วิธีการ เข้าใจคนที่มีปัญหาปวดเรื้อรัง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดเรื้อรัง คือ ภาวะอาการปวดที่เป็นมานานอย่างน้อย 3 เดือน หรือมากกว่านั้นนับตั้งแต่เริ่มได้รับบาดเจ็บหรือได้รับรักษาแล้ว ส่วนการปวดแบบเฉียบพลัน คือ กลไกทางธรรมชาติของระบบประสาทที่ตอบสนองต่อการบาดเจ็บ ซึ่งการปวดเรื้อรังนั้น นำมาซึ่งความรู้สึกทุกข์ทนและเบื่อหน่ายจากอาการปวด ในบางรายสาเหตุของอาการปวดนั้นเกิดจากการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย หรือติดเชื้อ แต่ในบางรายนั้นหาสาเหตุความเป็นมาไม่ได้[1] ในการทำความเข้าใจผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรัง คุณก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรพูดให้กำลังใจพวกเขาอย่างไร และไม่ควรพูดอะไรบ้าง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มาเรียนรู้เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังกันก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 WH.performance.clearMarks('image1_rendered'); WH.performance.mark('image1_rendered');...
    พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการปวด.ความทรมานของอาการปวดเรื้อรังแต่ละแบบนั้นแตกต่างกัน หากได้พูดคุยเกี่ยวกับอาการในแต่ละวันของพวกเขาก็จะช่วยให้เข้าใจอาการมากขึ้น ดังนี้
    • ลองถามดูว่าพวกเขาเคยรู้สึกทรมานจากการปวดหลัง, ติดเชื้อรุนแรง, หรือมีอาการปวดจากข้อเสื่อม, จากอาการชาในโรคเบาหวาน, หรืออาการเกี่ยวกับการถูกทำลายของเส้นประสาทหรือไม่ และอาการปวดเริ่มมีตั้งแต่เมื่อไร แล้วนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากงานวิจัยหรือเรื่องราวของผู้ที่มีอาการใกล้เคียงกัน
    • บางครั้งแพทย์ก็ไม่สามารถหาต้นเหตุของอาการปวดดังกล่าวได้ รู้เพียงแค่อาการที่แสดงออกมาเท่านั้น
    • อย่าชวนพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับอาการปวด ถ้าคนไข้ไม่ต้องการ เพราะบางคนหากยิ่งพูดถึงอาจทำให้อาการยิ่งแย่ลง
    • อาการปวดเรื้อรังที่มักพบ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดบั้นเอว ปวดตามข้อ ปวดจากการถูกทำลายของเส้นประสาทส่วนปลายและส่วนกลาง หรือปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ในผู้ป่วยคนเดียว สามารถมีอาการปวดเรื้อรังได้มากกว่า 1 อาการ เช่น อาการปวดและล้าเรื้อรัง, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, ปวดร้าวลงขาโรคเส้นประสาทส่วนปลาย, ทางเดินอาหารอักเสบ, หรือโรคซึมเศร้า
    • ต้องยอมรับว่าเพียงแค่ฟังจากผู้ป่วยพูด อาจบอกถึงความรู้สึกที่ทุกข์ทรมานต่อการปวดได้ไม่เพียงพอ เพราะหากลองจินตนาการว่าถ้าคุณมีอาการปวดทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง คงหาคำมาอธิบายความปวดนั้นๆ ได้ยากเช่นกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เรียนรู้ที่จะใช้สัญลักษณ์หรือรหัส.การให้ระดับความเจ็บปวดเป็นตัวเลข ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินระดับความเจ็บปวดเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษาว่าได้ผลแค่ไหน โดยจะมีตัวเลข...
    เรียนรู้ที่จะใช้สัญลักษณ์หรือรหัส.การให้ระดับความเจ็บปวดเป็นตัวเลข ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินระดับความเจ็บปวดเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษาว่าได้ผลแค่ไหน โดยจะมีตัวเลข 1-10 ให้ผู้ป่วยตอบ ซึ่ง 1 คือไม่มีอาการปวดเลย และ 10 คือ ปวดมากที่สุดเท่าที่เคยปวดมา
    • ต้องเข้าใจว่าจริงๆ แล้วผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวด แต่ผู้ป่วยบอกว่าเขาปกติดี เป็นเพราะพวกเขาพยายามซ่อนอาการปวดไว้ ด้วยความเชื่อว่าคนรอบตัวไม่เข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น
    • เมื่อคุณถามระดับความเจ็บปวด พวกเขาอาจจะให้คะแนนความเจ็บปวดได้ไม่ตามความเป็นจริง เพราะอาการปวดนั้นเป็นอาการเรื้อรัง พวกเขามีอาการมาตลอด จนอาจคิดว่าปวดแบบนี้คือปกติหรือไม่ปวด แต่อาจจะให้ได้ตามจริงเมื่อมีการบาดเจ็บเฉียบพลันอื่นขึ้นมา อาการเปลี่ยนไปจากวันที่ผ่านๆ มา หรืออาการปวดกำเริบเฉียบพลันจากที่เป็นเรื้อรังอยู่ (เช่น บอกว่า"เจ็บจี๊ดๆ" แทนที่จะเป็น "เจ็บหนึบๆ" หรือ "ปวดแสบๆ" แทนที่จะเป็น "ปวดสั่นๆ") หรือตอนที่เขาถูกถามตรงๆ ถึงระดับความปวดทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เข้าใจถึงวิธีการเผชิญกับอาการปวด.เมื่อคุณเป็นไข้คุณอาจจะรู้สึกไม่สบายสัก2-3วัน หรือเป็นสัปดาห์ๆ และทำกิจกรรมต่างๆ...
    เข้าใจถึงวิธีการเผชิญกับอาการปวด.เมื่อคุณเป็นไข้คุณอาจจะรู้สึกไม่สบายสัก2-3วัน หรือเป็นสัปดาห์ๆ และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ไม่เท่าปกติ ผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังก็เช่นกัน พวกเขาต้องรู้สึกหวาดกลัวเป็นเวลานาน ทำให้เกิดกลไกเผชิญกับความเจ็บปวดโดยการปกปิดระดับความปวดที่แท้จริงไว้ หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ไม่เท่าปกติ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ระวังการเกิดภาวะซึมเศร้า.การปวดเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ และเช่นเดียวกัน ภาวะซึมเศร้าก็ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้[2]Xแหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้Mayo...
    ระวังการเกิดภาวะซึมเศร้า.การปวดเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ และเช่นเดียวกัน ภาวะซึมเศร้าก็ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้[2]
    • ภาวะซึมเศร้า เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกออกมาน้อยลง ซึ่งรวมถึงอาการปวดด้วย เพราะพวกเขาไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ .[3]ดังนั้นจึงควรสังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการของภาวะซึมเศร้าหรือไม่ และไม่ต้องสงสัยหากได้ข้อมูลว่าอาการปวดที่พวกเขาบอก น้อยกว่าอาการที่ควรจะเป็น
    • เช่นเดียวกัน ภาวะซึมเศร้าก็ทำให้ผู้ป่วยแสดงอารมณ์บางอย่างออกมามากกว่าปกติ เช่น ร้องไห้ฟูมฟาย กังวล หงุดหงิด เศร้า เหงา หมดหวัง กลัวเหตุการณ์ในอนาคต โกรธง่าย พูดมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากฤทธิ์ยา ต้องการระบายความรู้สึก หรือนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับระดับความปวด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้วันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือ นาทีต่อนาทีได้เลยทีเดียว
    • สิ่งที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การทิ้งผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังไว้คนเดียว ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า รู้สึกเหงาและมองตัวเองในแง่ลบ ดังนั้นจึงควรมีคนอยู่ด้วย และให้กำลังใจพวกเขาเท่าที่จะทำได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ยอมรับว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมต่างๆ ได้น้อยกว่าปกติ....
    ยอมรับว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมต่างๆ ได้น้อยกว่าปกติ. ในหลายๆ โรค ผู้ป่วยจะมีอาการบางอย่างให้เห็น เช่น ไม่มีแรงจากอาการไข้หรือกระดูกหัก เช่นเดียวกับอาการปวดเรื้อรังที่ผู้ป่วยบางรายอาจจะขยับตัวไม่ได้เลย ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถสื่อสารหรือสังเกตสีหน้าของพวกเขาได้เลย
    • ผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบเลยว่าตื่นมาแล้วพรุ่งนี้อาการจะเป็นอย่างไร เพราะอาการเปลี่ยนไปวันต่อวัน ซึ่งทำให้คนรอบข้างสับสนและหงุดหงิดได้
    • หากลองให้ผู้ป่วยยืน เมื่อวานผู้ป่วยอาจยืนได้นาน 30 นาที ไม่ได้หมายความว่าวันนี้ผู้ป่วยจะยืนได้เหมือนกับเมื่อวาน อาจมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นก็ได้
    • ไม่เพียงแต่เรื่องการเคลื่อนไหวเท่านั้น ที่ถูกจำกัดจากอาการปวดเรื้อรัง แต่ยังรวมถึงสมาธิ และการเข้าสังคมด้วย
    • ต้องเข้าใจผู้ป่วย หากพวกเขาบอกว่าไม่ไหว ต้องนั่ง ต้องนอน หรือต้องรับประทานยา ทันที เนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่มีวิธีแก้ไขอื่น เมื่อมีอาการปวดขณะทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกะทันหัน อาการปวดเรื้อรังมันไม่รอใครหรอกนะ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สังเกตอาการต่างๆ เมื่อมีอาการปวด.เช่น หน้าบึ้ง...
    สังเกตอาการต่างๆ เมื่อมีอาการปวด.เช่น หน้าบึ้ง หงุดหงิด รำคาญ อารมณ์แปรปรวน บีบมือตัวเอง ร้องครวญคราง นอนหลับไม่สนิท กัดฟัน ไม่มีสมาธิ ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ลดลง และอาจจะมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือมีคำพูดที่บ่งบอกว่าหดหู่[4]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รู้ว่าอาการปวดเรื้อรังนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่....
    รู้ว่าอาการปวดเรื้อรังนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่. คุณอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไปพบแพทย์เพราะต้องการได้รับความสนใจ มีความสุข หรือหลงผิดคิดว่าตนเองป่วย จึงต้องการหาสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง รวมทั้งบางครั้งอาจจะพยายามหาสาเหตุของอาการปวด อันที่จริงไม่มีใครต้องการเป็นแบบนี้ แต่พวกเขาไม่มีทางเลือก
  8. How.com.vn ไท: Step 8 มีบางอย่างที่คุณไม่สามารถรู้ได้.อาการปวดเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้คนอื่นฟัง มันเป็นความรู้สึกที่มาจากทั้งทางร่างกายรวมถึงจิตใจ แม้คุณจะเป็นเอาใจใส่สนใจมากแค่ไหน...
    มีบางอย่างที่คุณไม่สามารถรู้ได้.อาการปวดเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้คนอื่นฟัง มันเป็นความรู้สึกที่มาจากทั้งทางร่างกายรวมถึงจิตใจ แม้คุณจะเป็นเอาใจใส่สนใจมากแค่ไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของเขาได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ให้กำลังใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เป็นคนที่สนใจความรู้สึกผู้อื่น.การเป็นคนเอาใส่ใจความรู้สึกผู้อื่นนั้นบ่งบอกถึงความพยายามที่จะเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยคนนั้น โดยการมองให้เห็นทัศนคติ และ...
    เป็นคนที่สนใจความรู้สึกผู้อื่น.การเป็นคนเอาใส่ใจความรู้สึกผู้อื่นนั้นบ่งบอกถึงความพยายามที่จะเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยคนนั้น โดยการมองให้เห็นทัศนคติ และ พฤติกรรมของคนคนนั้นผ่านทางดวงตา เพื่อให้รู้ว่าควรจะทำอย่างไรและพูดอะไรกับคนคนนั้น[5]
    • ความเจ็บป่วยของพวกเขาไม่ได้ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคนปกติ แม้พวกเขาจะใช้เวลาเกือบทั้งวันไปกับอาการปวด แต่พวกเขาก็ยังต้องการทุกสิ่งที่เหมือนกับคนปกติที่สุขภาพดี รวมทั้งต้องการที่จะมีความสุขกับงาน ครอบครัว เพื่อน และกิจกรรมยามว่างเหมือนเดิม
    • ผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังนั้นอาจจะรู้สึกอึดอัดที่ควบคุมอาการปวดของตนเองไม่ได้ ซ้ำอาการปวดยังทำให้หมดสนุกและรู้สึกสิ้นหวัง โศกเศร้า และหดหู่ไปทุกอย่าง
    • พึงระลึกไว้ว่าคุณโชคดีแค่ไหนที่มีสุขภาพร่างกายที่ดี สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปกติ และลองคิดดูว่าหากทำไม่ได้จะรู้สึกอย่างไร
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ยอมรับความสามารถว่าพวกเขาทำได้ดีที่สุดแล้ว.พวกเขาอาจจะพยายามแสดงออกว่ามีความสุขดี ทำสิ่งต่างๆ ได้ตามปกติ...
    ยอมรับความสามารถว่าพวกเขาทำได้ดีที่สุดแล้ว.พวกเขาอาจจะพยายามแสดงออกว่ามีความสุขดี ทำสิ่งต่างๆ ได้ตามปกติ เพราะพวกเขาเชื่อว่าสิ่งนั้นดีที่สุดแล้ว และหากพวกเขาบ่นว่าปวด ก็คือปวดจริงๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับฟัง.สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้ สำหรับผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังคือ รับฟัง...
    รับฟัง.สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้ สำหรับผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังคือ รับฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟัง และพยายามเข้าใจสิ่งที่พวกเขารู้สึกและต้องการจริงๆ
    • คุณต้องแสดงออกให้ชัดเจนว่าต้องการให้พวกเขาบอกอะไร เพราะผู้ป่วยหลายคนเข้าใจว่าคนรอบข้างจะไม่เชื่อคำพูดของเขา หรือต้องการเยาะเย้ยในความอ่อนแอของพวกเขา
    • อ่านใจให้ได้ว่าพวกเขามีอะไรซ่อนอยู่ ทั้งทางท่าทางที่แสดงออกมาและน้ำเสียงการพูด
    • แสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา แชร์ความรู้สึกที่แท้จริงของคุณออกมาให้เขาเห็น เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณ
    • คุณสามารถคลิกเข้าไปอ่านเรื่อง วิธีเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นผู้ฟังที่ดีได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อดทน...
    อดทน.ถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นคนที่ไม่มีความอดทน และต้องการให้พวกเขาทนหรือเพิกเฉยต่ออาการปวดไป เพื่อเป็นการปัดรำคาญ การทำแบบนั้นจะทำให้พวกเขายิ่งรู้สึกทุกข์กับอาการปวดและรู้สึกว่าท้อหรือหมดหนทางที่จะรักษาลงเรื่อยๆ
    • อย่าทำให้พวกเขารู้สึกเสียใจหรือน้อยใจ เพราะพวกเขาอาจจะทำร้ายร่างกายและจิตใจของตัวเองเป็นการระบาย จากความคิดที่ว่าพวกเขาพยายามทำทุกอย่างแล้ว แต่ไม่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรยอมรับในสิ่งที่เขาทำเป็นอยู่
    • อาจเป็นไปได้ที่พวกเขาจะยกเลิกนัด หรือ สิ่งที่เพิ่งบอกว่าจะทำอย่างกะทันหัน ก็จงอย่าไปหงุดหงิดหรือต่อว่าพวกเขา
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้ความช่วยเหลือ.พวกเขาต้องการให้คนปกติอย่างเราอยู่ดูแลที่บ้าน หรือไปเยี่ยมเมื่อพวกเขาป่วยหนักจนไม่สามารถออกไปนอกบ้านได้ อาจจะจำเป็นต้องให้ช่วยอาบน้ำ...
    ให้ความช่วยเหลือ.พวกเขาต้องการให้คนปกติอย่างเราอยู่ดูแลที่บ้าน หรือไปเยี่ยมเมื่อพวกเขาป่วยหนักจนไม่สามารถออกไปนอกบ้านได้ อาจจะจำเป็นต้องให้ช่วยอาบน้ำ แต่งตัว ดูแลกิจวิตรประจำวันอื่นๆ รวมทั้งช่วยพาไปพบแพทย์ คุณอาจจะแค่ให้พวกเขาทำไปตามปกติ แต่คอยช่วยเหลือแค่สิ่งที่ทำเองไม่ได้
    • คนรอบข้างหลายๆ คนอาจจะต้องการให้ความช่วยเหลือแต่ไม่สามารถอยู่กับพวกเขาได้เมื่อต้องการ เพราะฉะนั้นถ้าคุณต้องการให้ความช่วยเหลือจริงๆ ควรแน่ใจว่าจะสามารถดูแลพวกเขา และเป็นที่พึ่งพาได้อย่างต่อเนื่อง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 จัดการเวลาของการรับผิดชอบตนเองกับการดูแลพวกเขาให้ดี.การที่คุณต้องดูแลผู้ป่วยทุกวัน จำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพตนเองด้วย ไม่หดหู่ตามผู้ป่วย...
    จัดการเวลาของการรับผิดชอบตนเองกับการดูแลพวกเขาให้ดี.การที่คุณต้องดูแลผู้ป่วยทุกวัน จำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพตนเองด้วย ไม่หดหู่ตามผู้ป่วย และระลึกไว้เสมอว่าดูแลผู้อื่นได้ แต่ต้องไม่ลืมดูแลตนเอง
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รักษาและให้เกียรติพวกเขา.แม้พวกเขาจะมีหลายอย่างที่เปลี่ยนไปจากก่อนเจ็บป่วย แต่ความคิดความอ่านยังคงดีเหมือนเดิม ยังคงอยากทำสิ่งต่างๆ...
    รักษาและให้เกียรติพวกเขา.แม้พวกเขาจะมีหลายอย่างที่เปลี่ยนไปจากก่อนเจ็บป่วย แต่ความคิดความอ่านยังคงดีเหมือนเดิม ยังคงอยากทำสิ่งต่างๆ เหมือนเดิม เพียงแต่ถูกจำกัดด้วยอาการเจ็บป่วยทำให้ต้องยกเลิกไป เพราะฉะนั้นต้องมีน้ำใจ ให้เกียรติ และไม่ดูถูกพวกเขา
    • การลงโทษเมื่อผู้ป่วยไม่ทำตามคำสั่ง เป็นการยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกแย่และแสดงให้เห็นว่าคุณไม่เข้าใจพวกเขาเลย แต่ควรเปลี่ยนเป็นพยายามเข้าใจพวกเขาว่าทำไมถึงไม่ทำตามมากกว่า
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ดึงพวกเขาเข้ามาอยู่ในชีวิตคุณ.อาการเจ็บป่วยเรื้อรังอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เท่าเมื่อก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่จำเป็นต้องถามหรือไม่จำเป็นต้องให้พวกเขาวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ...
    ดึงพวกเขาเข้ามาอยู่ในชีวิตคุณ.อาการเจ็บป่วยเรื้อรังอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เท่าเมื่อก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่จำเป็นต้องถามหรือไม่จำเป็นต้องให้พวกเขาวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ควรจัดให้มีบางวันที่ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ เพราะแค่อาการป่วยก็ทำให้เขารู้สึกแปลกแยกจากคนอื่นมากพอแล้ว ฉะนั้นจึงควรเข้าใจและให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมด้วย
  9. How.com.vn ไท: Step 9 โอบกอดแสดงความรัก.เปลี่ยนจากการให้คำแนะนำเพื่อจัดการกับอาการเจ็บป่วยของพวกเขา เป็นการโอบกอดด้วยความเข้าใจและอบอุ่น แสดงให้เห็นว่าคุณให้กำลังใจพวกเขาอยู่...
    โอบกอดแสดงความรัก.เปลี่ยนจากการให้คำแนะนำเพื่อจัดการกับอาการเจ็บป่วยของพวกเขา เป็นการโอบกอดด้วยความเข้าใจและอบอุ่น แสดงให้เห็นว่าคุณให้กำลังใจพวกเขาอยู่ เพราะพวกเขารู้คำแนะนำต่างๆ จากแพทย์มาหมดแล้ว
    • บางครั้งแค่การตบบ่าเบาๆ ก็ช่วยให้พวกเขารู้สึกอุ่นใจและรู้สึกดีขึ้นได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รู้ว่าควรจะพูดอะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไม่พูดในเชิงชักจูงให้ทำนั่นนี่.เพราะการพูดลักษณะนี้สามารถทำให้พวกเขาหมดกำลังใจได้ หากคุณต้องการให้พวกเขาทำอะไรก็ตาม ควรถามว่าเขาสามารถทำได้ไหมและเคารพการตัดสินใจ...
    ไม่พูดในเชิงชักจูงให้ทำนั่นนี่.เพราะการพูดลักษณะนี้สามารถทำให้พวกเขาหมดกำลังใจได้ หากคุณต้องการให้พวกเขาทำอะไรก็ตาม ควรถามว่าเขาสามารถทำได้ไหมและเคารพการตัดสินใจ
    • อย่าพูดว่า “แต่ก่อนคุณเคยทำได้นะ” หรือ “ลองดู ฉันรู้ว่าคุณทำได้”
    • ให้ขยับร่างกายให้มากเท่าที่จะทำได้เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือ รำไทเก๊ก สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดอาการปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ เพราะบางครั้งการอยู่เฉยๆ ก็เป็นสาเหตุให้อาการปวดแย่ลง อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงประโยชน์จากการออกกำลังกาย เลือกออกในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ และไม่ทำให้อาการปวดกำเริบ การออกกำลังกายนั้นช่วยให้เลิกหมกมุ่น และนึกถึงอาการปวดน้อยลงได้exercise
    • หรือแม้กระทั่งการพูดว่าให้ลองพยายามอีก เพราะบางครั้งการให้พวกเขาพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินความสามารถ ก็อาจจะยิ่งทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
    • ผู้ป่วยมักไม่ต้องการถูกตอกย้ำว่าพวกเขาอ่อนแอ หรือถูกบอกให้ทำใจยอมรับกับเรื่องนี้ เพราะแน่นอนว่าพวกเขาย่อมรู้สึกอ่อนแออยู่แล้ว คุณอาจจะแค่ไม่ต้องไปพูดอะไรที่อาจจะสร้างความรู้สึกลบต่อพวกเขา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าทำตัวเหมือนเป็นแพทย์.เป็นธรรมดาที่ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์อยู่บ่อยครั้ง เพื่อรับการรักษาและฟื้นฟูอาการให้ดีขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องแนะนำความรู้เหล่านั้นแก่พวกเขา...
    อย่าทำตัวเหมือนเป็นแพทย์.เป็นธรรมดาที่ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์อยู่บ่อยครั้ง เพื่อรับการรักษาและฟื้นฟูอาการให้ดีขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องแนะนำความรู้เหล่านั้นแก่พวกเขา เพราะแน่นอนว่าคุณไม่ได้รู้ดีไปกว่าแพทย์
    • ระวังเรื่องการแนะนำยาใหม่ๆ หรือการรักษาทางเลือกอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงต่ออาการที่เป็นอยู่ได้
    • แต่ในผู้ป่วยบางคนก็ไม่ต้องการที่จะลองการรักษาแบบใหม่ๆ ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาไม่อยากให้อาการดีขึ้น แต่เพราะว่าเคยได้ยินและลองมาหลายอย่างแล้ว อาจจะเป็นเพราะไม่พร้อมที่จะลองอะไรใหม่ๆ ด้วยความคิดที่ว่าอาจจะยิ่งสร้างภาระให้มากขึ้นจากที่เป็นอยู่ และหากการรักษานั้นไม่ได้ผลจะรู้สึกท้อแท้ และยิ่งทำให้รู้สึกผิดหวังมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
    • หากมีวิธีรักษาหรือวิธีการใดๆ ที่ช่วยพวกเขาได้ ก็อาจจะบอกให้พวกเขารับรู้ โดยเลือกช่วงที่คิดว่าเขาจะเต็มใจรับฟัง แล้วค่อยๆ แนะนำให้ลองทำตาม
    • ไม่ต้องสอนหรือแนะนำอะไรเกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์ถ้าพวกเขาไปพบแพทย์เป็นปกติอยู่แล้ว เพราะการควบคุมอาการปวดเป็นเรื่องที่จัดการได้ยาก แต่ละวันอาการปวดไม่คงที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คำแนะนำนั้นอาจจะไม่ได้เป็นประโยชน์
    • หลีกเลี่ยงการแนะนำว่ายาที่พวกเขาใช้อยู่นั้นดีหรือไม่ดี
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หลีกเลี่ยงการพูดไม่คิด.คำพูดบางคำเช่น “ชีวิตก็เป็นแบบนี้แหละ”,“ทำใจซะเถอะ”, “เดี๋ยวก็ลืมๆ...
    หลีกเลี่ยงการพูดไม่คิด.คำพูดบางคำเช่น “ชีวิตก็เป็นแบบนี้แหละ”,“ทำใจซะเถอะ”, “เดี๋ยวก็ลืมๆ มันไปเอง” ,”ไปก่อนนะ ดูแลตัวเองให้ดีล่ะ” หรือ “ตอนนี้คุณก็ดูโอเคอยู่แล้วนะ” ซึ่งเป็นคำที่แสดงออกถึง การไม่ใส่ใจ คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่บ่งบอกว่าคุณไม่ได้เข้าใจพวกเขาหรือพูดปแบบขอไปที มักทำให้พวกเขารู้สึกแย่และหมดหวัง[6]
    • คนที่จะอยู่กับผู้ป่วยให้ได้ ย่อมต้องรู้ให้ชัดเจนว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และรู้ว่าควรจะทำอย่างไรกับพวกเขาบ้าง ไม่ควรคิดหรือคาดเดาเอาเองว่าพวกเขาควรจะรู้สึกอย่างไร
    • ควรพูดเพื่อช่วยแก้ปัญหา แทนที่จะพูดแบบไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร เช่น “ฉันพอจะช่วยอะไรคุณได้บ้าง” หรือ “มีวิธีใดไหมที่ฉันจะช่วยให้อาการของคุณดีขึ้น”[7]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าเปรียบเทียบในเรื่องของสุขภาพ.อย่าพูดในเชิงว่า คุณเคยเป็นแบบนี้มาก่อน แล้วตอนนี้ก็หายแล้ว...
    อย่าเปรียบเทียบในเรื่องของสุขภาพ.อย่าพูดในเชิงว่า คุณเคยเป็นแบบนี้มาก่อน แล้วตอนนี้ก็หายแล้ว เป็นการบ่งบอกว่าคุณไม่เข้าใจพวกเขา และยิ่งทำให้รู้สึกล้มเหลวว่าทำไมถึงไม่หาย ทั้งที่คนอื่นก็เป็นเหมือนกันมาก่อน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สร้างความรู้สึกที่เป็นบวก.การอยู่คอยให้กำลังใจ ให้ความรักและทำให้พวกเขารู้สึกมีหวังต่อไปเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขามาก...
    สร้างความรู้สึกที่เป็นบวก.การอยู่คอยให้กำลังใจ ให้ความรักและทำให้พวกเขารู้สึกมีหวังต่อไปเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขามาก
    • ทำให้เขารู้สึกว่าคุณยังอยู่เคียงข้างเขา เพราะการมีเพื่อนที่ดีเปรียบเสมือนผู้ช่วยชีวิตในยามทุกข์ยาก
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ถามถึงการรักษาที่ได้รับ.ให้ลองถามดูว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับการรักษาที่ได้รับอยู่ตอนนี้ พอใจไหม และทำให้อยู่กับความปวดนั้นได้หรือไม่[8]Xแหล่งข้อมูลอ้างอิง...
    ถามถึงการรักษาที่ได้รับ.ให้ลองถามดูว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับการรักษาที่ได้รับอยู่ตอนนี้ พอใจไหม และทำให้อยู่กับความปวดนั้นได้หรือไม่[8] โดยใช้เป็นคำถามปลายเปิด จะช่วยให้พวกเขาพูดเปิดเผยความรู้สึกออกมาได้ดีกว่า
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ถามว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง.อย่าเบื่อที่จะถามพวกเขาว่า อาการตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเพียงเพราะคิดว่าคำตอบของเขาจะทำให้คุณหนักใจ การถามแบบนี้เป็นการแสดงออกว่าคุณใส่ใจ...
    ถามว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง.อย่าเบื่อที่จะถามพวกเขาว่า อาการตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเพียงเพราะคิดว่าคำตอบของเขาจะทำให้คุณหนักใจ การถามแบบนี้เป็นการแสดงออกว่าคุณใส่ใจ แม้คำตอบจะออกมาไม่ได้เป็นอย่างที่หวัง แต่มันคือความจริง
    • เมื่อพวกเขาตัดสินใจเปิดใจกับใครสักคน อย่าบอกเขาว่าเขาพูดถึงแต่เรื่องเดิมๆ เพราะอาการปวดนั้นเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชีวิตเขา แทนที่จะพูดเรื่องเที่ยว ช็อปปิ้ง กีฬา หรือข่าวเม้าท์ซุบซิบแบบคนทั่วไป
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ความเงียบก็เป็นสิ่งที่ดี.บางครั้งการเงียบไม่พูดอะไรก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเพียงแค่มีคุณอยู่ข้างๆ ก็รู้สึกมีความสุข...
    ความเงียบก็เป็นสิ่งที่ดี.บางครั้งการเงียบไม่พูดอะไรก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเพียงแค่มีคุณอยู่ข้างๆ ก็รู้สึกมีความสุข โดยไม่ต้องพูดกันตลอดเวลาก็ได้
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ยอมรับว่าไม่รู้.อย่าพูดอะไรที่ซ้ำซากหรือพูดเรื่องที่ไม่จริงเพื่อให้ดูเหมือนรู้ เพราะแพทย์หลายๆ คน...
    ยอมรับว่าไม่รู้.อย่าพูดอะไรที่ซ้ำซากหรือพูดเรื่องที่ไม่จริงเพื่อให้ดูเหมือนรู้ เพราะแพทย์หลายๆ คน ก็ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังของผู้ป่วย หากไม่รู้ก็ตอบไปตามความจริงและไปค้นคว้าหาคำตอบเพิ่มเติมในภายหลัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา และหากปวดขึ้นมาก็จะทำอะไรไม่ได้ ทำให้รู้สึกหดหู่
  • ออกไปช็อปปิ้ง ส่งจดหมาย ซื้อของมาทำอาหาร หรืออะไรก็ได้
  • อาการปวดหรือไม่สบายนี้จะเปลี่ยนไปได้ตลอดแม้จะเป็นวันเดียวกัน
  • ภายนอกพวกเขาอาจจะดูยิ้มแย้ม แต่จริงๆ แล้วข้างในไม่ได้แสดงออกมาให้เห็น
  • ผู้ป่วยปวดเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งหรือเรียกร้องความสนใจ
  • ต้องพิจารณาให้ดีหากจะต้องใช้ชีวิตคู่กับผู้ป่วย ว่าจะสามารถดูแลเขาได้หรือไม่ อย่าฝืนตัวเองหรือกลัวว่าจะเป็นคนไม่ดี
  • อย่าลืมว่าพวกเขาก็คือคนปกติเหมือนกับเรา ต้องการได้รับความสำคัญและมีความสุขเหมือนกับเรา
  • ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการยากลำบากในการดำเนินชีวิต แต่เราก็สามารถทดแทนความยากลำบากเหล่านั้นได้ด้วยการให้ความใส่ใจกับพวกเขาที่กำลังต่อสู้กับโรคเรื้อรัง
  • อาการปวดเรื้อรังนั้น เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า, ต้องเพิ่มความรุนแรงของยาแก้ปวด, เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ เพราะฉะนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับอาการหรือลักษณะที่สังเกตได้ว่าผู้ป่วยคนนี้มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือไม่
  • ผู้ป่วยมักมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับร่วมด้วย หากรักษาเรื่องการนอนหลับหรือภาวะซึมเศร้าก็อาจจะช่วยเรื่องอาการปวดได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jeremy Bartz, PhD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jeremy Bartz, PhD. ดร.เจเรมี บาร์ตซ์เป็นนักจิตวิทยาคลินิกในคลินิกส่วนตัวที่ลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ กลุ่มอาการทางจิตที่ส่งผลต่อร่างกาย อาการปวดเรื้อรัง โรคนอนไม่หลับ ปัญหาด้านความสัมพันธ์ บาดแผลทางใจจากความสัมพันธ์ในวัยเด็ก และการแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการอยู่ท่ามกลางคนที่เป็นโรคหลงตัวเอง เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาจิตวิทยาคลินิกจากมหาวิทยาลัยบริกแฮมยัง และสำเร็จหลักสูตรฝึกอบรมต่อยอดสาขาจิตวิทยาความเจ็บปวดที่คลินิกการจัดการความเจ็บปวดชั้นนำของสแตนฟอร์ด บทความนี้ถูกเข้าชม 1,153 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,153 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา