ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย และเมื่อเกิดบาดแผลขึ้น ผิวหนังจะมีปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเพื่อสมานแผล การรักษาบาดแผลด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น ยาฆ่าเชื้อหรือยาทาแผลที่ทำมาจากสมุนไพร จะช่วยสนับสนุนกระบวนการรักษาแผลของร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและเหลือรอยแผลเป็นเพียงเล็กน้อย ลองเรียนรู้วิธีการล้างแผล ทำแผล และรักษาแผลด้วยวิธีธรรมชาติได้จากบทความนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การล้างแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือให้สะอาด.
    ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนเริ่มทำแผลเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปิดให้น้ำไหลผ่านบาดแผล.
    ดูให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหลแล้ว ให้เปิดน้ำเย็นไหลผ่านบริเวณบาดแผลไปเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 นาที[3] การล้างแผลด้วยน้ำจะช่วยล้างสิ่งสกปรกที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
    • การล้างแผลด้วยวิธีนี้เพียงพอสำหรับแผลที่ไม่ลึกที่สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง
    • สำหรับแผลที่รุนแรงนั้น ควรได้รับการแนะนำวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้สำลีแตะที่แผล.
    ห้ามถูแผล เนื่องจากอาจทำให้ปากแผลเปิดกว้างมากขึ้น ระหว่างล้างแผลให้ดูว่ามีก้อนกรวดหรือเศษอื่นๆ ติดอยู่บริเวณแผลหรือไม่ หากมีอยู่ให้นำออกให้หมดโดยใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์แล้ว[4]
    • อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น สำลี ควรสะอาดและปราศจากเชื้อ ค่อยๆ แตะลงไปตรงกลางบาดแผลแล้วไล่มายังขอบแผลเพื่อกำจัดเศษต่างๆ ออกไป
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ล้างแผลอีกครั้งด้วยน้ำเกลือ.
    ใช้น้ำเกลือบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้น 0.9% (หรือที่เรียกว่า น้ำยาไอโซโทนิค เนื่องจากมีความเข้มข้นเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดง) เช็ดทำความสะอาดบริเวณบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้ทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งเมื่อคุณต้องการล้างแผล[5]
    • ละลายเกลือ ½ ช้อนชาในน้ำเดือดปริมาณ 240 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นให้เทลงไปบริเวณบาดแผลแล้วค่อยๆ เช็ดให้แห้งด้วยสำลี[6]
    • ให้ใช้น้ำเกลือที่ใหม่ในการล้างแผล ส่วนน้ำเกลือที่เก่าแล้วให้ทิ้งไป[7] เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตในน้ำเกลือได้ในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง[8]
    • รักษาความสะอาดของบาดแผลและระวังไม่ให้ติดเชื้อ หากบาดแผลเป็นรอยแดงหรือมีอาการอักเสบขึ้นมา ให้รีบไปพบแพทย์
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หลีกเลี่ยงการใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์และไอโอดีน....
    หลีกเลี่ยงการใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์และไอโอดีน. แม้ว่าไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มักจะถูกนำมาใช้ในการล้างแผล แต่ที่จริงแล้วไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้[9] ทั้งยังทำให้แผลหายช้าลงและเกิดการระคายเคืองด้วย[10] การใช้ไอโอดีนล้างแผลก็ทำให้เกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน[11]
    • วิธีล้างแผลที่ดีที่สุดคือการล้างด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การทำแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้ยาที่มีส่วนผสมของซิลเวอร์คอลลอยด์ทาบริเวณแผล....
    ใช้ยาที่มีส่วนผสมของซิลเวอร์คอลลอยด์ทาบริเวณแผล. ซิลเวอร์คอลลอยด์เป็นยาต้านจุลชีพจากธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยา[12]
    • ทายาที่มีสารต้านเชื้อแบคทีเรียบางๆ บริเวณบาดแผล แล้วติดพลาสเตอร์ลงไป
    • ยาทาที่มีสารต้านเชื้อแบคทีเรียไม่ได้ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น แต่ช่วยป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อเพื่อสนับสนุนกระบวนการสมานแผลตามธรรมชาติ[13]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคจากธรรมชาติ.
    สมุนไพรหลายชนิดมีฤทธิ์เป็นยาต้านจุลชีพที่ช่วยลดอาการติดเชื้อได้ แต่การใช้สมุนไพรบางชนิดในการรักษาอาจมีปฏิกิริยากับอาการเจ็บป่วยอื่นๆ หรือยาแผนปัจจุบันที่ใช้อยู่ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
    • ดาวเรือง มีสรรพคุณเป็นยาต้านจุลชีพ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น[14] ให้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบของดาวเรือง 2.5% ทาลงไปบริเวณบาดแผล หรือจะทำเป็นทิงเจอร์โดยละลายกับแอลกอฮอล์ 90% ในอัตราส่วน 1:5[15]
    • น้ำมันทีทรี มีสรรพคุณเป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ให้นำน้ำมันทีทรีบริสุทธิ์ 100% หยดลงไปบนสำลีก้อนแล้วแตะลงไปบริเวณแผล[16]
    • อิชินาเชีย มีสรรพคุณช่วยในการรักษาบาดแผล[17] ครีมหรือยาทาที่มีส่วนประกอบของอิชินาเชียสามารถช่วยสมานแผลเล็กๆ ได้เป็นอย่างดี[18]
    • ลาเวนเดอร์ มีสรรพคุณเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย[19] แต่ห้ามทาลงบนบาดแผลเปิดหรือลึกโดยเด็ดขาด ให้ผสมน้ำมันลาเวนเดอร์ 1-2 หยดกับน้ำมันอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะแล้วจึงทาบริเวณแผลเล็กๆ หรือรอยถลอก[20]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ว่านหางจระเข้สำหรับแผลเล็ก.
    ว่านหางจระเข้เหมาะสำหรับแผลตื้น ให้ทาเจลว่านหางจระเข้บริสุทธิ์วันละ 2-3 ครั้ง ห้ามใช้ว่านหางจระเข้กับแผลลึกหรือแผลผ่าตัด เนื่องจากอาจทำให้บาดแผลหายช้าลง[21]
    • ว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดการอักเสบและเพิ่มความชุ่มชื้นให้บริเวณที่อักเสบ
    • ในบางกรณี บางคนอาจมีอาการแพ้ว่านหางจระเข้ หากผิวหนังของคุณมีอาการแดงหรือระคายเคือง ให้หยุดใช้ทันทีและไปพบแพทย์
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้น้ำผึ้ง.
    น้ำผึ้งหลายชนิดจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แล้วยังช่วยให้บาดแผลคงความชุ่มชื้นและป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่บาดแผล[22] ลองใช้น้ำผึ้งมานูก้าซึ่งเป็นน้ำผึ้งที่ได้ผลดีที่สุดชนิดหนึ่งดู[23]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ป้องกันบาดแผล.
    ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลและติดทับด้วยเทปกาวปิดแผล[26] ควรปิดแผลจนกระทั่งผิวหนังซ่อมแซมตัวเองจนแผลหายดี
    • เมื่อต้องการเปลี่ยนผ้าพันแผล ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผล ตบเบาๆ ให้แห้ง จากนั้นทายาลงไปแล้วจึงปิดทับด้วยผ้าพันแผล[27]
    • ควรปิดแผลทุกครั้งหลังทำความสะอาดและทายาต้านเชื้อแบคทีเรีย และเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยๆ
    • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเปลี่ยนผ้าพันแผลหรือสัมผัสบาดแผล
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การดูแลตัวเองเพื่อให้บาดแผลหายเร็วขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รับประทานโปรตีนและวิตามินให้มากขึ้น.
    ทำให้บาดแผลสมานเร็วขึ้นโดยเพิ่มปริมาณการทานโปรตีนและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อผิว โดยเฉพาะวิตามินเอและซี[28] การรับประทานสังกะสีก็สามารถช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นได้เช่นเดียวกัน[29] หากร่างกายขาดสารอาหาร จะทำให้กระบวนการซ่อมแซมบาดแผลของผิวช้าลง ควรรับประทานอาหารดังต่อไปนี้เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ที่เพียงพอ[30]
    • ลีนโปรตีน พบมากในเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่และไก่งวง เนื้อปลา ไข่ กรีกโยเกิร์ต เมล็ดถั่ว
    • วิตามินซี พบมากในผลไม้รสเปรี้ยว แคนตาลูป กีวี มะม่วง สับปะรด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บรอคโคลี พริกหยวก กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก[31]
    • วิตามินเอ พบมากในนมเสริมวิตามินและแร่ธาตุ เนื้อสัตว์ ชีส เครื่องในสัตว์ เนื้อปลาค็อด เนื้อปลาแฮลิบัต[32]
    • วิตามินดี พบมากในนมหรือน้ำผลไม้เสริมวิตามินและแร่ธาตุ ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ชีส ตับวัว[33][34]
    • วิตามินอี พบมากในถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช เนยถั่ว ผักโขม บรอคโคลี กีวี[35][36]
    • สังกะสี พบมากในเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อไก่ดำ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชเต็มเมล็ด เมล็ดถั่ว[37][38]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้สารสกัดชาเขียว.
    การศึกษาพบว่า สารสกัดจากชาเขียวสามารถช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น[39][40][41] มองหายาขี้ผึ้งที่มีส่วนประกอบของสารสกัดชาเขียวเข้มข้น 0.6% มาลองใช้ดู
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้วิชฮาเซลช่วยบรรเทาอาการอักเสบ.
    วิชฮาเซลเป็นส่วนประกอบจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยให้อาการอักเสบลดลงและลดรอยแดงหลังจากที่แผลหายดี[43]
    • วิชฮาเซลสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป
    • หยดวิชฮาเซลลงบนสำลีก้อนแล้วนำไปป้ายลงบนแผล
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดื่มน้ำให้มาก.
    ดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์อย่างน้อย 240 มิลลิลิตรในทุก 2 ชั่วโมง จะช่วยทดแทนน้ำที่เสียไปจากเหงื่อเนื่องจากการเป็นไข้หรือการบาดเจ็บ เมื่อร่างกายเสียน้ำอาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้[44]
    • ผิวแห้ง
    • ปวดหัว
    • กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
    • ความดันเลือดต่ำ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นต่ำ.
    การออกกำลังกายในระดับปานกลางจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น สามารถต่อต้านการติดเชื้อ บรรเทาอาการอักเสบ และเพิ่มความเร็วในการฟื้นฟูของร่างกาย[45] แต่ไม่ควรออกแรงอวัยวะส่วนที่เป็นแผลมากเกินไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-45 นาที และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ การออกกำลังกายในความเข้มข้นต่ำอย่างง่ายๆ มีดังนี้
    • การเดินเร็ว
    • โยคะและการยืดกล้ามเนื้อ
    • เวทเทรนนิ่งแบบเบา
    • การปั่นจักรยาน 8-14 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    • การว่ายน้ำ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ประคบด้วยน้ำแข็ง.
    นำถุงน้ำแข็งมาประคบที่แผลเมื่อมีอาการบวม อักเสบ หรือรู้สึกปวดแผลขึ้นมา อุณหภูมิที่เย็นจะช่วยให้ผิวหนังบริเวณที่ประคบรู้สึกชา ทำให้อาการเจ็บลดลงและเลือดออกน้อยลง[46]
    • คุณสามารถทำถุงน้ำแข็งประคบเองได้ วิธีการคือให้ทำผ้าขนหนูให้เปียก จากนั้นใส่ลงไปในถุงซิปล็อกแล้วแช่ในช่องฟรีซประมาณ 15 นาที
    • นำผ้าขนหนูที่เปียกห่อรอบๆ ถุง และนำไปประคบในบริเวณที่ต้องการ
    • ห้ามประคบบนบาดแผลเปิดหรือติดเชื้อ
    • ห้ามนำน้ำแข็งประคบกับผิวโดยตรงเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ใช้เครื่องทำความชื้น.
    การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นจะช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น ให้ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในบรรยากาศและปกป้องผิวไม่ให้แห้งหรือแตก ควรมั่นใจว่าเครื่องทำความชื้นที่ใช้มีความสะอาดพอ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้[47] [48]
    • หากความชื้นสูงเกินไป อาจทำให้เชื้อราหรือไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดี
    • หากความชื้นต่ำเกินไป อาจทำให้คนในบ้านมีอาการผิวแห้งและระคายเคืองในลำคอหรือโพรงจมูกได้
    • สามารถวัดความชื้นของห้องได้โดยใช้ตัวควบคุมความชื้น โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การรับมือกับอาการรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พิจารณาความลึกของแผล.
    ตรวจดูลักษณะของบาดแผลเพื่อจะได้รู้ว่าควรเข้ารับการรักษากับแพทย์หรือสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง ควรไปโรงพยาบาลหากบาดแผลลึกมากหรือมีอาการรุนแรง เนื่องจากอาจจำเป็นต้องเย็บแผล[49] ให้ไปพบแพทย์เมื่อบาดแผลมีลักษณะต่อไปนี้
    • บาดแผลลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อสีแดงหรือชั้นเนื้อเยื้อไขมันสีเหลือง
    • บาดแผลยังคงเปิดกว้างแม้ว่าจะติดผ้าพันแผลแล้ว
    • บาดแผลอยู่ในบริเวณข้อต่อหรือบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยจนทำให้แผลไม่สามารถสมานเองได้
    • มีเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดเลือดได้หลังกดห้ามเลือดแล้วประมาณ 10 นาที[50]
    • บาดแผลถูกเส้นเลือดแดงจนทำให้เลือดสีแดงสดทะลักออกมาจากแผลมากมายและมีแรงดันเลือดสูง[51]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ห้ามเลือด.
    แม้ว่าบาดแผลจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยก็ตาม สิ่งแรกที่ควรทำคือการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป ให้ห้ามเลือดโดยใช้สำลีที่สะอาดกดลงไปบนบาดแผลด้วยแรงสม่ำเสมอ จากนั้นให้กดทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาทีโดยไม่เปิดสำลีออก[52] เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว บาดแผลก็จะเริ่มสมานกัน[53]
    • อย่ากดแรงเกินไป เพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ และขัดขวางการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้เลือดไหลนานมากขึ้น
    • หากเลือดซึมออกมาบนสำลี ให้นำสำลีอีกชิ้นหนึ่งวางซ้อนทับด้านบนเพื่อซึมซับเลือดที่ทะลักออกมาโดยไม่ต้องนำสำลีชิ้นแรกออก กดด้วยแรงที่คงที่
    • ไปพบแพทย์หากมีเลือดซึมออกมาบนสำลีอย่างรวดเร็วและไม่มีทีท่าว่าจะหยุดไหล
  3. 3
    ควรขันชะเนาะในกรณีที่อาการมีความรุนแรงมากเท่านั้น. การขันชะเนาะด้วยตนเองควรทำเฉพาะตอนที่ร่างกายเสียเลือดมากเท่านั้น หากขันชะเนาะในกรณีที่ไม่เหมาะสมจะทำให้แขนขาและการไหลเวียนของเลือดได้รับอันตราย และอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดอวัยวะออก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้ามใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารเคมีทาที่บริเวณบาดแผล เช่น ครีมบำรุงผิวกายหรือผิวหน้า
  • อย่าแกะสะเก็ดแผลออก ปล่อยให้หลุดออกมาเองตามธรรมชาติ
  • รักษาความชุ่มชื้นของบาดแผลและผิวหนังโดยรอบ เพราะผิวหนังที่แห้งจะทำให้สะเก็ดแผลเป็นรอยแตก ทำให้ผิวหนังซ่อมแซมบาดแผลได้ช้าลงและทิ้งรอยแผลเป็นไว้
  • ควรรักษาความสะอาดและปิดแผลอยู่เสมอ
  • หากมีรอยแผลเป็นเล็กๆ ให้ทาครีมที่มีส่วนประกอบของวิตามินอีหรือน้ำมันบำรุงผิวอย่างไบโอออยล์เพื่อลดขนาดของรอยแผลเป็น แต่ควรทาลงบนบริเวณที่เป็นรอยแผลเป็นเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบาดแผลบ่อยๆ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
  • หากอาการของบาดแผลไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
โฆษณา

คำเตือน

  • หากแผลไหม้หรือบาดแผลมีอาการค่อนข้างรุนแรงหรือติดเชื้อ ไม่ควรทำตามวิธีการเหล่านี้และให้รีบไปพบแพทย์
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้บาดแผลโดนแสงแดด เพราะอาจทำให้เกิดสะเก็ดแผลมากขึ้นหรือเหลือรอยแผลเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแสงแดดถูกบาดแผลนานกว่า 10 นาที
โฆษณา
  1. https://www.amherst.edu/alumni/learn/bookclub/pastfeatures/dontcrossyoureyes/excerpt
  2. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2935806/
  4. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  5. Efstratiou E, Hussain AI, Nigam PS, Moore JE, Ayub MA, Rao JR.Antimicrobial activity of Calendula officinalis petal extracts against fungi, as well as Gram-negative and Gram-positive clinical pathogens.Complement Ther Clin Pract. 2012 Aug;18(3):173-6
  6. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/calendula
  7. http://www.medicinenet.com/tea_tree_oil-topical/article.htm
  8. http://web.campbell.edu/faculty/nemecz/George_home/references/Echinacea.html
  9. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/echinacea
  10. Sienkiewicz M, Głowacka A, Kowalczyk E, Wiktorowska-Owczarek A, Jóźwiak-Bębenista M, Łysakowska M.The biological activities of cinnamon, geranium and lavender essential oils. Molecules. 2014 Dec 12;19(12):20929-40.
  11. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/lavender
  12. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/aloe
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609166/
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16099322/
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19134433
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24328700
  17. http://www.sja.org.uk/sja/first-aid-advice/first-aid-techniques/how-to-put-on-a-dressing.aspx
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000315.htm
  19. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_What_We_Eat_Affects_How_We_Feel/hic_Keeping_Your_Digestive_Tract_Healthy/hic_Nutrition_Guidelines_to_Improve_Wound_Healing
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002416.htm
  21. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_What_We_Eat_Affects_How_We_Feel/hic_Keeping_Your_Digestive_Tract_Healthy/hic_Nutrition_Guidelines_to_Improve_Wound_Healing
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002404.htm
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002400.htm
  24. https://patienteducation.osumc.edu/documents/vita-d.pdf
  25. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminD-HealthProfessional/
  26. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-e
  27. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminE-HealthProfessional/
  28. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002416.htm
  29. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/zinc
  30. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1743919113000538
  31. http://www.hindawi.com/journals/ecam/2013/386734/
  32. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/960.html
  33. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1743919113000538
  34. http://www.uofmhealth.org/health-library/hn-2186007
  35. http://umm.edu/health/medical/ency/articles/dehydration
  36. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3900100/
  37. http://www.healthline.com/health/chronic-pain/treating-pain-with-heat-and-cold#Heatvs.Cold1
  38. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/?term=Field%20FK[Author]&cauthor=true&cauthor_uid=8109679
  39. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=498
  40. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-cuts-scrapes-and-stitches.printerview.all.html
  41. http://www.webmd.com/first-aid/bleeding-cuts-wounds
  42. http://www.ic.sunysb.edu/Stu/wilee/e-zine-controlbleeding.html
  43. http://www.ic.sunysb.edu/Stu/wilee/e-zine-controlbleeding.html/
  44. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000045.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Ray Schilling, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์ทางเวชศาสตร์ครอบครัว
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Ray Schilling, MD. ดร.ชิลลิ่งเป็นแพทย์เกษียณในบริติชโคลัมเบีย เขาเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในแคนาดามากว่า 16 ปี บทความนี้ถูกเข้าชม 282,835 ครั้ง

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบทางการแพทย์

เนื้อหาของบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาที่จะใช้ทดแทนคำแนะนำ การตรวจ วินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือมืออาชีพทางการดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเสมอ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้น เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดูแลสุขภาพไม่ว่าประเภทใด

มีการเข้าถึงหน้านี้ 282,835 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา