วิธีการ ป้องกันมือเจ็บเวลาเขียนนานๆ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เคยปั่นการบ้านหรือรายงานซะจนมือเปื่อยไหม? บางคนอาจจะมองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กๆ แต่บอกเลยว่าถ้าจับดินสอหรือปากกาแบบผิดๆ ทำให้มือพังในระยะยาวได้เลย ถ้าอยากเขียนหนังสือแบบสบายๆ ไม่ปวดมือ แนะนำให้ลองฝึกเขียนแบบใหม่ดู รับรองเขียนลืม!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ฝึกเขียนให้ถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลือกดินสอหรือปากกาที่ใช้สบายมือ.
    พูดง่ายๆ คือให้เลือกแท่งอ้วนหน่อย (เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น) โดยมีแผ่นยางรองนิ้ว
    • เช็คว่าเขียนลื่นดี ไม่สะดุดหรือฝืดไปกับกระดาษ
    • อย่าซื้อปากกาที่ง่อกแง่ก หรือทิ้งคราบหมึกไว้เป็นทาง
    • ถ้าปากกาเบาหน่อยจะเขียนง่ายขึ้น เหมาะจะเขียนต่อเนื่องนานๆ ส่วนดินสอ พยายามเลือกที่มีส่วนผสมของตะกั่วหรือกราไฟต์เยอะขึ้น อย่าง 2B จะจับถนัดมือกว่า[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จับปากกาหลวมๆ.
    อย่ากำปากกาหรือดินสอซะแน่น หรือออกแรงกดหนักๆ แค่จับพอดีๆ แล้วตวัดปลายเขียนไปเรื่อยๆ จินตนาการว่าตัวเองใช้ปากกาขนนกอยู่ อย่างคนสมัยก่อนเขาก็เขียนด้วยปากกาขนนกได้เป็นชั่วโมงๆ แสดงว่าไม่ได้กำแน่นจนมือล้าแน่นอน[2]
    • จับปากกาที่ด้านหลัง เหลือที่ฝั่งปลายที่ต้องเขียนเผื่อไว้เยอะๆ[3]
    • ปากกาหมึกซึมเหมาะกับพวกนักเขียน เพราะหมึกลื่นไหล ไม่ต้องออกแรงกดเยอะ
    • ใครไม่ชิน ก็อย่าพยายามใช้ปากกาลูกลื่น เพราะต้องออกแรงกดมากกว่าปกติเวลาเขียน เขาเน้นราคาถูกมากกว่า[4]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เริ่มจับปากกาใหม่ ให้ค่อยๆ เขียนไป.
    ถ้าจับปากกาผิดๆ มานาน แล้วเพิ่งมาเริ่มหัดเขียนให้ถูกวิธี ก็ให้ฝึกไปช้าๆ เพราะกล้ามเนื้อของเราต้องมาจดจำท่าทางที่ถูกต้องซะใหม่ ค่อยเขียนนานหรือเร็วขึ้นตอนที่จับถนัดมือและเขียนสวยแล้วดีกว่า[5]
    • อย่าด่วนถอดใจจนกลับไปเขียนแบบผิดๆ ถึงแบบเก่าจะเขียนคล่องเขียนเร็วกว่าก็เถอะ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กดหัวปากกากับกระดาษแบบเบามือ.
    ถึงได้บอกให้เลือกปากกาที่ดีหน่อย เพราะจะได้ไม่ต้องออกแรงกดมากนัก เวลาเขียนก็ตวัดเบาๆ เขียนให้สม่ำเสมอ ถ้าถนัดใช้ดินสอมากกว่า ให้เลือกที่ไส้นิ่มๆ ไว้
    • ลองใช้ปากกาเจลหรือปากกาโรลเลอร์บอล ถ้าต้องเขียนต่อเนื่องนานๆ บ่อยๆ ลงทุนหน่อยจะดีกว่าในระยะยาว เพราะเจลกับหมึกละลายน้ำจะเขียนแล้วไหลลื่น ไม่ฝืดไม่ฝืน เลยไม่ต้องออกแรงกดจนเมื่อยมือ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ออกแรงเขียนจากแขน ไม่ใช่นิ้วมือ.
    เพราะการเขียนหนังสือไม่เหมือนการวาดรูป! เพราะงั้นมือกับข้อมือให้นิ่งๆ ไว้ แล้วขยับเขียนทั้งแขน โดยใช้ข้อศอกกับไหล่ (เหมือนเวลาเราเขียนบนกระดานไวท์บอร์ด) อย่าออกแรงที่กล้ามเนื้อแต่ละนิ้ว อาจจะฟังดูแปลกๆ ไม่ชิน แต่บอกเลยว่านิ้วมือเอาไว้รองปากกาและดินสอเท่านั้น[6]
    • วิธีจับปากกายอดนิยมคืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง โดยใช้นิ้วโป้งยึดปากกาหรือดินสอไว้ให้อยู่กับที่ อีกวิธีคือนิ้วกลางกับนิ้วชี้อยู่ด้านบน ส่วนนิ้วโป้งใช้ยึดปากกาหรือดินสอให้อยู่กับที่ไว้[7]
    • อีกวิธีที่พบได้น้อยกว่า คือจับปากกาหรือดินสอไว้ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง แล้วยึดไว้ด้วยนิ้วโป้ง
    • Calligrapher หรือนักประดิษฐ์อักษร (นักอักษรวิจิตร) จะจับเครื่องเขียนด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ โดยพักปากกาไว้เบาๆ บนข้อนิ้วชี
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สังเกตแล้วประเมินวิธีจับปากกาของตัวเอง.
    ตั้งแต่หัดเขียนหนังสือตอนอนุบาลหรือประถม คนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยสังเกตวิธีจับปากกาของตัวเองอีก แนะนำให้เริ่มสังเกตตั้งแต่วันนี้เลย
    • วางมือตรงไหม? พยายามวางข้อมือตรงๆ อย่างอหรือบิดไปมาตอนเขียน
    • ต้องเกร็งหรือเอื้อมไปเขียนที่กระดาษหรือโต๊ะไหม? แบบนั้นให้ขยับโต๊ะ เก้าอี้ หรือกระดาษให้เขียนถนัดซะก่อน
    • บริเวณที่นั่งเขียนสะดวกสบายดีหรือเปล่า? โต๊ะเก้าอี้สูงได้ระดับดีไหม? เห็นและเขียนได้แบบไม่ต้องเกร็งหรือหลังคอใช่ไหม? หยิบอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น (เช่น แม็กซ์ หรือโทรศัพท์) ได้ง่ายใช่ไหม?
    • ตอนหยุดเขียนก็ต้องมีอะไรรองข้อมือ แขน และข้อศอก?
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ปรับท่าทางให้เหมาะสม....
    ปรับท่าทางให้เหมาะสม. นั่งหลังตรง อกผายไหล่ผึ่ง อย่านั่งหลังค่อมตอนเขียน ถ้านั่งหลังค่อมก้มหน้า ระวังคอ ไหล่ และแขนจะล้าเร็ว
    • ถ้าต้องเขียนนานๆ อย่านั่งท่าเดิมตลอด เปลี่ยนท่านั่ง ขยับตัวไปมาบ้าง นานๆ ทีก็เอนหลังพิงพนักไปเลย
    • หายใจให้สะดวก ถ้านั่งหลังค่อมเวลาเขียน ระวังระดับออกซิเจนจะลดลง เพราะท่านั่งทำให้หายใจตื้น ไม่เต็มปอด แรงโน้มถ่วงน้อยก็ไม่ดีเท่าที่ควร[8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

พักมือเป็นระยะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พักคลายความตึงเกร็งของร่างกาย.
    เขียนบ้างพักบ้าง เว้นแต่ถ้ามีรายงานด่วนหรือติวหนังสือจะสอบไล่พรุ่งนี้ ก็ขอให้ลุกเดินไปมาทุกชั่วโมง (หรือบ่อยกว่านั้น) ครั้งละประมาณ 1 - 2 นาที ระหว่างนั้นก็บริหารมือ ข้อมือ และแขนไปในเวลาเดียวกัน
    • ถ้ามีเวลาก็ออกไปเดินเล่นข้างนอกสักพัก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หยุดเขียนแล้วให้วางปากกา.
    เช่น ถ้าหยุดเขียนมาคิดวิเคราะห์ ก็ให้วางปากกา พักมือ เอนหลัง หรือลุกเดินไปมาสักหน่อย
    • หาเวลาบริหารมือและนิ้วเป็นระยะ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จำกัดเวลาเขียนในแต่ละวัน.
    ถ้าเขียนติดต่อกันมาหลายชั่วโมง ให้กลับมาเขียนทีหลัง หรือเขียนใหม่พรุ่งนี้แทน พยายามกระจายเขียนให้ได้หลายๆ วัน จะได้ไม่เป็นภาระให้มือ ถ้าเป็นงานหรือการบ้านอาจจะต้องทำให้ทันเวลา แต่ก็ขอให้แบ่งเวลาไปพักมือบ้าง
    • ถ้างานที่ต้องเขียนมีเยอะ พยายามแบ่งเป็นช่วงสั้นๆ หลายๆ ช่วง อย่าเขียนทีเดียวนานๆ จนจบ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 วันรุ่งขึ้นให้เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น.
    ถ้าต้องอ่านหนังสือสอบ ทำการบ้าน/รายงาน หรือสมองแล่นจนเขียนไม่หยุดมาทั้งวัน พอวันรุ่งขึ้นให้บริหาร ยืดเส้นยืดสาย อาจจะออกไปเดินเล่นให้ผ่อนคลายสบายใจ
    • การคลายเครียดโดยออกไปข้างนอกและทำกิจกรรมอื่นๆ นั้นถือว่าสำคัญกับการเขียนงานเชิงสร้างสรรค์มาก รับรองหัวสมองแล่นปรู๊ดปร๊าด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ยืดเหยียดมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ยกข้อมือให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยปล่อยนิ้วมือตามสบาย....
    ยกข้อมือให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยปล่อยนิ้วมือตามสบาย. ให้นึกว่ากำลังแขวนริบบิ้นผ้ายาวๆ ห้อยไว้กับราวตากผ้าเหนือหัว จากนั้นยกนิ้วขึ้น ทิ้งข้อมือ แล้วค่อยๆ ลดระดับข้อมือกลับลงมา ให้ลงไปมากที่สุด ประมาณว่ากำลังลูบริบบิ้นลงมาให้เรียบ สุดท้ายค่อยๆ ยกมือขึ้น เหมือนมีลูกโป่งผูกอยู่กับข้อมือ
    • ทำซ้ำตั้งแต่ต้นกับแขนอีกข้าง ประมาณ 5 - 100 รอบ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ยืดหดเส้นเอ็นที่นิ้วและมือเป็นประจำ.
    ท่าบริหารนี้เริ่มจากยืดเหยียดนิ้วมือ จากนั้นกำหมัด ตามด้วยยืดเหยียดมืออีกครั้ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บริหารมือข้างที่ใช้เขียนแบบง่ายๆ.
    เช่น จับดินสอ/ปากกา แล้วบิดไปมาระหว่างนิ้ว หรือกำ/แบมือ และยืดเหยียดนิ้วเบาๆ โดยถ่างออกห่างจากนิ้วอื่นแล้วกลับมาชิดตามเดิม
    • สำคัญมากว่าต้องหมั่นบริหารมือข้างที่ถนัด เวลาเขียนจะได้ไม่เป็นตะคริวง่าย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดัดมือโดยหันฝ่ามือออก.
    จำง่ายๆ ว่าให้ทำมือเหมือนกำลังห้ามรถ จากนั้นใช้มืออีกข้างค่อยๆ ดัดปลายนิ้วเข้าหาตัว (ดัดมาด้านหลัง) แล้วค้างไว้ 15 วินาที[10]
    • ทำซ้ำให้ครบทั้ง 2 ข้าง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เหยียดแขน ดัดมือลง.
    ให้ฝ่ามือหันเข้าตัว นิ้วเหยียดตรงลงไป ใช้มืออีกข้างค่อยๆ ดัดปลายนิ้วเข้าหาตัว ทำท่านี้ค้างไว้ประมาณ 15 วินาทีด้วยกัน
    • จะบริหารท่านี้โดยหันฝ่ามือออกด้านนอกและปลายนิ้วชี้ขึ้นก็ได้ แต่ก็ยังต้องดัดปลายนิ้วเข้าหาตัวอยู่ดี
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ขยำลูกบอลคลายเครียด บริหารนิ้วและข้อมือ.
    ลูกบอลคลายเครียดเป็นอุปกรณ์ง่ายๆ ที่จะช่วยยืดเหยียดนิ้วและข้อมือของคุณ รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแรงไปในตัว ทำให้มือแข็งแรงทนทานขึ้น เขียนแล้วไม่เจ็บมือเร็ว
    • คุณหาซื้อลูกบอลคลายเครียดได้ตามแผนกของขวัญ งานประดิษฐ์ อุปกรณ์กีฬา และร้านออนไลน์
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ประสานมือแล้วดันออกด้านนอก.
    ต้องหันฝ่ามือออกจากตัวเวลาเหยียดแขนไปในทิศทางตรงกันข้าม ตอนเหยียดแขนออกไป ให้ชูขึ้นด้านบน ไหล่จะขนานไปกับหลัง[11]
    • ทำท่านี้ค้างไว้ประมาณ 10 - 15 วินาทีด้วยกัน
    • ท่านี้ช่วยยืดเหยียดนิ้ว มือ และท่อนแขน รวมถึงทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ลองรักษาจริงจัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษาคุณหมอถ้าปวดมือบ่อยๆ.
    ถ้าชอบเจ็บหรือปวดมือโดยที่รักษาตัวเองตามวิธีต่างๆ แล้วไม่ยอมหาย แบบนี้ต้องหาหมอ ถ้าส่วนใหญ่ต้องทำงานหรือทำการบ้าน ก็ต้องมีการปรึกษา ปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงาน คุณหมออาจจะให้ใบรับรองแพทย์ไปยื่นพักมือชั่วคราว รวมถึงแนะนำการแบ่งเวลาจัดสรรการทำงานให้งานเดินแต่มือก็ได้พักเหมือนกัน
    • หนึ่งในทางแก้คือปรับปรุงสถานที่ทำงาน/ทำการบ้านให้เหมาะกับสภาพร่างกายและลักษณะของงาน (เช่น ปรับความสูงของโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสม ปรับความลาดเอียงหรือระดับของหน้าโต๊ะ) เปลี่ยนลักษณะการเขียน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ (เช่น พูดให้คนอื่นเขียน หรือเปลี่ยนไปพิมพ์แทน)
    • บางทีคุณหมอก็โอนเคสไปให้ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินและแนะนำการปรับเปลี่ยนสถานที่และอุปกรณ์ให้เข้ากับลักษณะทางกายภาพและลักษณะการทำงานของคุณ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดามนิ้วถ้าข้ออักเสบกำเริบ.
    ต้องดามนิ้วไว้ประมาณ 2 - 3 อาทิตย์เพื่อลดอาการอักเสบเป็นช่วงๆ โดยต้องวัดขนาดนิ้วเพื่อหาขนาดเฝือกอ่อน จากนั้นพันยึดกับนิ้วโดยใช้เทปพันแผล ต้องพยุงนิ้วที่บาดเจ็บให้ดี เหยียดตรงอยู่เสมอ[12]
    • หรือจะทำเฝือกดามนิ้วเองก็ได้ โดยใช้แท่งแคบยาว 2 แท่ง (เช่น ไม้ไอศครีม หรือกระดาษลัง) โดยพันอันหนึ่งที่ด้านบนของนิ้ว และอีกอันที่ด้านล่าง
    • ถ้านิ้วเจ็บจี๊ดหรือชา ให้รีบไปหาหมอ เพราะเป็นสัญญาณว่าเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงที่นิ้วไม่เพียงพอ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดามข้อมือลดการอักเสบ.
    ถ้าเริ่มปวดข้อมือ ให้หาเฝือกอ่อนดามข้อมือมาพยุงให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ลดการอักเสบ หรือจะทำเฝือกอ่อนใช้เองโดยพันหนุนข้อมือไม่ต้องแน่นมาก เช่น ใช้เศษผ้าพันยึดอุปกรณ์แข็งสำหรับดามด้านบนและด้านล่างของข้อมือไว้[13]
    • คุณเลือกซื้อที่ดามข้อมือได้สารพัดแบบ ตามร้านขายยาทั่วไปและในเน็ต
    • ดามข้อมือก่อนนอนไว้ 2 - 3 อาทิตย์ ปกติอาการจะหนักช่วงดึกๆ เพราะมือชอบบิดงอตอนนอน
    • บางทีเฝือกอ่อนก็ไม่ได้ผล แต่ข้อดีคือไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเยอะเท่าการใช้ยา
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ซื้อยา NSAIDs (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) กินเอง.
    ยา NSAIDs แก้ปวดมือได้โดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการอักเสบ อาจจะทายา NSAIDs เช่น โวลทาเรน ก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเชื่อว่าปลอดภัยกว่าการกินยา NSAIDs อย่าง Advil และ Motrin
    • ยา NSAIDs ใช้รักษาโรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือกลุ่มอาการประสาทมือชาไม่ได้
    • ถ้าใช้ยา NSAIDs แก้ปวดต่อเนื่องนานๆ ระวังเลือดออกในกระเพาะ เป็นแผลในกระเพาะ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงเกิดหัวใจวาย
    • ยากลุ่ม Anti-cholinergic อย่าง Artane และ Cogentin เหมาะกับโรค writer's cramp หรือ hand dystonia (ภาวะกล้ามเนื้อมือบิดเกร็ง) มากกว่า[14]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาคุณหมอเรื่องฉีดสเตียรอยด์ลดการอักเสบ....
    ปรึกษาคุณหมอเรื่องฉีดสเตียรอยด์ลดการอักเสบ. เป็นการฉีดยาเข้าข้อที่ปวดเพื่อลดอักเสบโดยตรง ช่วยบรรเทาอาการได้นานเป็นปี แต่บางคนก็ว่าหลังๆ จะปวดบ่อยขึ้นจนต้องฉีดเพิ่ม[15]
    • การฉีดสเตียรอยด์ปกติใช้รักษาโรคเอ็นอักเสบ นิ้วล็อกจากข้ออักเสบ กลุ่มอาการประสาทมือชา โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก และเอ็นไหล่อักเสบ
    • ผลข้างเคียงของการฉีดสเตียรอยด์ก็เช่น "อาการกำเริบ" หรือเจ็บปวดขึ้นมา 1 - 2 วันหลังฉีด รวมถึงน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผิวบางลง ผิวซีดจาง เอ็นหย่อน และเกิดอาการแพ้ (พบไม่มาก)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าปวดมือไม่หาย พยายามผ่อนคลายสัก 5 นาที น่าจะเพียงพอให้กลับมาใช้งานต่อได้
  • ลองนวดมือคลายกล้ามเนื้อตึงเกร็ง
  • ต้องมีอะไรรองรับแขนไว้ระหว่างเขียน ถ้าลงน้ำหนักที่มืออย่างเดียว หรือต้องเกร็งแขนไว้ตลอด รับรองเมื่อยเร็วแน่นอน
  • หาแท่นวางเอกสาร โต๊ะเขียนแบบหรือโต๊ะเขียนหนังสือที่ลาดเอียง หรือโต๊ะเล็กวางคร่อมตัก จะได้ปรับเปลี่ยนระดับเวลาเขียนได้ตามสะดวก
  • ลองใช้ปากกาตระกูล comfort pens โดยค้นในเน็ตว่า "Ezgrip", "Pen Again" หรือ "Dr. Grip" ของ Pilot ดูก็ได้
  • พักบ้าง อย่าเขียนมาราธอน ถ้าชอบเขียนนานจนลืมตัว ก็ตั้งเตือนไว้เลย ถ้าต้องเขียนอะไรเครียดๆ (งาน/วิชาสำคัญ เช่น เลื่อนขั้นหรือสอบไล่) ก็ต้องพยายามผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจเป็นระยะ
  • เปลี่ยนจากเขียนไปเป็นพิมพ์บ้างก็ได้
  • ถ้าพิมพ์งานในคอมพิวเตอร์ ก็พิมพ์ตรงๆ อย่าบิดหรืองอข้อมือ ไม่ว่าทิศทางไหนก็ตาม นั่งหลังตรง แขนและข้อมือเหยียดตรง และอย่ากระแทกเวลาพิมพ์ คอมไม่เหมือนเครื่องพิมพ์ดีด แค่แตะเบาๆ ก็ติดแล้ว อย่าไปเกร็งนิ้วหรือมือ
  • เวลาเขียนอย่ากดหนักมือเกินไป เพราะจะทำให้ปวดมือกว่าเดิม แถมกระดาษอาจจะขาดหรือเขียนไม่สวย ผิดก็ลบยากด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • บทความวิกิฮาวนี้เน้นแก้ปวดมือเวลาเขียนหนังสือ แต่งานหัตถกรรมหรืองานประดิษฐ์อื่นๆ ที่ต้องใช้มือทำละเอียดๆ ก็ทำคุณปวดมือได้เช่นกัน อย่างถ้าเย็บผ้า ปักผ้า หรือทำงานฝีมือต่างๆ แล้วปวดมือ ก็เอาไปปรับใช้ได้เช่นกัน
  • ถ้าฝืนเขียนจนปวดมือนานๆ เข้าจะกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ ถ้าอาการหนักหรือไม่ยอมหาย แนะนำให้ไปหาหมอหาวิธีรักษาและป้องกันต่อไปจะดีกว่า
  • เขียนต่อเนื่องนานๆ รวมถึงอะไรที่ต้องจดจ่อ จะทำให้ปวดหรือตึงเกร็งไปหมดทั้งหลัง คอ แขน และดวงตา โดยเฉพาะถ้าสถานที่และอุปกรณ์ หรือท่าทางไม่เอื้ออำนวย เอาเป็นว่าถ้าเขียนหรือทำอะไรแล้วปวดขึ้นมาก็อย่าปล่อยไว้ ต้องหาทางแก้ไข
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Luba Lee, FNP-BC, MS
ร่วมเขียน โดย:
กรรมการพิจารณายา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Luba Lee, FNP-BC, MS. ลูบา ลีเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีประกาศนียบัตรในเทนเนสซี่ เธอได้รับปริญญาด้านพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ในปี 2006 บทความนี้ถูกเข้าชม 51,538 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,538 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา