วิธีการ คำนวณความต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ต้องการรู้วิธีคำนวณตัวต้านทานแบบอนุกรม ตัวต้านทานแบบขนาน และวงจรเครือข่ายผสมระหว่างแบบอนุกรมกับแบบขนานหรือเปล่า ถ้าไม่อยากเผาแผงวงจรของคุณให้ไหม้เล่น คุณก็จำเป็นต้องรู้เลยล่ะ! บทความนี้จะแสดงให้คุณดูภายในขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน ก่อนจัอ่านกรุณาทำความเข้าใจก่อนว่าตัวต้านทานไม่ได้มี "ข้างใน" กับ "ข้างนอก" จริงๆ การใช้คำว่า "เข้า" กับ "ออก" นั้นเป็นแค่ภาพพจน์ที่จะช่วยมือใหม่ให้เข้าใจแนวคิดของการต่อวงจรเท่านั้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ความต้านทานแบบอนุกรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มันคืออะไร.
    ความต้านทานแบบอนุกรมก็เป็นแค่การเชื่อมต่อด้าน "ออก" ของตัวต้านทานตัวหนึ่งไปสู่ด้าน "เข้า" ของอีกตัวหนึ่งในแผงวงจร ตัวต้านทานที่เพิ่มขึ้นมาแต่ละตัวในวงจรจะเพิ่มปริมาณความต้านทานของแผงวงจรนั้น
    • สูตรการคำนวณจำนวนตัวต้านทานทั้งหมด n ที่เชื่อมอยู่แบบอนุกรมคือ

      Req = R1 + R2 + .... Rn
      นั่นคือ ค่าของตัวต้านทานแบบอนุกรมทั้งหมดบวกเข้าไป เช่น ลองหาค่าความต้านทานในภาพด้านล่าง

    • ในตัวอย่างนี้
      R1 = 100 Ω และ R2 = 300Ω เชื่อมกันแบบอนุกรม Req = 100 Ω + 300 Ω = 400 Ω

    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ความต้านทานแบบขนาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มันคืออะไร.
    ความต้านทานแบบขนานคือเมื่อด้าน "เข้า" ของตัวต้านทาน 2 ตัวขึ้นไปเชื่อมต่อกัน และด้าน "ออก" ของตัวต้านทานเหล่านี้เชื่อมต่อกัน
    • สมการสำหรับรวมตัวต้านทาน n ในแบบขนานคือ

      Req = 1/{(1/R1)+(1/R2)+(1/R3)..+(1/Rn)}
    • ในตัวอย่างที่ให้มานี้ ให้R1 = 20 Ω, R2 = 30 Ω, และ R3 = 30 Ω.

    • ค่าความต้านทานทั้งหมดสำหรับตัวต้านทานทั้ง 3 ตัวในแบบขนานคือ

      Req = 1/{(1/20)+(1/30)+(1/30)}

      = 1/{(3/60)+(2/60)+(2/60)}

      = 1/(7/60)=60/7 Ω = ประมาณ 8.57 Ω.

วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

แผงวงจรผสมแบบอนุกรมกับแบบขนาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มันคืออะไร.
    เครือข่ายผสมคือการผสมตัวต้านทานแบบอนุกรมกับแบบขนานเชื่อมต่อกัน ลองหาค่าความต้านทานของเครือข่ายตามที่แสดงด้านล่าง
    • เราเห็นตัวต้านทาน R1 and R2 ถูกเชื่อมแบบอนุกรม ดังนั้น ค่าความต้านทานโดยรวม (ให้เราทำโดยใช้ Rs) คือ

      Rs = R1 + R2 = 100 Ω + 300 Ω = 400 Ω.

    • ต่อไป เราเห็นตัวต้านทาน R3 and R4 เชื่อมต่อกันแบบขนาน ดังนั้นค่าความต้านทาน (ให้เราทำโดยใช้ Rp1) คือ

      Rp1 = 1/{(1/20)+(1/20)} = 1/(2/20)= 20/2 = 10 Ω

    • แล้วเราก็เห็นว่าตัวต้านทาน R5 and R6 ก็เชื่อมต่อกันแบบขนาน ดังนั้นค่าความต้านทาน (ให้เราทำโดยใช้ Rp2) คือ

      Rp2 = 1/{(1/40)+(1/10)} = 1/(5/40) = 40/5 = 8 Ω

    • ดังนั้นตอนนี้เราจะมีวงจรที่มีตัวต้านทาน Rs, Rp1, Rp2 and R7 เชื่อมต่อกันแบบอนุกรม ก็แค่นำมาบวกกันก็จะได้ค่าความต้านทาน R7 ของเครือข่ายที่ให้เรามาแต่แรก

      Req = 400 Ω + 20Ω + 8 Ω = 428 Ω.

    โฆษณา

ข้อเท็จจริงบางอย่าง

  1. เข้าใจความต้านทาน. วัสดุทุกอย่างที่มีการนำกระแสไฟฟ้าจะมีความต้านทาน ซึ่งก็คือความต้านทานของวัสดุนั้นต่อกระแสไฟฟ้า
  2. ความต้านทานจะมีหน่วยวัดเป็น โอห์ม. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนโอห์มคือ Ω.
  3. วัสดุที่แตกต่างกันจะมีคุณสมบัติต้านทานแตกต่างกัน
    • ยกตัวอย่างเช่น ทองแดง มีค่าความต้านทานเท่ากับ 0.0000017(Ω/cm3)
    • เซรามิกมีค่าความต้านทานประมาณ 1014(Ω/cm3)
  4. ตัวเลขยิ่งสูง ก็ยิ่งมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้ามาก. คุณจะเห็นได้ว่าทองแดง ซึ่งมักถูกใช้ในการทำสายไฟนั้นมีค่าความต้านทานต่ำมาก ในทางตรงข้ามเซรามิกจะมีค่าความต้านทานสูงจนทำให้เหมาะแก่การใช้เป็นฉนวน
  5. วิธีที่คุณเชื่อมตัวต้านทานหลายตัวเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดความแตกต่างในประสิทธิภาพโดยรวมของเครือข่ายตัวต้านทาน
  6. V=IR. นี่คือกฎของโอห์ม นิยามโดยจอร์จ โอห์มในช่วงต้นของศตวรรษที่ 18 ถ้าคุณรู้ค่าตัวแปรสองตัวใดๆ คุณสามารถคำนวณตัวที่สามได้โดยง่าย
    • V=IR: แรงดันไฟฟ้า (V) คือผลที่ได้ของกระแสไฟฟ้า (I) * ความต้านทาน (R)
    • I=V/R: กระแสไฟฟ้าคือผลหารของแรงดันไฟฟ้า (V) ÷ ความต้านทาน (R)
    • R=V/I: ความต้านทานคือผลหารของแรงดันไฟฟ้า (V) ÷ กระแสไฟฟ้า (I)

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่า เวลาตัวต้านทานต่อแบบขนานนั้น มีวิธีต่อแตกต่างกันมากมาย และจำนวนความต้านทานรวมทั้งหมดอาจน้อยกว่ากันในแต่ละเส้นทางเชื่อม ในขณะที่ถ้าต่อแบบอนุกรม กระแสไฟฟ้าจะต้องเดินทางผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว ดังนั้นตัวต้านทานแต่ละตัวจะเพิ่มค่าความต้านทานรวมในการต่อแบบอนุกรม
  • ความต้านทานสมมูล (equivalent resistance - Req) จะมีค่าน้อยกว่าจำนวนค่าความต้านทานต่ำสุดในวงจรต่อแบบขนานเสมอ และจะมีค่ามากกว่าค่าความต้านทานสูงสุดในวงจรที่ต่อแบบอนุกรมเสมอ
  • คำนวณค่าความต้านทานโดยใช้กฎของโอห์มหรือกฎพลังไฟฟ้า:

- V = R * I- P = V * I เราสามารถแทนที่ V ด้วย RI ฉะนั้น.....- P = RI * I- P = R I^2-ตัวอย่าง: หลอดไฟขนาดกำลัง 75 วัตต์สว่างโดยใช้กระแสไฟ 220 v ให้หาค่าความต้านทาน 1 - P = V * I - I = P/V => 75/220 = 0.34 โอห์ม - P = RI^2 - 75W = R * 0.34^2 - R = 75/0.1156 = 648A- ตรวจสอบว่ามันใช่หรือไม่ด้วยวิธีอีกวิธีหนึ่ง2 - V = R * I. - R = V/I - R = 220/0.34 = 647A คำตอบเกือบจะตรงกันเลย ;).

โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Handbook for Sound Engineers: The New Audio Cyclopedia, Glen Ballou, Editor
  2. Boston University

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 37 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 507,803 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 507,803 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา