วิธีการ บ่งบอกได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

หากคุณเชื่อว่าคุณเป็นโรคเบาหวานแล้วล่ะก็ จงไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเลย โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อีกแล้ว นับว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ตับอ่อนไม่ทำงาน โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ค่อนข้างมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมากกว่า (เกี่ยวข้องกับการขาดการออกกำลังกายและการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป) นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะรู้ทันสัญญาณเตือนและอาการของโรคเบาหวาน และเข้าใจการวินิจฉัย สำหรับการรักษาให้ทันท่วงทีหากคุณมีอาการดังกล่าว


ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้ทันสัญญาณเตือนและอาการของโรคเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จงระวังสัญญาณเตือนและอาการเหล่านี้.
    หากคุณมีอาการตามข้อมูลด้านล่างนี้มากกว่าสองอาการขึ้นไป คุณควรไปพบแพทย์เพื่อการประเมินโรคเพิ่มเติม สัญญาณเตือนและอาการที่มีร่วมกันทั้งในโรคเบาหวานประเภทที่ 1 กับโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่[1]
    • หิวน้ำมากเกินไป
    • หิวรุนแรงมากเกินไป
    • สายตาพล่ามัว
    • ปัสสาวะบ่อย (ต้องตื่นกลางดึกถึงสามครั้งหรือมากกว่านั้นเพื่อลุกมาปัสสาวะ)
    • อ่อนเพลีย (โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร)
    • รู้สึกขี้โมโห
    • แผลไม่หายหรือแผลหายช้า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้สังเกตทางเลือกในวิถีชีวิตของคุณ.
    ผู้ที่ใช้ชีวิตโดยที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว (ออกกำลังกายน้อยหรือไม่ได้ออกกำลังกายเลย) มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนพุงพลุ้ย หรือผู้ที่รับประทานขนมหวานหรือคาร์โบไฮเดรตขัดสีมากกว่าที่ควร มีความเสี่ยงสูงอย่างมากที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2[2]
    • ให้สังเกตว่าเมื่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดขึ้นกับชีวิตใครแล้ว ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับทางเลือกในวิถีชีวิตที่ด้อยประสิทธิภาพในคนนั้นอีกด้วย ในทางตรงข้าม โรคเบาหวานประเภทที่ 1 นับเป็นความเจ็บป่วยตั้งแต่กำเนิดและมักแสดงอาการให้เห็นในวัยเด็ก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ไปพบแพทย์.
    [3] หนทางเดียวที่สามารถยืนยันว่าคุณเป็นโรคเบาหวานได้หรือไม่นั้นคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย (วินิจฉัยในรูปแบบของการตรวจเลือด) ค่าตัวเลขที่คุณจะได้คืนมาในผลตรวจเลือดจะช่วยให้คุณสามารถจำแนกว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ “ปกติ” “ระยะก่อนเป็นเบาหวาน” (หมายความว่า คุณอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หากคุณไม่เปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณอย่างจริงจังเสียก่อน) หรือ “ระยะเบาหวาน”
    • การรู้ไว้ก่อนย่อมดีกว่ารู้ช้าไม่ว่าคุณจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เพราะหากว่าคุณเป็นโรคเบาหวานแล้วล่ะก็ การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมเป็นทางออกที่ดี
    • ผลเสียจากโรคเบาหวานที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณส่วนมากแล้วจะเป็นผลเสียระยะยาว ซึ่งเกิดจาก “ระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่สามารถควบคุมได้” ซึ่งหมายความว่า หากคุณได้รับการรักษาที่สามารถช่วยให้คุณรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ คุณสามารถป้องกันหรืออย่างน้อยก็สามารถชะลอผลระยะยาวทางสุขภาพที่เกิดจากโรคเบาหวานได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เผชิญกับการตรวจหาเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้ารับการทดสอบโดยแพทย์.
    แพทย์ผู้ดูแลอาการเบื้องต้นของคุณจะใช้แบบทดสอบสองแบบเพื่อตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือด[4] โดยปกติแล้ว การตรวจเลือดอย่างรวดเร็วก็สามารถตรวจหาโรคเบาหวานได้ แต่ก็สามารถทำได้จากการตรวจปัสสาวะเช่นเดียวกัน
    • ระดับกลูโคสในเลือดที่ปกติจะอยู่ระหว่าง 70 ถึง 100
    • หากคุณอยู่ในระยะก่อนเป็นเบาหวาน ระดับกลูโคสในเลือดของคุณจะอยู่ระหว่าง 100 ถึง 125
    • หากระดับกลูโคสในเลือดของคุณอยู่สูงกว่า 126 คุณถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1c (ฮีโมโกลบิน...
    ตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1c (ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี).[5] นี่นับว่าเป็นการทดสอบที่ทันสมัยกว่าการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แพทย์บางส่วนใช้ตรวจโรคเบาหวาน วิธีการนี้มองหาฮีโมโกลบิน (โปรตีน) ในเม็ดเลือดแดงของคุณและหาค่าว่ามีน้ำตาลมาเกาะอยู่มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีฮีโมโกลบินสูงก็ยิ่งมีน้ำตาลเกาะอยู่ในเม็ดเลือดแดงมาก ซึ่งจะสอดคล้องกับความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานโดยตรง (อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานคือการกระจายของน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นในกระแสเลือด)
    • การเทียบค่า HbA1c กับ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ดังนี้ ค่า HbA1c 6 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 135, ค่า HbA1c 7 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 170, ค่า HbA1c 8 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 205, ค่า HbA1c 9 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 240, ค่า HbA1c 10 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 275, ค่า HbA1c 11 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 301, ค่า HbA1c 12 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 345
    • ในการทดลองส่วนใหญ่ ค่า HbA1c ที่ปกติจะอยู่ระหว่าง 4.0-5.9% สำหรับโรคเบาหวานที่ได้รับการควบคุมอย่างไร้ประสิทธิภาพจะมีค่า HbA1c ถึง 8.0% หรือมากกว่า ในส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพค่า HbA1c จะน้อยกว่า 7.0%.
    • คุณประโยชน์จากการตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมคือสามารถให้การตรวจสอบที่เชื่อถือได้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การตรวจวัดนี้สะท้อนให้เห็นค่าระดับน้ำตาลโดยเฉลี่ยในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งดีกว่าการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดที่แสนง่ายดาย แต่กลับแสดงผลระดับน้ำตาลแค่ในระยะเวลาเดียว[6]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รักษาโรคเบาหวาน.
    ในการรักษาโรคเบาหวาน คุณอาจต้องฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาอินซูลินทุกวัน และคุณจะถูกบอกให้ระมัดระวังอาหารการกินและขอให้ออกกำลังกาย[7]
    • ในบางครั้ง หลายกรณีของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่อยู่ในระดับไม่รุนแรง เพียงแค่มีอาหารการกินที่ดีและออกกำลังกายก็เพียงพอแล้ว การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างพอดีจะช่วยเปลี่ยนแปลงจากโรคเบาหวานสู่ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกติ ลองหาแรงจูงใจชั้นเยี่ยมเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองดูสิ
    • คุณจำต้องงดน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต และออกกำลังกายประมาณ 30 นาทีต่อวัน หากคุณทำตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณสามารถสังเกตเห็นค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงได้
    • โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ในทางกลับกันยังคงต้องอาศัยการฉีดอินซูลิน เพราะถือว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
    • นับว่าสำคัญอย่างมากๆ สำหรับการรักษาโรคเบาหวานอย่างเหมาะสม จงจำไว้ว่าหากปล่อยไว้ไม่รักษา ระดับน้ำตาลในเลือดจากโรคเบาหวานสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้ ยกตัวอย่างเช่น เส้นประสาทเสียหาย (โรคเส้นประสาท) ไตเสียหายหรือไตล้มเหลว ตาบอด ความผิดปกติรุนแรงในการไหลเวียนเลือดที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่รักษาได้ยาก ซึ่งสามารถนำไปสู่การตัดอวัยวะที่มีเนื้อตายได้ (โดยเฉพาะอวัยวะส่วนขา)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เข้ารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง.
    นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะได้รับการตรวจเลือดทุกๆ สามเดือน ทั้งผู้ที่อยู่ในระยะก่อนเป็นเบาหวาน หรือในระดับเบาหวาน เพื่อที่จะติดตามพัฒนาการที่ดีขึ้นของอาการ (สำหรับผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปในทางที่ดี) หรือการแย่ลงของอาการ [8]
    • การตรวจเลือดซ้ำยังสามารถช่วยแพทย์ของคุณสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณอินซูลินและปริมาณยาที่คุณต้องรับ แพทย์ของคุณจะพยายามตั้งเป้าค่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้อยู่ภายในระดับนั้นๆ ดังนั้นการประเมินเชิงตัวเลขจากการตรวจเลือดซ้ำคือการไขปัญหาที่ดี
    • การตรวจอย่างต่อเนื่องสามารถสร้างแรงจูงใจให้คุณออกกำลังกายมากขึ้น และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่ออาหารการกินของคุณให้ไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย จงรู้ไว้เสมอว่าคุณอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในการตรวจเลือดครั้งต่อไปของคุณก็ได้!
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 51 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 6,270 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,270 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา