วิธีการ ตรวจวัดอัตราการหายใจ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อัตราที่เราหายใจคือสัญญาณชีพอย่างหนึ่งของเรา เมื่อเราหายใจเข้า เราจะได้รับออกซิเจน และเมื่อเราหายใจออก เราจะขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การตรวจวัดอัตราการหายใจเป็นวิธีหนึ่งที่สำคัญในการทำให้แน่ใจว่า ทางเดินหายใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นมีสภาพสมบูรณ์และทำงานได้ตามปกติ[1][2]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การวัดอัตราการหายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นับลมหายใจ.
    การหายใจจะนับในหน่วยครั้งต่อนาที (bpm) เพื่อให้วัดได้อย่างแม่นยำ บุคคลนั้นๆ จะต้องอยู่ในสภาวะผ่อนคลายและไม่มีการเคลื่อนไหว นั่นคือ ต้องไม่หายใจเร็วกว่าปกติเนื่องจากออกกำลังกาย บุคคลดังกล่าวควรอยู่นิ่งๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที ก่อนที่คุณจะเริ่มนับลมหายใจ[3][4]
    • ให้บุคคลนั้นๆ นั่งหลังตรง หากคุณกำลังตรวจวัดเด็กทารก ให้จับเด็กนอนหงายราบบนพื้นแข็ง
    • ใช้นาฬิกาจับเวลา 1 นาที แล้วนับจำนวนครั้งที่หน้าอกของบุคคลดังกล่าวยกขึ้นและยุบลงในช่วงหนึ่งนาทีนั้น
    • หากคุณบอกกับบุคคลดังกล่าวว่าคุณจะทำการวัดการหายใจของเขา เขาอาจจะเปลี่ยนอัตราการหายใจของตัวเองโดยไม่รู้ตัว ควรบอกให้เขาหายใจตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความแม่นยำของผลการตรวจวัด คุณสามารถวัดทั้งหมด 3 ครั้ง และนำคำตอบที่ได้มาเฉลี่ยกัน
    • หากคุณมีเวลาจำกัด ให้นับลมหายใจในช่วงเวลา 15 วินาที จากนั้นนำจำนวนครั้งที่นับได้มาคูณด้วย 4 การคำนวณนี้จะให้การประมาณค่าลมหายใจในหน่วยครั้งต่อนาทีที่ใกล้เคียงและมีประโยชน์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พิจารณาว่าอัตราการหายใจอยู่ภายในช่วงปกติหรือไม่....
    พิจารณาว่าอัตราการหายใจอยู่ภายในช่วงปกติหรือไม่. เด็กเล็กจะหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณจะต้องนำค่าที่คุณได้มาเปรียบเทียบกับค่าปกติของการหายใจในหน่วยครั้งต่อนาทีสำหรับช่วงวัยของบุคคลนั้นๆ อัตราการหายใจของแต่ละช่วงวัยมีดังนี้[5]
    • 30 - 60 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็กทารกอายุ 0 - 6 เดือน
    • 24 - 30 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็กทารกอายุ 6 - 12 เดือน
    • 20 - 30 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็กอายุ 1 - 5 ปี
    • 12 - 20 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็กอายุ 6 - 11 ปี
    • 12 - 18 ครั้งต่อนาที สำหรับบุคคลที่อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มองหาสัญญาณของภาวะหายใจลำบาก.
    หากบุคคลมีอัตราการหายใจสูงกว่าหรือต่ำกว่าช่วงที่คาดไว้ และบุคคลดังกล่าวไม่ได้เพิ่งออกกำลังกายมา อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีอะไรผิดปกติ สัญญาณอื่นๆ ของภาวะหายใจลำบาก ได้แก่:[6][7]
    • รูจมูกเบิกกว้างขณะที่หายใจในแต่ละครั้ง
    • ผิวหนังมีสีคล้ำ
    • ซี่โครงและกลางอกยุบเข้า
    • หายใจมีเสียงหวีด เสียงคำรามต่ำๆ หรือเสียงคราง
    • ริมฝีปากและ/หรือเปลือกตาเป็นสีเขียวคล้ำ
    • หายใจโดยใช้บริเวณไหล่/หน้าอกทั้งหมด ลักษณะการหายใจแบบนี้จะถือว่าเป็นภาวะหายใจลำบาก
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตรวจวัดอัตราการหายใจตามที่จำเป็น.
    หากคุณอยู่กับผู้ป่วยและจำเป็นต้องวัดอัตราการหายใจเรื่อยๆ ให้พยายามวัดทุกๆ 15 นาที สำหรับกรณีที่ไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ให้ตรวจการหายใจทุกๆ 5 นาที
    • การตรวจวัดการหายใจของผู้ป่วยสามารถช่วยให้คุณสังเกตเห็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าเมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง เกิดภาวะช็อก หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามจดบันทึกอัตราการหายใจของผู้ป่วยไว้ในกรณีที่คุณต้องไปโรงพยาบาล
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 โทรเรียกบริการฉุกเฉิน.
    หากคุณหรือคนใกล้ตัวคุณมีปัญหาในการหายใจ ให้โทรเรียกบริการฉุกเฉินทันที การหายใจเร็วหรือช้าเกินไปอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางสุขภาพ เช่น:[8][9]
    • หอบหืด
    • วิตกกังวล
    • ปอดบวม
    • หัวใจล้มเหลว
    • ใช้ยาเกินขนาด
    • เป็นไข้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้เครื่องช่วยหายใจ.
    หากผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือในการหายใจ แพทย์จะมีวิธีการให้ออกซิเจนอยู่หลายวิธี ดังนี้:[10]
    • หน้ากากออกซิเจน เครื่องมือนี้เป็นหน้ากากที่สวมพอดีกับหน้าของผู้ป่วยและให้ออกซิเจนที่ความเข้มสูงกว่าที่มีอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งอากาศในสภาพแวดล้อมนั้นจะมีออกซิเจนอยู่ 21% แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ ผู้ป่วยอาจต้องการความเข้มที่สูงขึ้น
    • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือ CPAP เครื่องมือนี้จะสอดท่อเข้าจมูกของผู้ป่วยและปล่อยออกซิเจนเข้าไปภายใต้แรงดันอากาศในปริมาณเล็กน้อย แรงดันนี้จะช่วยเปิดขยายทางเดินหายใจและปอด
    • เครื่องช่วยหายใจแบบ Ventilation วิธีนี้จะเป็นการสอดท่อช่วยหายใจลงไปในหลอดลมผ่านทางปากของผู้ป่วย เมื่อทำเช่นนี้ จะสามารถจ่ายออกซิเจนเข้าไปในปอดได้โดยตรง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หลีกเลี่ยงภาวะระบายลมหายใจเกินเนื่องจากความวิตกกังวล....
    หลีกเลี่ยงภาวะระบายลมหายใจเกินเนื่องจากความวิตกกังวล. บางคนจะมีอาการหายใจถี่เร็วมาก หรือที่เรียกว่าภาวะระบายลมหายใจเกิน เมื่อเขาเกิดความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก ภาวะนี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกของการหายใจไม่ทันแม้ว่าคุณจะได้รับออกซิเจนมากเกินไปในขณะที่หายใจถี่เร็ว หากคนใกล้ตัวคุณเกิดภาวะนี้ คุณสามารถ:[11]
    • ทำให้บุคคลนั้นรู้สึกอุ่นใจและช่วยปลอบให้สงบลง บอกกับบุคคลดังกล่าวว่าเขาไม่ได้กำลังจะหัวใจวายและไม่ได้กำลังจะตาย ยืนยันว่าเขาไม่เป็นอะไร
    • ให้บุคคลนั้นใช้เทคนิคการหายใจที่ช่วยลดปริมาณออกซิเจนที่รับเข้าไป โดยการหายใจในถุงกระดาษ เม้มริมฝีปาก หรือปิดรูจมูกข้างหนึ่งและปิดปากในขณะที่หายใจก็ได้เช่นกัน เมื่อสมดุลของคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในระบบกลับเข้าสู่ปกติ เขาจะรู้สึกดีขึ้น
    • คุณยังอาจช่วยให้บุคคลนั้นรู้สึกผ่อนคลายได้โดยการแนะนำให้เขาเพ่งความสนใจไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป เช่น ต้นไม้หรืออาคาร เป็นต้น หรือคุณอาจจะบอกให้เขาหลับตาลงเพื่อคลายความรู้สึกตื่นตระหนกก็ได้เช่นกัน
    • สนับสนุนให้บุคคลดังกล่าวไปพบแพทย์
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Anthony Stark, EMR
ร่วมเขียน โดย:
ผู้รับผิดชอบแพทย์หน่วยฉุกเฉิน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Anthony Stark, EMR. แอนโธนี สตาร์คเป็นผู้รับผิดชอบหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่มีใบอนุญาตในบริติชโคลัมเบีย ปัจจุบันเขาทำงานให้กับศูนย์แพทย์ฉุกเฉินบริติชโคลัมเบีย บทความนี้ถูกเข้าชม 65,577 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 65,577 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา