วิธีการ สังเกตอาการโรคชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

Chikungunya fever หรือโรคชิคุนกุนยา นั้นมีสาเหตุมาจากไวรัส ที่แพร่ไปยังมนุษย์ได้เวลาถูกยุงที่มีเชื้อกัด ยุง 2 สายพันธุ์ที่เป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็คือ aedes aegypti กับ aedes albopictus ถึงตามปกติโรคนี้จะพบมากในทวีปแอฟริกา เอเชีย และในบางพื้นที่ของประเทศอินเดีย แต่ก็พอมีรายงานเหมือนกัน ว่าพบโรคนี้ในซีกโลกตะวันตกช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คนที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง และปวดข้อปานกลางถึงมากที่สุด หลังรับเชื้อได้ประมาณ 3 - 7 วัน ตอนนี้โรคชิคุนกุนยายังไม่สามารถรักษาให้หายได้ และทางเดียวที่จะป้องกันก็คือระวังตัวไม่ให้ถูกยุงกัด อย่างไรก็ดี ปกติไวรัสชนิดนี้ไม่ค่อยร้ายแรง ยิ่งถึงชีวิตยิ่งไม่ค่อยมี[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

อาการไหนที่ใช่ชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ต้องมีไข้สูง.
    ไข้สูงนี่แหละหนึ่งในอาการแรกเริ่มของชิคุนกุนยา ปกติไข้จะสูงถึง 40 °C และจะสูงอยู่แบบนั้นนานเป็นอาทิตย์[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปวดข้อร่วมด้วย.
    มักจะปวดมาก ถึงขั้นขยับเขยื้อนไม่ได้ก็มี ถ้าปวดก็จะปวดแบบ bilateral (ปวดทั้ง 2 ข้าง) จุดที่มักปวดก็คือมือและเท้า ส่วนขาและหลังจะพบน้อยกว่า อาการปวดข้ออาจนานเป็นอาทิตย์ๆ ร้ายแรงเข้าก็เป็นปีหรือนานกว่านั้น แต่น้อยรายมากๆ ส่วนคำว่า “chikungunya” นั้น แปลว่า “บิดงอผิดรูป” มาจากภาษาถิ่น Makonde ของประเทศแทนซาเนีย ใช้อธิบายลักษณะร่างกายของคนที่ป่วยขั้นรุนแรงของโรคนี้
    • คนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะปวดข้อนาน 7 - 10 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นคนสูงอายุ ก็อาจนานกว่านั้น[3]
    • บางรายจะมีอาการบวมร่วมด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ระวังผื่นแพ้.
    ผื่นแพ้จะเกิดหลังมีไข้ และมักเป็นผื่นแบบ maculopapular หรือก็คือเป็นผื่นปื้นๆ แดงๆ บนผิวหนัง และมีตุ่มนูนเล็กๆ ร่วมด้วย ปกติจะขึ้นแถวลำตัวและแขนขา แต่บางทีก็ขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามหน้าได้เหมือนกัน[4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สังเกตอาการเพิ่มเติม.
    ถ้าคุณเป็นโรคชิคุนกุนยา ก็อาจมีอาการปวดหัว ปวดกลามเนื้อ เยื่อตาอักเสบ คลื่นไส้ และอาเจียนด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลรักษาและป้องกันชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รีบหาหมอด่วนถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นชิคุนกุนยา....
    รีบหาหมอด่วนถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นชิคุนกุนยา. ถ้าคุณมีไข้ ปวดข้อ และผื่นแดง ให้รีบหาหมอ เพราะโรคชิคุนกุนยานั้นระบุได้ยาก (โอกาสวินิจฉัยพลาดไปเป็นโรคไข้เลือดออกค่อนข้างสูง) คุณหมอจะวินิจฉัยตามอาการของคุณ ประกอบกับข้อมูลว่าคุณเพิ่งเดินทางไปที่ไหนมา รวมถึงการตรวจเลือดหาไวรัสด้วย วิธีเดียวที่จะบอกได้แบบชัดเจนว่าคุณเป็นโรคชิคุนกุนยา ก็คือการตรวจตัวอย่างเลือดหรือน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ในแล็บ
    • การตรวจเลือดหาไวรัส นอกจากที่โรงพยาบาลแล้วก็มีสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปกติจะรู้ผลภายใน 4 - 14 วัน กว่าจะถึงตอนนั้น ร่างกายคุณก็เริ่มต่อสู้กับไวรัสชิคุนกุนยาแล้ว[5]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รักษาอาการชิคุนกุนยา.
    ตอนนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสสำหรับโรคชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ แต่คุณหมออาจจะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ แทน นอกจากนี้ก็แนะนำให้พักผ่อนและดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ[6]
    • ตัวอย่างการให้ยาก็เช่น บรรเทาอาการไข้และปวดข้อด้วยยา acetaminophen (Tylenol), ibuprofen (Advil) หรือ naproxen (Aleve) เป็นต้น[7]
    • ห้ามกินยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะจะเสี่ยงเกิดโรค Reye’s syndrome ซึ่งเป็นโรคหายากแต่ร้ายแรงถึงขั้นตับและสมองบวมได้ โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ป้องกันชิคุนกุนยาโดยระวังไม่ให้ยุงกัด.
    ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคชิคุนกุนยา เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะป้องกันได้ ก็คือระวังตัวไม่ให้ถูกยุงกัด โดยเฉพาะตอนเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่พบผู้ป่วยโรคนี้บ่อย เช่น แอฟริกา เอเชีย และบางพื้นที่ของประเทศอินเดีย[9] ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน อย่างท้องอยู่ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ห้ามเดินทางไปยังสถานที่ที่โรคกำลังระบาดเด็ดขาด ส่วนการป้องกันไม่ให้ยุงกัดนั้น ทำได้ดังนี้
    • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เวลาเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เสี่ยง ถ้าเป็นไปได้ให้ฉีดพ่นเสื้อผ้าด้วย permethrin (ยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง) เพื่อไล่ยุง
    • ทายากันยุงหรือไล่ยุงตรงผิวนอกเสื้อผ้า ให้เลือกที่มี DEET, picaridin, IR3535, น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส เลมอน (oil of lemon eucalyptus) หรือ paramenthane-diol (PMD) เพราะจะเห็นผลที่สุดและกันยุงได้ยาวนานกว่า
    • ติดมุ้งลวดตามหน้าต่างและประตู กางมุ้งกันยุงเวลานอนตอนกลางคืน และเวลาเด็กหรือคนสูงอายุนอนกลางวัน[10]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 24,483 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,483 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา