่า
    • ยกเว้นเพิ่มเติม: ศัพท์อื่นๆ ที่มีการยกเว้นกฎนี้ ก็มีอย่างคำที่มีตัว "cien" ต่างๆ เช่น "ancient", "efficient", "science" และคำต่างๆ ที่มีตัว "eig" (แม้ว่าเสียงผสมระหว่าง "e" และ "i" จะไม่ทำให้เกิดเสียงยาวว่า "เอ" ก็ตาม) เช่น "height" และ "foreign"
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้วิธีรับมือกับคำที่มีสระซ้อน.
    หากคุณเจอคำศัพท์ที่มีสระซ้อน หรือสระสองตัวติดกัน คุณอาจจะงงว่าควรเอาสระใดขึ้นก่อน โชคดีที่มีคำกลอนให้คุณจำได้ง่ายๆ ในเรื่องนี้ คือ:
    • When two vowels go walking, the first one does the talking. ซึ่งหมายความว่า เสียงสระตัวใด ที่คุณได้ยินเวลาอ่านออกเสียงคำนั้น ต้องมาก่อนเสมอ และตามด้วยสระที่คุณไม่ได้ยินเวลาออกเสียง
    • ฟังเสียงของสระเสียงยาว: พูดง่ายๆ คือ หากคำใดมีสระสองตัวอยู่ติดกัน สระตัวแรกของคำนั้นจะต้องออกเสียงยาว ในขณะที่สระตัวหลังจะไม่ถูกออกเสียง เช่น เวลาอ่านคำว่า "boat" เราจะได้ยินเสียงสระ "o" ชัดเจนและยาว ส่วนเสียงสระ "a" นั้นไม่มี
    • ดังนั้น หากคุณไม่รู้ว่าสระใดควรมาก่อนหลัง ก็แค่ลองออกเสียงคำนั้นดู – สระเสียงยาวตัวไหนที่คุณได้ยิน ก็ต้องอยู่หน้าอีกสระอีกตัว ตัวอย่างคำที่เห็นได้ชัดอีกคำ คือคำว่า team (คุณได้ยินเสียง "e") คำว่า mean (คุณได้ยินเสียง "e") และ wait (คุณได้ยินเสียง "a")
    • ข้อยกเว้น: เช่นเคย เรื่องนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกฎทั่วไปให้เรียนรู้เช่นกัน คำที่ได้รับยกเว้น เช่น "you" (ซึ่งคุณได้ยินเสียง "u" แทนที่จะเป็นเสียง "o") คำว่า "phoenix" (มีเสียง "e" แทนที่จะเป็นเสียง "o") และ "great" (มีเสียง "a"แทนที่จะเป็นเสียง "e")
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ระวังคำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้าย .
    มันเป็นเรื่องปกติที่คำศัพท์ซึ่งมีตัวพยัญชนะติดกันสองตัว จะได้รับการออกเสียงตัวหนึ่ง และไม่มีเสียงของอีกตัวหนึ่ง เขาจึงตั้งชื่อมันว่า เป็นตัวพ่วงท้ายของตัวพยัญชนะอีกตัวนั่นเอง
    • การ "พ่วงท้าย" เช่นนี้ จึงทำให้ศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะคู่กันออกเสียงยากหน่อย เพราะเรามักจะลืมตัวพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง และเขียนออกมาเฉพาะตัวพยัญชนะที่เราได้ยินเสียง
    • ดังนั้น คุณจึงควรที่จะจดจำคำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้าย และท่องคำที่พบบ่อยๆ ให้คุ้นเคยเข้าไว้ เพื่อที่จะได้สะกดคำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง
    • ตัวอย่างคำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้าย ที่พบบ่อย คือ:
    • Gn, pn และ kn – คำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้ายประเภทนี้ คุณจะได้ยินเฉพาะเสียงของ "n" ส่วนตัวพยัญชนะใดๆ ที่อยู่ก่อน "n" จะไม่มีเสียง เช่น คำว่า "gnome", "pneumonia" และ "knife"
    • Rh และ wr – คำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้ายประเภทนี้ คุณจะได้ยินเฉพาะเสียงของ "r" ส่วนตัวพยัญชนะใดๆ ที่อยู่ก่อนนั้น จะไม่มีเสียง เช่น คำว่า "rhyme" และ "wrestle"
    • Ps และ sc - คำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้ายประเภทนี้ คุณจะได้ยินเฉพาะเสียงของ "s" ส่วนตัวพยัญชนะ "p" และ "c" จะไม่มีเสียง เช่น คำว่า "psychic" และ "science"
    • Wh - คำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะพ่วงท้ายประเภทนี้ คุณจะได้ยินเฉพาะเสียงของ "h" ส่วนตัวพยัญชนะ "w" จะไม่มีเสียง เช่น คำว่า "whole"
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ระวังเรื่องคำพ้องและคำพ้องเสียง.
    คำพ้องและคำพ้องเสียง เป็นคำสองประเภทที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษมักสะกดได้ยากลำบาก แต่ก่อนที่คุณจะระวังการใช้คำสองประเภทนี้ คุณต้องรู้ความหมายมันเสียก่อน
    • คำพ้อง คือ คำที่สะกดและออกเสียงเหมือนอีกคำ โดยอาจมีคำที่เหมือนกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป แต่ความหมายต่างกัน (อย่าไปจำจากบางตำราหรือคนสอนที่สอนผิด โดยเอา Homonym ไปปนกับ Homograph ซึ่งหมายถึงคำพ้องรูปอย่างเดียว) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ คำว่า bank (แปลว่า พวกเขื่อนต่างๆ) กับคำว่า bank (ที่แปลว่า ธนาคาร)
    • ส่วน คำพ้องเสียง เช่น คำว่า night และ knight เป็นคำที่ออกเสียงเหมือนกัน โดยอาจมีคำที่เสียงเหมือนกันนี้ตั้งแต่สองคำขึ้นไป แต่ความหมายต่างกัน เช่น คำว่า "rose" (ดอกกุหลาบ) และ "rose" (ช่องที่ 2 ของคำว่า rise) ทั้งนี้ บางครั้งคำพ้องเสียงอาจสะกดต่างกันด้วย เช่น คำว่า "to", "too" และ "two"
    • สรุปได้ว่า คำพ้องทั้งหมดก็ถือเป็นคำพ้องเสียงโดยปริยาย เพราะมันออกเสียงเหมือนกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม คำพ้องเสียงบางคำ อาจไม่ใช่คำพ้องก็ได้ เพราะคำพ้องเสียงบางคำไม่ได้สะกดเหมือนกัน (ถ้าเป็นคำพ้อง ทั้งเสียงและรูปต้องเหมือนกัน คนสอนบางคนจึงเรียก Homonym ว่า คำพ้องรูปและเสียง ซึ่งเรียกยาวไปโดยไม่จำเป็น)[1]
    • ตัวอย่าง: ตัวอย่างอื่นๆ ของคำพ้องและคำพ้องเสียง คือ คำว่า "here" และ "hear"; คำว่า "eight" และ "ate"; คำว่า "wear," "ware," และ "where"; คำว่า "lose" และ "loose"; รวมถึงคำว่า "sent," "scent," และ "cent."
    • ลองคลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อตามไปอ่านบทตัวอย่าง คำพ้องและคำพ้องเสียง เพื่อความเข้าใจเชิงลึกได้เลย:
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ระวังการใช้คำเติมหน้า (prefixes).
    คำเติมหน้าเป็นส่วนประกอบที่อยู่เริ่มต้นของคำศัพท์ เอาไว้ทำให้ความหมายของรากศัพท์นั้นเปลี่ยนไป เช่น หากคุณใช้คำเติมหน้าว่า "un-" เติมไว้หน้ารากศัพท์อย่าง "happy" ก็จะกลายเป็นคำว่า "unhappy" (ซึ่งหมายความว่า “ไม่มีความสุข” นั่นเอง) ทั้งนี้ การมีคำเติมหน้า ก็ทำให้การสะกดคำภาษาอังกฤษปวดหัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน แต่ก็ยังดีที่มีกฎง่ายๆ มาช่วยจำเหมือนเดิม:
    • อย่าเพิ่มหรือตัดอักษรใด: จำไว้ว่า การมีคำเติมหน้า ก็ไม่ได้ทำให้รากศัพท์ที่ถูกเติม สะกดต่างไปจากเดิมแต่อย่างใด ต่อให้เป็นบางคำที่อาจมีตัวพยัญชนะซ้อนกันก็เถอะ พูดง่ายๆ ก็คือ ห้ามเพิ่มหรือตัดอักษรใดทั้งสิ้น ไม่ว่ามันจะออกมาดูแปลกๆ แค่ไหนก็ตาม เช่น คำว่า "misstep", "preeminent" และ "unnecessary"
    • เข้าใจวิธีการใช้ขีดกลาง (hyphens): ในบางสถานการณ์ คุณจำเป็นต้องใช้ขีดกลาง เพื่อคั่นระหว่างคำเติมหน้ากับรากศัพท์ที่ถูกเติม ตัวอย่างเช่น กรณีที่คำเติมหน้า ใช้เติมคำนามจำเพาะหรือตัวเลข (เช่น un-American หรือคนที่ไม่ใช่สัญชาติอเมริกัน) กรณีที่ใช้คำเติมหน้าว่า"ex-" เพื่อแสดง “ความเป็นอดีต” (เช่น ex-military หรือ อดีตทหาร) กรณีที่ใช้คำเติมหน้าว่า "self-" (เช่น self-indulgent และ self-important) กรณีที่จำเป็นต้องขีดกลาง เพื่อแยกคั่นระหว่างสระซ้อน เช่น สระ "a" และสระ "i" หรือสระใดๆ ที่ซ้อนกันอยู่ เพื่อให้ออกเสียงได้ง่ายขึ้น (เช่น คำว่า ultra-ambitious, anti-intellectual และ co-worker)[2]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เข้าใจวิธีการทำคำนามให้เป็นพหูพจน์.
    การเรียนรู้วิธีทำคำนามเป็นพหูพจน์นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้การสะกดคำยากขึ้นไปอีก เพราะมีหลักการมากมายในการทำคำนามภาษาอังกฤษให้เป็นพหูพจน์ (แม้ว่าส่วนใหญ่แล้ว จะเพียงเติมตัวพยัญชนะ "s" เข้าไปเท่านั้น)
    • สังเกตอักษรท้ายของคำ: กุญแจสำคัญในการทำนามเป็นพหูพจน์ คือ สังเกตอักษรหนึ่งหรือสองตัว ที่อยู่ท้ายคำนั้น เพราะมันสามารถบ่งบอกได้ว่า จะต้องเติมอะไรต่อท้ายถัดไป ตามกฎต่อไปนี้:
    • คำนามเอกพจน์ส่วนใหญ่ที่ลงท้ายด้วย "ch", "sh", "s", "x" และ "z" สามารถทำเป็นพหูพจน์ได้โดยการเติมอักษร "es" ต่อท้าย เช่น คำว่า "box" เป็น "boxes", คำว่า "bus" เป็น "buses" และคำว่า "prize" เป็น "prizes"
    • คำนามเอกพจน์ส่วนใหญ่ที่ลงท้ายด้วย "y" สามารถทำเป็นพหูพจน์ได้โดยการเติมอักษร "s" ต่อท้าย เช่น คำว่า "boy" เป็น "boys" และคำว่า "day" เป็น "days"
    • คำนามเอกพจน์ส่วนใหญ่ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะและตามด้วย "y" สามารถทำเป็นพหูพจน์ได้โดยการตัด "y" และเติม "ies" ต่อท้าย เช่น คำว่า "baby" เป็น "babies", คำว่า "country" เป็น "countries" และคำว่า "spy" เป็น "spies"
    • คำนามเอกพจน์ส่วนใหญ่ที่ลงท้ายด้วย "f" หรือ "fe" สามารถทำเป็นพหูพจน์ได้โดยการตัด "f" หรือ "fe" และเติม "ves" ต่อท้าย เช่น คำว่า "elf" เป็น "elves", คำว่า "loaf" เป็น "loaves" และคำว่า "thief" เป็น "thieves"
    • คำนามเอกพจน์ส่วนใหญ่ที่ลงท้ายด้วย "o" สามารถทำเป็นพหูพจน์ได้โดยเติม "s" เช่น คำว่า "kangaroo" เป็น "kangaroos" และคำว่า "piano" เป็น "pianos" อย่างไรก็ตาม บางครั้งหากเป็นคำศัพท์ลงท้ายด้วยพยัญชนะและตามด้วย "o" การเปลี่ยนเป็นพหูพจน์อย่างถูกวิธี ต้องเติม "es" เช่นคำว่า "potato" เป็น "potatoes" และคำว่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การฝึกสะกดคำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    แตกคำเป็นพยางค์ และสังเกตศัพท์ในศัพท์. แค่เพียงเพราะคำศัพท์มีขนาดยาว ไม่ได้หมายความว่ามันจะสะกดยาก ขอเพียงคุณแตกคำออกเป็นพยางค์ และสังเกตศัพท์ย่อยที่ซ่อนอยู่ในศัพท์ใหญ่

    • แตกคำย่อย: เช่น คำว่า “baseball” สามารถแตกคำย่อยออกมาได้ 2 คำ: “base” และ “ball” ซึ่งสะกดไม่ยากเลยเห็นไหม
    • แตกคำเป็นพยางค์: แม้ว่าบางศัพท์ คุณจะไม่สามารถแตกคำย่อยออกมาได้ แต่ก็สามารถแตกเป็นพยางค์ได้ ซึ่งช่วยได้มากทีเดียว เช่น คุณสามารถแตกคำว่า “hospital" เป็น "hos-pit-al" หรือคำว่า "university" เป็น "u-ni-ver-si-ty"
    • แตกเป็นเสี่ยงๆ: คุณยังสามารถจำคำศัพท์ที่มี 14 ตัวสะกด ซึ่งอาจดูเหมือนยาก ได้อย่างง่ายดาย เช่น คำว่า “hypothyroidism” คุณสามารถแตกออกเป็นเสี่ยงๆ จนได้มาทั้งคำเติมหน้า รากศัพท์ และคำต่อท้าย: “hypo-”, “thyroid,” และ “-ism”
    • จำไว้ว่า ทักษะการสะกดของคุณนั้น จะก้าวหน้าขึ้นมาก หากคุณพยายามท่องคำเติมหน้าและคำต่อท้ายให้คุ้นเคยเข้าไว้ เพราะว่าศัพท์ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มักมีทั้งคำเติมหน้าและคำต่อท้าย หรือไม่ก็คำใดคำหนึ่งด้วยเสมอ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกเสียงคำ.
    การออกเสียงคำศัพท์ (แบบโอเว่อร์หน่อยๆ) สามารถทำให้คุณนึกตัวสะกดออกได้ อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องออกเสียงให้ถูกหลักการด้วยนะ
    • ดังนั้น คุณควรแก้ไขการอ่านออกเสียงให้เคยชินเป็นนิสัย (อย่าทำเนียนข้ามตัวพยัญชนะหรือตัวสระตัวใดออกไป โดยใช่เหตุ) ก็จะช่วยให้คุณออกเสียงแต่ละคำได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
    • ตัวอย่าง: คำศัพท์ที่คนเรียนมักออกเสียงผิด จนทำให้สะกดผิดตามไปด้วย คือ: "probably" (มักออกเสียงผิดกันเป็น "probly"), "different" (มักออกเสียงผิดกันเป็น "difrent"), "Wednesday" (มักออกเสียงผิดกันเป็น "Wensday") และ "library" (มักออกเสียงผิดกันเป็น "libry")
    • คำศัพท์อื่นๆ ที่คุณควรระวังเวลาใช้วิธีดังกล่าว เพราะคนส่วนใหญ่มักออกเสียงรัวๆ คือ คำว่า "interesting" หรือ "comfortable" การที่เรามักอ่านคำพวกนี้เร็วเกินไป จึงทำให้แยกตัวสะกดออกมาได้ยากลำบาก
    • อ่านช้าๆ: เวลาที่จะออกเสียงพวกคำดังกล่าว พยายามช้าลงสักนิด และตั้งใจเน้นแต่ละพยางค์ให้ชัดเจน พยายามออกเสียงคำว่า "interesting" ให้ออกมาเป็น "in-TER-esting" เพื่อที่คุณจะได้นึกถึงตัว "e" ที่อยู่ตรงกลางด้วย หรือออกเสียงคำว่า "comfortable" ให้เป็น "com-FOR-ta-ble" เพื่อให้คุณนึกภาพสระแต่ละตัวออกชัดๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ เทคนิคช่วยจำ.
    เทคนิคช่วยจำ หรือที่เรียกว่า (mnemonics) นั้น เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณจำข้อมูลสำคัญๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วิธีการสะกดคำ ซึ่งมีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น เทคนิคดังนี้:
    • ประโยคขำๆ: เทคนิคนี้เป็นเทคนิคช่วยจำแบบสนุกๆ เพื่อช่วยให้คุณจดจำคำศัพท์ยากๆ ได้ด้วยการเอาตัวอักษรแรกในคำๆ นั้น มาเพิ่มเป็นคำแต่ละคำในตัวมันเอง และสร้างประโยคที่ความหมายขำๆ ออกมา เพื่อให้คุณจำได้ง่ายๆ ว่ามีตัวสะกดอะไรบ้างในคำนั้น เช่น หากคุณอยากรู้ว่า "because" มีตัวสะกดใดบ้าง คุณก็อาจใช้เทคนิคช่วยจำด้วยประโยคที่ว่า "Big Elephants Can Always Understand Small Elephants" หรือหากต้องการจำตัวสะกดของคำว่า "physical" คุณก็อาจแต่งเป็นประโยคว่า "Please Have Your Strawberry Ice Cream And Lollipops" ยิ่งประโยคที่แต่งออกมา มีความหมายขำมากเท่าไร คุณก็ยิ่งจำง่ายเท่านั้น
    • บอกใบ้อย่างชาญฉลาด: เทคนิคช่วยจำบางอย่าง มีความสร้างสรรค์ในแง่ที่สามารถบอกใบ้ตัวสะกดที่ถูกต้องได้ ด้วยการสร้างเงื่อนงำในแบบเฉพาะตัวออกมา เช่น หากคุณมักมีปัญหาในการจำตัวสะกดสลับกันระหว่างคำว่า "desert" (ทะเลทราย) กับคำว่า "dessert" (ของหวาน) คุณก็อาจจะแค่จำไว้ว่า "dessert" ต้องมี "s" สองตัวอยู่แล้ว เพราะเรามักสั่งมั่นมากินเป็นลำดับที่สอง รองจากของคาวนั่นเอง[3]
    • หากคุณรู้สึกว่า คำว่า "separate" นั้นจำยาก ก็แค่จำไว้ว่า คำนี้มี หนูตัวนึง (a rat) อยู่ระหว่างกลาง หรือหากคุณแยกตัวสะกดระหว่างคำว่า "stationery" และ "stationary" ไม่ออก ก็จำเพียงว่า "stationery" ที่สะกดด้วย "e" ย่อมมีความหมายเกี่ยวกับ envelopes (ซองเอกสาร) และอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ นั่นเอง นอกจากนี้ หากคุณมีปัญหาในการแยกแยะระหว่าง "principal" (คนที่มีอำนาจมากที่สุดในหน่วยงานนั้น) กับคำว่า "principle" (หลักการ) ก็จำเพียงว่า principal เป็น “เพื่อน” ("pal") กับหัวหน้างานคุณเองก็ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พยายามจดจำคำศัพท์ที่มักสะกดผิด.
    ต่อให้คุณใช้เทคนิคและกฎต่างๆ ที่เราแนะนำมาจนหมดแล้ว ก็ยังอาจเป็นไปได้ว่า มีศัพท์บางคำที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับสมองคุณ จนทำให้คุณสะกดผิดอยู่วันยังค่ำ ซึ่งในกรณีดังกล่าว การจดจำมันทั้งคำนั่นแหละ เป็นทางแก้ที่ดีที่สุด
    • ระบุศัพท์เจ้าปัญหา: ก่อนอื่น คุณต้องหาว่าคำศัพท์ใดบ้าง ที่คุณมักมีปัญหาจำผิดบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการย้อนกลับไปทบทวนศัพท์ที่คุณเขียนไว้ และตรวจการสะกดคำเหล่านั้นบ่อยๆ ซึ่งจะทำได้สะดวกขึ้น หากคุณมีไฟล์เอกสารเก็บไว้ในคอมฯ และใช้โปรแกรมเช็คคำผิด แต่วิธีที่ดีกว่านั้น คือ การหาคนที่สะกดคำภาษาอังกฤษเก่งๆ มาช่วยแก้ไขงานของคุณ ลองถามตัวเองดูว่า ศัพท์คำใดที่คุณสะกดผิดบ่อยมากที่สุด
    • จดบันทึกไว้: หลังจากที่คุณระบุคำที่ตนเองสะกดผิดบ่อยๆ ได้แล้ว ก็ให้ลิสต์คำเหล่านั้นออกมา และเขียนแก้เสียใหม่ (สะกดให้ถูกต้อง) อย่างน้อยสิบครั้ง ไล่แต่ละคำออกมาเพื่ออ่านออกเสียง สังเกตพยางค์ และพยายามตั้งใจจดจำตัวสะกดให้ได้
    • ยิ่งฝึกยิ่งเก่ง: พยายามทำเช่นนี้ทุกวัน หรือวันเว้นวัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหมือนการ "ฝึก" สมองและสองมือของคุณ ให้สะกดคำได้ถูกต้อง และท้ายที่สุดแล้ว คุณอาจลองฝึกตั้งคำถามทดสอบตนเองด้วยก็ได้ ด้วยการหาคนมาอ่านออกเสียง (หรือออกเสียงอัดเทปไว้เองก็ได้) และเขียนคำแต่ละคำออกมาตามที่ได้ยิน จากนั้น ก็กลับมาตรวจทานดูว่าคุณสะกดผิดคำใดบ้าง
    • ใช้ป้ายหรือบัตรคำ: อีกวิธีหนึ่งในการฝึกสะกดคำเจ้าปัญหา คือ ใช้ป้ายหรือบัตรคำ โดยคุณอาจแปะป้ายกระดาษที่มีศัพท์แต่ละคำเอาไว้ เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านบางอย่าง เช่น "faucet", "duvet", "television" และ "mirror" จากนั้น เมื่อคุณไปใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อใด ก็สั่งตัวเองให้ออกเสียงให้ถูกก่อนทุกครั้ง เป็นการย้ำเตือนให้ตนเองจำวิธีสะกดของแต่ละคำ หรือคุณอาจจะใช้บัตรคำที่เขียนคำเจ้าปัญหาเอาไว้สัก 2-3 คำ และเสียบไว้ตามที่ต่างๆ ในบ้าน เช่น ตะแกรงเรียงจาน หรือบนเครื่องทำกาแฟ ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณไปล้างจานหรือจะชงกาแฟดื่ม คุณก็สามารถท่องศัพท์พวกนี้ไปพลางๆ ได้ตลอด
    • ใช้ประสาทสัมผัส: คุณยังอาจฝึกสะกดคำด้วยการเขียนมันออกมา โดยใช้นิ้ววาดแทนปากกาลงบนกระดาษ โต๊ะ ผนังห้องน้ำ หรือแม้แต่บนหาดทรายก็ได้ ยิ่งคุณฝึกจำด้วยประสาทสัมผัสเช่นนี้มากเท่าไร สมองคุณก็จะยิ่งจำฝังลึกยิ่งขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตรวจงานตัวเองบ่อยๆ บางทีเวลาเขียนรายงานหรือบทความภาษาอังกฤษ เราอาจรีบจนกระทั่งเผลอเขียนผิดโดยไม่รู้ตัว เช่น คำที่เสียงคล้ายกันอย่าง 'reef' อาจเขียนเป็น 'wreath' โดยที่คุณไม่เอะใจ เพิ่งมารู้ตัวภายหลัง จนเกิดอุทานว่า "โอ้ว นี่เราเขียนออกมาเป็นคำนี้ได้ไงเนี่ย"
  • ตรวจคำผสมในดิกชันนารี่ คุณไม่มีทางมั่นใจได้หรอกว่า จะเขียนคำอย่างเช่น "stomachache" "stomach-ache" หรือ "stomach ache" แบบไหนถูกต้องที่สุด จนกว่าจะตรวจจากดิกชันนารี่อีกครั้ง เพราะสมัยนี้กฎการใช้ขีดกลางก็เปลี่ยนไปมากเหลือเกิน ดังนั้น ควรเช็คจากดิกชันนารี่เวอร์ชั่นใหม่ๆ หน่อยด้วย ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษแบบอังกฤษ หรืออังกฤษแบบอเมริกันก็ตาม
  • การจำลักษณะการสะกดคำในภาษาอื่นๆ ให้คุ้นเคยไว้ ก็จะมีประโยชน์มากเช่นกัน จะได้รู้ที่มาของศัพท์นั้นด้วย เช่น ในภาษาฝรั่งเศส เสียง "sh" จะสะกดด้วย "ch" ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำว่า "cliché" และ "chic" เป็นต้น
  • อย่ากลัวที่จะเปิดดิกฯ เพราะภาษาอังกฤษนั้นมีรากเหง้ามาจากหลายภาษา ที่เก่าแก่ที่สุดเห็นจะเป็นจากทางเชื้อสาย Anglo (ทางเหนือของเยอรมัน), Saxon (ทางใต้ของเยอรมัน) รวมถึง Norman หรือ Bordeaux ซึ่งเป็นชนชาวฝรั่งเศสผู้มาตั้งรกรากในอังกฤษ และก็ยังมีรากศัพท์มากมายที่มาจากภาษากรีกและละตินอีกด้วย ดิกชันนารี่ที่มีคุณภาพ จะระบุข้อมูลพวกนี้ไว้อย่างละเอียด ซึ่งยิ่งคุณอ่านมากเท่าไร ก็ยิ่งจดจำรูปแบบของศัพท์ได้มากขึ้น
  • มีหลายวิธีในการเขียนเล่นคำมากมาย ที่ทำให้เสียงอ่านเปลี่ยนไปจากปกติได้ เช่น คุณสามารถออกเสียงคำว่า "ghoti" ให้มีเสียงอ่านว่า "fish" ได้ หากคุณออกเสียง gh แบบเดียวกับที่อยู่ในคำว่า tough ออกเสียง o แบบเดียวกับที่อยู่ในคำว่า women และออกเสียง ti แบบเดียวกับที่อยู่ในคำว่า nation เป็นต้น[4]
  • ลองอาสาตรวจพิสูจน์คำศัพท์ให้งานของใครสักคนก็ได้ บางทีวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้บางอย่าง ก็คือการสอนวิชานั้นให้แก่คนอื่น หรือฝึกตัวเองให้สังเกตว่า คนอื่นสะกดคำไหนผิดอย่างไรบ้าง แม้กระทั่งในหนังสืออ่านบางเล่มด้วยก็ได้ (อาจเกิดขึ้นได้) คุณอาจเริ่มฝึกด้วยการแก้ไขบทความภาษาอังกฤษของวิกิฮาว ดูก่อนก็ได้ ด้วยการกดปุ่ม "edit" ในแต่ละบทความ เพื่อทำการแก้ไขได้ทันที และอาจสมัครเป็นผู้ใช้งานเพื่อร่วมเป็นสมาชิกของชุมชนชาววิกิฮาวด้วยก็ได้
  • การอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ แคตตาล็อก ป้ายโฆษณา โปสเตอร์ตามห้าง ล้วนสามารถช่วยให้คุณพัฒนาทักษะการสะกดได้ดีขึ้น หากคุณเจอศัพท์ภาษาอังกฤษที่ไม่คุ้น พยายามจดเอาไว้ ลงบนกระดาษทิชชู่ก็ยังดี เมื่อกลับถึงบ้านก็รีบไปเปิดดิกฯ ดูเพิ่มเติม ยิ่งคุณหาแหล่งอ้างอิง และอ่านมากเท่าไร ก็ยิ่งสะกดเก่งขึ้นเท่านั้น
  • ฝึกเอาตัวสะกดในแต่ละคำ มาแต่งเป็นประโยค เช่น คุณอาจเอาคำว่า “arithmetic” มาแต่งเป็นประโยคว่า “A rat in the house might eat the ice cream." นอกจากนี้ การฝึกแต่งประโยค เช่นว่า 'I want accommodation in castles and mansions' ก็สามารถช่วยให้คุณจำได้ว่า ต้องใช้ดับเบิ้ล “c” และดับเบิ้ล “m” ในการสะกดคำว่า “accommodation” เป็นต้น
โฆษณา

คำเตือน

  • จำไว้ว่า บางคำ เช่น "color"/ "colour"; "goiter"/ "goitre"; "gray"/ "grey"; "checkered"/ "chequered" และ "theater"/ "theatre" สามารถสะกดได้มากกว่าหนึ่งแบบ ซึ่งต่างก็ถูกต้องทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นแบบอังกฤษหรืออเมริกานั่นเอง
  • อย่าเหมาเอาว่า คำศัพท์ที่เห็นในหนังสือทุกคำต้องสะกดถูกไปเสียหมด งานเขียนใดๆ ล้วนเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ทั้งนั้น
  • อย่าหวังพึ่งโปรแกรมตรวจหาคำผิดอย่างเดียว เพราะมันไม่ค่อยละเอียดเหมือนตรวจเอง ซึ่งอาจมีบางประโยคหลุดลอดจากการตรวจได้ เช่น ประโยคที่ว่า "Eye tolled ewe, eye am knew at this."
  • แม้แต่คำที่สะกดผิดอย่างเห็นได้ชัด โปรแกรมก็ยังปล่อยให้เป็นคำถูกได้ ดังนั้น อย่าหวังพึ่งมันเลยจะดีที่สุด
  • จงสรุปด้วยความระมัดระวังว่า ข้อเขียนที่คุณอ่านนั้น สะกดแบบอเมริกันหรืออังกฤษ คุณอาจตั้งคำถามดูว่า บทความนี้เขียนขึ้นโดยชาวอเมริกันหรือชาวอังกฤษ ซึ่งเมื่อคุณทราบแล้ว คุณรู้ด้วยหรือไม่ว่า ใครเป็นแก้ไขหรือปรับปรุงบทความนั้น การตรวจแก้ไขคำที่สะกดผิดนั้น เป็นงานที่ละเอียดอ่อนมาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 137,857 ครั้ง
หมวดหมู่: ภาษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 137,857 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา