วิธีการ แก้ผื่นแพ้จากการใช้ยาปฏิชีวนะ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) โดยเฉพาะกลุ่มเพนิซิลินกับซัลฟา เป็นยาที่มักใช้แล้วเกิดอาการแพ้ได้มากที่สุด[1] อาการแพ้ยาส่วนใหญ่คือเป็นลมพิษ บวม และผื่นขึ้น แต่บางคนก็มีอาการที่ไม่ค่อยพบบ่อยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis)[2] ที่บางคนแพ้ยาก็เพราะระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิด คิดว่ายาปฏิชีวนะเป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้ผิดหนังอักเสบหรือเคสที่รุนแรงกว่าคือหลอดลมตีบตัน ทำให้ช็อคได้ สุดท้ายก็หมดสติหรือถึงขั้นเสียชีวิต[3] ถ้าคุณมีอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis) สำคัญมากว่าต้องไปโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการรักษาบรรเทาอาการผื่นแพ้จากการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงวิธีสังเกตจนรู้ตัวเมื่ออาการรุนแรงให้คุณเอง รับรองปลอดภัยหายห่วง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลหรือโทรเรียกรถฉุกเฉิน....
    ไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลหรือโทรเรียกรถฉุกเฉิน. ถ้าคุณคิดว่าตัวเองกำลังมีอาการแพ้ยาปฏิชีวนะ ให้ไปโรงพยาบาลทันที ไม่ว่าจะอาการหนักเบาแค่ไหนก็ตาม อาการแพ้ส่วนใหญ่จะเป็นผื่นที่ผิวหนัง ไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่ยังไงก็ต้องหาหมอเพื่อตรวจรักษาให้แน่ใจ ผื่นแพ้บางชนิดทำให้เกิดกลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) ได้ หรือก็คืออาการแทรกซ้อนรุนแรงที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างเดียว[4] ผื่นแบบอื่นๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนบอกอาการแพ้รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ถ้าไม่รีบรักษา[5] สรุปแล้วให้ไปหาหมอทันทีถ้ามีอาการดังต่อไปนี้[6][7]
    • มีไข้
    • เจ็บคอ/ปาก จะไอร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
    • หน้าบวม
    • ลิ้นบวม
    • เจ็บปวดตามผิวหนัง
    • มีผื่นแพ้และ/หรือตุ่มพอง
    • ลมพิษขึ้น
    • หายใจติดขัดหรือคอตีบ
    • เสียงแหบพร่าผิดปกติ
    • ลมพิษขึ้นหรือมีอาการบวม
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • ปวดท้อง
    • วิงเวียนหรือเป็นลม
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • จิตตก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หยุดยา.
    ถ้าใช้ยาปฏิชีวนะแล้วเกิดอาการแพ้ ให้หยุดใช้ยาทันที และอย่าแตะต้องสัมผัสอีก ซึ่งมักเป็นไปโดยบังเอิญ ไม่ตั้งใจ ยังไงให้ป้องกันไว้ก่อนจะปลอดภัยที่สุด
    • แจ้งคุณหมอ พยาบาล หรือเภสัชกรเรื่องอาการแพ้ยาทุกครั้งที่ต้องรับยา[8] สำคัญมากว่าในประวัติการรักษาของคุณต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่คุณแพ้ แต่ก็อย่าชะล่าใจไปว่าคุณหมอหรือเภสัชกรคงเคยเห็นประวัติหรือรู้อยู่แล้วว่าคุณแพ้ยาอะไร คุณต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองโดยแจ้งเรื่องอาการแพ้ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาหรือซื้อยากินเอง
    • สวมสายรัดข้อมือหรือกำไลที่บอกข้อมูลเรื่องแพ้ยา ถือว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรืออะไรที่ต้องรับการรักษาฉุกเฉินโดยที่คุณหมดสติ ทางเจ้าหน้าที่จะได้รู้ว่าคุณแพ้ยาอะไร ถึงสื่อสารกันไม่ได้ก็เถอะ[9]
    • บางคนก็ต้องพก epinephrine auto-injector (ที่เรียกกันว่า "Epipen") หรืออีพิเนฟรีนในกระบอกฉีดอัตโนมัติ โดยเฉพาะคนที่แพ้ขั้นรุนแรง แต่คุณหมอจะแนะนำให้พกก็ต่อเมื่ออาการแพ้ของคุณอันตรายจนอาจถึงแก่ชีวิตเท่านั้น[10]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรึกษาคุณหมอเรื่องทำ desensitization.
    ส่วนใหญ่ ถ้าคุณรู้ตัวอยู่แล้วว่ามีอาการแพ้ คุณหมอจะแนะนำยาตัวอื่นให้แทน แต่บางเคสที่คุณหมอพิจารณาแล้วว่าเป็นผลดี คุ้มที่จะลองเสี่ยง ที่สำคัญคือไม่มียาทางเลือก ก็คงจำเป็นต้องทำ ถ้าคุณ จำเป็น ต้องใช้ยาบางตัวจริงๆ โดยที่รู้ว่าแพ้ยาตัวนั้น คุณหมอจะแนะนำให้ทำ drug desensitization คือค่อยๆ เพิ่มยาที่แพ้ทีละน้อย ให้ร่างกายปรับตัวเอง[11]
    • ระหว่างทำ desensitization คุณหมอจะให้ยาที่คุณแพ้ในปริมาณน้อยๆ และคอยเฝ้าระวังสังเกตอาการ จากนั้นค่อยเพิ่มปริมาณยาทุก 15 - 30 นาที แบบนี้ไปเรื่อยๆ ในช่วงหลายชั่วโมง หรือหลายวัน[12]
    • ถ้าร่างกายคุณทนต่อยาในปริมาณที่จำเป็นได้ โดยไม่มีอาการอันตรายร้ายแรง คุณหมออาจจะเริ่มให้ยาในปริมาณตามปกติได้[13]
    • ปกติมักใช้วิธีการนี้ในเคสที่อาการรุนแรง และต้องดูแลควบคุมโดยคุณหมอเท่านั้น เพราะหากเกิดไม่คาดคิดจะได้รับมือทัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แพ้ไม่มากให้กินยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินยาแก้แพ้.
    ยาแก้แพ้ (antihistamines) จะช่วยขยายทางผ่านของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย ขณะที่ช่วยลดการสร้างฮิสตามีน ที่ปกติระบบภูมิคุ้มกันสร้างมาต้านสารก่อภูมิแพ้[14] บางทีคุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้แรงๆ (ที่หาซื้อเองไม่ได้) แต่บางทีก็ซื้อยาแก้แพ้กินเองได้ อันนี้แล้วแต่ความรุนแรงของอาการ[15]
    • Diphenhydramine (Benadryl) ถ้าอาการแพ้รุนแรง คุณหมอมักแนะนำให้ใช้ยา diphenhydramine (Benadryl) เพราะเป็นยาแก้แพ้ที่ค่อนข้างแรง แนะนำให้รวมไว้ในอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
    • ยาแก้แพ้ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาก็เช่น loratadine (Claritin), cetirizine (Zyrtec) หรือ chlorpheniramine (Aller-Chlor)[16]
    • ส่วนจะกินมากน้อยแค่ไหนก็ต้องแล้วแต่ปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน เช่น อายุ และชนิดของยาแก้แพ้[17] ย้ำว่าต้องกินยาตามคำแนะนำที่บรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด หรือปรึกษาคุณหมอ/เภสัชกรให้แน่ใจเรื่องวิธีใช้งาน
    • ห้ามขับรถหรือบังคับเครื่องจักรหนักหลังกินยาแก้แพ้ เพราะยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (first-generation antihistamines) เช่น Benadryl ทำให้ง่วงซึมรุนแรง ยากจะควบคุมตัวเองหรือเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ[18]
    • ห้ามกินยาแก้แพ้ถ้าตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ เพราะยาพวกนี้อาจก่อผลข้างเคียงอันตรายต่อทารก ถึงขั้นทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดกับตัวอ่อนในครรภ์ได้เลย[19]
    • ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบกินยาแก้แพ้ ถ้าลูกมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง แนะนำให้พาไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลจะดีกว่า อย่ารอจนหลอดลมตีบ หายใจติดขัด หรือหน้าบวม ต้องพาไปโรงพยาบาลหรือเรียกรถฉุกเฉินให้เร็วที่สุด
    • ผู้สูงอายุบางคนที่ใช้ยาแก้แพ้ก็พบผลข้างเคียงอันตราย เช่น สับสนมึนงง วิงเวียน ง่วงซึม กระวนกระวาย และหงุดหงิดรำคาญใจ[20] พอมีอาการดังกล่าวแล้วผู้สูงอายุอาจวูบหรือล้มได้ ซึ่งถ้าถึงขั้นสะโพกหักก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในหมู่ผู้สูงอายุ เพราะระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่าสมัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทาโลชั่นคาลาไมน์.
    ถ้ามีผื่นแพ้หรือลมพิษหลังใช้ยา ให้ทาโลชั่นคาลาไมน์ น่าจะช่วยบรรเทาอาการคัน ไม่สบายตัวได้[21]
    • ส่วนผสมของโลชั่นคาลาไมน์คือคาลาไมน์ (calamine), สังกะสีออกไซด์ (zinc oxide) และอื่นๆ ทั้งคาลาไมน์และสังกะสีออกไซด์ขึ้นชื่อเรื่องสรรพคุณแก้คันภายนอก[22]
    • ย้ำว่าคาลาไมน์ใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามกินหรือเผลอเอาเข้าปากเด็ดขาด รวมถึงดวงตา จมูก อวัยวะเพศ และทวารหนัก[23]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลองใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน.
    ครีม hydrocortisone ปริมาณน้อยๆ มีขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยมีตัวยาเข้มข้น 0.5 - 1% ถ้าแรงกว่านั้นต้องให้คุณหมอสั่งให้เท่านั้น เป็นยาใช้ทาภายนอกเพื่อกดปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา ช่วยลดอาการระคายผิว อาการคัน และผื่นแพ้ได้[24]
    • ครีมไฮโดรคอร์ติโซนเป็นครีมยาสเตียรอยด์ ปกติยา class นี้จะใช้ได้ ปลอดภัยดี แต่ห้ามใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วันติดกัน เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น คัน ผิวแตก ผิวบาง และสิว[25]
    • ห้ามใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซนกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และห้ามใช้ถ้าคุณตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ เว้นแต่คุณหมอพิจารณาแล้ว[26]
    • ทาครีมนี้บริเวณที่แพ้ 1 - 4 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน ระวังอย่าให้เข้าตา ถ้าทาบริเวณใบหน้า[27]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาด้วยวิธีธรรมชาติและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แช่น้ำอุ่นนิดๆ.
    น้ำร้อนหรือเย็นไปจะระคายเคืองลมพิษได้ ดีไม่ดีอาการจะแย่กว่าเดิม ถ้าถึงขั้นเป็นลมพิษแล้ว[28] ที่ดีที่สุดคือให้แช่น้ำอุ่นนิดๆ หรือน้ำอุณหภูมิห้อง เพื่อบรรเทาอาการผื่นแพ้[29]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบเย็น.
    ใช้อะไรเปียกๆ เย็นๆ มาประคบ จะช่วยบรรเทาอาการของผื่นแพ้และลมพิษได้ เวลาผิวที่มีอาการเจอผ้าพันแผลหรือผ้าก๊อซเปียกเย็นๆ จะช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง ลดการอักเสบ เพราะชะลอการไหลเวียนของเลือดที่จะไปยังบริเวณที่มีผื่น[32]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ระวังสารก่ออาการระคายเคือง.
    มีหลายอย่างเลยที่อาจทำให้ลมพิษหรือผื่นแพ้ระคายเคืองกว่าเดิม ถึงปกติของใช้ในบ้านพวกนี้จะไม่ทำให้คุณเกิดอาการผิดปกติก็เถอะ ทางที่ดีให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ไปก่อน จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่าส่งผลยังไงต่อผื่น/ลมพิษของคุณ[33] ต่อไปนี้คือสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง[34]
    • เครื่องสำอาง
    • สีย้อม (เช่น สีย้อมผ้า)
    • อะไรที่มีขนเฟอร์หรือหนัง
    • ยาย้อมผม
    • ลาเท็กซ์
    • อะไรที่ทำจากนิกเกิล ทั้งเครื่องประดับ ซิป กระดุม และเครื่องครัว
    • ผลิตภัณฑ์ดูแลเล็บ ทั้งยาทาเล็บ และเล็บปลอม
    • สบู่ น้ำยาล้างจาน และน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ที่ใช้ในบ้าน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ห้ามเกาหรือถู.
    ถึงผื่นจะคันคะเยอจนแทบทนไม่ไหว แต่ย้ำกันตรงนี้ว่าห้ามเกาหรือถูผื่น/ลมพิษเด็ดขาด เพราะการเกาจะทำให้ผิวแตก เป็นแผลถลอก ติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ผื่น/ลมพิษยิ่งหายช้า[35]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่าโดนความร้อน.
    บางคนเจอความร้อนและความชื้นแล้วผื่น/ลมพิษยิ่งระคายเคือง ถ้าคุณมีผื่นหรือลมพิษอยู่ แนะนำให้หลีกเลี่ยงที่ร้อนชื้น และงดออกกำลังกายไปก่อน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สวมเสื้อผ้าใส่สบาย.
    ถ้าเป็นผื่น/ลมพิษอยู่ สำคัญว่าต้องเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวระคายเคืองกว่าเดิม เสื้อผ้าที่ควรใส่คือเสื้อผ้าหลวมๆ เนื้อผ้าเนียนนุ่ม เช่น คอตตอน อย่าสวมเสื้อผ้ารัดรูปหรือคับแน่น หรือเนื้อผ้าหยาบๆ ที่ระคายผิวได้ เช่น ขนสัตว์ (wool)[36]
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/prevention/con-20033346
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  7. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/description/drg-20070373
  8. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/proper-use/drg-20070373
  9. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/before-using/drg-20070373
  10. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/before-using/drg-20070373
  11. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/before-using/drg-20070373
  12. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/calamine-topical-route/description/drg-20062463
  13. http://www.medicinenet.com/calamine_lotion-topical/article.htm
  14. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/calamine-topical-route/proper-use/drg-20062463
  15. https://nationaleczema.org/eczema/treatment/topical-corticosteroids/hydrocortisone-faq/
  16. https://nationaleczema.org/eczema/treatment/topical-corticosteroids/hydrocortisone-faq/
  17. https://nationaleczema.org/eczema/treatment/topical-corticosteroids/hydrocortisone-faq/
  18. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682793.html
  19. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/hives-urticaria
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815
  22. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/contact-dermatitis
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815
  24. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/contact-dermatitis
  25. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/contact-dermatitis
  26. http://www.healthline.com/health/rashes
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Shari Forschen, NP, MA
ร่วมเขียน โดย:
พยาบาลฝึกหัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Shari Forschen, NP, MA. ชาริ ฟอร์สเคนเป็นพยาบาลขึ้นทะเบียนของศูนย์สุขภาพแซนฟอร์ดในนอร์ธดาโกตา เธอได้รับปริญญาโทการเป็นพยาบาลฝึกหัดจากมหาวิทยาลัยนอร์ธดาโกตาและเป็นพยาบาลมาตั้งแต่ปี 2003 บทความนี้ถูกเข้าชม 1,745 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,745 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา