วิธีการ รู้ตัวเมื่อมีไข้

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เรามีไข้ (fever) เพราะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีต่อไวรัส อาการติดเชื้อ และโรคภัยต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศไม่พึงประสงค์ให้สิ่งแปลกปลอมในร่างกายนั้นอยู่ไม่ได้ ส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมนั้นจะตายหรือสลายไปในไม่กี่วัน แต่ปัญหาคือบางทีเราก็มีไข้แบบไม่รู้สาเหตุ ซึ่งจะเป็นปัญหามากถ้ามีไข้สูงจากโรคร้ายแรงแต่เราไม่รู้ตัว หรือหาสาเหตุไม่ได้ จนทำให้รักษาได้ไม่ตรงจุด บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสังเกตอาการให้รู้ตัวเมื่อมีไข้ รวมถึงวิธีปฏิบัติตัวเมื่อไข้สูงเพราะโรคร้ายแรง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

สังเกตอาการเมื่อมีไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วัดไข้ถ้ามีเทอร์โมมิเตอร์.
    ถ้าอุณหภูมิออกมา 103°F (39.4°C) หรือต่ำกว่า ก็ดูแลตัวเองได้เลย แต่คอยสังเกตอาการเป็นระยะ ว่าดีขึ้นหรือเปล่า[1]แต่ถ้ามีไข้สูงเกิน 104°F (40°C) ให้รีบขอความช่วยเหลือหรือไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลด่วน เพราะต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถ้าสำรวจอาการคนอื่น ให้เอามือแตะตัวเขาดู.
    ถ้าจะสังเกตตัวเองว่ามีไข้หรือเปล่า ก็คงยากจะบอกว่าตกลงอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 98.7°F (37°C) หรือ 101.2°F (38.4°C) จะง่ายกว่าถ้าสังเกตจากอาการอื่นแทน (อ่านต่อข้างล่าง)
    • ถ้าจะสังเกตอาการของคนอื่น ให้ลองเอามือเราวัดอุณหภูมิร่างกายของตัวเอง แล้วรีบไปแตะตัวคนที่สงสัยว่าจะเป็นไข้ดู อย่างน้อยก็เปรียบเทียบได้ว่าเขาตัวร้อนหรือเปล่า ถ้าตัวคุณเย็นกว่ามาก แสดงว่าเขาน่าจะมีไข้
    • แล้ววิธีนี้เชื่อได้มากแค่ไหน? มีงานวิจัยหนึ่งพบว่าคนที่พยายามจะวัดไข้โดยใช้มือแตะ มัก "รู้สึกว่ามีไข้สูงเกินจริง" บางทีก็มากถึง 40% เลยทีเดียว[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มีอาการขาดน้ำไหม.
    คนเรามีไข้เพราะร่างกายปรับอุณหภูมิภายในสูงขึ้นเพื่อสู้กับอาการติดเชื้อ ไวรัส และโรคภัยอื่นๆ[3]ถือเป็นกลไกการป้องกันตัวตามธรรมชาติ อาการที่เห็นได้ชัดหลังร่างกายปรับอุณหภูมิสูงขึ้น ก็คือมักคอแห้งหรือขาดน้ำ
    • อาการ[4]ที่บอกได้ว่าคุณกำลังขาดน้ำก็คือ
      • ปากแห้ง
      • คอแห้ง
      • ปวดหัวและอ่อนเพลีย
      • ผิวแห้ง
      • ท้องผูก
    • อาการขาดน้ำอาจรุนแรงขึ้นได้ถ้าอาเจียนหรือท้องเสียควบคู่[5]ถ้าคุณมีอาการดังที่ว่า ให้ดื่มน้ำชดเชยเยอะๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปวดตัวหรือเปล่า.
    หลายเคสผู้ป่วยจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อควบคู่ไปกับอาการขาดน้ำ ซึ่งจะยิ่งรุนแรงถ้ามีไข้สูง หมายเหตุ: ถ้ามีไข้แล้วกล้ามเนื้อที่หลังแข็ง ตึงเกร็ง ให้รีบไปโรงพยาบาลเพราะอาจเป็นอาการบอกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย (bacterial meningitis) ที่ทำให้สมองเสียหายได้[6]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สัญญาณอันตรายเมื่อเป็นไข้.
    ถ้ามีไข้ 104°F (40°C) หรือสูงกว่า นอกจากร้อนวูบวาบ ขาดน้ำ ปวดหัว ปวดตัว และอ่อนเพลียทั่วไป อาจมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ถ้ามีอาการข้างล่างหรือพบว่าตัวเองมีไข้สูงกว่า 40°C ให้รีบไปหาหมอทันที[7]
    • เห็นภาพหลอน
    • สับสนหรือหงุดหงิด
    • ชักหรือกระตุกเกร็ง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ไม่แน่ใจเรื่องอาการ รีบหาหมอทันที.
    ถ้าเด็กเป็นไข้ หรือท่าทางจะเป็นไข้ แล้ววัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 103°F (39.4°C) ให้พาไปหาหมอ ส่วนใหญ่เวลามีไข้ต่ำๆ หรือปานกลาง ก็ดูแลกันเองที่บ้านได้ไม่มีปัญหา จะมีแค่บางเคสที่ผู้ป่วยมีไข้เพราะโรคอื่น แบบนั้นต้องหาหมอด่วน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณหมอแนะนำว่าถ้ามีไข้ต่ำๆ (low-grade (mild)...
    คุณหมอแนะนำว่าถ้ามีไข้ต่ำๆ (low-grade (mild) fever) ก็ไม่ต้องไปทำอะไร. เพราะเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมตามธรรมชาติของร่างกาย ถ้าไปชิงลดไข้ก่อนร่างกายทันขับสิ่งแปลกปลอมออกจนหมด อาจทำให้ป่วยนานขึ้น หรือไปปกปิดโรคที่เป็นสาเหตุให้มีไข้แทน[8]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ซื้อยาแก้ปวดกินเอง.
    ยาแก้ปวดตามร้านขายยาอย่าง NSAID (ไม่ใช่สเตียรอยด์) ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดตอนเป็นไข้ได้ ส่วนใหญ่ถ้ากินยา NSAID ขนานต่ำๆ ก็ได้ผลดีพอตัว
    • ห้ามให้เด็กกินยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะเสี่ยงเกิดโรคร้ายอย่าง Reye's Syndrome [9]เพราะฉะนั้นจึงแนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น
    • ยา Acetaminophen (Tylenol) หรือไอบูโพรเฟน (Advil) นั้นใช้ได้ในทุกเพศทุกวัย ถ้าคุณยังมีไข้สูงแม้กินยาตามขนานที่แนะนำ ก็อย่าไปกินเพิ่ม ให้ไปหาหมอดีกว่า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มน้ำเยอะๆ.
    [10]จำเป็นมากสำหรับคนเป็นไข้ เพราะมักเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งถือว่าอันตรายมากเวลาเป็นไข้ พยายามดื่มแต่น้ำเปล่าเข้าไว้ ดื่มน้ำอัดลมกับชาได้บ้างแต่อย่าเยอะ ท้องไส้จะได้ไม่ปั่นป่วน นอกจากนี้ให้กินซุปข้นหรือซุปใสด้วย จะได้มีเนื้อหนังบ้าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีไข้แล้วเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เป็นไปได้มากว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่ก็ไม่เสมอไป
  • มีไข้แล้วร้อนวูบวาบ แก้มแดง เป็นเพราะอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ถ้ามีเจลแพ็คเย็นๆ ก็เอามาประคบหน้า/หน้าผากได้เลย ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
  • มีไข้แล้วมักหนาวสั่น แต่บางทีก็เป็นสัญญาณบอกโรคที่ร้ายแรงกว่าได้ เช่น ภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) เพราะฉะนั้นถ้ามีไข้แล้วหนาวสั่น ให้รีบหาหมอตรวจร่างกายหาโรคอันเป็นสาเหตุ ถ้าหนาวสั่นรุนแรงอาจมีผลข้างเคียงอันตรายอย่างสมองกระทบกระเทือน ขาดน้ำ ชักเกร็ง ถึงขั้นช็อคได้
  • ดื่มเครื่องดื่มร้อนเย็นสลับกันไปตลอดวัน จะทำให้ร่างกายผ่อนคลาย แถมไม่ขาดน้ำ
  • กินวิตามิน ที่ช่วยต้านไข้หวัดได้ดีมากๆ ก็คือวิตามินซี ถึงไม่ป่วยก็กินได้ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย
  • แนบแก้มตัวเองดู ถ้าร้อน ก็แสดงว่ามีไข้
  • ถ้าเป็นเด็กแล้วมีไข้ กินยาพาราเซตามอลจะช่วยได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ามีไข้สูงนานเกิน 48 ชั่วโมง (โดยประมาณ) โดยไม่ลดลง ให้ไปหาหมอทันที
  • ถ้ามีเทอร์โมมิเตอร์ติดบ้าน ให้รีบวัดไข้เผื่อไข้สูงเกินไปจะได้รู้ ถ้าไข้สูงเกิน 103°F (39.4°C) นานเกิน 24 ชั่วโมงไม่ยอมลด ให้รีบไปหาหมอเช่นกัน
  • ถ้ารู้สึกวิงเวียน ยืนแล้วจะล้ม ให้รอจนรู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยลุกเดินไปมา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 33 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 3,973 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,973 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา