ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ครึ่งชีวิตของสสารที่มีการสลายตัว คือเวลาที่สสารใช้ในการสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งสำหรับปริมาณนั้นๆ โดยแต่เดิมนั้นครึ่งชีวิตถูกนำมาใช้เพื่อบอกถึงการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีอย่างยูเรเนียมหรือพลูโตเนียม แต่จริงๆ แล้วครึ่งชีวิตก็สามารถนำมาใช้กับสสารใดๆ ที่สลายตัวแบบเอกซ์โพเนนเชียลได้เช่นกัน คุณสามารถคำนวณหาครึ่งชีวิตของสสารใดๆ ก็ได้ถ้ารู้อัตราการสลายตัว ซึ่งก็คือปริมาณเริ่มต้นของสสารนั้นและปริมาณของสสารที่เหลืออยู่หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำความเข้าใจครึ่งชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำความเข้าใจสลายตัวแบบเอกซ์โพเนนเชียล.
    การสลายตัวแบบเอกซ์โพเนนเชียลเป็นไปตามฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลทั่วไปที่ โดยที่ [2]
    • กล่าวได้ว่า ขณะที่ เพิ่มขึ้น ก็จะลดลงและเข้าใกล้ศูนย์มากขึ้น รูปแบบดังกล่าวเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เราอยากจะนำมาใช้อธิบายถึงครึ่งชีวิต โดยในกรณีนี้ เราอยากให้ เพื่อที่เราจะได้ความสัมพันธ์
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขียนฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ให้เป็นกรณีของครึ่งชีวิต....
    เขียนฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ให้เป็นกรณีของครึ่งชีวิต. แน่นอนว่าฟังก์ชันของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรทั่วๆ ไปอย่าง แต่เป็นเวลา [3]
    • แค่แทนที่ตัวแปรเฉยๆ บอกอะไรเราทุกอย่างไม่ได้ เรายังต้องนำครึ่งชีวิตจริงๆ มาคิดด้วย ซึ่งสำหรับวัตถุประสงค์ของเราแล้วมันก็คือค่าคงที่
    • จากนั้นเราก็สามารถที่จะเพิ่มครึ่งชีวิต เข้าไปในเลขชี้กำลังได้ แต่ถ้าทำแบบนี้เราต้องระมัดระวัง เพราะคุณสมบัติหนึ่งของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลของฟิสิกส์ก็คือการที่เลขชี้กำลังจะต้องไร้มิติ เมื่อเรารู้แล้วว่าปริมาณของสสารนั้นขึ้นอยู่กับเวลา เราก็ต้องนำครึ่งชีวิตไปหารเพื่อหาปริมาณที่ไร้มิติ โดยวัดครึ่งชีวิตให้อยู่ในหน่วยของเวลาเช่นกัน
    • การที่ทำแบบนั้นก็บ่งบอกเช่นกันว่า และ ถูกวัดอยู่ในหน่วยเดียวกัน จากนั้นเราก็จะได้ฟังก์ชันด้านล่าง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นำปริมาณเริ่มต้นมาร่วมคำนวณ.
    แน่นอนว่าฟังก์ชัน ของเรานั้น ถ้าอยู่เดี่ยวๆ ก็เป็นแค่ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกัน โดยเป็นฟังก์ชันที่วัดปริมาณสสารที่เหลืออยู่หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่งในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ของปริมาณเริ่มต้น ทั้งหมดที่เราต้องทำคือเพิ่มปริมาณเริ่มต้น เข้ามา แล้วเราก็จะมีสูตรสำหรับครึ่งชีวิตของสสารใดๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 แก้สมการ หาครึ่งชีวิต.
    สูตรด้านบนนั้นมีตัวแปรทุกตัวที่เราต้องมีในเบื้องต้น แต่ถ้าเราต้องเจอกับสารกัมมันตรังสีที่เราไม่รู้จักแล้ว การหามวลก่อนและหลังผ่านไประยะเวลาหนึ่งโดยตรงนั้นอาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่กับการหาครึ่งชีวิตของสารนั้นๆ ดังนั้นมาหาครึ่งชีวิตในแง่ของหน่วยตัวแปรอื่นๆ (ที่รู้จัก) กันเถอะ วิธีนี้ไม่ได้หาค่าอะไรใหม่ๆ แต่เป็นวิธีที่สะดวก โดยเราจะอธิบายขั้นตอนไปทีละขั้นที่ด้านล่าง[4]
    • หารทั้งสองข้างด้วยปริมาณเริ่มต้น
    • ใส่ลอการิทึมฐาน ทั้งสองข้าง ซึ่งจะนำเลขชี้กำลังลงมา
    • คูณทั้งสองข้างด้วย และหารทั้งสองข้างด้วยฝั่งซ้ายทั้งหมดเพื่อหาครึ่งชีวิต คุณอาจจะต้องใช้เครื่องคิดเลขเพื่อหาครึ่งชีวิตเนื่องจากมีลอการิทึมในผลลัพธ์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 โจทย์ปัญหาข้อที่ 1.
    สารกัมมันตรังสีไม่ทราบชื่อ 300 g สลายตัวเหลือ 112 g หลังจากผ่านไป 180 วินาที สารนี้มีครึ่งชีวิตเท่าไร
    • วิธีแก้ : เรารู้ปริมาณเริ่มต้น ปริมาณท้าย และระยะเวลาที่ผ่านไป
    • คิดถึงสูตรครึ่งชีวิต ครึ่งชีวิตนั้นอยู่เดี่ยวๆ อยู่แล้ว ดังนั้นให้แทนค่าตัวแปรที่เหมาะสมแล้วหาค่าออกมาได้เลย
    • ตรวจดูว่าผลลัพธ์ถูกต้องหรือไม่ ในเมื่อ 112 g น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 300 g แปลว่าอย่างน้อยต้องผ่านไปหนึ่งครึ่งชีวิตแล้ว คำตอบถูกต้อง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 โจทย์ปัญหาข้อที่ 2.
    เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตยูเรเนียม-232 ออกมา 20 kg ถ้าครึ่งชีวิตของยูเรเนียม-232 คือประมาณ 70 ปี จะต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะสลายตัวจนเหลือ 0.1 kg
    • วิธีแก้ : เรารู้ปริมาณเริ่มต้น ปริมาณท้าย และครึ่งชีวิตของยูเรเนียม-232
    • เขียนสูตรครึ่งชีวิตใหม่เพื่อหาเวลา
    • แทนค่าและหาค่า
    • อย่าลืมตรวจสอบผลลัพธ์คร่าวๆ ว่าถูกต้องหรือไม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อีกสูตรที่ใช้หาครึ่งชีวิตโดยใช้ฐานจำนวนเต็ม จำไว้ว่าสูตรนี้สลับ และ ในการหาค่าลอการิทึม
  • ครึ่งชีวิตคือการประเมินความน่าจะเป็นว่าสสารที่ยังเหลืออยู่ครึ่งหนึ่งใช้เวลาเท่าไรในการสลายตัว ไม่ใช่การคำนวณแบบแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ถ้าสสารมีอะตอมเหลืออยู่แค่หนึ่งอะตอม หลังจากเวลาผ่านไปครึ่งชีวิตอะตอมก็จะไม่ได้ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง แต่อาจจะเหลือหนึ่งหรือศูนย์อะตอม ยิ่งมีปริมาณของสสารเหลืออยู่มากเท่าไร การคำนวณหาครึ่งชีวิตก็จะแม่นยำขึ้นมากเท่านั้นตามกฎว่าด้วยจำนวนมาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Meredith Juncker, PhD
ร่วมเขียน โดย:
ผู้มีสิทธิได้รับปริญญาเอกด้านชีวเคมีและชีวโมเลกุล
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Meredith Juncker, PhD. เมเรดิธ จังก์เกอร์เป็นผู้มีสิทธิได้รับปริญญาเอกด้านชีวเคมีและชีวโมเลกุลจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยหลุยเซียนาสเตท การศึกษาของเธอเน้นไปที่โปรตีนกับโรคทางระบบประสาท บทความนี้ถูกเข้าชม 14,674 ครั้ง
หมวดหมู่: ฟิสิกส์
มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,674 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา