ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ความน่าจะเป็น คือ การคำนวณว่ามีความเป็นไปได้มากแค่ไหนที่เหตุการณ์หนึ่งๆ จะเกิดขึ้นจากจำนวนความเป็นไปได้ทั้งหมด บทความวิกิฮาวบทนี้นี้จะแสดงวิธีการคำนวณความเป็นไปได้แต่ละแบบ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การคำนวณความเป็นไปได้ของเหตุการณ์สุ่มครั้งเดียว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหนดเหตุการณ์และผลลัพธ์.
    ความน่าจะเป็นคือ ความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งจะเกิดขึ้นหารด้วยจำนวนของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด สมมติว่าถ้าคุณพยายามที่จะหาความเป็นไปได้ของการทอยลูกเต๋าหกด้าน “ทอยให้ได้สาม” ในเหตุการณ์นี้ และเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าลูกเต๋าหกด้านนั้นสามารถที่จะทอยออกมาเป็นหนึ่งในหกเลขนั้น จำนวนของผลลัพธ์ทั้งหมดคือ 6 และนี่คืออีกสองตัวอย่างที่จะช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้น:
    • ตัวอย่างที่ 1: ความเป็นไปได้ในการเลือกวันหนึ่งที่จะเป็นวันหยุดโดยการสุ่มเลือกวันจากในหนึ่งสัปดาห์เท่ากับเท่าไหร่?
      • "การสุ่มเลือกวันหนึ่งที่จะตกที่วันหยุดสุดสัปดาห์" คือเหตุการณ์ของเรา และจำนวนผลลัพธ์ คือจำนวนวันทั้งหมดในหนึ่งสัปดาห์ นั่นก็คือ 7
    • ตัวอย่างที่ 2: โถหนึ่งมีลูกแก้วสีฟ้าอยู่ 4 ลูก สีแดง 5 ลูก และสีขาว 11 ลูก ถ้าหากสุ่มหยิบลูกแก้วจากโถมาหนึ่งลูก จะมีความเป็นไปได้เท่าไหร่ที่ลูกแก้วนั้นจะเป็นสีแดง?
      • "การเลือกลูกแก้วสีแดง" เป็นเหตุการณ์ และจำนวนผลลัพธ์คือจำนวนลูกแก้วทั้งหมดในโถ ซึ่งก็คือ 20
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หารจำนวนเหตุการณ์ด้วยจำนวนผลลัพธ์ทั้งหมด.
    นี่จะช่วยทำให้เราทราบความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีของการทอยลูกเต๋าให้ได้สาม จำนวนเหตุการณ์คือ 1 (ลูกเต๋าแต่ละลูกมีด้านเลขสามเพียงแค่หนึ่ง) และจำนวนผลลัทธ์ทั้งหมดคือ 6 คุณสามารถที่จะคำนวณได้โดยการคิดแบบ 1 ÷ 6, 1/6, .166, หรือ 16.6%. และนี่คือวิธีการที่คุณสามารถคำนวณหาความน่าจะเป็นกับตัวอย่างที่เหลือได้:
    • ตัวอย่างที่ 1: ความเป็นไปได้ในการเลือกวันหนึ่งที่จะเป็นวันหยุดโดยการสุ่มเลือกวันจากในหนึ่งสัปดาห์เท่ากับเท่าไหร่?
      • จำนวนเหตุการณ์เท่ากับสอง (เพราะมีสองวันจากวันทั้งหมดที่เป็นวันหยุด) และจำนวนผลลัพธ์คือ 7 ความเป็นไปได้เท่ากับ 2 ÷ 7 = 2/7 หรือ .285 หรือ 28.5%.
    • ตัวอย่างที่ 2: โถหนึ่งมีลูกแก้วสีฟ้าอยู่ 4 ลูก สีแดง 5 ลูก และสีขาว 11 ลูก ถ้าหากสุ่มหยิบลูกแก้วจากโถมาหนึ่งลูก จะมีความเป็นไปได้เท่าไหร่ที่ลูกแก้วนั้นจะเป็นสีแดง?
      • จำนวนเหตุการณ์เท่ากับ 5 (เพราะมีลูกแก้ว 5 ลูก) และจำนวนผลลัพธ์ คือ 20 ดังนั้นความน่าจะเป็นเท่ากับ 5 ÷ 20 = 1/4 หรือ .25 หรือ 25%.
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การคำนวณหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์สุ่มหลายครั้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แบ่งปัญหาออกเป็นส่วน.
    การคำนวณความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หลายอย่างเป็นการแบ่งปัญหาออกเป็น “ความน่าจะเป็นที่แยกกัน” และนี่คือตัวอย่างสามอัน:
    • ตัวอย่างที่ 1: ความน่าจะเป็นของการทอยลูกเต๋าหกด้านให้ได้ 5 ติดกันสองครั้งเท่ากับเท่าไหร่?
      • คุณทราบว่าความน่าจะเป็นของการทอยลูกเต๋าให้ได้ 5 หนึ่งครั้ง คือ 1/6 และความน่าจะที่จะทอยลูกเต๋าให้ได้ 5 อีกครั้งกับลูกเต๋าลูกเดียวกันก็คือ 1/6 เช่นกัน
      • นี่เป็น “เหตุการณ์อิสระ” เพราะการทอยลูกเต๋าครั้งแรกไม่ได้ส่งผลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการทอยครั้งที่สอง คุณสามารถที่จะทอยได้ 3 และก็ได้ 3 อีกครั้ง
    • ตัวอย่างที่ 2: สุ่มหยิบไพ่ขึ้นมาสองใบจากกอง ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ทั้งสองใบเป็นดอกจิกคือเท่าไหร่?
      • ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ใบแรกเป็นดอกจิกเท่ากับ 13/52 หรือ 1/4 (มีไพ่ดอกจิก 13 ใบในกองไพ่ทุกกอง) ที่นี้ ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ใบที่สองเป็นดอกจิกจะเหลือ 12/51
      • คุณกำลังหาความน่าจะเป็นของ “เหตุการณ์ที่ไม่อิสระ” อยู่ นี่เพราะว่าการสุ่มหยิบไพ่ครั้งแรกส่งผลกับการหยิบครั้งที่สอง; ถ้าหากคุณหยิบไพ่ได้ 3 ดอกจิกในครั้งแรกและไม่ได้ใส่กลับเข้าไปในกอง จะเหลือไพ่ดอกจิกในกองลดลงหนึ่งใบ และไพ่ในกองไพ่ทั้งหมดลดลงหนึ่งใบ (เหลือ 51 แทน 52)
    • ตัวอย่างที่ 3: โถใบหนึ่งบรรจุลูกแก้วสีฟ้า 4 ลูก สีแดง 5 ลูก และสีขาว 11 ลูก ถ้าสุ่มหยิบลูกแก้วสามลูก จะมีความเป็นไปได้ว่าลูกแรกจะเป็นสีแดง ลูกที่สองเป็นสีฟ้า และลูกที่สามสีขาว เท่าไหร่?
      • ความน่าจะเป็นที่ลูกแก้วลูกแรกจะเป็นสีแดงเท่ากับ 5/20 หรือ ¼ ความน่าจะเป็นที่ลูกแก้วลูกที่สองจะเป็นสีฟ้าเท่ากับ 4/19 เพราะเราจะเหลือลูกแก้วในโถลดลงหนึ่งลูก แต่ลูกแก้ว “สีฟ้า” ไม่ลดลง และความน่าจะเป็นที่ลูกที่สามจะเป็นสีขาวเท่ากับ 11/18 เพราะเราได้หยิบลูกแก้วไปสองลูกแล้ว นี่เป็นอีกหนึ่งการคำนวณสำหรับ “เหตุการณ์ที่ไม่อิสระ”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คูณจำนวนความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน....
    คูณจำนวนความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน. นี่จะทำให้คุณหาค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์สุ่มหลายครั้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้:
    • ตัวอย่างที่ 1: ความน่าจะเป็นของการทอยลูกเต๋าหกด้านให้ได้ 5 ติดกันสองครั้งเท่ากับเท่าไหร่? ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์อิสระทั้งสอง คือ 1/6
      • นำมาคูณกันจะได้เท่ากับ 1/6 x 1/6 = 1/36 หรือ .027 หรือ 2.7%
    • ตัวอย่างที่ 2: สุ่มหยิบไพ่ขึ้นมาสองใบจากกอง ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ทั้งสองใบเป็นดอกจิกคือเท่าไหร่?
      • ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์แรก คือ 13/52 ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้น คือ 12/51 เพราะฉะนั้นความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นคือ 13/52 x 12/51 = 12/204 หรือ 1/17 หรือ 5.8%
    • ตัวอย่างที่ 3: โถใบหนึ่งบรรจุลูกแก้วสีฟ้า 4 ลูก สีแดง 5 ลูก และสีขาว 11 ลูก ถ้าสุ่มหยิบลูกแก้วสามลูก จะมีความเป็นไปได้ว่าลูกแรกจะเป็นสีแดง ลูกที่สองเป็นสีฟ้า และลูกที่สามสีขาว เท่าไหร่?
      • ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์แรกเท่ากับ 5/20 ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่สองคือ 4/19 และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่สามคือ 11/18 เมื่อคูณรวมกันจะได้ความน่าจะเป็นเท่ากับ 5/20 x 4/19 x 11/18 = 44/1368 หรือ 3.2%.
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การแปลงอัตราส่วนความเป็นไปได้เป็นความน่าจะเป็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหนดค่าอัตราส่วนความเป็นไปได้.
    ตัวอย่างเช่น นักกอล์ฟคนหนึ่งมีโอกาสชนะที่ 9/4 ค่าอัตราส่วนของเหตุการณ์นี้อัตราส่วนที่เป็นไปได้ว่ามัน “จะ” เกิดขึ้นต่อความน่าจะเป็นว่า มันจะ “ไม่” เกิดขึ้น
    • ในตัวอย่างอัตราส่วน 9:4 เลข 9 แทนความเป็นไปได้ที่นักกอล์ฟจะชนะ เลข 4 แทนความเป็นไปได้ที่เขาจะไม่ชนะ ดังนั้นจึงทำให้เขาดูมีโอกาสชนะมากกว่าแพ้
    • จำว่าไว้ในการพนันกีฬาและการแทงม้า ค่าอัตราส่วนจะเป็นไปในรูปแบบ “อัตราต่อรอง” ซึ่งหมายความว่า ค่าอัตราส่วนของสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเขียนไว้อยู่ตัวแรก และสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นตามมาที่สอง แม้ว่ามันอาจจะสับสนได้แต่ก็สำคัญที่จะรู้ไว้ แต่สำหรับวัตถุประสงค์นี้เราจะไม่ใช้อัตราต่อรอง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปลี่ยนอัตราส่วนให้เป็นความน่าจะเป็น.
    การเปลี่ยนค่าอัตราส่วนเป็นอะไรที่ง่ายมาก ให้แบ่งค่าอัตราส่วนออกเป็นสองเหตุการณ์ และนำเลขทั้งสองบวกเป็นผลลัพธ์ทั้งหมด
    • เหตุการณ์ที่นักกอล์ฟคนนี้จะชนะเท่ากับ 9 เหตุการณ์ที่นักกอล์ฟจะแพ้ คือ 4 ดังนั้นผลลัพธ์ทั้งหมด คือ 9+4 หรือ 13 นั่นเอง
    • ทีนี้การคำนวณต่อไปก็จะเหมือนกับการคำนวณความน่าจะเป็นในเหตุการณ์การสุ่มครั้งเดียว
      • 9 ÷ 13 = .692 หรือ 69.2%. ดังนั้นความน่าจะเป็นที่นักกอล์ฟคนนี้จะชนะเท่ากับ 9/13
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รู้จักกับกฎความน่าจะเป็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูให้ดีว่าเหตุการณ์ทั้งสอง หรือผลลัพธ์ทั้งหมดจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่เดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกันทั้งคู่....
    ดูให้ดีว่าเหตุการณ์ทั้งสอง หรือผลลัพธ์ทั้งหมดจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่เดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกันทั้งคู่. นั่นหมายถึงว่า ทั้งสองเหตุการณ์นั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กำหนดความน่าจะเป็นที่ไม่เป็นเลขติดลบ.
    ถ้าหากคุณพบกับเลขติดลบ ให้ตรวจดูการคำนวณอีกครั้ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วจะต้องได้ 1...
    ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วจะต้องได้ 1 หรือ 100%. ถ้าหากความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้รวมกันแล้วได้ไม่ถึง 1 หรือ 100% แสดงว่าคุณอาจทำบางอย่างผิด เพราะคุณได้ทำเหตุการณ์ที่เป็นไปได้บางอย่างขาดไป.
    • ความเป็นไปได้ที่จะทอยลูกเต๋า 6 ด้านให้ได้ 3 เท่ากับ 1/6 ความน่าจะเป็นที่จะทอยลูกเต๋าให้ได้ 5 เลขที่เหลือก็เท่ากับ 1/6 เช่นกัน เมื่อนำ 1/6 + 1/6 + 1/6 + 1/6 + 1/6 + 1/6 จะได้ = 6/6 หรือ 1 หรือ 100%
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กำหนดให้ค่าความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่เป็นไปไม่ได้เป็น 0....
    กำหนดให้ค่าความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่เป็นไปไม่ได้เป็น 0. นั่นหมายความว่าไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณสามารถสร้างความน่าจะเป็นตามที่คุณต้องการเองได้โดยยึดจากความเห็นของคุณเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเหตุการณ์นั้น การตีความความน่าจะเป็นตามความเห็นแต่ละบุคคลอาจมีค่าต่างๆ กันไป
  • คุณสามารถกำหนดเลขใดๆ ก็ได้ให้กับเหตุการณ์นั้น แต่พวกมันจะต้องเป็นเลขความน่าจะเป็นที่สมเหตุสมผล ซึ่งหมายความว่าจะต้องยังเป็นไปตามกฎพื้นฐานที่ใช้กับความน่าจะเป็นทั้งหมด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 136,524 ครั้ง
หมวดหมู่: คณิตศาสตร์
มีการเข้าถึงหน้านี้ 136,524 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา