วิธีการ แยกแยะเลือดล้างหน้าเด็กกับอาการก่อนมีประจำเดือน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

Premenstrual syndrome (PMS) เป็นกลุ่มอาการทั้งทางกายและทางอารมณ์ที่เกิดก่อนมีเมนส์ 2-3 วัน ไปจนถึง 2-3 อาทิตย์ ส่วน Implantation symptoms นั้น เป็นอาการ "เลือดล้างหน้าเด็ก" ที่จะเกิดเมื่อไข่ที่ผสมแล้วเพิ่งฝังตัวในโพรงมดลูก จนอาจทำให้หลอดเลือดเล็กๆ แตกได้ เป็นอาการบอกว่าคุณกำลังจะ "มีน้อง" แล้ว ทั้ง PMS และเลือดล้างหน้าเด็กบางทีก็เกิดช่วงคุณมีรอบเดือนได้ เพราะงั้นเลยแยกไม่ค่อยออก ว่าอาการที่พบมาจากสาเหตุอะไรกันแน่ แต่ถ้าคุณศึกษาและหัดสังเกต จะเห็น 2-3 อาการที่แตกต่างกันออกไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ลักษณะของเลือดล้างหน้าเด็กและอาการท้องอ่อนๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มี spotting ไหม.
    ถ้ายังไม่ถึงช่วงที่ควรมีเมนส์ แต่กลับมี spotting หรือเลือดจางๆ แสดงว่าอาจเป็นสัญญาณของเลือดล้างหน้าเด็ก ปกติ spotting ที่ว่าจะไม่เยอะขนาดตอนมีเมนส์ จะเป็นเลือดจางๆ คล้ายกับตอนมีเมนส์ 1-2 วันแรกเท่านั้น[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปวดท้องเมนส์หรือเปล่า.
    คนท้องอ่อนๆ ก็มีอาการปวดเกร็งที่ท้องน้อยเหมือนตอนปวดท้องเมนส์ได้ ซึ่งสำหรับคนเป็นเมนส์ทั่วไปก็ปวดเกร็งแบบนี้ได้ทั้งก่อนและตอนเป็นเมนส์ (ถ้าก่อนก็ถือเป็น PMS) คนที่มีเลือดล้างหน้าเด็กก็จะมีอาการคล้ายๆ กัน[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฉี่บ่อยขึ้นหรือเปล่า.
    สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าไข่ฝังตัวในโพรงมดลูก ก็คือคุณจะฉี่บ่อยขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช่จะเป็นกันทุกคน[4] ที่เป็นแบบนั้นเพราะฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin เพิ่มขึ้น เลือดเลยยิ่งไปเลี้ยงแถวกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ฉี่บ่อยขึ้น[5]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อาจมีเวียนหัว.
    คนท้องมักวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อันมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่คุณหมอบางส่วนก็อธิบายว่าอาจเป็นเพราะร่างกายพยายามผลิตเลือดมากขึ้นเพื่อลูกในท้อง[6]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หิวบ่อย.
    บางทีแค่ท้องอ่อนๆ คุณก็เริ่มหิวมากกว่าปกติแล้ว ถ้ามีอาการนี้มากกว่า 1-2 วัน แสดงว่าเป็นเพราะไข่ฝังตัวในโพรงมดลูกนั่นเอง[7]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 คลื่นไส้.
    คนชอบเรียกอาการแพ้ท้องว่า morning sickness แต่จริงๆ แล้วคนท้องคลื่นไส้อาเจียนได้ตลอดวัน โดยมักเกิดอาการหลังท้องประมาณ 2 อาทิตย์เป็นต้นไป[8]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อยู่ๆ ก็เหม็นอาหารหรือกลิ่นต่างๆ.
    อาการหนึ่งที่คนท้องอ่อนๆ มักเป็นกัน คืออยู่ๆ ก็เหม็นกลิ่นอาหารและกลิ่นอื่นๆ ขึ้นมา จนตามมาด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน ทั้งๆ ที่ก่อนท้องก็ชอบอาหารหรือกลิ่นนั้นแท้ๆ[9]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 หายใจติดขัด.
    เป็นอาการที่พบบ่อยในคนท้องอ่อนๆ รวมถึงคนที่ท้องใกล้คลอด จะรู้สึกเหนื่อยหอบได้ง่าย เป็นอาการที่ควรปรึกษาคุณหมอ[10]
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ได้กลิ่นเหมือนเหล็ก.
    ผู้หญิงท้องอ่อนๆ บางคนจะได้กลิ่นหรือมีรสเหล็กในปาก ซึ่งไม่พบในอาการ PMS [11]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

อาการ PMS

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปวดหลัง.
    ถ้าคนท้องแก่ใกล้คลอด ก็แน่นอนว่าจะมีอาการปวดหลัง แต่ถ้ากำลังแยกอาการท้องอ่อนๆ กับ PMS อาการปวดหลังจะค่อนไปทาง PMS มากกว่า[12]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อารมณ์แปรปรวน.
    จริงๆ ทั้งคนท้องและคนใกล้เป็นเมนส์ก็เหวี่ยงวีนและซึมเศร้าได้พอๆ กัน แต่ PMS จะถูกเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้ามากกว่า ถ้าอยู่ๆ ก็หดหู่ขึ้นมา เป็นไปได้มากว่านั่นคืออาการ PMS ไม่ใช่เลือดล้างหน้าเด็ก[13]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ท้องอืด.
    คนท้องอ่อนๆ ก็ท้องอืดได้ แต่มักเกิดกับคนใกล้เป็นเมนส์มากกว่า โดยจะรู้สึกท้องตึงๆ เป็นพิเศษ[14]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มีเมนส์.
    คุณอาจจะบอกว่าแหงล่ะ แต่ก็ต้องเป็นแบบนั้น ว่าถ้ามีเมนส์ (ไม่ใช่ spotting) ก็แสดงว่าคุณไม่ท้องแน่นอน[15] พยายามจดไว้ในปฏิทินว่าคุณมีเมนส์เมื่อไหร่ จะได้รู้หรือพอเดาได้เวลาจะเป็นครั้งต่อไป ถ้าเมนส์ขาดไปนานๆ ก็แปลว่าอาจท้องอ่อนๆ แทน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลองใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์.
    วิธีเช็คแบบเร็วทันใจว่าคุณท้องอ่อนๆ หรือกำลังจะเป็นเมนส์กันแน่ ก็คือใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เดี๋ยวนี้มีขายทั่วไปตามร้านขายยา แถมใช้ง่าย อธิบายชัดเจน[16]
    • จะทดสอบ 1-2 วันก่อนวันที่ปกติจะมีเมนส์ หรือจะทดสอบตอนอยากรู้ว่าเป็นอาการ PMS หรือเลือดล้างหน้าเด็กกันแน่ก็ได้ เพราะบางยี่ห้ออ้างว่าบอกได้ชัดเจนแม้ท้องอ่อนๆ แต่ถ้าอยากได้ผลแบบชัดเจน ให้รอจนผ่านช่วงที่ควรมีเมนส์ไปสักอาทิตย์จะชัวร์กว่า[17]
    • ส่วนใหญ่ตรวจเลือดแล้วจะเจอฮอร์โมนอย่างมากก็แค่ 1-2 วันก่อนชุดทดสอบ เพราะงั้นไม่ต้องลำบากไปตรวจเลือดก็ได้ ถ้าประกันไม่ครอบคลุมเดี๋ยวจะเสียเงินเปล่าๆ[18]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

อาการที่เหมือนและแตกต่าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลือดล้างหน้าเด็กกับประจำเดือนต่างกันยังไง....
    เลือดล้างหน้าเด็กกับประจำเดือนต่างกันยังไง. ถ้าเป็นเมนส์ คุณจะรู้อยู่แล้วว่ามากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเลือดล้างหน้าเด็กจะจางกว่าเลือดประจำเดือน เพราะเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ได้หลุดลอกออกมา แถมไม่เป็นนานเหมือนเวลาเป็นเมนส์ด้วย เลือดล้างหน้าเด็กจะจางๆ คล้าย spotting และจะเกิดก่อนช่วงที่จะมีเมนส์ตามปกติ[19] เลือดล้างหน้าเด็กจะแค่ซึมๆ และสีอ่อน เช่น ชมพูหรือน้ำตาล ไม่มามากและสีสดเหมือนประจำเดือนตามปกติ[20]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อารมณ์แปรปรวน.
    อันนี้คล้ายๆ กัน คุณอาจอารมณ์แปรปรวนทั้งก่อนมีเมนส์และช่วงท้องอ่อนๆ[21] นั่นเพราะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป[22]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ขนาดหน้าอกเปลี่ยน.
    ทั้ง PMS และช่วงท้องอ่อนๆ ฮอร์โมนจะเปลี่ยน ไม่สมดุล ทำให้บางครั้งหน้าอกใหญ่ขึ้นหรือเจ็บคัด แต่ถ้าตั้งท้องอ่อนๆ ด้วย จะคัดมากกว่าปกติ[23],[24]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เหนื่อยง่าย.
    ทั้ง PMS และเลือดล้างหน้าเด็ก เป็นแล้วก็ทำคุณอ่อนเพลียผิดปกติได้ทั้งนั้น ถ้าคุณท้อง จะรู้สึกได้ตั้งแต่ช่วงอาทิตย์แรกเลย เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพุ่งสูงขึ้น[25] แต่ถ้าเป็น PMS จะเหนื่อยๆ เพลียๆ เพราะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง[26]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปวดหัว.
    ฮอร์โมนเปลี่ยนทำให้ปวดหัวได้ ซึ่งพบได้ในคนท้องอ่อนๆ[27] และช่วงก่อนเป็นเมนส์[28]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กินเยอะเป็นพิเศษ.
    คนใกล้เป็นเมนส์จะหิวมากกว่าปกติ[29] เช่นเดียวกันกับคนท้องอ่อนๆ แต่พบไม่บ่อยเท่า[30]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ขับถ่ายผิดปกติ.
    PMS เป็นแล้วอาจท้องผูกหรือท้องเสียได้เพราะฮอร์โมนเปลี่ยน[31] ส่วนคนท้องนั้นมักจะท้องผูกมากกว่า โดยเฉพาะช่วงท้องแก่ใกล้คลอด[32]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 อาการมักปรากฏช่วงไหน.
    ปกติอาการ PMS จะเกิดช่วง 1-2 อาทิตย์ก่อนมีเมนส์[33] แล้วหายไปหลังมีเมนส์ได้ 1-2 วัน[34] แต่ถ้าเป็นเลือดล้างหน้าเด็กจะเกิดช่วงคุณท้องอ่อนๆ หรือก็คือช่วงชี้ชะตาว่าไข่จะฝังตัวในโพรงมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนนั่นเอง[35]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีแนวโน้มว่าจะมีน้อง ให้คุณพยายามกินวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ (prenatal vitamin) เป็นประจำทุกวัน เพราะจะมีโฟเลต (folate) ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ามีอาการนานไม่ยอมหาย ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจเพื่อความปลอดภัย
โฆษณา
  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000583.htm
  2. http://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Am_I_Pregnant
  3. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/premenstrual-syndrome.html
  4. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/premenstrual-syndrome.html
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001505.htm
  6. http://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Am_I_Pregnant
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/home-pregnancy-tests/art-20047940
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/home-pregnancy-tests/art-20047940
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/home-pregnancy-tests/art-20047940
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/implantation-bleeding/faq-20058257
  11. http://www.webmd.com/baby/guide/implantation-bleeding-pregnancy
  12. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/pregnancy/conditioninfo/Pages/signs.aspx
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premenstrual-syndrome/basics/symptoms/con-20020003
  14. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/premenstrual-syndrome.html
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/symptoms-of-pregnancy/art-20043853
  16. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/pregnancy/conditioninfo/Pages/signs.aspx
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premenstrual-syndrome/basics/symptoms/con-20020003
  18. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/pregnancy/conditioninfo/Pages/signs.aspx
  19. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/premenstrual-syndrome.html
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001505.htm
  21. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/symptoms-of-pregnancy/art-20043853
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001505.htm
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000583.htm
  24. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/premenstrual-syndrome.html
  25. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001505.htm
  26. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/menstruation.html#b

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lacy Windham, MD
ร่วมเขียน โดย:
สูตินรีแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lacy Windham, MD. ดร.วินดั้มเป็นสูตินรีแพทย์ที่มีใบรับรองในเทนเนสซี่ เธอผ่านการฝึกงานจากคณะแพทยศาสตร์อีสเทิร์นเวอร์จิเนียในปี 2010 ที่ซึ่งเธอได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 186,810 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 186,810 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา