วิธีการ รักษากล้ามเนื้อฉีก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อนั้นเกิดขึ้นได้บ่อยๆ โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ เพราะเผลอเคลื่อนไหวเร็วไปหรือบริหารมากไปจนกล้ามเนื้อฉีกหรือเอ็นยึดแพลงได้ ถ้าคุณหรือลูกเล่นกีฬาชนิดไหนก็ตามเป็นประจำ คงต้องเคยบาดเจ็บและปฐมพยาบาลกันมาบ้างแล้ว ปกติถ้าเป็นอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ก็ดูแลปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านได้เลย แล้วค่อยซื้อยามากิน แต่ถ้าอาการหนักก็ควรไปหาหมอเพื่อความปลอดภัย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาอาการบาดเจ็บเล็กน้อยที่กล้ามเนื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หยุดใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้น.
    ไม่ว่าจะเป็นอาการบาดเจ็บระดับแรกหรือระดับที่สอง ปกติก็ดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องไปหาหมอ โดยดูแลตัวเองด้วยวิธี RICE ("R-Rest" พักส่วนที่บาดเจ็บ, "I-Ice" ประคบเย็น, "C-Compress" ใช้ผ้ารัดประคอง และ "E-Elevate" ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงไว้) เริ่มจาก "R" ย่อมาจาก "rest" คือ "พัก" ส่วนที่บาดเจ็บ
    • ให้หยุดออกกำลังกายจนกว่าจะขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นแล้วไม่เจ็บ ห้ามเล่นกีฬาชนิดไหนจนกว่าจะรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เต็มร้อย แต่ไม่นานเกิน 2 อาทิตย์ ถ้าครบแล้วยังมีอาการเจ็บปวดชัดเจน ให้ไปตรวจร่างกายกับหมอจะดีกว่า
    • ตอนนี้ควรจะยังเดินไปมาและ/หรือขยับแขนได้อยู่ ถ้าทำไม่ได้ แสดงว่ากล้ามเนื้อฉีกรุนแรงกว่าที่คิด ควรไปหาหมอจะดีกว่า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บ.
    ประคบเย็นด้วยเจลแพ็ค ถุงอาหารแช่แข็ง (เช่น ถั่ว) หรือน้ำแข็งก้อน/น้ำแข็งบดในถุงซิปล็อค ไม่ว่าใช้อะไรให้ห่อผ้าขนหนูหรือผ้าอะไรที่บางๆ หน่อยไว้ก่อน แล้วประคบบริเวณที่มีอาการ 15 - 20 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ในช่วง 2 วันแรกหลังบาดเจ็บ
    • น้ำแข็งจะช่วยลดเลือดคั่ง (hematoma) อาการบวม อักเสบ และปวด/ระคายเคือง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พันรัดกล้ามเนื้อ.
    ให้ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้ายืดพันรัดประคองบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อปกป้องบริเวณนั้นในช่วง 48 - 72 ชั่วโมงแรก ต้องพันให้กระชับแต่ไม่คับแน่น
    • เวลาจะพันกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ให้เริ่มพันจากจุดที่ไกลหัวใจที่สุด แล้วพันเข้าหาตัว เช่น ถ้าบาดเจ็บบริเวณ bicep (ต้นแขนด้านหน้า) ให้เริ่มพันผ้าจากแถวข้อศอก แล้วไล่ขึ้นมาจนถึงรักแร้ ถ้าบาดเจ็บที่น่องส่วนล่าง ให้เริ่มพันตั้งแต่ข้อเท้าไล่ขึ้นมาจนถึงเข่า
    • พันให้กระชับ แต่ต้องยังสอดนิ้วมือ 2 นิ้วเข้าไประหว่างผ้ากับผิวหนังได้ ถ้ามีอาการบอกว่าเลือดไหลเวียนได้ไม่ค่อยดี ให้รีบแกะผ้าที่พันไว้ออก อาการที่ว่าก็เช่น ชา ซ่า หรือซีด
    • นอกจากนี้การรัดประคองยังช่วยป้องกันไม่ให้บาดเจ็บซ้ำที่เดิมด้วย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ยกแขนขาที่บาดเจ็บสูงไว้.
    ถ้าบาดเจ็บบริเวณแขนขา ให้ยกสูงเหนือระดับหัวใจ เพื่อลดอาการบวม โดยหนุนส่วนนั้นไว้บนหมอนตอนนอนหงายผ่อนคลาย ปล่อยตัวตามสบาย
    • ถ้าส่วนที่บาดเจ็บยกสูงเหนือระดับหัวใจไม่ได้ อย่างน้อยให้ขนานไปกับพื้น
    • ถ้ายังปวดตุบๆ ตลอดหรืออาการหนัก ให้พยายามยกแขน/ขาสูงกว่าเดิม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หลีกเลี่ยง HARM.
    ในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังกล้ามเนื้อฉีก สำคัญมากว่าต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำคุณบาดเจ็บกว่าเดิม ตัวย่อของกิจกรรมที่ควรงดเว้นไปก่อน รวมๆ กันเป็นคำว่า HARM (อันตราย) ได้แก่[1]
    • Heat (ความร้อน) อย่าใช้แผ่นประคบร้อน/ผ้าห่มไฟฟ้า หรือแช่น้ำร้อน
    • Alcohol (แอลกอฮอล์) อย่าดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ยิ่งเลือดออกและบวม รวมถึงทำให้อาการบาดเจ็บหายช้าขึ้น
    • Running (วิ่ง) ห้ามวิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนักๆ เพราะจะทำให้อาการหนักกว่าเดิม
    • Massage (นวด) ห้ามไปนวดหรือนวดบริเวณที่บาดเจ็บเอง เพราะจะทำให้ยิ่งตกเลือดและบวม
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กินอาหารให้เหมาะสม กล้ามเนื้อที่ฉีกจะได้หายเร็วๆ....
    กินอาหารให้เหมาะสม กล้ามเนื้อที่ฉีกจะได้หายเร็วๆ. กินอาหารที่อุดมวิตามินเอ วิตามินซี กรดไขมันโอเมก้า-3 ซิงค์ (สังกะสี) สารต้านอนุมูลอิสระ และโปรตีน เพื่อเร่งการฟื้นฟูซ่อมแซม อาหารที่แนะนำก็เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว มันเทศ บลูเบอร์รี่ ไก่ วอลนัท และอื่นๆ[2]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

กินยาแก้ปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID.
    Non-steroidal anti-infammatory drugs หรือ NSAIDs ช่วยบรรเทาอาการปวดแก้อักเสบ เพราะงั้นกล้ามเนื้อบาดเจ็บเมื่อไหร่ให้ลองหาซื้อยากลุ่ม NSAID มากิน เช่น ibuprofen หรือ naproxen ถ้าเป็น ibuprofen หรือแอสไพริน ต้องกินตามปริมาณที่เภสัชกรแนะนำ 3 - 7 วันหลังมีอาการ ห้ามกินยา NSAIDs ติดต่อกันนานกว่านั้น เพราะมีผลข้างเคียงระยะยาว เช่น ระคายกระเพาะ[3]
    • ยากลุ่ม NSAID แก้ปวดได้ แต่ก็อาจจะไปยับยั้งระยะของปฏิกิริยาทางเคมีบางอย่างที่จำเป็นต่อการฟื้นตัวระยะยาวได้[4]
    • ให้กินยา ibuprofen หรือ naproxen พร้อมอาหาร และดื่มน้ำตาม 1 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกระเพาะอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ ถ้าเป็นโรคหอบหืดต้องระวัง เพราะยาต้านอักเสบจะทำให้หอบหืดกำเริบบ่อยขึ้น[5]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาคุณหมอเรื่องใช้ครีมยาแก้ปวด.
    คุณหมอสั่งครีมยา NSAID ไว้ทาผิวหนังบริเวณที่กล้ามเนื้อฉีกได้ เป็นครีมยาทาเฉพาะที่ ใช้บรรเทาอาการปวดบวมที่กล้ามเนื้อ[6]
    • ให้ทาครีมยานี้เฉพาะบริเวณที่มีอาการ และใช้ยาตามหมอสั่งอย่างเคร่งครัด
    • ต้องล้างมือให้สะอาดทันทีหลังทาครีมบริเวณที่มีอาการเรียบร้อย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ให้คุณหมอสั่งยาแก้ปวดแรงๆ ถ้าอาการหนัก.
    ถ้าบาดเจ็บหนัก ก็แน่นอนว่าต้องเจ็บปวดเป็นพิเศษ แบบนี้คุณหมอจะสั่งยาแก้ปวดที่แรงกว่าแบบที่คุณหาซื้อได้ตามร้านขายยาให้ เช่น codeine[7]
    • แต่ยาพวกนี้ถ้าใช้นานๆ จะติดได้ แถมแรงกว่ายาที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยาเยอะ เพราะงั้นต้องทำตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามกินยาเกินขนาดหรือนานเกินไป
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปตรวจร่างกาย.
    ส่วนใหญ่ถ้ากล้ามเนื้อฉีกไม่มาก แค่ดูแลตัวเองที่บ้านก็หายได้เอง แต่จริงๆ แล้วก็บอกอาการหนักเบาได้ยาก ถ้าไม่ไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ เอาเป็นว่าถ้าคุณบาดเจ็บ มีอาการเจ็บปวด ขยับหรือใช้งานแขนขาที่บาดเจ็บได้ลำบาก หรือมีอาการบวมช้ำรุนแรง ก็ไปหาหมอเพื่อตรวจร่างกายจะปลอดภัยที่สุด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาคุณหมอเรื่องทำกายภาพบำบัด.
    ถ้ากล้ามเนื้อฉีกรุนแรงก็ต้องทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพราะจะช่วยให้แน่ใจได้ว่ากล้ามเนื้อจะฟื้นตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม กลับมาใช้งานได้ตามปกติแบบครบถ้วนสมบูรณ์[10]
    • ช่วงที่ทำกายภาพบำบัด คุณจะได้เรียนรู้และลองบริหารตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งเป็นท่าเฉพาะที่ช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้ออย่างปลอดภัย ทำให้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้เต็มองศา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เช็คว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง.
    บางโรคก็เกี่ยวข้องกับอาการกล้ามเนื้อฉีก แต่รุนแรงน่าเป็นห่วงกว่า ถ้าสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโรคต่อไปนี้ ให้รีบไปหาหมอทันที
    • ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (Compartment syndrome) ถ้าเจ็บปวดรุนแรง ร่วมกับอาการชาๆ ซ่าๆ แขน/ขาซีด รู้สึกตึงๆ ให้รีบไปหาหมอทันที[11] เพราะภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงเป็นโรคทาง orthopedic (กระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ) ที่ต้องรักษาเร่งด่วน หรือก็คือผ่าตัดรักษาภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ไม่งั้นอาจถึงขั้นต้องตัดขาหรือแขนได้เลย ถ้าคุณมีอาการตามที่ว่า ย้ำว่าต้องไปโรงพยาบาลทันที เลือดที่ไหลจากการฉีกขาดจะทำให้เกิดแรงดันในหลอดเลือดและเส้นประสาท ยิ่งแรงดันเยอะ เลือดก็ยิ่งไหลเวียนไม่สะดวก
    • เอ็นร้อยหวายฉีกขาด (Achilles tendon rupture) เอ็นร้อยหวายนั้นอยู่ที่ด้านหลังของข้อเท้าและน่อง[12] จะเกิดฉีกขาดได้ถ้าออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะในผู้ชายอายุ 30 ปีขึ้นไป ถ้าเจ็บตามด้านหลังของเท้า โดยเฉพาะตอนยืดเหยียดข้อเท้า แสดงว่าเอ็นร้อยหวายฉีกขาด เป็นอาการที่ต้องพักส่วนนั้นไปเลย ห้ามขยับ และเข้าเฝือกในท่า flexion (งอข้อศอก)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถ้ากล้ามเนื้อฉีกระดับ 3 ต้องรีบหาหมอ.
    ถ้ากล้ามเนื้อฉีกขาดไปเลย ก็จะขยับแขน/ขาที่เป็นไม่ได้เลย แบบนี้ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน[13]
    • แนวทางการรักษากับระยะเวลาในการฟื้นตัวจนหายดี จะต่างกันตามความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งกล้ามเนื้อที่ฉีก เช่น ถ้ากล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า (bicep) ฉีกขาดไปเลย ก็ต้องผ่าตัด และพักฟื้นประมาณ 4 - 6 เดือน แต่ถ้ากล้ามเนื้อฉีกไม่มาก ก็จะหายภายใน 3 - 6 อาทิตย์[14]
    • อันนี้แล้วแต่ลักษณะการฉีก บางทีก็ต้องพบศัลยแพทย์กระดูกหรือคุณเหมาะเฉพาะทางด้านอื่นๆ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาคุณหมอเรื่องผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อฉีกหรือฉีกขาด....
    ปรึกษาคุณหมอเรื่องผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อฉีกหรือฉีกขาด. บางเคสก็จำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อรักษากล้ามเนื้อที่ฉีกขาด หรือเอ็นยึดฉีก[15] คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดตามลักษณะและความรุนแรงของอาการ
    • ปกติกล้ามเนื้อฉีกทั่วไปไม่ต้องผ่าตัดรักษา คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดเฉพาะนักกีฬาอาชีพเท่านั้น เพราะถ้าปล่อยให้หายเอง จะกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการเล่นกีฬาได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ติดตามผลกับคุณหมอ.
    คุณหมอมักนัดตรวจติดตามผลซ้ำหลังรักษาครั้งแรก เพื่อให้แน่ใจว่าอาการบาดเจ็บฟื้นตัวดี ก็ต้องไปตามนัด อย่าละเลย[16]
    • แจ้งคุณหมอโดยด่วน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการหนักกว่าเดิม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเล่นกีฬาเป็นประจำหรือเป็นนักกีฬาอาชีพ มีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อเมื่อไหร่ต้องรีบหาหมอทันที ถึงจะแค่เล็กน้อยก็ตาม เพราะคุณหมอจะแนะนำวิธีรักษาตัวให้หายเร็วๆ กลับไปเล่นหรือแข่งกีฬาได้เร็วขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ามีอาการหรือสงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (compartment syndrome) ให้รีบไปหาหมอทันที เพราะถ้าปล่อยไว้อาจถึงขั้นเสียขาหรือแขนเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Luba Lee, FNP-BC, MS
ร่วมเขียน โดย:
กรรมการพิจารณายา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Luba Lee, FNP-BC, MS. ลูบา ลีเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีประกาศนียบัตรในเทนเนสซี่ เธอได้รับปริญญาด้านพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ในปี 2006 บทความนี้ถูกเข้าชม 7,394 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,394 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา