วิธีการ กำจัดรำมะนาด

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

หนองที่ขึ้นอยู่บนเหงือกมักจะเจ็บมากๆ และอาจทำให้รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และพูดลำบาก มันอาจเกิดจากฟันผุ คราบพลัคที่ก่อตัวหนา หรือเศษอาหารที่ติดอยู่ตามไรฟัน ซึ่งหนองที่ว่านี้ก็อาจจะจู่ๆ ขึ้นมาโดยไม่มีสัญญาณเตือนและมักจะหายยาก แต่ก็มีวิธีต่างๆ ที่ช่วยกำจัดรำมะนาดและรักษาเหงือกบริเวณนั้นได้เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นอีก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กำจัดรำมะนาดโดยผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ผ่าตัดเพื่อเอาหนองออก.
    ถ้าคุณเป็นโรครำมะนาดเรื้อรังหรือถ้ารำมะนาดทำให้เหงือกไม่น่าดู คุณอาจจะผ่าตัดออกไปเลย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการที่จะไม่กลับไปเป็นอีกครั้ง คุณต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเหงือก เช่น ปริทันตทันตแพทย์ เกี่ยวกับทางเลือกนี้เพื่อดูว่าเขาจะแนะนำอะไร[1]
    • ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเหงือกอาจจะแค่แนะนำให้คุณระบายหนองออกแทนที่จะผ่าตัด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหนองและความซับซ้อนในการเอาออก ในกรณีนี้เขาจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณรับประทานอย่างน้อย 5 วันหลังจากระบายหนองออกแล้ว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พิจารณาปริทันต์บำบัด.
    หลายครั้งที่รำมะนาดเกิดจากโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดฝีปริทันต์ ถ้ากรณีนี้เกิดขึ้นกับคุณ คุณอาจจะต้องให้ทันตแพทย์ทำความสะอาดช่องปากอย่างหมดจดเพื่อกำจัดแบคทีเรียในช่องปากที่อาจทำให้เกิดรำมะนาดได้
    • ถ้าวิธีนี้ช่วยได้ อย่าลืมไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดระดับแบคทีเรียในช่องปากและช่วยรักษาสุขภาพช่องปากโดยรวมด้วย
    • คุณอาจจะเข้ารับการผ่าตัดเหงือกถ้าปริทันตทันตแพทย์ประเมินแล้วว่า มันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อหรือรำมะนาดในอนาคต
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พิจารณาการรักษาคลองรากฟัน.
    บางครั้งรำมะนาดก็เกิดจากโพรงหนองของฟัน ถ้าเป็นกรณีนี้จะต้องรักษาคลองรากฟันเพื่อกำจัดแบคทีเรียและเคลือบฟันที่ผุกร่อนในบริเวณนั้น เมื่อรักษาคลองรากฟันแล้ว ก็จะมีการสอดครอบฟันหรืออุดฟันปิดไว้เพื่อปกป้องฟันและปากไม่ให้ติดเชื้อเพิ่ม[2]
    • การรักษาคลองรากฟันมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและต้องเข้ารับการรักษาหลายครั้ง เพราะฉะนั้นอย่าลืมศึกษาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนตกลงเข้ารับการผ่าตัด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กำจัดรำมะนาดด้วยตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บ้วนปากด้วยเกลือ.
    วิธีนี้จะช่วยลดอาการบวมและทำให้หนองแห้งหรือดูดซับการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นที่รำมะนาด เทน้ำค่อนข้างอุ่นใส่ในแก้วใสหรือแก้วก้นหนาที่ไม่มีหูจับครึ่งแก้ว จากนั้นเติมเกลือบริโภคครึ่งช้อนชาลงไป คนจนกว่าเกลือจะละลาย ถ้ามีเกลือบางส่วนกองก้นก็ไม่เป็นไร บ้วนปากด้วยส่วนผสมเหมือนเวลาที่คุณใช้น้ำยาบ้วนปากทั่วไป แต่เวลากลั้วปากให้เน้นตรงด้านที่ติดเชื้อมากเป็นพิเศษ และอย่ากลืนน้ำเกลือลงไป[3]
    • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 1 หรือ 2 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อรักษาหนอง วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสในการที่จะกลับมาเป็นอีก และในขณะเดียวกันก็อย่าลืมทำตามกิจวัตรในการรักษาสุขลักษณะของช่องปากที่ดีด้วย
    • วิธีนี้ได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพช่องปากและผ่านการทดสอบทางคลินิกแล้วว่ามีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่สามารถทดแทนการไปพบทันตแพทย์ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทาน้ำมันหอมระเหย.
    การทาน้ำมันหอมระเหยลงบนรำมะนาดโดยตรงจะช่วยลดระดับของแบคทีเรียที่ปรากฏและทำให้สุขภาวะของเนื้อเยื่อโดยรวมดีขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้รำมะนาดสลายไปเองได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ แค่หยดน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดลงในน้ำ 1 แก้ว จากนั้นกลั้วปากให้ทั่ว[4]
    • น้ำมันหอมระเหยที่ควรเลือกใช้ก็เช่น น้ำมันสเปียร์มินต์และน้ำมันเปปเปอร์มินต์
    • อย่ากลืนส่วนผสมที่มีน้ำมันหอมระเหยลงไป
    • จำไว้ว่าวิธีนี้เป็นวิธีการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน และยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มายืนยันประสิทธิภาพ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับประทานหอมหัวใหญ่ดิบ.
    การบริโภคหอมหัวใหญ่ดิบเป็นวิธีการรักษารำมะนาดด้วยตนเองที่ได้ผลดีมาก เพราะหอมหัวใหญ่มีซัลเฟตในระดับที่ค่อนข้างสูง ซึ่งช่วยเพิ่มความร้อนและทำให้หนองที่ขึ้นในช่องปากแห้ง[5]
    • วิธีนี้เป็นการรักษาด้วยตนเองที่บ้านและอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวิธีการอื่นๆ ที่ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์
    • ถ้าคุณไม่ชอบรสชาติของหอมหัวใหญ่ ให้ลองรับประทานกับสิ่งอื่น เช่น ใส่ในสลัดหรือบนแซนด์วิช รสชาติของมันจะได้ถูกกลบไป
    • อย่านำหอมหัวใหญ่ไปทำให้สุก เพราะมันจะไปลดปริมาณซัลเฟอร์ที่มีอยู่ในผัก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันรำมะนาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แปรงฟันทุกวัน...
    แปรงฟันทุกวัน. การแปรงฟันเป็นประจำ (อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง) อาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดรำมะนาด รวมทั้งปัญหาอื่นๆ เช่น เหงือกร่น และยังส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากทั่วไปอีกด้วย การแปรงฟันจะช่วยลดแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ปรากฏในช่องปาก รวมถึงกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารด้วย[6]
    • ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงนุ่มและปรึกษาทันตแพทย์เรื่องเทคนิคการแปรงฟันที่ถูกต้อง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ไหมขัดฟัน...
    ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน. การใช้ไหมขัดฟันเป็นหนึ่งในวิธีการลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียในช่องปากได้ดีที่สุด เนื่องจากสุขภาพช่องปากโดยรวมถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันรำมะนาด คุณจึงต้องใช้ไหมขัดฟันทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีปัญหากับการเป็นรำมะนาดเรื้อรังหรือกลับมาเป็นซ้ำ[7]
    • ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้คุณใช้ไหมขัดฟันวันละ 2 ครั้ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรต้านแบคทีเรีย.
    เนื่องจากว่าการสะสมของแบคทีเรียนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของรำมะนาด คุณจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อลดปริมาณแบคทีเรียที่ไม่ดีในช่องปากให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการที่ดีก็คือ เพิ่มการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากสูตรต้านแบคทีเรียเข้าไปในกิจวัตรการดูแลช่องปากประจำวัน โดยบ้วนปากหลังใช้ไหมขัดฟันและก่อนเข้านอน
    • เวลาที่เลือกน้ำยาบ้วนปาก คุณไม่ต้องสนใจยี่ห้อมากนักก็ได้ แค่ดูให้ดีว่าที่บรรจุภัณฑ์เขียนว่า ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยต้านแบคทีเรียและได้รับการรับรองจากสมาคมทันตแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ[8]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ.
    วิธีป้องกันการเกิดรำมะนาดได้ดีที่สุดก็คือ การดูแลช่องปากอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ซึ่งได้แก่การไปพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดและตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ ทันตแพทย์หรือทันตาภิบาลสามารถช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่ และสามารถแจ้งให้คุณทราบได้หากพบปัญหา หรือแนะนำวิธีการดูแลช่องปากแบบเจาะจงได้[9]
    • นอกจากนี้ทันตแพทย์ยังสามารถสังเกตเห็นสัญญาณของอาการฟันผุหรือปัญหาปริทันต์อื่นๆ ได้เร็วกว่าคุณมาก จึงช่วยให้คุณรับรู้ถึงอาการหรือสาเหตุของรำมะนาดตั้งแต่แรกเริ่ม
    • คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำปีละ 2 ครั้ง (ทุก 6 เดือน)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขลักษณะช่องปากบางยี่ห้อผลิตเจลฆ่าเชื้อที่ในขณะเดียวกันก็เป็นยาชาด้วย ถามเภสัชกรที่ร้านขายยาใกล้บ้านว่ามีผลิตภัณฑ์ประมาณนี้ไหม เพราะมันสามารถบรรเทาอาการเฉพาะที่ได้ดีกว่ายาแก้ปวดทั่วไป
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณเคยมีหนองขึ้นที่เหงือกมาก่อนหรือเป็นอยู่เรื่อยๆ ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพฟันที่ซ่อนอยู่ และคุณควรไปพบทัตแพทย์โดยเร็ว
  • การกลืนน้ำเกลือขณะบ้วนปากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้
  • คุณควรไปพบผู้เชี่ยวชาญก่อนจัดการกับการติดเชื้อชนิดนี้ด้วยตัวเองจึงจะดีที่สุด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Pradeep Adatrow, DDS, MS
ร่วมเขียน โดย:
ทันตแพทย์และศัลยแพทย์ช่องปากที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Pradeep Adatrow, DDS, MS. ทันตแพทย์ประทีป อดาโทรว์เป็นทันตแพทย์ ทันตแพทย์ปริทันต์ และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณะฟันทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียวที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ เขามีประสบการณ์มากว่า 15 ปี เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมรากเทียม การรักษาภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ศัลยกรรมตกแต่งทางปริทันต์ ทันตกรรมปริทันต์แบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด การปลูกกระดูก การรักษาด้วยเลเซอร์ และการปลูกถ่ายเนื้อเยื่ออ่อนและเหงือก เขาได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติจากมหาวิทยาลัยอลาบามา และได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทนเนสซี จากนั้นเขาจึงได้รับประกาศนียบัตรปริทันตวิทยาและรากเทียม หลักสูตร 3 ปีจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา และศึกษาต่อในระดับหลังปริญญาเอก สาขาการบูรณะฟันขั้นสูงที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซีอีก 3 ปี เขาดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำและผู้อำนวยการสาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี ทันตแพทย์ประทีปได้รับรางวัล Dean's Junior Faculty Award รางวัล John Diggs Faculty Award และได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสมาคมทันตกรรมจัดฟันของคณบดี เขาผ่านการรับรองจากคณะกรรมการปริทันตวิทยาแห่งอเมริกาและเป็นสมาชิกวิทยาลัยทันตกรรมนานาชาติอันทรงเกียรติ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่มีเพียง 10,000 คนจากทั่วโลกที่ได้ครอบครอง บทความนี้ถูกเข้าชม 17,243 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพทั่วไป
มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,243 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา