วิธีแก้ขากรรไกรค้าง: วิธีธรรมชาติช่วยได้หรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ขากรรไกรค้าง (lockjaw) ก็คืออาการที่อ้าปากหรือหุบปากได้ไม่สนิท หรือกล้ามเนื้อที่ขากรรไกรหดเกร็งจนเจ็บปวด ขากรรไกรค้างเป็นความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint disorder (TMJ)) ชนิดหนึ่ง ที่เกิดกับข้อต่อและกล้ามเนื้อโดยรอบที่ใช้ตอนอ้าปากและหุบปาก อาการอ้าปากได้จำกัด (trismus) เป็นอาการเบื้องต้นของบาดทะยัก (tetanus) ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นแล้วต้องได้รับการรักษาทันที[1][2] แต่อีกหลายคนก็กรามแน่น ปวดกราม หรือมีเสียงคลิก ที่ไม่เกี่ยวกับบาดทะยักแต่อย่างใด ซึ่งน้อยคนที่รู้ว่าควรแก้ไขยังไง โชคดีที่ถ้าขากรรไกรค้างไม่มาก คุณสามารถแก้ไขได้โดยกินอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย และใช้สมุนไพร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ผ่อนคลายและบริหารขากรรไกรให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เล่นโยคะ.
    กล้ามเนื้อตึงเกร็งทำให้เสี่ยงขากรรไกรค้างหรือยิ่งค้างหนัก ซึ่งโยคะนี่แหละช่วยคลายความเครียด แก้กล้ามเนื้อตึงเกร็งได้ดี เวลาเล่นโยคะต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงจิตใจด้วย ทำให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจก็สดชื่น เวลาเล่นโยคะ เหมือนได้เข้าถึงแก่นของปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด จนกล้ามเนื้อแถวขากรรไกรกระตุกเกร็ง มีโยคะหลายท่าเลยที่ช่วยแก้ขากรรไกรค้างได้ เช่น
    • ท่าอาสนะ (Asanas) เช่น "Adho Mukh Svanasana" หรือที่เรารู้จักกันดีในท่า Downward Facing Dog เป็นท่าที่ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวและขากรรไกรมากขึ้น ท่าอาสนะนี้ ร่างกายของเราจะเป็นรูปตัว ‘V’ คว่ำ ก้นโด่งขึ้นไป ยันพื้นด้วยส้นเท้ากับฝ่ามือ
    • "Salamba sarvangasana" (Shoulder stand) เป็นท่าที่รองรับน้ำหนักตัวด้วยไหล่ ไหล่จะแนบไปกับเสื่อโยคะหรือผ้าที่ปูรองไว้ ร่างกายตั้งแต่ไหล่ลงไปจะตั้งฉากกับพื้น พอกลับหัวแล้วเลือดเลยไหลเวียนไปที่หัวได้มากขึ้น แต่เป็นท่าอันตรายที่ต้องจัดท่าทางให้ถูกต้อง ต้องมีคนช่วยเซฟก่อนลองทำด้วยตัวเอง จะได้ป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น
    • "Viparita Karani" เป็นท่ายกขาขึ้นกำแพง เริ่มจากนอนหงายบนพื้น หาหมอนหรืออะไรมาหนุนหลังส่วนล่างไว้ แล้วเหยียดขาขึ้นไปแนบกำแพง
    • "Shavasana" หรือ "Savasana" (ท่าศพ) ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงเกร็ง เป็นท่าที่ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนอย่างสมบูรณ์ ให้นอนหงายราบไปกับพื้น แบมือขึ้น แล้วคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วนของร่างกายแบบรู้ตัว จากหัวจรดเท้า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นั่งสมาธิ...
    นั่งสมาธิ. เทคนิคช่วยผ่อนคลายแบบนี้จะทำให้ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรดีขึ้นได้[3] ท่าที่ช่วยคลายข้อต่อขากรรไกรได้ดี ก็คือนั่งสมาธิ เริ่มจากนั่งขัดสมาธิสบายๆ แล้วเน้นผ่อนคลายลิ้น เพราะส่วนใหญ่ลิ้นจะเกร็งติดเพดานปากแบบที่คุณไม่ค่อยรู้ตัว ต่อมาผ่อนคลายดวงตา ตามด้วยขากรรไกร รวมถึงผิวหน้าบริเวณมุมปากด้วย
    • ขั้นตอนพวกนี้เป็นขั้นแรกของ "ปรัตยาหาระ (pratyahara)" คือเน้นการตื่นรู้ภายใน การผ่อนคลายขากรรไกรแบบนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝน แต่บอกเลยว่าดีต่อขากรรไกรมาก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บริหารขากรรไกร.
    การออกกำลังกายถือว่าสำคัญมากถ้าไม่อยากขากรรไกรค้าง ถ้าหมั่นทำเป็นประจำและทำถูกวิธี จะทั้งช่วยแก้ไขและป้องกันขากรรไกรค้าง เริ่มจากผ่อนคลาย อย่าเกร็งไหล่ ปล่อยขากรรไกรล่างตามสบาย อย่าเกร็งลิ้น และอย่าขบฟันเข้าด้วยกัน[4]
    • วอร์มกล้ามเนื้อขากรรไกร โดยขยับขากรรไกรขึ้น-ลง ซ้าย-ขวาเล็กน้อย ห้ามขบฟันเด็ดขาด อ้าปาก-หุบปากเรื่อยๆ แต่ต้องไม่รู้สึกปวด เมื่อย หรือขัด
    • ขยับขากรรไกรไปข้างหน้าให้มากที่สุดแล้วเอากลับมา จากนั้นทำซ้ำไปทางด้านข้าง แล้วผ่อนคลาย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บริหารขากรรไกรต้านมือ.
    กำมือไว้ใต้คางแล้วอ้าปาก จากนั้นกดนิ้วโป้งใต้คางตอนขยับขากรรไกรไปข้างหน้า รวมถึงตอนทำซ้าย-ขวาด้วย ยื่นคางข้างไว้แบบนั้น 2 - 3 วินาที ต่อมาอ้าปากกว้างที่สุด แล้วพยายามหุบปาก สู้กับแรงต้านของนิ้วที่กดฟันล่างข้างหน้าไว้
    • ส่องกระจก แล้วค่อยๆ ขยับขากรรไกรล่างขึ้น-ลงตรงๆ อย่าเอียง ระวังอย่าให้ขากรรไกรดังคลิกหรือค้าง
    • แต่ละท่าให้ทำวันละ 10 ครั้งขึ้นไป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้ TheraBite System.
    TheraBite เป็นเครื่องแบบพกพาสำหรับรักษาขากรรไกรค้าง ใช้แล้วจะขยับขากรรไกรได้ถูกต้องตามหลักกายวิภาค เครื่องนี้มีทั้งการเคลื่อนไหวขากรรไกรตามปกติและยืดเหยียด เพื่อฟื้นฟูขากรรไกร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำไมขากรรไกรถึงตึงเกร็ง.
    ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint disorder หรือ TMJ) คือปัญหาที่มักเกิดกับข้อต่อที่ยึดขากรรไกรไว้กับกะโหลก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการที่เราเรียกกันว่า “ขากรรไกรค้าง”[6] TMJ เป็นแล้วขากรรไกรจะดังคลิก กดเจ็บ ปวด และระบม ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก และรู้สึกยึดๆ ค้างๆ[7] ขากรรไกรค้างบางทีก็เกิดจากสารพิษของแบคทีเรียบาดทะยัก (tetanus) ที่ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง[8] บาดทะยักเกิดจากแผลลึกหรือปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือมูลสัตว์ ต้องรีบรักษาทันที โดยไปแผนกฉุกเฉินหรือเรียกรถพยาบาลเมื่อเกิดอาการขากรรไกรค้าง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลองใช้น้ำมันมัสตาร์ดกับกระเทียม.
    น้ำมันมัสตาร์ดช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ส่วนกระเทียมช่วยต้านอักเสบ นอกจากนี้กระเทียมยังมีสรรพคุณต้านจุลชีพ (anti-microbial) เลยช่วยรักษาอาการติดเชื้อที่อาจทำให้อาการหนักขึ้นได้ ถ้าขากรรไกรไม่ได้ติดเชื้อหรืออักเสบ จะขยับง่ายขึ้นเยอะเลย[13]
    • ต้มกระเทียม 2 กลีบในน้ำมันมัสตาร์ด 1 ช้อนชา แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นใช้น้ำมันนี้นวดบริเวณที่ปวดหรือล็อค 2 - 3 ครั้งต่อวัน
    • ควรปรึกษาคุณหมอ หมอฟัน หรือหมอจัดฟันและขากรรไกรก่อนรักษาเองด้วยสมุนไพร
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มชาสมุนไพร.
    ถ้าเอาสมุนไพรต่อไปนี้มาชงชาหรือน้ำสมุนไพรดื่ม จะช่วยเรื่องขากรรไกรค้างได้
    • คาวา คาวา (Kava kava): ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการวิตกกังวล
    • ดอกเสาวรส (Passionflower): ลดอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย และไม่สบายตัว จากกล้ามเนื้อตึงเกร็งและอารมณ์แปรปรวน
    • ฟีเวอร์ฟิว (Feverfew): บรรเทาอาการปวด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • คาโมไมล์ (Chamomile): บรรเทาอาการระคายเคืองในผู้ใหญ่ และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากความตึงเครียด[14]
    • เปปเปอร์มินต์ (Peppermint): บรรเทาอาการระคายเคืองและลดปวด
    • เอ็กไคนาเซีย (Echinacea): บรรเทาอาการปวดบวม[15]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เพิ่มแมกนีเซียม.
    เพราะช่วยคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการแสบร้อนของระบบประสาท ลดกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งที่ขากรรไกร[16] ถ้ากินอาหารอุดมแมกนีเซียม จะช่วยบรรเทาอาการตึงเกร็งและการอักเสบของกล้ามเนื้อ อันเป็นผลให้ขากรรไกรค้าง
    • อาหารที่อุดมแมกนีเซียมคืออัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ กล้วย อะโวคาโด แอพริคอตอบแห้ง ถั่วเมล็ดกลม ถั่วฝัก ถั่วเหลือง และโฮลเกรน เช่น ข้าวฟ่าง และข้าวกล้อง[17]
    • ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำในแต่ละวัน ก็คือ 310 - 320 มก. สำหรับผู้หญิง และ 400 - 420 มก. สำหรับผู้ชาย[18] ก่อนเปลี่ยนแปลงอาหารให้ปรึกษาคุณหมอก่อน จะกินอาหารเสริมแมกนีเซียมด้วยก็ได้ ถ้าได้แมกนีเซียมจากอาหารประจำวันไม่เพียงพอ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เน้นแคลเซียม.
    แคลเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก ถ้าเกิดภาวะพร่องแคลเซียม จะทำให้กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง เรียกว่า tetany (ชักเกร็ง)[19] ให้เน้นกินอาหารอุดมแคลเซียม กระดูกขากรรไกรจะได้แข็งแรง กล้ามเนื้อขากรรไกรก็ขยับได้มากขึ้น ไม่กระตุกเกร็งจนขากรรไกรค้าง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เพิ่มวิตามินดี.
    ร่างกายต้องได้รับวิตามินดีเพียงพอ ถึงจะดูดซึมแคลเซียมได้ดี ถ้าเกิดภาวะพร่องวิตามินดี จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง อาจจะปวดกระดูกได้ เพราะงั้นถ้าใครวิตามินดีไม่พอ ก็เสี่ยงเกิด TMJ และขากรรไกรค้างได้มากกว่าคนอื่น[22]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นวดเองเลย.
    ให้นวดกล้ามเนื้อขากรรไกรเบาๆ ด้วยปลายนิ้ว ลองคลำหาสันกรามให้เจอบริเวณที่ปวดหรือดังคลิก แล้วนวดวนเบาๆ สักข้างละ 1 นาที จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดได้[25]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบร้อนและเย็นสลับกันไป.
    ประคบเย็นช่วยลดบวมลดอักเสบ ส่วนประคบร้อนช่วยบรรเทาปวดและคลายกล้ามเนื้อ[26] ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือเอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัด ส่วนประคบเย็นใช้เจลแพ็คหรือผ้าห่อถุงน้ำแข็งก็ได้[27] นอกจากนี้ยังใช้ heat pack หรือแผ่นประคบร้อน บรรเทาอาการปวดเมื่อยตึงเกร็งที่คอและไหล่ได้ด้วย
    • ระวังอย่าให้ร้อนลวกหรือเย็นจนกัดผิว! ประคบเย็นแค่ 10 นาที หรือประคบร้อนแค่ 5 นาทีพอ ที่สำคัญต้องมีผ้าคั่นที่ประคบกับผิวไว้เสมอ ป้องกันผิวถูกลวก/กัด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จัดท่าทางให้เหมาะสม.
    ต้องจัดท่าทางตัวเองให้เหมาะสมตลอดวัน โดยเฉพาะตอนนั่งทำงานที่โต๊ะ หน้าคอม หรือแค่นั่งเฉยๆ นานๆ หัวและคอต้องตั้งตรง กล้ามเนื้อจะได้ผ่อนคลาย ไม่ตึงเกร็ง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าขบหรือเคี้ยวฟัน.
    คนที่กัดหรือบดฟันบ่อยๆ ยิ่งเสี่ยงเป็น TMJ เพราะมีแรงกดที่ข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะคนที่นอนกัดฟัน ถ้าลดละเลิกพฤติกรรมตรงนี้ได้ ก็จะลดโอกาสเกิดขากรรไกรค้างเพราะ TMJ[28]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินอาหารนิ่มๆ.
    เวลากล้ามเนื้อขากรรไกรเจ็บแน่น ต้องให้ขากรรไกรได้พัก อย่าไปเพิ่มภาระให้ขากรรไกร อาหารที่แนะนำก็เช่น ซุป/น้ำแกง ไข่ ปลา คอทเทจชีส สมูธตี้ และผักต้ม โดยกินทีละน้อยๆ อย่าเคี้ยวอะไรแข็งๆ เหนียวๆ[29]
    • อย่าเคี้ยวหมากฝรั่ง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ดื่มน้ำวันละ 8 - 10 แก้ว.
    ขาดน้ำแล้วกล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นตะคริวง่าย ทำให้ยิ่งขากรรไกรค้าง[30] ให้ดื่มน้ำเรื่อยๆ กล้ามเนื้อและกระดูกจะได้แข็งแรง แต่ละวันต้องดื่มให้ได้ 8 แก้วขึ้นไป
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tetanus/symptoms-causes/dxc-20200458
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tetanus/symptoms-causes/dxc-20200458
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tmj/symptoms-causes/dxc-20209401
  4. http://www.findhomeremedy.com/11-effective-natural-cures-for-lockjaw/
  5. http://www.findhomeremedy.com/11-effective-natural-cures-for-lockjaw/
  6. https://naturallydaily.com/how-to-get-rid-of-lockjaw/
  7. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/
  8. https://medlineplus.gov/ency/article/002423.htm
  9. https://medlineplus.gov/ency/article/002423.htm
  10. http://emedicine.medscape.com/article/241893-overview
  11. https://medlineplus.gov/calcium.html
  12. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-Consumer/
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/vitamin-d-deficiency/faq-20058397
  14. https://medlineplus.gov/ency/article/002405.htm
  15. https://medlineplus.gov/ency/article/002405.htm
  16. https://www.painscience.com/articles/spot-07-masseter.php
  17. http://my.clevelandclinic.org/health/articles/treatment-options-for-temporomandibular-disorders-tmd
  18. http://www.findhomeremedy.com/11-effective-natural-cures-for-lockjaw/
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tmj/symptoms-causes/dxc-20209401
  20. http://my.clevelandclinic.org/health/articles/treatment-options-for-temporomandibular-disorders-tmd
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/symptoms-causes/dxc-20186052

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jennifer Boidy, RN
ร่วมเขียน โดย:
พยาบาลขึ้นทะเบียน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jennifer Boidy, RN. เจนนิเฟอร์ บอยดี้เป็นพยาบาลขึ้นทะเบียนในแมรี่แลนด์ เธอได้รับอนุปริญญาด้านพยาบาลจากวิทยาลัยชุมชนแคร์รอลในปี 2012 บทความนี้ถูกเข้าชม 54,256 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบทางการแพทย์

เนื้อหาของบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาที่จะใช้ทดแทนคำแนะนำ การตรวจ วินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือมืออาชีพทางการดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเสมอ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้น เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดูแลสุขภาพไม่ว่าประเภทใด

มีการเข้าถึงหน้านี้ 54,256 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา