ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ตัวเก็บประจุนั้นต่างจากตัวต้านทาน เพราะมันใช้รหัสที่มีความหลากหลายในการอธิบายลักษณะเฉพาะของตัวมันเอง ทำให้ตัวเก็บประจุขนาดเล็กนั้นอ่านยากเป็นพิเศษ เนื่องจากการมีพื้นที่จำกัดสำหรับการพิมพ์นั่นเอง ข้อมูลในบทความนี้น่าจะช่วยคุณอ่านตัวเก็บประจุสมัยใหม่ที่มีวางขายทั่วไปได้ อย่าแปลกใจถ้าเกิดข้อมูลที่คุณไปเห็นมีการพิมพ์เรียงลำดับต่างไปจากที่อธิบายในบทความนี้ หรือเกิดตัวเก็บประจุของคุณไม่ได้พิมพ์ข้อมูลแรงดันไฟฟ้าและค่าความทนแรงดันไฟฟ้า ส่วนในวงจรไฟฟ้าแรงดันต่ำแบบทำเองนั้น ข้อมูลเดียวที่จำเป็นก็คือความสามารถในการประจุกระแสไฟฟ้า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

อ่านตัวเก็บประจุขนาดใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้หน่วยของค่าที่ใช้.
    หน่วยพื้นฐานของความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าคือฟารัด (F) ค่านี้นั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าวงจรปกติทั่วไป ฉะนั้นตัวเก็บประจุที่ใช้ในบ้านจะใช้หน่วยใดหน่วยหนึ่งต่อไปนี้:[1][2]
    • 1 µF, uF, หรือ mF = 1 ไมโครฟารัด = 10-6 ฟารัด (โปรดระวัง ในบริบทอื่นแล้ว mF จะเป็นตัวย่ออย่างเป็นทางการของมิลลิฟารัด หรือ 10-3 ฟารัด)
    • 1 nF = 1 นาโนฟารัด = 10-9 ฟารัด
    • 1 pF, mmF, หรือ uuF = 1 พิโกฟารัด = 1 ไมโครไมโครฟารัด = 10-12 ฟารัด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อ่านค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้า.
    ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ส่วนมากจะมีค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าเขียนอยู่ด้านข้าง อาจมีแตกต่างกันเล็กน้อยเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นดูค่าที่ใกล้เคียงกับหน่วยข้างบนมากที่สุด คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสำหรับเรื่องต่อไปนี้:
    • ไม่ต้องสนใจตัวพิมพ์ใหญ่ในหน่วย เช่น "MF" ก็เป็นตัวแทนหนึ่งของ "mf" (มัน ไม่มีทาง เป็นหน่วยเมกาฟารัด ต่อให้นั่นเป็นตัวย่ออย่างเป็นทางการก็ตาม)
    • อย่างงกับหน่วย "fd" นี่ก็เป็นอีกตัวย่อของฟารัด เช่น "mmfd" ก็เหมือนกับ "mmf"
    • ระวังเครื่องหมายกำกับที่มีตัวหนังสือเพียงตัวเดียวอย่างเช่น "475m" ที่มักพบในตัวเก็บประจุขนาดเล็ก [3] ดูด้านล่าง สำหรับคำแนะนำ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มองหาค่าความทนแรงดันไฟฟ้า.
    ตัวเก็บประจุบางตัวจะบอกค่าความทนแรงดันไฟฟ้า หรือช่วงสูงสุดในความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าที่คาดไว้เมื่อเทียบกับค่าที่กำกับไว้ของมัน ตัวนี้อาจไม่ได้มีความสำคัญสำหรับกับทุกวงจร แต่คุณอาจจำเป็นต้องให้ความสนใจกับมันถ้าคุณต้องการค่าการประจุเก็บที่ละเอียดแม่นยำ เช่น ตัวเก็บประจุเขียนไว้ว่า "6000uF +50%/-70%" จริงๆ แล้วจะสามารถประจุเก็บไฟฟ้าได้สูงถึง 6000uF + (6000 * 0.5) = 9000uF หรือต่ำได้ถึง 6000 uF - (6000uF * 0.7) = 1800uF
    • หากไม่มีจำนวนเปอร์เซ็นต์กำกับไว้ ให้มองหาตัวอักษรตัวเดียวหลังค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าหรือในแถวบรรทัดเดียวกัน มันอาจเป็นรหัสของค่าความทนแรงดันไฟฟ้า ดังที่อธิบายด้านล่าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตรวจสอบอัตราแรงดันไฟฟ้า.
    หากบนตัวเก็บประจุยังมีที่ว่าง ผู้ผลิตมักพิมพ์แรงดันไฟฟ้าเป็นตัวเลขตามด้วย V, VDC, VDCW, หรือ WV (สำหรับ "Working Voltage" หรือแรงดันไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่) [4] นี่เป็นแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่ตัวเก็บประจุถูกออกแบบมาให้รับไหว
    • 1 kV = 1,000 โวลต์
    • ดูด้านล่าง หากคุณสงสัยว่าตัวเก็บประจุใช้รหัสสำหรับแรงดันไฟฟ้า (ตัวอักษรตัวเดียวหรือตัวเลขตัวเดียว) ถ้ามันไม่มีสัญลักษณ์ใดปรากฏอยู่เลย ให้เก็บไว้ใช้สำหรับการต่อวงจรไฟฟ้าแรงดันต่ำเท่านั้น
    • หากคุณกำลังต่อวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ให้มองหาตัวเก็บประจุที่ระบุเป็นการเฉพาะสำหรับหน่วยแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (VAC) อย่าใช้ตัวเก็บประจุไฟฟ้ากระแสตรงเว้นแต่ว่าคุณจะมีความรู้อย่างลึกซึ้งในการแปรอัตราแรงดันไฟฟ้า และรู้วิธีใช้ตัวเก็บประจุชนิดนั้นอย่างปลอดภัยในอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ [5]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 มองหาสัญลักษณ์ + หรือ -.
    หากคุณเห็นตัวใดตัวหนึ่งนี้ถัดจากขั้ว แสดงว่าตัวเก็บประจุนั้นมีการเรียงขั้ว ให้แน่ใจว่าได้ต่อปลายด้านที่เป็น + ของตัวเก็บประจุเข้ากับด้านที่เป็นบวกของแผงวงจร มิฉะนั้นตัวเก็บประจุอาจเกิดช็อตหรือกระทั่งระเบิดขึ้นได้ [6] หากไม่มีเครื่องหมาย + หรือ – คุณสามารถต่อเครื่องเก็บประจุทางไหนก็ได้
    • ตัวเก็บประจุบางตัวใช้แถบสีหรือทำเป็นรอยบุ๋มทรงวงแหวนเพื่อแสดงสภาพขั้ว ตามธรรมเนียมแล้วนี่จะบ่งบอกว่าเป็นปลายด้าน – บนตัวเก็บประจุอลูมิเนียมแบบอิเล็กโทรไลท์ (ซึ่งมักจะมีรูปทรงคล้ายกระป๋องดีบุก) ส่วนตัวเก็บประจุแทนทาลัมแบบอิเล็กโทรไลท์นั้น มันจะแสดงว่าเป็นปลายด้าน + [7] (ไม่ต้องสนใจเรื่องแถบสีถ้ามันตรงข้ามกับเครื่องหมาย + หรือ – หรือถ้ามันอยู่บนตัวเก็บประจุที่ไม่ใช่แบบอิเล็กโทรไลท์)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

อ่านรหัสตัวเก็บประจุขนาดกะทัดรัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนสองหลักแรกของความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้า....
    เขียนสองหลักแรกของความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้า. ตัวเก็บประจุที่เก่ากว่าอาจคาดเดาได้ยาก แต่ตัวอย่างของใหม่เกือบจะทุกตัวใช้รหัสมาตรฐานของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เวลาที่ตัวเก็บประจุมีขนาดเล็กเกินกว่าจะเขียนค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าได้เต็ม ให้เริ่มด้วยการจดตัวเลขสองหลักแรก แล้วดูว่าจะทำอย่างไรต่อไปโดยอาศัยรหัสดังนี้:[8]
    • หากรหัสเริ่มด้วยเลขสองหลักตามด้วยตัวหนังสือ (เช่น 44M) เลขสองหลักแรกคือรหัสความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าเต็ม ให้ข้ามไปที่ การหาหน่วย
    • หากหนึ่งในสองหลักแรกเป็นตัวหนังสือ ให้ข้ามไปยัง ระบบตัวอักษร
    • หากสามหลักแรกเป็นตัวเลขทั้งหมด ให้อ่านขั้นตอนต่อไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้หลักที่สามเป็นตัวเพิ่มจำนวนเลขศูนย์.
    รหัสหลักที่สามของความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าจะเป็นดังนี้:
    • หากหลักที่สามเป็น 0 ถึง 6 ให้เติมศูนย์ต่อท้ายตัวเลขข้างหน้าเป็นจำนวนเท่าตัวเลขในหลักที่สาม (เช่น 453 → 45 x 103 → 45,000)
    • หากหลักที่สามเป็น 8 ให้คูณด้วย 0.01 (เช่น 278 → 27 x 0.01 → 0.27)
    • หากหลักที่สามเป็น 9 ให้คูณด้วย 0.1 (เช่น 309 → 30 x 0.1 → 3.0)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดูหน่วยของความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าจากบริบท ...
    ดูหน่วยของความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าจากบริบท . ตัวเก็บประจุที่มีขนาดเล็กที่สุด (ทำจากเซรามิก ฟิล์ม หรือแทนทาลัม) ใช้หน่วยพิโกฟารัด (pF) เท่ากับ 10-12 ฟารัด ตัวเก็บประจุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา (ชนิดหลอดอิเล็กโทรไลท์อลูมิเนียมทรงกระบอกหรือชนิดมีสองชั้น) จะใช้หน่วยไมโครฟารัด (uF หรือ µF) เท่ากับ 10-6 ฟารัด [9]
    • ตัวเก็บประจุอาจลบล้างเรื่องนี้โดยการเติมหน่วยเข้าไปข้างหลัง (p สำหรับพิโกฟารัด, n สำหรับนาโนฟารัด, หรือ u สำหรับไมโครฟารัด) อย่างไรก็ตาม หากมีตัวอักษรเพียงตัวเดียวอยู่หลังรหัส มันมักจะเป็น รหัสความทนแรงดันไฟฟ้า ไม่ใช่หน่วย (P กับ N เป็นรหัสความทนแรงดันไฟฟ้าที่ไม่พบบ่อย แต่มันก็มีอยู่)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อ่านรหัสที่มีตัวอักษรแทน
    . หากรหัสมีตัวอักษรอยู่ในสองหลักแรก มีทางเป็นไปได้สามทางด้วยกัน:
    • หากตัวอักษรเป็นตัว R ให้แทนที่มันด้วยจุดทศนิยมเพื่อให้ได้ค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าเป็น pF เช่น 4R1 หมายถึงมีค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้า 4.1 pF [10]
    • หากตัวอักษรเป็น p, n, หรือ u มันจะบอกหน่วย (พิโก-, นาโน-, หรือไมโครฟารัด) แทนที่ตัวอักษรนี้ด้วยจุดทศนิยม เช่น n61 หมายถึง 0.61 nF, และ 5u2 หมายถึง 5.2 uF [11]
    • รหัสอย่าง "1A253" นั้นจริงๆ แล้วมีสองรหัส 1A บอกคุณถึง แรงดันไฟฟ้า และ 253 บอกคุณถึงค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าตามที่อธิบายข้างต้น [12]
  5. อ่านรหัสความทนแรงดันไฟฟ้าบนตัวเก็บประจุแบบเซรามิก. ตัวเก็บประจุแบบเซรามิกซึ่งมักมีลักษณะเหมือน "แผ่นแพนเค้ก" เล็กๆ กับเข็มสองอัน มักจะลงค่าความทนแรงดันไฟฟ้าเป็นตัวอักษรตัวเดียวหลังค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าสามหลัก ตัวอักษรนี้จะแทนค่าความทนแรงดันไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ หมายถึงค่าใกล้เคียงความจริงที่สุดที่ตัวเก็บประจุจะสามารถรับได้ตามค่าที่ระบุไว้ในตัวเก็บประจุ หากวงจรของคุณต้องการตัวเลขที่แม่นยำแน่นอน ให้แปลรหัสนี้ออกมาตามนี้:[13]
    How.com.vn ไท: Step 5 อ่านรหัสความทนแรงดันไฟฟ้าบนตัวเก็บประจุแบบเซรามิก....
    • B = ± 0.1 pF
    • C = ± 0.25 pF
    • D = ± 0.5 pF สำหรับตัวเก็บประจุที่มีค่าต่ำกว่า 10 pF, หรือ ± 0.5% สำหรับตัวเก็บประจุที่สูงกว่า 10 pF
    • F = ± 1 pF or ± 1% (ระบบเดียวกับ D ด้านบน)
    • G = ± 2 pF or ± 2% (ดูด้านบน)
    • J = ± 5%
    • K = ± 10%
    • M = ± 20%
    • Z = +80% / -20% (หากคุณไม่เห็นมีค่าความทนแรงดันไฟฟ้าบอกไว้ ให้สันนิษฐานมันในทางร้ายที่สุดไว้ก่อน [14])
  6. How.com.vn ไท: Step 6 อ่านค่าความทนแรงดันไฟฟ้าแบบตัวอักษร-ตัวเลข-ตัวอักษร....
    อ่านค่าความทนแรงดันไฟฟ้าแบบตัวอักษร-ตัวเลข-ตัวอักษร. ตัวเก็บประจุหลายชนิดแทนค่าความทนแรงดันไฟฟ้าด้วยระบบสัญลักษณ์สามตัวที่ให้รายละเอียดมากกว่า ให้อ่านค่าตามนี้: [15]
    • สัญลักษณ์ตัวแรกแสดงอุณหภูมิน้อยสุด Z = 10ºC, Y = -30ºC, X = -55ºC
    • สัญลักษณ์ตัวที่สองแสดงอุณหภูมิสูงสุด 2 = 45ºC, 4 = 65ºC, 5 = 85ºC, 6 = 105ºC, 7 = 125ºC
    • สัญลักษณ์ตัวที่สามแสดงตัวแปรในค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าในช่วงอุณหภูมินั้นช่วงนี้จะเริ่มจากตัวที่แม่นยำที่สุดคือ A = ±1.0%, ไปถึงตัวที่แม่นยำน้อยที่สุดคือ V = +22.0%/-82% ส่วน R เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่พบได้บ่อยที่สุดนั้นจะแทนตัวแปรของ ±15%[16]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อ่านรหัสแรงดันไฟฟ้า
    . คุณสามารถมองหาตารางค่าแรงดันไฟฟ้าของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับค่าทั้งหมด แต่ตัวเก็บประจุส่วนใหญ่จะใช้รหัสทั่วไปสำหรับปริมาณแรงดันไฟฟ้าสูงสุดตัวใดตัวหนึ่งต่อไปนี้ (ค่าที่ให้สำหรับตัวเก็บประจุชนิดไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น): [17]
    • 0J = 6.3V
    • 1A = 10V
    • 1C = 16V
    • 1E = 25V
    • 1H = 50V
    • 2A = 100V
    • 2D = 200V
    • 2E = 250V
    • รหัสตัวอักษรตัวเดียวเป็นตัวย่อของหนึ่งในค่าที่พบบ่อยด้านบน หากมีค่าหลายตัว (เช่น 1A หรือ 2A) คุณต้องตีความเอาจากบริบท
    • สำหรับการคาดเดารหัสที่พบเห็นได้น้อยนั้น ให้ดูหลักแรก 0 จะครอบคลุมค่าที่ต่ำกว่าสิบ ส่วน 1 จะเริ่มจากสิบไปถึง 99; 2 เริ่มจาก 100 ถึง 999; ไปเรื่อยๆ
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ดูระบบอื่นๆ.
    ตัวเก็บประจุรุ่นเก่าหรือตัวเก็บประจุที่ทำมาเพื่อผู้เชี่ยวชาญพิเศษอาจใช้ระบบต่างออกไป ซึ่งไม่ได้รวมไว้ในบทความนี้ แต่คุณสามารถใช้เบาะแสนี้ช่วยค้นคว้าเพิ่มเติมได้:
    • หากตัวเก็บประจุมีรหัสยาวอันเดียวที่เริ่มด้วย "CM" หรือ "DM" ให้ดูตารางตัวเก็บประจุทางทหารของสหรัฐ
    • หากมันไม่มีรหัสและมีแต่แถบสีหรือจุดสี ให้ดูรหัสสีของตัวเก็บประจุ [18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตัวเก็บประจุสามารถบอกข้อมูลของแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานได้ ตัวเก็บประจุควรรองรับแรงดันไฟฟ้าได้สูงกว่าวงจรที่คุณนำมันมาใช้ ไม่งั้นมันอาจแตก (อาจถึงขั้นระเบิด) ตอนใช้งาน
  • 1,000,000 พิโกฟารัด (pF) เท่ากับ 1 ไมโครฟารัด (µF) ค่าตัวเก็บประจุส่วนมากจะอยู่ใกล้กับช่วงบริเวณนี้และมักใช้อ้างอิงโดยใช้หน่วยที่ว่าตัวใดตัวหนึ่ง เช่น ตัวเก็บประจุขนาด 10,000 pF มักจะถูกอ้างอิงเป็น 0.01 uF มากกว่า
  • ถึงแม้คุณจะไม่สามารถบอกตัวเก็บประจุได้จากรูปทรงหรือขนาดแต่เพียงอย่างเดียว คุณก็พอจะเดาช่วงค่าที่มันสามารถนำมาใช้ได้คร่าวๆ โดยดูจาก:
    • ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ที่สุดในจอโทรทัศน์อยู่ในตัวจ่ายไฟ แต่ละตัวจะมีค่าความสามารถในการประจุเก็บไฟฟ้าได้สูง 400 ถึง 1,000 µF ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากใช้มันไม่ถูกวิธี [19][20]
    • ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ที่ใช้ในวิทยุโบราณมักอยู่ในช่วง 1-200 µF[21]
    • ตัวเก็บประจุเซรามิกมักมีขนาดเล็กกว่าหัวแม่มือและยึดอยู่กับวงจรด้วยเข็มสองเล่ม พวกมันถูกใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด และมักมีค่าอยู่ในช่วงจาก 1 nF ถึง 1 µF และอาจได้สูงถึง 100 µF [22]
โฆษณา

คำเตือน

  • โปรดระวังเวลาใช้ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ ซึ่งกักเก็บพลังงานในปริมาณที่เกิดอันตรายได้เวลาอัดกระแสไฟฟ้า ให้แน่ใจว่าได้ปิดมันก่อนโดยใช้ตัวต้านทานที่เหมาะสม อย่าไปลัดวงจรมันเพราะอาจทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Ralph Childers
ร่วมเขียน โดย:
หัวหน้าช่างไฟฟ้า
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Ralph Childers. ราล์ฟ ไชลเดอร์สเป็นหัวหน้าช่างไฟฟ้าในพอร์ตแลนด์ โอเรกอน เขาทำงานและสอนงานด้านไฟฟ้ามากว่า 30 ปี และได้รับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยหลุยเซียน่า บทความนี้ถูกเข้าชม 135,393 ครั้ง
หมวดหมู่: ฟิสิกส์
มีการเข้าถึงหน้านี้ 135,393 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา