วิธีการ รักษาความอ่อนไหวของผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับไข้

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไข้เป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณกำลังพยายามต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ดี เช่น ไวรัส หรืออาการติดเชื้อ ปกติไข้จะเป็นอาการของภาวะหรือปัญหาที่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาการเพลียแดด อาการผิวไหม้แดด ภาวะของการอักเสบบางชนิด ปฏิกิริยาต่อยา และอื่นๆ [1] ไม่ว่าจะเป็นเพราะว่าตัวไข้เองหรือภาวะที่แฝงอยู่ที่ทำให้เกิดไข้ คุณยังอาจจะเกิดความอ่อนไหวของผิวหนังอีกด้วย คุณสามารถทำได้หลายอย่างเพื่อช่วยบรรเทาความอ่อนไหวของผิวหนังประเภทนี้เพื่อทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้นในขณะที่คุณฟื้นไข้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การรักษาความอ่อนไหวของผิวหนัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใส่เสื้อผ้าสบายๆ ด้วยเนื้อผ้านุ่มและเบา.
    [2] ซึ่งนี่รวมไปถึงผ้าปูที่นอนและผ้าห่มที่คุณใช้ตอนนอนหลับหรือพักผ่อนด้วย พยายามใช้ให้น้อยชั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลดความร้อน.
    ถ้าเป็นฤดูหนาวและคุณจุดเตาไฟ ให้ลองลดอุณหภูมิชั่วคราวเพื่อให้บ้านของคุณเย็นในขณะที่คุณฟื้นไข้[3]
    • ถ้าไม่ใช่ฤดูหนาวและคุณไม่สามารถลดอุณหภูมิได้ก็ให้ลองใช้พัดลมแทน การฉีดละอองน้ำให้ตัวเองเป็นครั้งคราวในขณะที่คุณอยู่หน้าพัดลมนั้นก็จะทำให้รู้สึกยอดเยี่ยมได้เช่นกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อาบน้ำในอ่างอาบน้ำหรือฝักบัวด้วยน้ำอุ่น.
    น้ำอุ่นคือน้ำที่อยู่ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส การอาบน้ำในอ่างอาบน้ำนั้นจะดีกว่าการอาบน้ำฝักบัวเพราะว่าคุณจะได้แช่ตัวเองในน้ำ แต่การอาบน้ำฝักบัวก็ใช้ได้ถ้าคุณไม่มีอ่างอาบน้ำ [4]
    • อย่าอาบน้ำในอ่างหรือฝักบัวด้วยน้ำเย็นจัด
    • อย่าใช้แอลกอฮอล์ (แบบเช็ดแผล) เพื่อพยายามทำให้ผิวของคุณเย็น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 วางผ้าเย็นๆ หรือไอซ์แพ็คบนคอของคุณ.
    [5] คุณสามารถทำได้หลายวิธีเพื่อให้ได้สิ่งที่เย็นพอที่จะวางบนหน้าผาก ใบหน้า หรือต้นคอของคุณ คุณอาจจะเอาผ้าชุบน้ำเย็น วางไอซ์แพ็คหรือก้อนน้ำแข็งในผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนู (วิธีนี้จะอยู่ได้นาน) หรือเอาผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำและแช่ไว้ในช่องแช่แข็งก่อนใช้ ลองทำถุงข้าวและแช่ไว้ช่องแช่แข็ง ซึ่งสามารถทำจากถุงผ้าและข้าวสารหรือจะซื้อสำเร็จก็ได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใส่ถุงเท้าเปียกเข้านอน.
    ให้แช่เท้าในน้ำร้อนก่อนนอน จากนั้นชุบถุงเท้าผ้าฝ้ายในน้ำเย็นและใส่ถุงเท้าอีกคู่หนึ่งที่หนากว่าทับคู่ที่เปียก และเข้านอน [6]
    • วิธีนี้ไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีหรือทำให้เท้ารู้สึกไม่ดี
    • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลผิวบางยี่ห้อได้ทำผลิตภัณฑ์สำหรับเท้าที่มีส่วนผสมจากสะระแหน่ เมื่อนำไปใช้กับเท้าของคุณก็จะทำให้ผิวรู้สึกเย็น ใช้โลชั่น ครีม หรือเจลแบบนี้บนเท้าของคุณตลอดวันเพื่อช่วยให้คุณเย็นลง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การรักษาไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป.
    แพทย์มักจะแนะนำให้กินอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือแอสไพริน ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่ที่มีไข้ อ่านคำแนะนำการใช้ยาในกล่องเพื่อกำหนดว่าต้องกินมากเท่าไรและบ่อยแค่ไหน [7]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินยาตามใบสั่งแพทย์.
    เนื่องจากไข้ของคุณอาจจะเป็นอาการของภาวะอื่นๆ ที่แฝงอยู่ แพทย์จึงอาจจะสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาภาวะแฝงนั้น (เช่น ยาปฏิชีวนะ) [8] กินแค่ยาตามใบสั่งแพทย์ที่สั่งสำหรับคุณและอาการของคุณโดยเฉพาะเท่านั้น และใช้ยาในปริมาณและความถี่ที่แพทย์สั่งและที่เขียนไว้บนขวด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มของเหลวมากๆ .
    ไข้สามารถทำให้ร่างกายของคุณขาดน้ำได้ แต่เพื่อรักษาให้ร่างกายของคุณแข็งแรงที่จะต่อสู้กับอาการอะไรก็ตามที่คุณมีนั้น คุณจะต้องให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ ดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้ให้มากที่สุดและบ่อยที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ [9]
    • ซุปต่างๆ ก็เป็นประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากมีเกลือบางอย่างที่สามารถช่วยบรรเทาอาการขาดน้ำได้
    • ทางเลือกอื่นนอกจากการดื่มของเหลวก็คือการอมลูกอมเย็นๆ หรือไอศกรีมแท่ง เพราะว่าคุณมีไข้และอาจจะตัวร้อนมาก นี่ก็อาจจะช่วยให้คุณรู้สึกเย็นขึ้นบ้างเล็กน้อย อย่างน้อยก็ชั่วคราว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พักผ่อนมากๆ .
    คุณมีไข้เพราะว่ามีบางสิ่งผิดปกติในร่างกาย และร่างกายของคุณก็ต้องการใช้พลังงานทั้งหมดในการต่อสู้กับสิ่งนั้น ไม่ใช่สำหรับการทำอื่นๆ สิ่งที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ กิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานยังทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการในตอนนี้อย่างแน่นอน [10] พักอยู่บนเตียงหรือบนโซฟา อย่าไปทำงานหรือไปโรงเรียน อย่าออกไปทำธุระข้างนอกถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ต้องกังวลกับงานบ้านจนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น
    โฆษณา


ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การป้องกันไข้ที่จะเกิดในอนาคต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือ.
    การล้างมือบ่อยๆ น่ะไม่มากเกินไปหรอก คุณควรล้างมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากใช้ห้องน้ำและก่อนกินอาหาร โดยการล้างมือจนติดเป็นนิสัยหลังจากคุณออกไปยังที่สาธารณะ หรือได้สัมผัสลูกบิดประตูสาธารณะ ปุ่มลิฟต์ หรือราวบันไดนั้นจะเป็นประโยชน์ [11]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าสัมผัสใบหน้าของคุณ.
    มือของคุณเชื่อมต่อทุกอย่างในโลกนี้เลยนะ แต่น่าเสียดายว่านั่นหมายถึงมันอาจจะเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก น้ำมัน เชื้อแบคทีเรีย และสิ่งอื่นๆ ที่คุณไม่อยากจะนึกถึงเลยล่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนก่อนที่คุณจะล้างมือ [12]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าใช้ขวด ถ้วย หรือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารร่วมกับคนอื่น....
    อย่าใช้ขวด ถ้วย หรือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารร่วมกับคนอื่น. ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณหรือคนอื่นๆ กำลังรู้สึกไม่สบาย เพราะว่าโรคภัยจำนวนมากสามารถแพร่เชื้อได้ตอนคนนั้นไม่แสดงอาการ แต่เพื่อความปลอดภัย ให้หลีกเลี่ยงการใช้อะไรก็ตามที่สัมผัสกับปากของคุณร่วมกับคนอื่นจะเป็นการดีที่สุด [13]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รับการให้ภูมิคุ้มกันตามปกติ.
    ให้แน่ใจว่าการฉีดวัคซีนและการให้ภูมิคุ้มกันของคุณเป็นปัจจุบัน ถ้าคุณจำไม่ได้ว่าคุณได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายเมื่อไรให้คุยกับแพทย์ ในบางกรณีการได้รับวัคซีนแต่เนิ่นๆ ดีกว่าไม่ได้เลย [14] การให้ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะช่วยให้ป้องกันโรคได้หลายอย่าง เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคหัดที่มีอาการไข้
    • รู้ไว้ว่าไม่แปลกที่การให้ภูมิคุ้มกันด้วยไวรัสเพื่อให้คุณก่อภูมิคุ้มกันขึ้นเองนั้นจะทำให้มีอาการต่างๆ ชั่วคราวหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้วสองสามวัน ซึ่งรวมถึงอาการไข้ด้วย พูดคุยกับแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณตระหนักถึงผลข้างเคียงที่เป็นไปได้เหล่านี้
    โฆษณา

คำเตือน

  • อุณหภูมิ "ปกติ" ของร่างกายคือ 37 องศาเซลเซียส สำหรับทารกนั้นให้ติดต่อแพทย์ว่าลูกมีไข้ ถ้า (ก) เด็กที่อายุหนึ่งถึงสามเดือนมีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (ข) เด็กที่อายุสามถึงหกเดือนมีอุณหภูมิสูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียส (ค) เด็กที่อายุหกถึงยี่สิบสี่เดือนมีอุณหภูมิสูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียสนานกว่าหนึ่งวัน สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่าสองปีให้ติดต่อแพทย์ถ้าพวกเขามีไข้บวกกับอาการอื่นๆ สำหรับผู้ใหญ่ให้ติดต่อแพทย์ถ้าคุณมีไข้เกิน 39.4 องศาเซลเซียสและนานเกินกว่าสามวัน [15]
  • หรือถ้าคุณกังวลก็ให้ไปพบแพทย์โดยไม่ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิไข้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Erik Kramer, DO, MPH
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์กระดูก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Erik Kramer, DO, MPH. ดร.เครเมอร์เป็นแพทย์การปฐมพยาบาลของมหาวิทยาลัยโคโลราโดที่เชี่ยวชาญด้านการควบคุมน้ำหนัก โรคเบาหวาน และเวชศาสตร์ภายใน เขาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ด้านกระดูกจากมหาวิทยาลัยทูโรแห่งเนวาดาในปี 2012 บทความนี้ถูกเข้าชม 1,324 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,324 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา