วิธีการ ดูแลตัวเองเมื่อข้อมือหัก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เวลาข้อมือหัก เหมารวมถึงกระดูกปลากแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ (distal radius) และ/หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย (ulna) ไปจนถึงกระดูกส่วนอื่นๆ อีกหลายส่วนในข้อมือด้วย (carpal bones หรือกระดูกข้อมือ) ถือเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยๆ[1] จริงๆ แล้วกระดูกส่วน radius นี่แหละที่หักบ่อยที่สุดในบรรดากระดูกส่วนอื่นของแขนเลย อย่างผลสำรวจของทางอเมริกาเองก็ชี้ว่า 1 ใน 10 ของอาการกระดูกหักที่พบ ก็คือหักที่ distal radius นี่แหละ[2] ข้อมือมักหักตอนคุณล้มหรือถูกอะไรบางอย่างกระแทก คนกลุ่มที่เสี่ยงข้อมือหักกว่าชาวบ้าน ก็คือพวกนักกีฬา โดยเฉพาะถ้าเล่นกีฬาชนิดที่ต้องกระแทกกระทั้นกัน ส่วนอีกกลุ่มก็คือคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ช่วงที่ได้รับการรักษาแล้วและต้องพักฟื้นหลังกระดูกหัก คุณจะต้องใส่เฝือกหรือเฝือกอ่อนไว้จนกว่าข้อมือจะหายดี บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการดูแลตัวเองเพิ่มเติมเมื่อกระดูกหักให้คุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รีบไปหาหมอ.
    ถ้าข้อมือหักก็แน่นอนว่าต้องให้คุณหมอตรวจรักษา ข้อมือถึงจะหายและกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ถ้าไม่รู้สึกปวดเท่าไหร่ ก็รอจนนัดหมอประจำตัวได้ไม่เป็นไร[3] แต่ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ แปลว่าคุณต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วนเลย[4]
    • ปวดหรือบวมมาก
    • ข้อมือ มือ หรือนิ้วชา
    • ข้อมือดูบิดผิดรูป เช่น โค้งงอ
    • กระดูกหักแบบเปิด หรือ open fracture (คือมีกระดูกทิ่มทะลุออกมาให้เห็นนอกผิวหนัง)
    • นิ้วซีดขาว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้จักขั้นตอนการตรวจรักษา.
    ปกติถ้าข้อมือคุณหัก คุณหมอจะใส่เฝือกอ่อนให้ คือเป็นชิ้นพลาสติกแข็งๆ หรือไฟเบอร์กลาส ไม่ก็โลหะ โดยประกบแล้วใช้ผ้าพันแผลพันยึดไว้หรือใช้ที่พยุงข้อมือ[5] คุณต้องใส่เฝือกอ่อนแบบนี้ไปประมาณหนึ่งอาทิตย์ จนกว่าข้อมือจะบวมน้อยลง[6]
    • พอผ่านไปประมาณ 2 - 3 วันหรือ 1 อาทิตย์ และข้อมือหายบวมในช่วงแรกๆ แล้ว ก็จะเปลี่ยนมาใส่เฝือกที่ทำจากปูนปลาสเตอร์หรือไฟเบอร์กลาสแทน[7]
    • บางเคสก็ต้องเปลี่ยนเฝือกอีกรอบ ถ้า 2 - 3 อาทิตย์ผ่านไปแล้วข้อมือหายบวม ลดขนาดลงไปอีก จนเฝือกแรกเริ่มหลวม[8][9]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อดทนรอ 6 - 8 อาทิตย์.
    ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ข้อมือที่หักมักหายดีใน 6 - 8 อาทิตย์ แต่ก็แปลว่าระหว่างนั้นคุณต้องใส่เฝือกไว้ที่ข้อมือตลอด[10]
    • ระหว่างนั้นคุณหมอจะนัดเอกซเรย์เรื่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมือกำลังรักษาตัวเอง อาการดีขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พบนักกายภาพบำบัด.
    พอถอดเฝือกแล้ว คุณหมออาจจะโอนเคสต่อไปยังนักกายภาพบำบัด เพื่อทำการบำบัดรักษาให้ข้อมือคุณกลับมามีแรงและขยับเขยื้อนได้เต็มองศาตามเดิม หลังบาดเจ็บและพักฟื้นมาระยะหนึ่ง[11]
    • ถ้าดูแล้วคุณไม่จำเป็นต้องพบนักกายภาพบำบัด คุณหมอจะแนะนำท่าบริหารให้ไปทำเองที่บ้าน ก็ต้องมีวินัย ทำตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด เพราะจะช่วยคืนสภาพข้อมือให้กลับมาใช้งานได้ดีเหมือนปกติแน่นอน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

บรรเทาอาการปวดบวม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ยกข้อมือสูง.
    ให้ยกข้อมือสูง เหนือระดับหัวใจ จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้ สำคัญมากว่าต้องยกข้อมือสูงแบบนี้อย่างน้อย 48 - 72 ชั่วโมงหลังใส่เฝือก แต่บางเคสคุณหมอก็อาจแนะนำให้ยกข้อมือสูงนานกว่านั้น[12]
    • บางทีก็ต้องยกข้อมือสูงทั้งตอนนอนและระหว่างวัน แบบนั้นให้หาหมอนมาหนุนรองข้อมือไว้ จะสะดวกและสบายขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบน้ำแข็งที่ข้อมือ.
    ประคบน้ำแข็งที่ข้อมือช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและลดบวม แต่อย่าให้เฝือกเปียกตอนประคบน้ำแข็งล่ะ[13]
    • ให้เอาน้ำแข็งใส่ถุงซิปล็อคแล้วรูดปิดให้สนิท ถ้าน้ำแข็งละลายจะได้ไม่รั่วหรือไหลออกมา จากนั้นห่อถุงซิปล็อคด้วยผ้าขนหนู ป้องกันน้ำและความชื้นที่อาจทำให้เฝือกเปียกได้ตอนประคบ
    • บ้านใครมีอาหารหรือผักแช่แข็ง ก็อาจจะใช้ถุงแช่แข็งนั้นประคบเย็นแทนน้ำแข็งก็ได้ ถ้าเป็นถุงผัก ต้องเลือกที่ข้างในชิ้นเล็กๆ ขนาดเท่าๆ กัน เช่น ข้าวโพด หรือถั่วลันเตา (ที่สำคัญคืออย่าเอาไปกินต่อหลังใช้ประคบแทนน้ำแข็งหรือเจลเย็นแล้ว)[14]
    • ประคบเย็นที่ข้อมือประมาณ 15 - 20 นาที ทุก 2 - 3 ชั่วโมง โดยประคบเย็นในช่วง 2 - 3 วันแรก หรือนานเท่าที่คุณหมอแนะนำ[15]
    • อาจจะสะดวกกว่า ถ้าประคบเย็นด้วยเจลแพ็คสำเร็จรูป เพราะแค่แช่ช่องฟรีซก็เอากลับมาใช้ใหม่ได้ทันที ไม่ต้องกลัวละลายเลอะเทอะหรือน้ำรั่วใส่เฝือก ปกติคุณหาซื้อเจลแพ็คได้ตามร้านขายยาและอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ซื้อยาแก้ปวดกินเอง.
    อาการปวดข้อมือส่วนใหญ่แก้ได้โดยซื้อยาแก้ปวดกินเอง[16] แต่จะปรึกษาคุณหมอก่อนก็ได้ ว่าอาการของคุณเหมาะกับยาแก้ปวดชนิดไหน เพราะบางทีจะไปต้านกันกับยาที่คุณใช้อยู่หรือส่งผลต่อโรคประจำตัวของคุณ บางทีคุณหมออาจแนะนำให้กินยาไอบูโพรเฟนร่วมกับอะเซตามิโนเฟน/พาราเซตามอล เพื่อแก้ปวดและลดบวมในเวลาเดียวกัน เป็นตัวยาที่ถ้ากินควบคู่กันไปจะเสริมฤทธิ์กัน ดีกว่ากินแยกตัวใดตัวหนึ่ง[17]
    • ไอบูโพรเฟนเป็นยา NSAID (non-steroidal anti-inflammatory drug) คือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดไข้ลดบวมได้ โดยไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายหลั่งสาร prostaglandins ยา NSAIDs ชนิดอื่นก็เช่น นาพรอกเซน โซเดียม และแอสไพริน แต่ถ้าเป็นแอสไพรินจะออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดนานกว่ายา NSAIDs ตัวอื่นๆ[18]
    • ถ้าคุณมีภาวะเลือดออกผิดปกติ หอบหืด โลหิตจาง หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คุณหมอจะไม่แนะนำให้กินยาแอสไพริน เพราะยาแอสไพรินมักออกฤทธิ์ต้านกันกับยาตัวอื่นๆ หรือกระทบต่อโรคประจำตัวของคุณได้[19]
    • ถ้าจะให้เด็กกินยาแก้ปวด ต้องเลือกยาของเด็กโดยเฉพาะ และให้ยาโดยคำนึงถึงอายุและน้ำหนักตัวของเด็ก[20] ซึ่งก็ไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีกินยาแอสไพรินอยู่ดี
    • ยาอะเซตามิโนเฟนกินแล้วก็เสี่ยงอันตรายต่อตับได้ เพราะงั้นต้องกินในปริมาณตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด[21]
    • ห้ามซื้อยาแก้ปวดกินเองติดต่อกันนานเกิน 10 วัน (ถ้าเป็นเด็กก็แค่ 5 วัน) เว้นแต่คุณหมอแนะนำ ถ้ายังปวดไม่หายหลังผ่านไปตั้ง 10 วัน ให้รีบไปหาหมอ[22]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บริหารโดยกระดิกนิ้วและขยับข้อศอก.
    สำคัญมากว่าต้องคอยบริหารข้อต่างๆ ที่โผล่พ้นเฝือกออกมา เช่น ข้อศอกและนิ้วมือ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงได้ทั่วถึง[23] แบบนี้จะช่วยให้ข้อมือที่หักหายเร็ว และไม่ยึดตึง กลับมาขยับได้ตามปกติเร็วขึ้น[24]
    • ถ้าขยับข้อศอกหรือนิ้วมือแล้วรู้สึกปวด ให้รีบไปหาหมอ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่ายื่นอะไรเข้าไปในเฝือก.
    แน่นอนว่าต้องมีบ้างที่รู้สึกคันยิบๆ ตรงผิวหนังใต้เฝือก จนอยากเกาใจจะขาด แต่บอกเลยว่าอย่า! เพราะจะเป็นอันตรายทั้งต่อผิวหนังข้างใต้และตัวเฝือกเอง ย้ำกันตรงนี้เลยว่าห้ามเอาอะไรเขี่ยหรือแหย่เข้าไปในเฝือกเด็ดขาด[25]
    • ให้ยกเฝือกสูง หรือใช้ไดร์เป่าผม เป่าลม “เบาๆ” หรือ “ลมเย็น” เข้าไปแทน[26]
    • ที่ห้ามเลยคืออย่าโรยแป้งเข้าไปในเฝือก เพราะถ้าสุดท้ายแป้งแก้คันไปติดอยู่ในเฝือก รับรองระคายเคืองกว่าเดิมแน่นอน[27]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ติดพลาสเตอร์ moleskin ป้องกันการเสียดสี.
    ถ้าขอบของเฝือกเสียดสีจนระคายผิว ก็ลองแปะพลาสเตอร์ moleskin ดู จะเป็นเหมือนผ้านุ่มๆ มีกาวที่ด้านหลัง ใช้แปะที่ผิวได้โดยตรง โดยเฉพาะส่วนที่ขอบเฝือกเสียดสีกับเนื้อของคุณ คุณหาซื้อ moleskin ได้ตามร้านขายยาทั่วไป[28]
    • ให้ติด moleskin ตรงผิวที่สะอาดและแห้งสนิทแล้ว ถ้าพลาสเตอร์เริ่มสกปรกหรือไม่ค่อยเหนียว ติดไม่อยู่แล้ว ก็เปลี่ยนแผ่นใหม่ได้เลย
    • ถ้าขอบเฝือกเริ่มคมบาดผิว ให้ใช้ตะไบเล็บมาตะไบลบคมของขอบเฝือก อย่าไปแกะ ตัด หรือฉีกส่วนใดส่วนหนึ่งของเฝือกออกมาเองเด็ดขาด
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รู้ตัวว่าอาการแบบไหนควรรีบไปโรงพยาบาล.
    ปกติถ้าดูแลรักษาถูกวิธีแล้วและไม่มีอะไรผิดพลาด ข้อมือที่หักจะดีขึ้นใน 2 - 3 อาทิตย์ แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปหาหมอทันที[29]
    • มือหรือนิ้วรู้สึกชาหรือยิบๆ ซ่าๆ
    • นิ้วม่วง เย็น หรือซีด
    • ส่วนที่ใส่เฝือกไว้รู้สึกปวดหรือบวมเพิ่มขึ้น
    • ผิวบริเวณที่เสียดสีกับขอบเฝือกเป็นแผลเปิดหรือระคายเคือง
    • เฝือกแตกหรือมีบางจุดนิ่ม ยุบตัวลง
    • เฝือกเปียก แน่นเกิน หรือหลวมเกิน
    • เฝือกเริ่มส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์หรือคันใต้เฝือกไม่หาย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ใช้ชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ระวังอย่าให้เฝือกเปียก.
    เฝือกส่วนใหญ่จะทำจากปูนปลาสเตอร์ เพราะงั้นโดนน้ำแล้วเสียหายง่ายมาก ถ้าเฝือกเปียกแล้วก็เสี่ยงราขึ้นข้างในได้ ทั้งราดำและราขาว รวมถึงเสี่ยงเกิดแผลเปื่อยใต้เฝือกด้วย เพราะงั้นต้องระวังมากๆ อย่าให้เฝือกเปียกเด็ดขาด[30]
    • ตอนอาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำในอ่าง ให้ห่อเฝือกด้วยถุงพลาสติกหนาๆ (เช่น ถุงดำ) แล้วติดเทปยึดไว้ พยายามชูเฝือกไว้นอกฝักบัวหรืออ่างอาบน้ำ จะได้ไม่เสี่ยงทำเฝือกเปียก
    • ห่อเฝือกด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดหัว น้ำจะได้ไม่ไหลซึมเข้าไปในเฝือก
    • เดี๋ยวนี้มีถุงคลุมเฝือกกันน้ำขายด้วย จะให้คุณหมอสั่งให้หรือหาซื้อเองตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถ้าเผลอทำเฝือกเปียกต้องรีบเช็ดให้แห้งทันที....
    ถ้าเผลอทำเฝือกเปียกต้องรีบเช็ดให้แห้งทันที. ถ้าสุดท้ายแล้วเฝือกเปียกจนได้ ก็ให้รีบซับให้แห้งด้วยผ้าเช็ดตัว จากนั้นใช้ไดร์เป่าด้วยลม “เบาๆ” หรือ “ลมเย็น” ประมาณ 15 - 30 นาที[31]
    • ถ้าเฝือกยังเปียกหรือเริ่มนิ่มหลังเช็ดและเป่าแห้งแล้ว ให้รีบไปหาหมอ เพราะอาจจะต้องใส่เฝือกอันใหม่
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สวมถุงเท้าที่มือ.
    ถ้านิ้วของมือข้างที่ใส่เฝือกรู้สึกเย็นๆ แสดงว่าเลือดอาจจะไหลเวียนไปเลี้ยงไม่สะดวกนัก (หรืออากาศในบ้านอาจจะเย็นไปหน่อย) ให้สวมถุงเท้าแล้วยกข้อมือสูง จะช่วยให้นิ้วอุ่นขึ้นได้[32]
    • กระดิกนิ้วไปมาก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้เช่นกัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สวมเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย.
    ตอนใส่เฝือกอยู่ ถ้าต้องมานั่งใส่เสื้อผ้าที่มีตะขอ ซิป หรือกระดุม คงลำบากแน่นอน หรือถ้าเสื้อผ้ารัดรูป พอดีตัว หรือแขนยาวแนบเนื้อ ก็คงใส่ไม่สบายแน่นอน เพราะติดเฝือกทั้งตอนใส่และตอนถอด
    • ให้เลือกเสื้อผ้าที่หลวม เป็นผ้ายืด อย่างกางเกงหรือกระโปรงที่เอวเป็นยางยืด ก็ใส่และถอดได้สะดวกรวดเร็ว ใส่มือเดียวได้สบายเพราะไม่ต้องใช้สองมือติดตะขอหรือกระดุม
    • ใส่เสื้อเชิ้ตแขนสั้นหรือเสื้อเชิ้ตแขนกุดก็สะดวกดี
    • ใช้แขนข้างที่ปกติดีเอาแขนเสื้อคลุมเฝือกแล้วดึงสวมช้าๆ พยายามให้แขนข้างที่ใส่เฝือกขยับเขยื้อนน้อยที่สุด
    • ถ้าหนาวให้ใช้ผ้าคลุมไหล่หรือผ้าห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือเสื้อแจ็คเกต เพราะอย่างหลังใส่ยากกว่าเยอะ เสื้อคลุมแบบ cape หรือ poncho หนาๆ ก็ใส่ง่ายกว่าเสื้อโค้ทเยอะเลย
    • ถ้าติดขัด ทำอะไรไม่สะดวกตรงไหน อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ขอให้เพื่อนช่วยจดเลคเชอร์ให้.
    ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษา แล้วเกิดข้อมือหักขึ้นมา โดยเฉพาะข้างที่ถนัดและใช้เขียนหนังสือ ก็ต้องขออนุญาตอาจารย์ผู้สอน ให้เพื่อนหรือใครช่วยจดเลคเชอร์แทน จนกว่าข้อมือจะหายดีและคุณกลับมาเขียนหนังสือได้ตามปกติอีกครั้ง ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของเมืองนอก เขาจะมีศูนย์ให้ติดต่อขอรับความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้พิการด้วย
    • ถ้าเขียนด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดได้ หรือลองหัดเขียนดูแล้วได้ผล ก็จะช่วยได้มาก แต่ส่วนใหญ่จะแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะของแบบนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝน
    • ถ้าบังเอิญข้อมือหักข้างที่คุณไม่ถนัดอยู่แล้ว ก็ให้หาอะไรหนักๆ เช่น หนังสือปกแข็งเล่มหนาๆ หรือที่ทับกระดาษ มาทับสมุดหรือกระดาษที่คุณกำลังเขียนไว้ และพยายามใช้มือข้างที่บาดเจ็บให้น้อยที่สุด
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้มืออีกข้างไปก่อน...
    ใช้มืออีกข้างไปก่อน. พยายามทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น แปรงฟันและกินอาหาร ด้วยมือข้างที่ไม่ได้ใส่เฝือกข้างเดียว มือข้างที่บาดเจ็บจะได้พัก ช่วยลดการอักเสบได้ดี
    • ห้ามถือหรือยกอะไรด้วยมือข้างที่บาดเจ็บ เพราะจะทำให้บาดเจ็บซ้ำ ทีนี้ก็หายช้ากว่าเดิมเข้าไปอีก
  7. How.com.vn ไท: Step 7 งดขับรถหรือใช้เครื่องจักร.
    ข้อนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่ข้อมือหักข้างที่ถนัด ถือเป็นเรื่องที่อันตรายทั้งต่อตัวคุณและคนรอบข้าง ถ้าขับรถโดยที่มือข้างหนึ่งใส่เฝือกอยู่ ส่วนใหญ่คุณหมอจะสั่งงดขับรถอยู่แล้วระหว่างพักฟื้น[33][34]
    • จริงๆ แล้วการขับรถโดยที่ข้อมือใส่เฝือกไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของวิจารณญาณมากกว่า ต้องพิจารณาเอาเองว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมขับรถหรือเปล่า และจะทำให้ตัวเองและคนอื่นตกอยู่ในอันตรายไหม[35]
    • นอกจากรถแล้ว ก็ต้องงดใช้เครื่องจักรต่างๆ เช่นกัน โดยเฉพาะที่ต้องใช้สองมือบังคับเวลาใช้งาน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูแลตัวเองช่วงพักฟื้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูแลแขนและข้อมือหลังถอดเฝือกแล้ว.
    ตอนถอดเฝือกออกแล้ว ผิวข้างในจะแห้งน่าดู บางทีก็บวมด้วย
    • ถอดเฝือกออกแล้วจะสังเกตเห็นว่าผิวตัวเองแห้งหรือถึงขั้นลอก กล้ามเนื้อก็ลีบเล็กลงกว่าตอนก่อนใส่เฝือก ซึ่งก็ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด ถ้าดูแลดีๆ เดี๋ยวก็คืนสภาพเดิมเอง[36]
    • ให้แช่แขน/ข้อมือในน้ำอุ่นประมาณ 5 - 10 นาที แล้วค่อยๆ ซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนู[37]
    • ทาครีมมอยส์เจอไรเซอร์บำรุงให้ผิวบริเวณข้อมือและแขนนุ่มชุ่มชื้น
    • บรรเทาอาการบวมโดยกินยาไอบูโพรเฟนหรือแอสไพรินตามหมอสั่ง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ค่อยๆ กลับมาทำกิจวัตรประจำวันตามปกติตามขั้นตอนที่คุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ....
    ค่อยๆ กลับมาทำกิจวัตรประจำวันตามปกติตามขั้นตอนที่คุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ. แน่นอนว่าต้องใช้เวลา กว่าจะกลับมาขยับเขยื้อนและทำกิจกรรมต่างๆ ได้คล่องแคล่วตามเดิม ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน ถึงจะกลับมาออกกำลังกายเบาๆ อย่างว่ายน้ำ หรือคาร์ดิโอได้ ส่วนกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนักๆ อย่างการเล่นกีฬา ต้องรอไปก่อนสัก 3 - 6 เดือน[38]
    • ดูแลข้อมือดีๆ อย่าให้บาดเจ็บเพิ่มเติม ถ้าใส่ brace หรืออุปกรณ์พยุงข้อมือก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มเติมได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าใจร้อน เพราะกว่าจะหายต้องใช้เวลา.
    แค่ถอดเฝือกออกไม่ได้แปลว่าข้อมือคุณหายดี ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะหายสนิท โดยเฉพาะคนที่ข้อมือหักรุนแรง[39]
    • หลังจากข้อมือหัก ถึงผ่านไปนานหลายเดือนหรือหลายปี บางทีก็อาจจะยังรู้สึกปวดหรือข้อยึดตึงขึ้นมาได้[40][41]
    • จะหายเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอายุและความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายโดยรวมด้วย ถ้าเป็นเด็กและวัยรุ่นจะหายเร็วกว่าผู้ใหญ่เยอะเลย ส่วนผู้สูงอายุและคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) หรือโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) จะหายช้ากว่า หรือบางทีก็ไม่หายสนิทกลับมาสมบูรณ์ตามเดิม[42]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามยกแขนสูงเหนือระดับหัวใจในช่วงที่ปวดมากๆ เพราะเลือดและของเหลวในร่างกายไหลจะกลับไปที่หัวใจ ช่วยบรรเทาปวดลดบวมได้บ้าง
  • ตอนนอนให้หาอะไรมารองพยุงข้อมือไว้ อาจจะนอนหงายแล้วใช้หมอนรองข้อมือไว้ก็ได้
  • ถ้าจำเป็นต้องเดินทางโดยเครื่องบินช่วงที่ข้อมือใส่เฝือก ให้สอบถามความเป็นไปได้กับสายการบินก่อน เพราะบางทีคุณก็อาจจะยังขึ้นเครื่องไม่ได้ ในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงหลังใส่เฝือก[43]
  • ใครอยากให้เพื่อนเขียนเฝือกที่ข้อมือก็ได้ แต่ให้ใช้ปากกามาร์กเกอร์แบบกันน้ำและลบไม่ได้ หมึกจะได้ไม่เลอะเทอะเปรอะเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอน[44]
  • ถ้ามีปัญหา เปิดขวดหรือขวดโหลไม่ถนัด ให้ใช้ต้นขา เข่า หรือเท้าหนีบขวด/ขวดโหลไว้ แล้วใช้มือข้างที่ปกติดีหมุนเปิดแทน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าข้อมือหักก็ต้องหาหมอแน่นอน เพราะถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี จะมีผลข้างเคียงอันตรายได้
โฆษณา
  1. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/colles-fracture
  2. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00412
  3. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  4. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  5. http://www.nhs.uk/conditions/broken-arm/Pages/Introduction.aspx
  6. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/colles-fracture?page=2
  7. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/colles-fracture?page=2
  8. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00412
  9. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=14648&page=2
  10. http://www.drugs.com/aspirin.html
  11. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-3852/non-aspirin-pain-relief-oral/details
  12. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-3852/non-aspirin-pain-relief-oral/details
  13. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=14648&page=3
  14. http://www.nhs.uk/chq/Pages/2543.aspx?CategoryID=72&SubCategoryID=721
  15. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  16. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  17. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  18. http://www.nhs.uk/chq/Pages/2543.aspx?CategoryID=72&SubCategoryID=721
  19. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  20. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  21. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  22. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  23. http://www.dartmouth-hitchcock.org/documents/cast_care_tips.pdf
  24. http://well.blogs.nytimes.com/2013/12/03/when-is-it-safe-to-drive-after-breaking-a-bone/?_r=0
  25. http://newsroom.aaos.org/media-resources/Press-releases/is-it-safe-to-drive-with-my-arm-in-a-cast-frequently-asked-questions.tekprint
  26. http://www.aaos.org/news/aaosnow/may14/clinical1.asp
  27. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/casts.html#
  28. http://www.ouh.nhs.uk/patient-guide/leaflets/files%5C121210wrist.pdf
  29. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00412
  30. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/colles-fracture?page=2
  31. http://www.assh.org/handcare/hand-arm-injuries/wrist-fractures
  32. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00412
  33. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00412
  34. http://www.nhs.uk/chq/Pages/2373.aspx
  35. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/casts.html#

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 26,389 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,389 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา