วิธีการ รู้ว่าคุณมีอาการข้อเข่าอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ภาวะข้อเข่าอักเสบ เกิดจากการอักเสบและถูกทำลายของหนึ่งส่วนหรือหลายๆ ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า ภาวะข้อเสื่อมสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุต่างๆ กัน ซึ่งจะพบการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ปกคลุมบริเวณข้อต่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น โรคข้อเสื่อมรูมาตอยด์ที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่ทำลายผิวข้อ หรือข้ออักเสบชนิดอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อ, โรคประจำตัว(เช่นโรค SLE หรือที่เรียกว่า โรคพุ่มพวง ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน) หรืออาจเกิดจากการสะสมของกรดยูริคที่มากเกินไป หากคุณต้องการทราบว่าตนเองมีภาวะข้อเสื่อมหรือไม่ สามารถศึกษาอาการที่บ่งบอกถึงภาวะดังกล่าวได้จาก [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รู้ว่าปัจจัยใดที่ทำให้คุณอาจมีภาวะข้อเข่าอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง.
    ข้ออักเสบต่างชนิดกัน ล้วนเกิดจากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าอักเสบ แม้บางปัจจัยจะเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ แต่บางปัจจัยอื่นๆที่แก้ไขได้ก็ควรแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อเข่าอักเสบ[2]
    • พันธุกรรม โดยในบางคนอาจจะมีคนในครอบครัวเป็นโรคข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ SLE ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวก็จะสูงขึ้น[3]
    • เพศ เพศชายส่วนมากมักเป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งเกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในเลือดมาก ในขณะที่เพศหญิงมักพบว่าเป็นโรคข้อเสื่อมรูมาตอยด์ได้มากกว่า[4][5]
    • อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นข้ออักเสบมากขึ้น
    • น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน การมีน้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ จะทำให้เกิดแรงกดที่ข้อเข่าทั้งสองข้างมากกว่าปกติ ทำให้เกิดข้ออักเสบตามมาได้ง่าย
    • เคยได้รับอุบัติเหตุ หากเคยบาดเจ็บที่ข้อเข่าก็อาจทำให้ข้ออักเสบตามมา
    • ติดเชื้อ เมื่อเชื้อโรคลุกลามไปที่ข้อเข่า ก็จะเข้าไปทำลายผิวข้อ ทำให้ข้อเข่าอักเสบได้เช่นกัน
    • อาชีพ. อาชีพที่ต้องงอเข่าซ้ำๆ หรือนั่งยองๆ นานๆ ก็ทำให้เป็นโรคข้อเก่าอักเสบได้
    • ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยงเพียง 1 ถึง 2 ข้อจากข้างต้นที่จะเป็นข้อเข่าอักเสบ ให้ไปปรึกษาแพทย์ (หรือดูบทความส่วนด้านล่าง) เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทราบก่อนว่าอาการของข้อเข่าอักเสบเป็นอย่างไร....
    ทราบก่อนว่าอาการของข้อเข่าอักเสบเป็นอย่างไร. อาการที่มักพบสำหรับโรคข้อเข่าอักเสบ คือ ปวดบริเวณข้อเข่าและรู้สึกแข็ง ขยับได้ยาก ขึ้นกับชนิดของข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ ข้อเข่าเสื่อม ให้ลองสังเกตตามข้อข้างล่างดังต่อไปนี้:[6]
    • ปวดมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ
    • มีช่วงการเคลื่อนไหวของข้อที่ลดลง
    • เข่าแข็ง ขยับได้ยาก
    • บวมและมีจุดกดเจ็บที่ข้อเข่า
    • รู้สึกเหมือนเข่าจะหลุด
    • รู้สึกเพลียและไม่สบาย (มักพบบ่อยในช่วงที่ข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบ)
    • มีไข้ต่ำๆ และหนาวสั่น (มักพบบ่อยในช่วงที่ข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบ)
    • ข้อต่อผิดรูป(ขาเป็ด หรือ ขาโก่ง) เกิดจากการที่เป็นข้ออักเสบนานๆ แล้วไม่ได้รักษา[7]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปวดในบริเวณที่มักจะปวด.
    อาการปวดของข้ออักเสบ มักจะไม่ได้ปวดทั่วๆ ทุกบริเวณ แต่มักจะรู้สึกปวดข้างในเข่า ด้านหน้า หรือด้านหลังเข่า[8]
    • กิจกรรมที่ทำให้เข่ารับแรงกระแทกมาก เช่น การเดินระยะทางไกล เดินขึ้นลงบันได หรือยืนนานๆ ก็สามารถทำให้ข้อเข่าอักเสบได้มากขึ้น
    • ในรายที่ข้อเข่าอักเสบรุนแรง อาจพบว่ามีอาการปวดแม้กระทั่งนั่งหรือนอนเฉยๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ประเมินช่วงองศาการเคลื่อนไหวของเข่า.
    นอกจากอาการปวดแล้ว ข้อเข่าอักเสบก็ทำให้เข่าขยับได้น้อยลง เนื่องจากการสูญเสียของผิวข้อทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น ทำให้รู้สึกแข็ง งอเหยียดได้ลำบาก[9]
    • กระดูกอ่อนที่ผิวข้อข้างหนึ่งจะสึกหรอ ทำให้สังเกตเห็นขาโก่งเข้า หรือ ขาแบะออก ได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สังเกตอาการบวมและเสียงของข้อเข่า.
    อาการบวมคือสัญญาณหนึ่งของการอักเสบ (นอกเหนือจาก ปวด อุ่น และแดง) นับเป็นอาการสำคัญของข้อเข่าอักเสบ และนอกจากนั้นมักจะได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บได้ข้อเข่าขณะเคลื่อนไหวร่วมด้วย[10]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สังเกตอาการที่เปลี่ยนไป.
    อาการของข้อเข่าอักเสบสามารถแย่ลงได้เรื่อยๆ ซึ่งทำให้แยกออกจากอาการปวดเข่าอื่นๆได้
    • ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มักจะมีช่วงที่โรคกำเริบ ซึ่งอาการจะแย่จนถึงขั้นรุนแรงมากที่สุด และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นในภายหลัง[11]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 พบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ.
    หากคุณมีอาการ1 ข้อ หรือมากกว่านั้น ให้ไปพบแพทย์ เพราะคุณอาจมีภาวะข้อเข่าอักเสบ
    • แพทย์จะตรวจเช็คอาการบวม แดง อุ่น ของข้อเข่า และประเมินช่วงการเคลื่อนไหว หากแพทย์สงสัยอาการข้อเข่าอักเสบ จะแนะนำให้เข้ารับตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้:[12]
      • ตรวจหาสารที่ทำให้ข้ออักเสบในเลือด ปัสสาวะ หรือรวมถึงน้ำไขข้อ โดยการตรวจน้ำไขข้อจะใช้เข็มเจาะเข้าไปในช่องว่างระหว่างข้อต่อแล้วดูดออกมาตรวจ
      • อัลตราซาวน์ เพื่อดูเนื้อเยื่อ กระดูกอ่อน และของเหลวภายในข้อเข่า โดยอัลตราซาวน์นี้จะใช้เพื่อให้เห็นภาพก่อนการเจาะน้ำไขข้อออกมาตรวจ
      • เอกซ์เรย์ เพื่อดูการสึกหรอของผิวข้อและกระดูก หรือรวมถึงหินปูนที่เกิดจากความเสื่อม
      • CT-scan เพื่อดูกระดูกและข้อเข่า โดยลงรายละเอียดถึงภาพตัดขวาง ทำให้ดูโครงสร้างภายในข้อเข่าได้ละเอียดยิ่งขึ้น
      • MRI จะให้รายละเอียดได้มากขึ้นกว่า CT scan โดยจะเห็นทั้งผิวข้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นกระดูกทั้งหมดภายในเข่า ในมุมมองที่ต้องการ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิธีป้องกันไม่ให้ข้อเข่าอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลดน้ำหนัก.
    นับว่าเป็นวิธีการรักษาข้อเข่าอักเสบที่สำคัญวิธีหนึ่ง เพราะการลดน้ำหนัก ทำให้เข่ารับน้ำหนักลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต[13]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำให้มีแรงกระแทกต่อเข่า....
    ปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำให้มีแรงกระแทกต่อเข่า. ลดกิจกรรมดังกล่าวลง และหันมาออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการข้อเข่าอักเสบ[14]
    • การออกกำลังกายในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาของข้อเข่า
    • ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า หรือ ไม้ค้ำยัน โดยถือไว้ข้างเดียวกับเข่าที่ปกติ เพื่อช่วยลดการลงน้ำหนักบนเข่าข้างที่มีปัญหา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเรื่องข้อเข่า.
    ปัจจุบันมีสารสกัดธรรมชาติจากสารที่มีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์ เช่น กลูโคซามีน และ คอนโดรอิทินซัลเฟต ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงบริเวณกระดูกอ่อนที่ผิวของข้อเข่า[15]
    • แม้อาหารเสริมจะช่วยควบคุมเรื่องของอาการปวด แต่ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างผิวข้อให้กลับมา ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายฉบับกล่าวไว้ว่าอาหารเสริมดังกล่าวเปรียบเสมือนยาหลอก แค่ส่งผลทางจิตใจผู้ป่วยเท่านั้น แต่เนื่องจากค่อนข้างจะไม่มีอันตราย แพทย์หลายคนจึงเลือกแนะนำให้ลองรับประทาน
    • แพทย์บางคนอาจจะแนะนำให้ลองรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวแค่ประมาณ 3 เดือนก่อน ว่าช่วยจริงๆ หรือไม่
    • ยาแก้ปวดบางชนิด จำหน่ายนอกเหนือการควบคุมของ คณะกรรมการอาหารและยา ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ให้และแพทย์สั่งจ่ายยา ไม่ควรซื้อรับประทานเอง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำกายภาพบำบัด.
    เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ซึ่งจะช่วยลดแรงกระทำต่อเข่า ป้องกันกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญต่อการใช้งานของเข่าอ่อนแรง และป้องกันไม่ให้เข่าเสื่อมเพิ่มมากขึ้น[16]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รับประทานยาแก้อักเสบ.
    เช่นยา NSAID ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยยานี้จะช่วยบรรเทาปวดและอักเสบของเข่า[17]
    • ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวดรับประทานเอง โดยเฉพาะยาชนิดอื่นๆ
    • ห้ามใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำไว้ เพราะทั้งยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบนั้น หากรับประทานเกินขนาดจะมีผลข้างเคียงที่อันตรายถึงชีวิต[18][19]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฉีดไฮยาลูโรนิคเข้าที่เข่า.
    โดยกรดไฮยาลูโรนิคนี้มีอยู่ตามปกติในน้ำไขข้อ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเพิ่มความหล่อลื่นให้ข้อเข่า ทำให้เคลื่อนไหวได้สะดวก เพราะในผู้ที่มีข้อเข่าอักเสบจะมีสารนี้น้อยลง ทำให้เข่าฝืดขณะเคลื่อนไหว[20]
    • แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดไฮยาลูโรนิคเข้าที่เข่า (มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า น้ำไขข้อเทียม หรือ สารหล่อลื่น)
    • วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลดีกับทุกคน แต่จะช่วยบรรเทาอาการได้อยู่ประมาณ 3-6 เดือน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาแพทย์ก่อน หากต้องการใช้ยาสเตียรอยด์ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์....
    ปรึกษาแพทย์ก่อน หากต้องการใช้ยาสเตียรอยด์ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. รวมทั้งการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ [21]
    • ยาดังกล่าว ได้แก่ methotrexate หรือ hydroxychloroquine ซึ่งจะช่วยชะลอหรือหยุดการอักเสบของข้อเข่าที่เกิดจากการทำลายของภูมิคุ้มกัน
    • ยาชีวเวชภัณฑ์ เช่น etanercept และ infliximab ซึ่งเป็นยาสังเคราะห์จากโปรตีนที่มีสรรพคุณในการกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ลดการทำลายและอักเสบของข้อ
    • คอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น prednisone และ cortisone มีสรรพคุณลดอักเสบและกดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีทั้งแบบรับประทาน หรือฉีดเข้าไปโดยตรงในบริเวณที่ข้ออักเสบ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่.
    หากการรักษาทั้งหมดก่อนหน้านี้ไม่ได้ผลทั้งเรื่องปวดและยังคงเสื่อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจำเป็นต้องผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเชื่อมข้อต่อให้ติดกันถาวร หรือ เปลี่ยนข้อเข่าเทียม[22]
    • การผ่าเชื่อมติดข้อต่อ แพทย์จะนำผิวข้อที่ปลายของกระดูกสองชิ้นออก และเชื่อมกระดูกเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม แพทย์จะนำผิวข้อที่ถูกทำลายออกและใช้ข้อเทียมเชื่อมเข้าไปแทนที่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการของข้อเข่าอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากได้รับการรักษาเร็วก็จะทำให้การอักเสบไม่ลุกลาม
  • การรักษาข้อเข่าอักเสบ ควรเริ่มจากวิธีรักษาแบบเบื้องต้นและเป็นขั้นตอนไปเรื่อยๆ จึงจะทำการผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้ายหากจำเป็น
  • การรักษาแต่ละวิธี ไม่ได้เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกรายเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีที่สุดที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Troy A. Miles, MD
ร่วมเขียน โดย:
ศัลยแพทย์ด้านกระดูก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Troy A. Miles, MD. ดร.ไมลส์เป็นศัลยแพทย์ด้านกระดูกในแคลิฟอร์เนียที่เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างไขข้อเทียมให้ผู้ใหญ่ เขาได้รับปริญญาโทจากคณะแพทย์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตย์คอลเลจในปี 2010 ตามด้วยการเป็นแพทย์ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์และสุขภาพของมหาวิทยาลัยโอเรกอนและแพทย์ประจำของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส บทความนี้ถูกเข้าชม 1,912 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,912 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา