วิธีการ เอาชนะความกลัวบันไดเลื่อน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ความกลัวบันไดเลื่อน หรือที่เรียกว่า เอสคาลาโฟเบีย (escalaphobia) มีผลกระทบต่อหลายคนทั่วโลก [1] ถ้าคุณเป็นโรคกลัวบันไดเลื่อน คุณอาจจะรู้สึกเหมือนติดกับเมื่อคุณอยู่ด้านบนบันไดเลื่อนและรู้สึกราวกับว่าตัวคุณอาจจะตกหรือล้มที่บันไดเลื่อน คุณยังอาจจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความรู้สึกร้อนวูบวาบ การหายใจเร็วๆ สั้นๆ และการสั่นอย่างฉับพลันเมื่อคุณพยายามก้าวขึ้นบันไดเลื่อน [2] คุณอาจจะหลีกเลี่ยงบันไดเลื่อนทั้งหมดในห้างสรรพสินค้า รถไฟใต้ดิน ตึกสำนักงาน และบริเวณสาธารณะอื่นๆ เพื่อจัดการกับความกลัวของคุณ [3] จำใส่ใจไว้ว่าการปรับนิสัยการขึ้นบันไดเลื่อนของคุณจะเป็นประโยชน์เมื่อคุณกลัวบันไดเลื่อนโดยทั่วไปมากกว่าเป็นโรคกลัวจริงๆ หากคุณทรมานจากโรคกลัวบันไดเลื่อนแล้วล่ะก็ คุณอาจจะจำเป็นต้องลองรับการบำบัดกับมืออาชีพ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การปรับนิสัยของตัวคุณเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มองไปข้างหน้ามากกว่ามองลงข้างล่างตอนที่อยู่บนบันไดเลื่อน....
    มองไปข้างหน้ามากกว่ามองลงข้างล่างตอนที่อยู่บนบันไดเลื่อน. หลีกเลี่ยงการจ้องบันไดเลื่อนแล้วจ้องมองตรงไปข้างหน้าในขณะที่คุณขึ้นบันไดเลื่อน นี่จะช่วยให้คุณอยู่นิ่งๆ บนบันไดเลื่อนเพื่อให้คุณสามารถไปถึงปลายทางของคุณได้ [4]
    • ซึ่งนี่จะช่วยลดอาการเวียนหัวใดๆ ที่คุณอาจจะรู้สึกเมื่อขึ้นบันไดเลื่อนอีกด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จับราวบันไดหรือมือของใครสักคนไว้.
    ใช้ราวบันไดด้านข้างเพื่อทรงตัวให้มั่นคงบนบันไดเลื่อนและเพื่อป้องกันไม่ให้เวียนหัว [5]
    • คุณอาจจะเดินทางไปกับคนที่จะจับแขนของคุณไว้ตอนที่คุณขึ้นบันไดเลื่อนได้อีกด้วย ซึ่งนี่จะช่วยให้คุณรู้สึกสมดุลและรับรู้ความลึกในขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อน
    • บางคนที่ทุกข์ทรมานจากความกลัวบันไดเลื่อนพบว่าการใส่รองเท้าที่เหมาะสมและทนทานในขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อนนั้นสามารถทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยและสบาย [6]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ขึ้นบันไดเลื่อนตอนไม่มีคน.
    บางคนที่เป็นโรคกลัวบันไดเลื่อนไม่ชอบความรู้สึกเหมือนติดกับหรือถูกห้อมล้อมและล้อมรอบไปด้วยคนอื่นๆ บนบันไดเลื่อนในช่วงเวลาที่วุ่นวายของวันหรือในชั่วโมงเร่งด่วน แทนที่จะพยายามขึ้นบันไดเลื่อนตอนคนเยอะๆ ให้รอจนกว่าคนจะบางตาแล้วค่อยขึ้น นี่อาจจะช่วยให้คุณรู้สึกอึดอัดและถูกขังน้อยในขณะที่ขึ้นบันไดเลื่อน [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การใช้การบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลองการสะกดจิต.
    นักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัด (Hypnotherapist) เชื่อว่าบางครั้งจิตใต้สำนึกของคุณจะตอบสนองอย่างไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นบันไดเลื่อน นักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดจะพยายามเปลี่ยนการตอบสนองในจิตใต้สำนึกของคุณเพื่อให้คุณหาทางตอบสนองต่อสถานการณ์บางอย่างใหม่และจะปลดปล่อยคุณจากความกลัวและโรคกลัวของคุณ [8][9]
    • การสะกดจิตสำหรับโรคกลัวบันไดเลื่อนนั้นสามารถทำได้ในการรักษาเริ่มแรกครั้งเดียวโดยการใช้การสัมผัสผ่านการกระจายจินตนาการ โดยที่นักบำบัดจะแนะนำคุณผ่านการสร้างภาพว่าคุณอยู่บนบันไดเลื่อนในขณะที่คุณผ่อนคลายอย่างมาก โดยปกติจะมีรักษาติดตามผลเพื่อดูว่าความกลัวของคุณยังสงบอยู่หรือไม่
    • ขอให้แพทย์แนะนำนักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดที่ได้รับการรับรอง และค้นหาออนไลน์ก่อนคุณจะนัดพวกเขา คุณยังอาจจะถามเพื่อนๆ และครอบครัวได้อีกด้วยว่าพวกเขาเคยไปหานักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดดีๆ เพื่อรักษาความกลัวหรือโรคกลัวของพวกเขาบ้างหรือไม่ [10]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลองการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy:
    CBT). จิตบำบัดนี้จะเน้นที่การปรับความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือในเชิงลบเพื่อให้คุณสามารถพิจารณาความกลัวหรือโรคกลัวด้วยความคิดชัดเจนและตอบสนองต่อพวกมันด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ [11] คุณจะต้องไปรับการรักษาจากนักจิตบำบัดสักระยะเพื่อรักษาโรคกลัวบันไดเลื่อนของคุณและค้นหาทางออกที่จะช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวของคุณได้
    • ก่อนที่จะลองเข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ให้ขอคำแนะนำเกี่ยวกับนักจิตบำบัดจากแพทย์ของคุณ แผนประกันสุขภาพของคุณ หรือเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่เคยมีประสบการณ์ดีๆ ในการรักษาโดยการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ให้หาว่าแผนประกันของคุณเสนอความคุ้มครองจิตบำบัดว่าอย่างไร ก่อนที่คุณจะตกลงรักษากับนักบำบัด ให้ตรวจสอบราคาและตัวเลือกการชำระเงินสำหรับการรักษานั้น [12]
    • คุณควรจะตรวจสอบคุณสมบัติของนักจิตบำบัดก่อนคุณไปรักษา ค้นหาประวัติการศึกษา ประกาศนียบัตร และใบอนุญาตของเขา นักจิตบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วส่วนใหญ่จะมีปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทางจิต
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พยายามหาข้อมูลการรักษาแบบเผชิญหน้า (Exposure-based Treatment)....
    พยายามหาข้อมูลการรักษาแบบเผชิญหน้า (Exposure-based Treatment). การรักษาประเภทนี้จะให้คุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณเผชิญหน้ากับอาการกลัวของคุณในลักษณะที่ควบคุมได้ นักบำบัดจะป้องกันคุณไม่ให้หลีกเลี่ยงความกลัวของคุณและอาจจะใช้ตัวเตือนความจำเพื่อรับรู้อากัปกิริยาภายในอื่นๆ เช่น ความรู้สึกทางกายภาพภายใน การรักษาแบบเผชิญหน้าส่วนใหญ่แล้วเป็นการที่นักบำบัดจะช่วยให้คุณอดทนต่อความกลัวและความวิตกกังวลที่คุณเชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือวัตถุบางอย่าง [13]
    • ยกตัวอย่างเช่น นักบำบัดอาจจะให้คุณสัมผัสบันไดเลื่อนเพิ่มขึ้น เมื่อคุณสบายใจที่จะมองบันไดเลื่อนแล้ว นักบำบัดก็อาจจะให้คุณวางเท้าข้างหนึ่งบนบันไดเลื่อนแล้วก็ค่อยๆ วางเท้าทั้งสองข้างบนบันไดเลื่อน การอยู่ข้างๆ บันไดเลื่อนแล้วก็ขึ้นบันไดเลื่อนโดยมีนักบำบัดอยู่ด้วยจะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ว่าผลความกลัวบันไดเลื่อนที่คุณอาจจะจินตนาการไว้นั้นจะไม่เกิดขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองการบำบัดแบบ Eye Movement Desensitization and Reprocessing (EMDR).
    การบำบัดด้วยวิธีนี้แรกเริ่มนั้นถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) และได้รับการปรับให้เข้ากับการรักษาโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจง ในระหว่างการบำบัดแบบ EMDR คุณจะได้สัมผัสกับภาพของวัตถุหรือสถานการณ์ที่กลัวและนักบำบัดจะเป็นผู้ควบคุมเพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตา ฟังการเคาะหรือเสียงที่เป็นจังหวะ วัตถุประสงค์คือเพื่อลดภาวะอาการกลัวของคุณผ่านการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็วและการประมวลผลภาพของสถานการณ์หรือวัตถุที่กลัว [14]
    • ผู้เชี่ยวชาญบางคนโต้แย้งว่าการบำบัดแบบ EMDR นั้นเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความกลัวที่พัฒนามาจากประสบการณ์ที่บอบช้ำทางจิตใจมากกว่าหรือความกลัวที่ไม่มีเหตุผลหรือเป็นไปไม่ได้จริงมากกว่า หลายคนที่เป็นโรคกลัวควรจะลองบำบัดด้วยการสะกดจิตหรือการเผชิญหน้าก่อนที่พวกเขาจะลองการบำบัดแบบ EMDR
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การพูดคุยกับแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้ารับการตรวจหูและตาของคุณ.
    บางครั้งคนที่มีปัญหาในการทรงตัวบนบันไดเลื่อนหรือมีอาการเวียนหัวขณะที่พวกเขาลงบันไดเลื่อนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับหูหรือตาก็ได้ เข้ารับการตรวจตาของคุณเพื่อหาปัญหาการมองเห็นใดๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความไม่สมดุลหรือความไม่มั่นคง และขอให้แพทย์ตรวจหูของคุณเพื่อหาปัญหาใดๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการเวียนหัว[15]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ขอรับการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ.
    แพทย์ของคุณสามารถวินิจฉัยโรคกลัวของคุณได้โดยยึดตามอาการ และประวัติทางการรักษาทางการแพทย์ ทางจิตเวช และทางสังคมของคุณ ให้เตรียมตัวตอบคำถามในการสัมภาษณ์ทางคลินิกเกี่ยวกับความกลัวบันไดเลื่อนของคุณและความรุนแรงของความกลัวของคุณ[16]
    • คำนิยามทางคลินิกของโรคกลัว คือ ความกลัวต่อวัตถุหรือประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหกเดือนหรือมากกว่านั้น คุณอาจจะประสบกับอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัสกับวัตถุหรือประสบการณ์นั้น เช่นเดียวกับความเศร้าเสียใจหรือความวิตกกังวลที่รุนแรงมาก คุณอาจจะรู้ว่าความกลัวของคุณไม่มีเหตุผลหรือเหลวไหลและจะข้องใจว่าคุณไม่สามารถก้าวผ่านอาการกลัวของคุณได้ ในที่สุดความกลัวของคุณอาจจะแข็งแกร่งมากจนคุณจะปรับกิจวัตรประจำวัน ชีวิตทางสังคมของคุณ หรือชีวิตการทำงานของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอาการกลัวของคุณ [17]
    • เมื่อแพทย์ให้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคกลัวบันไดเลื่อนอย่างเป็นทางการแล้ว คุณอาจจะใช้สิ่งนี้เพื่อขอรับการบำบัดและการรักษาปัญหาของคุณได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับการส่งตัวให้นักบำบัด.
    แพทย์ของคุณอาจจะส่งตัวคุณให้นักจิตวิทยาที่ได้รับการรับรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมทางความคิด หรือแม้กระทั่งนักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัด ให้หารือเกี่ยวกับตัวเลือกเหล่านี้และข้อดีและข้อเสียของแต่ละตัวเลือกก่อนที่คุณจะตกลงรักษา
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: William Schroeder, MA, LPC, NCC
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย William Schroeder, MA, LPC, NCC. วิลเลียม ชโรเดอร์เป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตและเจ้าของร่วม Just Mind ซึ่งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาที่ออสติน รัฐเท็กซัส มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้คนโดยใช้การบำบัด เขาเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเชิงรู้คิดแก่ผู้ใหญ่ในเรื่องอย่างเช่น การสูญเสีย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ความสุข ความสัมพันธ์ และการสำรวจอาชีพ โดยมีประสบการณ์มากกว่า 14 ปี เขายังได้รับการฝึกอบรมระดับสูงและช่วยเหลือคนไข้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นและโรคแอสเพอร์เกอร์ (ASD) อีกด้วย วิลเลียมและ Just Mind ได้มีบทบาทสำคัญในสิ่งตีพิมพ์อย่างเช่น The New York Times, Business Insider และ Readers Digest วิลเลียมได้รับปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยโลโยลาซึ่งอยู่ที่นิวออร์ลีนส์ และได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา จากมหาวิทยาลัยเซนต์แมรี่ บทความนี้ถูกเข้าชม 8,753 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,753 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา