วิธีการ รับมือกับอาการคิดถึงบ้าน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราต้องจากบ้านไปเรียนหนังสือ ต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่ หรือต้องเดินทางไกลไปต่างประเทศ เราอาจ “คิดถึงบ้าน” กันบ้าง อาการคิดถึงบ้านอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แต่อาการที่พบโดยทั่วไปคือรู้สึกกังวล หดหู่ โดดเดี่ยว หรือเหงา [1] เราอาจรู้สึกคิดถึงบ้าน คิดถึงแม้แต่หมอนใบเก่าหรือกลิ่นของบ้าน[2] อาการคิดถึงบ้านเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยในแทบทุกสถานการณ์ ฉะนั้นอย่าอายถ้าเรากำลังคิดถึงบ้านอยู่ บทความนี้มีวิธีการที่สามารถช่วยเรารับมือกับอาการคิดถึงบ้าน และเรียนรู้ที่จะชอบสภาพแวดล้อมใหม่ของเราได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หาวิธีการรับมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการคิดถึงบ้าน.
    การคิดถึงบ้านเกิดจากคนเราต้องการความสัมพันธ์ ความรัก และความมั่นคง ถึงแม้ชื่อจะบอกแบบนั้น แต่ความรู้สึก “คิดถึงบ้าน”อาจไม่เกี่ยวกับบ้านจริงของเราก็ได้ เวลาเราอยู่ห่างจากสิ่งใดก็ตามที่เป็นความคุ้นเคย ความมั่นคง ความสบาย และก่อให้เกิดผลดีต่อตัวเรา ก็อาจทำให้เราเกิดอาการคิดถึงบ้านได้[3] แม้แต่ผลการวิจัยก็แสดงให้เห็นว่าอาการคิดถึงบ้านเป็นความเศร้าแบบหนึ่งที่เกิดจากการพรากจากความคุ้นเคยไปจนถึงการแยกทางหรือความตาย[4]
    • เราอาจมีอาการคิดถึงบ้านก่อนที่จะจากบ้านมาเสียอีก เราจะรู้สึกวิตกกังวล สูญเสียบางสิ่งบางอย่าง หรือหมกมุ่นคิดถึงแต่บ้าน “ก่อน” จากที่นั่นมาเพราะเรารู้ตัวว่ากำลังจะต้องจากสถานที่อันคุ้นเคยนี้ [5]
    • เด็กหรือเยาวชนในช่วงเริ่มวัยรุ่นมักจะรู้สึกคิดถึบ้านมากกว่าผู้ใหญ่ ถึงแม้อาการคิดถึงบ้านจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้จักอาการคิดถึงบ้าน.
    การคิดถึงบ้านนั้นเป็นมากกว่าแค่การคิดถึง “บ้าน” อาการนี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกและผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรู้จักอาการคิดถึงบ้านช่วยเราให้รู้ว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนั้นและได้หาทางแก้ไข [6]
    • “อาการคิดถึงบ้าน” อาการคิดถึงบ้านเป็นอาการที่เราคิดถึงบ้าน สิ่งที่คุ้นเคย และผู้คนบ่อยๆ ซึ่งมักจะเป็นการคิดถึงแต่สิ่งที่ดีๆ เราอาจรู้สึกคิดถึงบ้านมาก หรือเห็นว่าตนเองชอบเปรียบเทียบสถานการณ์ใหม่อยู่เสมอว่าไม่ดีเท่าสถานการณ์ที่ผ่านมา[7]
    • “ภาวะซึมเศร้า” คนที่มีอาการคิดถึงบ้านบ่อยครั้งจะมีภาวะซึมเศร้าเพราะคนเหล่านี้ขาดแรงสนับสนุนด้านสังคมอย่างที่เคยได้รับจากทางบ้าน เราอาจรู้สึกอีกด้วยว่าควบคุมชีวิตตนเองได้น้อยลง จึงอาจซึมเศร้าหนักขึ้น สัญญาณทั่วไปของอาการคิดถึงบ้านซึ่งก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้แก่ รู้สึกเศร้า รู้สึกสับสนงุนงง หรือรู้สึกเหมือนว่าเรา “แปลกแยก” มีพฤติกรรมถอนตัวออกจากการทำกิจกรรมทางสังคม ยอมแพ้ต่ออุปสรรคด้านการเรียนหรือการทำงาน รู้สึกว่าตนเองไร้ประโยชน์หรือถูกทอดทิ้ง มีความภาคภูมิในตนเองต่ำ และแบบแผนการนอนเปลี่ยนไป การไม่ต้องการทำหรือไม่สนุกกับอะไรที่เราเคยทำเป็นสัญญาณหนึ่งของภาวะซึมเศร้า[8]
    • “ความวิตกกังวล” ความวิตกกังวลยังเป็นอาการสำคัญอาการหนึ่งของอาการคิดถึงบ้าน ความวิตกกังวลเพราะคิดถึงบ้านอาจทำให้เราเอาแต่หมกมุ่นครุ่นคิดแต่เรื่องบ้านหรือผู้คนซึ่งอยู่ที่นั่น เราอาจเอาจิตใจจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ทำอยู่ได้อย่างลำบาก หรือรู้สึกเครียดมากโดยที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ เราอาจหงุดหงิด หรือ “ตะคอก”ใส่ผู้คนในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ในกรณีที่ร้ายแรงความวิตกกังวลสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอื่นๆ เช่น อาการกลัวที่โล่งหรือโรคกลัวที่ปิดทึบ [9]
    • “พฤติกรรมผิดปกติ” การรู้สึกคิดถึงบ้านทำให้เราไม่ใส่ใจกับภารกิจในชีวิตประจำวัน และเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าปกติเราไม่ใช่คนขี้โมโห แต่กลับพบว่าตนเองหงุดหงิดง่าย หรือต่อว่าผู้อื่นมากกว่าที่เคยเป็น นี้อาจเป็นสัญญาณว่าเรากำลังคิดถึงบ้านอยู่ เราอาจกินมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ อาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดหัว เจ็บปวด หรือป่วยบ่อยมากกว่าปกติ [10]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คนที่อายุน้อยมักมีอาการคิดถึงบ้าน.
    ถึงแม้อาการคิดถึงบ้านอาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่คนอายุน้อยมีอาการคิดถึงบ้านได้มากกว่า ที่เป็นแบบนี้มีเหตุผลสองข้อ
    • เด็กและวัยรุ่นโดยปกติแล้วยังไม่เป็นอิสระจากการใช้อารมณ์ความรู้สึก เด็กเจ็ดขวบไม่พร้อมเสี่ยงออกนอกบ้านเท่าเด็กวัยรุ่นอายุสิบเจ็ดปี
    • คนที่อายุน้อยมักจะไม่มีประสบการณ์ในชีวิตมากนัก ถ้าเราไม่เคยย้ายบ้าน ออกจากบ้านไปอยู่ค่ายพักแรม หรือเดินทางออกจากบ้านด้วยตนเองมาก่อน การออกจากบ้านสองสามครั้งแรกจะยากลำบากมาก เมื่อเรายังอายุน้อย ขาดประสบการณ์ จึงรู้สึกว่าประสบการณ์ส่วนใหญ่เป็นของแปลกใหม่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เอาของที่คุ้นเคยติดตัวไปด้วย.
    การมีของจาก “บ้าน” ติดตัวไปด้วยช่วยเราลดความรู้สึกคิดถึงบ้านด้วยการให้ “ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ” สิ่งต่างๆ ที่มีค่าทางใจหรือค่านิยมทางวัฒนธรรม เช่น รูปภาพครอบครัวหรือของที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจะช่วยให้เรารู้สึกอยู่ใกล้บ้าน ถึงแม้ความจริงแล้วเราจะอยู่ห่างไกลก็ตาม [11]
    • ค่อยๆ ปรับตัวเข้าหาสิ่งใหม่ๆ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นสำคัญต่อการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ถึงแม้เราจะมีของจากบ้านคอยช่วยให้ความอบอุ่นใจ แต่ต้องรู้ตัวว่าเราไม่อาจและไม่ควรอยู่กับสิ่งเก่าๆ ที่คุ้นเคย [12]
    • ของที่คุ้นเคยไม่จำเป็นต้องวัตถุจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น ในยุคอินเตอร์เน็ตนี้ เราอาจฟังวิทยุออนไลน์จากสถานีซึ่งเราชอบฟังตอนอยู่บ้าน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทำกิจกรรมที่ชอบทำเวลาอยู่ที่บ้าน.
    ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำอะไรที่เราเคยทำตอนอยู่บ้านจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น [13] การทำกิจกรรมต่างๆ ที่คุ้นเคยช่วยให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ที่บ้านได้ แม้ความจริงแล้วเราจะอยู่ไกลจากบ้านมากก็ตาม
    • กินอาหารโปรด มีเหตุผลอยู่เหมือนกันที่เราต้องกิน “อาหารที่ทำให้สบายใจ” การกินอาหารที่เคยกินตอนเป็นเด็กหรือเคยกินตอนอยู่ที่บ้านจะช่วยให้เรามีความสุข และรู้สึกมั่นคงมากขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่[14] ลองแนะนำเมนูจานโปรดให้เพื่อนใหม่รับประทานดูเพื่อตนเองจะได้รู้สึกสบายใจและได้เพื่อนใหม่ไปพร้อมกัน
    • เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้คนที่มีศาสนาหรือความเลื่อมใสศรัทธาจะรู้สึกคิดถึงบ้านน้อยลงเมื่อเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาในที่ใหม่ ลองหาสถานที่ประกอบพิธีกรรมหรือทำสมาธิในต่างถิ่น หรือหาเพื่อนที่มีความเชื่อทางศาสนาเดียวกันก็ได้ [15]
    • หากิจกรรมที่คุ้นเคยทำ ถ้าเราเคยอยู่ทีมกีฬาหรือชมรมอะไรสักอย่างตอนอยู่บ้าน อย่าอายที่จะลองทำกิจกรรมเดียวกันนี้ในต่างถิ่น ลองสำรวจดูสิว่ามีกิจกรรมอะไรที่คล้ายกันนี้ในสภาพแวดล้อมใหม่หรือไม่ เราจะได้ทำสิ่งที่เรารักและพบเพื่อนใหม่ไปพร้อมกันด้วย
  6. How.com.vn ไท: Step 6 บอกเล่าความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นฟัง.
    มีเรื่องเล่ากันว่าการบอกว่ารู้สึกคิดถึงบ้านจะทำให้เกิดอาการคิดถึงบ้าน หรือทำให้คิดถึงบ้านหนักขึ้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่จริง [16]ในความเป็นจริงการบอกเล่าความรู้สึกและสิ่งที่ประสบนั้นช่วยให้เรารับมือกับอาการคิดถึงบ้านได้ การ “ไม่” ยอมรับรู้ความรูสึกของตนเองตะหากที่จะทำให้มีอาการคิดถึงบ้านหนักขึ้น
    • พูดคุยกับบุคคลที่เราไว้ใจ ผู้ดูแลหอพัก ครูแนะแนว ผู้ปกครอง เพื่อนสนิท หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตพร้อมรับฟังปัญหาของเรา และมักจะให้คำแนะนำดีๆ ในการรับมือกับความรู้สึกของตนเองด้วย
    • การขอความช่วยเหลือจากใครสักคนไม่ได้หมายถึงเราเป็นคน “อ่อนแอ” หรือ “โง่” การพยายามยอมรับว่าเราต้องการความช่วยเหลือนั้นเป็นการแสดงออกถึงความกล้าหาญและการเอาใจใส่ตนเอง ไม่ใช่เรื่องน่าอาย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 หมั่นจดบันทึก.
    การหมั่นจดบันทึกจะช่วยให้เรารู้ทันความคิดและได้ประมวลทุกสิ่งทีเกิดขึ้นในสภาพแวดลอมใหม่ เมื่อเราประสบกับเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นไปเรียนที่ต่างประเทศ ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย เข้าค่ายช่วงฤดูร้อน การคอยจดบันทึกช่วยเราได้ติดตามความนึกคิดของตนเอง ผลวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการหมั่นจดบันทึกประสบการณ์ที่เราพบเจอและเขียนความรู้สึกที่มีต่อประสบการณ์เหล่านี้ออกมาช่วยให้เราคลายความรู้สึกคิดถึงบ้านได้[17]
    • พยายามองหาด้านดีอยู่เสมอ ถึงแม้การรู้สึกเหงาและคิดถึงบ้านนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่การมองเห็นด้านดีของประสบการณ์ใหม่ก็เป็นเรื่องสำคัญ ลองนึกถึงอะไรสนุกๆ ที่ทำอยู่ หรือคิดว่าสิ่งใหม่ๆ นี้ทำให้นึกถึงอะไรดีๆ ตอนอยู่ที่บ้านบ้าง ถ้าเอาแต่จดบันทึกถึงเรื่องที่ทุกข์ใจ เราอาจยิ่งรู้สึกคิดถึงบ้านมากขึ้นไปอีก
    • ไม่ควรจดบันทึกแต่เหตุการณ์และความรู้สึกที่ไม่ดี เมื่อเราบันทึกเหตุการณ์ที่ไม่ดีลงไป จงให้เวลาตนเองคิดและเขียนลงไปว่าเพราะอะไรถึงรู้สึกแบบนั้น วิธีนี้เรียกว่า “การเขียนสะท้อนความคิด” ใช้เป็นวิธีเยียวยาจิตใจตนเองได้ [18]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ออกกำลังกายมากๆ.
    ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายจะทำให้สารเอ็นดอร์ฟินหลั่งออกมา สารเอ็นดอร์ฟินเป็นสารที่ทำให้รู้สึกดี ช่วยลดความวิตกกังวลและความหดหู่ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นผลข้างเคียงจากอาการคิดถึงบ้าน [19] จะออกกำลังกายกับผู้อื่นก็ได้ เพราะเราจะได้พบปะผู้คนและได้พบเพื่อนใหม่
    • การออกกำลังกายยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน อาการคิดถึงบ้านอาจแสดงออกมาพร้อมความรู้สึกไม่สบาย (ปวดหัวหรือเป็นหวัดบ่อยๆ เป็นต้น)
  9. How.com.vn ไท: Step 9 โทรกลับมาหาครอบครัวและเพื่อน.
    การได้พูดคุยกับคนที่เรารักช่วยให้เรารู้สึกมีกำลังใจและใกล้ชิดกับพวกเขา นี้จะเป็นแรงผลักดันให้เราปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่[20]
    • เราต้องเสริมสร้างความมั่นใจในตนเองและเป็นที่พึ่งของตนเองให้ได้เพื่อจะได้คลายความคิดถึงบ้านลงได้ อย่าให้ตนเองคิดถึงคนที่บ้านมากเสียจนไม่ได้เรียนรู้ว่าจะจัดการกับความรู้สึกนี้เองอย่างไร
    • การโทรหาเพื่อนหรือครอบครัวอาจทำให้เด็กที่ยังเล็กมากหรือคนที่จากบ้านไปไม่นานยิ่งคิดถึงบ้านได้ [21]
    • เราอาจหาเวลาเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อเพื่อนและติดตามข่าวคราวของพวกเขาสักนิด วิธีนี้อาจช่วยให้รู้สึกว่าเพื่อนๆ นั้นยังอยู่ใกล้ๆ เรา แต่อย่าใช้เวลาอยู่กับเพื่อนเก่าเสียจนไม่มีเวลาหาเพื่อนใหม่
  10. How.com.vn ไท: Step 10 อย่าติดต่อกับคนที่บ้านมากจนเกินไป.
    ถึงแม้การติดต่อคนที่บ้านเป็นวิธีรับมือกับอาการคิดถึงบ้านที่ดี แต่ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียเช่นกัน อย่าเอาแต่คิดถึงบ้านจนไม่เป็นอันทำอะไร ถ้าเห็นว่าตนเองโทรหาแม่เป็นครั้งที่สามของวันแทนที่จะไปนั่งจิบกาแฟกับเพื่อนใหม่ ให้ลองปรับเวลาที่จะโทรหาคนในครอบครัว มีเส้นบางๆ กั้นอยู่ระหว่างการเอาแต่ติดต่อคนในครอบครัวและการไม่ยอมทำสิ่งที่ควรทำอยู่ตอนนี้[22]
    • จัดเวลาโทรกลับหาทางบ้าน กำหนดจำนวนครั้งที่จะโทรไปและกำหนดเวลาว่าจะคุยกับเพื่อนและครอบครัวนานแค่ไหน เราอาจลองเขียนจดหมายและส่งทางไปรษณีย์ดูก็ได้ นี้ก็เป็นวิธีการติดต่อคนทางบ้านโดยป้องกันไม่ให้อาการคิดถึงบ้านมาขัดขวางการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เข้าหาผู้คน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนลงไปว่าคิดถึงอะไรที่บ้านบ้าง.
    การคิดถึงคนที่รักเมื่ออยู่ห่างไกลกันเป็นเรื่องธรรมดา เขียนลงไปว่าเราคิดถึงใครบ้างและพวกเขาเคยช่วยเหลือเราเรื่องใดบ้าง ความทรงจำใดที่เราประทับใจ เคยทำอะไรด้วยกันบ้าง เราชอบพวกเขาตรงไหน การหาเพื่อนที่คล้ายคลึงกับคนที่เราคิดถึงช่วยให้เรารู้สึกมีกำลังใจ และยังช่วยให้เราปรับตัวให้เข้ากับสถานที่หรือสถานการณ์ใหม่ได้
    • ลองมองหาว่าสภาพแวดล้อมใหม่นั้นมีอะไรคล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อมเดิมไหม ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเราพบว่าสถานการณ์ใหม่มีอะไรคล้ายคลึงกับสถานการณ์เดิมบ้าง เราจะคิดถึงบ้านลดลงเพราะเรามองเห็นอะไรดีๆ และมุ่งจดจ่อกับสิ่งที่ดีนั้นมากขึ้น [23]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้าร่วมทำกิจกรรม.
    การพูดว่าเราต้องหาเพื่อนใหม่ให้ได้นั้นง่าย แต่การหาเพื่อนใหม่ในต่างถิ่นนั้นยาก วิธีที่ดีที่สุดที่จะสร้างกลุ่มเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งคือหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกับผู้คนที่เราไม่เคยรู้จัก โดยเฉพาะถ้าเราและคนคนนั้นมีความสนใจร่วมกัน ก็ยิ่งผูกมิตรกันง่ายขึ้น[24] อีกทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมใหม่ๆ ยังช่วยเราบรรเทาความรู้สึกคิดถึงบ้านด้วย
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องจากบ้านไปไกลเพื่อเรียนหนังสือ ที่มหาวิทยาลัยอาจมีชมรม กีฬา กิจกรรมต่างๆ และสโมสรนักศึกษาให้เราเข้าร่วมก็ได้ กิจกรรมต่างๆ นี้ช่วยให้เราได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้คน เราอาจได้พบกับคนที่คิดถึงบ้านเหมือนกันด้วย!
    • ถ้าเราได้งานใหม่หรือต้องไปทำงานต่างถิ่น การหาเพื่อนใหม่นั้นอาจทำได้ยากกว่าเดิม ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเราอาจหาเพื่อนใหม่ได้ยากขึ้นหลังจากเรียนจบ[25] การพบเจอกันบ่อยๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นการเข้าร่วมกลุ่มที่สามารถพบกันได้บ่อยๆ เช่น ชมรมคนรักหนังสือหรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการน่าจะช่วยให้เราได้เพื่อนใหม่ เพราะเราจะพบผู้คนกลุ่มเดิมบ่อยๆ [26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แบ่งปันเรื่องที่ชอบเกี่ยวกับบ้านของเราให้ผู้อื่นฟัง....
    แบ่งปันเรื่องที่ชอบเกี่ยวกับบ้านของเราให้ผู้อื่นฟัง. สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการคลายความคิดถึงบ้านคือการหาเพื่อนใหม่ให้ได้ การมีกลุ่มเครือข่ายสนับสนุนที่เข้มแข็งจะทำให้เราสามารถรับมือกับอาการคิดถึงบ้านได้ดีขึ้น [27]แบ่งปันความทรงจำดีๆ ที่มีกับบ้านของเราให้ผู้อื่นฟังจะช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและพูดถึงบ้านของเราได้อย่างสบายใจมากขึ้น[28]
    • จัดงานเลี้ยงเพื่อเราจะได้แบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารและประเพณีท้องถิ่นให้เพื่อนใหม่หรือคนรู้จักฟัง การพูดถึงอาหารจานโปรดจากฝีมือคนในครอบครัวให้ผู้อื่นฟังอาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้นไม่ว่าเรากำลังศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศหรือมหาวิทยาลัยในเมืองก็ตาม เราอาจจัดงานเลี้ยงเพื่อสอนเพื่อนให้ลองทำอาหารประจำท้องถิ่นของเรา หรือเชิญเขามาร่วมรับประทานขนมอันเป็นของขึ้นชื่อของท้องถิ่นเรา
    • ให้เพื่อนลองฟังเพลงโปรดของเรา ถ้าเราชอบฟังเพลงหนึ่งหรือสองเพลงมากเป็นพิเศษ ลองจัดการพบปะเล็กๆ เพื่อเล่นเกมกระดาษ ทำความรู้จักคุ้นเคยกัน ฟังเพลงโปรดของเรา ถ้าเราชอบฟังเพลงแจ๊สเวลาอยู่บ้าน ก็เปิดเพลงแจ๊สให้ตนเองและเพื่อนฟัง ความจริงฟังเพลงไหนก็ได้ ถ้าได้ยินเพลงนั้นแล้วรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้าน
    • เล่าเรื่องตลกเวลาอยู่ที่บ้านให้เพื่อนฟัง ถึงแม้เราอาจรู้สึกเศร้าจนไม่อาจหัวเราะได้ แต่ก็ลองเล่าเรื่องตลกที่เกิดขึ้นเวลาอยู่ที่บ้านให้เพื่อนฟัง การพูดถึงความทรงจำสุดแสนประทับใจช่วยให้เราได้ใกล้ชิดบ้านและเพื่อนใหม่มากขึ้น
    • ถ้าเราอยู่ในต่างประเทศ ลองสอนเพื่อนให้พูดถ้อยคำสำคัญในภาษาเราสักสองสามถ้อยคำ เราอาจจะพบความสนุกเวลาสอนเพื่อน ได้ให้ความรู้เพื่อน และหยุดคิดถึงบ้านชั่วคราว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จงกล้าเข้าไว้.
    การรู้สึกอาย ไม่รู้จะทำอย่างไรดี หรือไม่มั่นใจเป็นผลข้างเคียงจากอาการคิดถึงบ้านที่พบได้ทั่วไป ถ้าเราไม่เสี่ยง เราอาจพลาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ[29] พยายามตอบรับคำเชิญเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ถึงแม้เราจะไม่รู้จักคนมากนักเวลาไปไหนก็ตามในต่างถิ่น แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนตลกสนุกสนานเพื่อให้ผู้คนรอบข้างมาสนใจก็ได้! แค่รู้จักฟังคนอื่นพูดก็เป็นก้าวแรกที่ดีแล้ว
    • ถ้าเราอาย ก็ให้ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้คือพบหรือพูดคุยกับเพื่อนใหม่สักคน เราน่าจะคุ้นเคยกับการพบปะผู้อื่นมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป [30] การตั้งใจฟังเรื่องที่ผู้อื่นพูดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้วที่จะสร้างมิตร
    • ถึงแม้สุดท้ายแล้วเราไม่สามารถหาเพื่อนใหม่ได้ในงานเลี้ยงหรือในงานต่างๆ แต่เราก็ได้พิสูจน์แล้วว่าตนเองสามารถรับมือกับสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่ไม่คุ้นเคยได้ และเพราะเหตุนั้นเราจึงมั่นใจในตนเองมากขึ้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ออกจากความเคยชิน.
    การทำอะไรที่คุ้นชินและเดิมๆ อาจทำให้เรารู้สึกสบายใจ แต่การผลักดันตนเองให้ออกจากความเคยชินเพื่อจะได้เติบโตและเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าความวิตกกังวลระดับปานกลางอันเกิดจากการพบประสบการณ์อย่างเช่น การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ สามารถพัฒนาการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ [31] การเอาแต่ความสะดวกสบายมากเกินไปจะทำให้เราไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ [32]
    • เริ่มทีละนิด การพยายามเผชิญกับอะไรที่เรากลัวมากที่สุดอย่างทันทีทันใดอาจไม่ก่อให้เกิดผลดีนัก การพยายามเปลี่ยนมาทำอะไรที่เราไม่คุ้นเคยเลยอาจทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นช่างหนักหนาสาหัส ฉะนั้นตั้งเป้าหมายเล็กๆ ที่สามารถทำได้และท้าทายตนเองทีละนิด[33]
    • ลองเข้าไปนั่งกินอาหารที่ร้านใหม่ๆ ในจังหวัดที่เราเพิ่งย้ายเข้าไปอยู่ ขอนั่งโต๊ะเดียวกับคนแปลกหน้าที่โรงอาหาร ขอเพื่อนที่เรียนชั้นเดียวกับเราช่วยติวหนังสือให้ ชวนเพื่อนร่วมงานไปหาอะไรกินหลังเลิกงาน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทำความคุ้นเคยกับสถานการณ์ใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สนุกกับอะไรที่แปลกใหม่และไม่คุ้นเคย.
    การหาอะไรที่ตรงกับความต้องการของเราในสภาพแวดล้อมใหม่นั้นนอกจากจะท้าทายแล้ว ยังช่วยเราคลายความคิดถึงบ้านได้อีกด้วย[34] การทำความคุ้นเคยกับอะไรใหม่ๆ และตื่นเต้นไปกับสถานการณ์ใหม่ๆ อาจช่วยเรารู้สึกชินกับสภาพแวดล้อมใหม่มากขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังศึกษาหรืออาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ ลองไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ พระราชวัง อาหารประจำท้องถิ่นและประเพณีต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศที่เราอาศัยอยู่ ออกไปชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และทำตามวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์
    • เอาใจใส่วัฒนธรรมต่างถิ่น ถึงแม้เราจะแค่ย้ายไปอยู่ต่างถิ่นในประเทศของตนเอง แต่เราก็อาจพบว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นแตกต่างไปจากวัฒนธรรมบ้านเกิดของเรา เรียนรู้สำนวนประจำท้องถิ่น ลองกินอาหารที่ขึ้นชื่อของที่นั่น และออกไปสำรวจแหล่งอาหารการกินของท้องถิ่นนั้น ให้คนในท้องถิ่นสอนทำกับข้าวด้วยวัตถุดิบที่หาได้จากที่นั่น เข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมกับคนในท้องถิ่น การทำความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมที่แตกต่างช่วยให้เรารู้สึกว่าการอยู่ในที่ใหม่เหมือนกับการอยู่ที่บ้านมากขึ้น [35]
    • ถามคนในท้องถิ่นว่าพวกเขามักจะทำอะไรเป็นส่วนใหญ่ เราอาจได้คำแนะนำและได้ฝึกทักษะอาชีพกับคนในท้องถิ่น เช่น ทอผ้า ปั้นเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น หรือได้เข้าไปจุดชมทิวทัศน์และเห็นธรรมชาติในช่วงเวลาที่งดงามที่สุดของที่นั่น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เรียนภาษา.
    ถ้าเราต้องอยู่ต่างประเทศ การไม่สามารถพูดภาษาของประเทศนั้นได้อาจเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก จงเรียนภาษาของประเทศนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เข้าเรียน คุยกับเจ้าของภาษา และฝึกทักษะภาษาให้เชี่ยวชาญ เราจะรู้สึกมั่นใจตนเองมากขึ้นและไม่กลัวเมื่อพูดคุยกับผู้คนในต่างแดน [36]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ออกจากบ้านบ้าง.
    การออกจากบ้านนั้นช่วยแก้อาการคิดถึงบ้านได้บ้าง เราคงคิดถึงบ้านแน่ ถ้าเราเอาแต่ดูละครทั้งวันอยู่ในบ้าน ให้ลองออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านนานๆ จะนั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดในสวนสาธารณะแทนอ่านที่บ้าน หรือเดินเล่นกับเพื่อนแทนที่จะออกกำลังกายในห้องของตนเองก็ได้
    • ทำงานหรือทบทวนบทเรียนนอกบ้าน ลองไปนั่งทำงานที่ร้านกาแฟหรือห้องสมุดแทนที่จะนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน การได้พบเจอผู้คนอาจคลายเหงาให้เราได้บ้าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาอะไรใหม่ๆ ที่น่าสนใจทำ.
    การหาอะไรใหม่ๆ ช่วยทำให้เราได้พบความใฝ่ฝันของตนเอง เราจะได้ทำกิจกรรมดีๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และหยุดเศร้าหรือเหงาเสียที การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ช่วยเราให้ได้ออกจากความเคยชินของตนเองอีกด้วย
    • พยายามหางานอดิเรกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่ ลองสำรวจดูสิว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างในแถบนั้น ลองเรียนศิลปะประจำท้องถิ่น เข้าโครงการฝึกทักษะต่างๆ ที่มีในท้องถิ่นนั้น ถ้าเรามีโอกาสทำความรู้จักผู้คนและพัฒนาทักษะใหม่ๆ ไปด้วย เราก็จะค่อยๆ คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่มากขึ้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้เวลาตนเองทำความคุ้นเคยสภาพแวดล้อมใหม่.
    อย่าท้อแท้ ถ้าพยายามแล้ว แต่ยังไม่อาจทำใจชอบสภาพแวดล้อมใหม่ได้เสียที คนรอบตัวเราอาจปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเราผิดปกติแต่อย่างใด ความจริงแล้วคนรอบข้างเราซึ่งดูเหมือนร่าเริงสดใสอาจกำลังคิดถึงบ้านมากเหลือเกินก็เป็นได้ [37] ให้อดทนและพยายามเข้าไว้แล้วคุณจะรับมือกับมันได้แน่นอน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองหายใจเข้าลึกๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด บางครั้งเราเครียดมากเกินไปจนกระทั่งลืมหายใจ หายใจเข้าลึกๆ ผ่านจมูกและปล่อยลมหายใจออกทางปากจนกว่าจะรู้สึกผ่อนคลาย
  • อาการคิดถึงบ้านเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย อย่ารู้สึกแย่ที่เราโตเป็นผู้ใหญ่แล้วแต่กลับคิดถึงบ้านเมื่อต้องมาทำงานต่างถิ่น การคิดถึงบ้านเป็นเรื่องปกติ
  • ลองระบายสีเพื่อผ่อนคลายจิตใจ เราจะได้เอาจิตใจไปจดจ่อกับเรื่องอื่น การซื้อสมุดภาพระบายสีสำหรับผู้ใหญ่มาลงสียามว่างก็เป็นทางเลือกที่ดีในการผ่อนคลายจิตใจ
  • หาสิ่งดีๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่ให้พบ ตัวอย่างเช่น เราอาจลองกินอาหารประจำท้องถิ่นที่เราไม่เคยกินมาก่อนเลย
  • ปลอบโยนให้ตนเองรู้สึกสงบ อย่าไปนึกถึงเรื่องที่ว่าเรากับครอบครัวอยู่ห่างไกลกันมาก
  • อย่างเอาแต่คิดถึงบ้านมากเกินไป ให้พยายามนึกถึงสิ่งที่เราทำสำเร็จในวันนั้นว่ามีอะไรบ้าง
  • ให้ออกไปข้างนอกสักสองนาที และค่อยกลับเข้ามาในบ้าน จากนั้นพยายามหลับพักผ่อน
  • จงเข้าหาผู้คน! โดยเฉพาะเมื่อเราต้องไปโรงเรียนวันแรก เราอาจรู้สึกว่าตนเป็นคนเดียวที่รู้สึกคิดถึงบ้าน ถ้าเราได้คุยกับเพื่อนร่วมชั้น เราอาจได้รับรู้ว่ามีคนที่รู้สึกเช่นเดียวกับเราอยู่ การพูดคุยแบ่งปันความรู้สึกซึ่งกันและกันอาจเป็นการช่วยกันปรับตัวด้วยก็ได้
  • พยายามแก้ปัญหา ถ้ารู้สึกหดหู่แต่ไม่รู้สาเหตุว่าเพราะอะไร ลองคิดให้ออกว่าเรารู้สึกอย่างไรและจะรู้สึกแบบนั้นตอนไหน รู้สึกเหงาเมื่อคิดถึงเพื่อนที่อยู่ห่างไกลไหม รู้สึกหม่นหมองเมื่อดูหนังเรื่องโปรดไหม พยายามหาให้พบว่าอะไรกระตุ้นให้เรารู้สึกคิดถึงบ้าน
  • ถ้าย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ให้เรียนรู้ภาษาของประเทศนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสื่อสารกับผู้คนในต่างแดนได้จะช่วยทำให้เรารู้สึกว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้และช่วยเราให้คุ้นเคยกับคนอื่น
โฆษณา

คำเตือน

  • อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่รุนแรงอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ถ้าเราไม่สามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติ ตัวอย่างเช่น ไม่สามารถลุกจากเตียงในตอนเช้า ไม่สนใจทำอะไรที่เราเคยชอบทำ ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตดีกว่า
  • ในกรณีที่ร้ายแรงอาการคิดถึงบ้านอาจทำให้รู้สึกหรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตายได้[38] ได้ ถ้ามีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ให้ขอความช่วยเหลือทันที ลองโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือขอคำปรึกษาที่เว็บไซต์ของศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ [39]
โฆษณา
  1. http://pediatrics.aappublications.org/content/119/1/192.full?related-urls=yes&legid=pediatrics;119/1/192
  2. http://muse.jhu.edu/journals/csd/summary/v055/55.7.terrazas-carrillo.html
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22686364
  4. http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/QMR-06-2012-0027?journalCode=qmr
  5. http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/QMR-06-2012-0027?journalCode=qmr
  6. http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/13674676.2012.696600
  7. http://pediatrics.aappublications.org/content/119/1/192.full?related-urls=yes&legid=pediatrics;119/1/192
  8. http://pediatrics.aappublications.org/content/119/1/192.full?related-urls=yes&legid=pediatrics;119/1/192
  9. http://pediatrics.aappublications.org/content/119/1/192.full?related-urls=yes&legid=pediatrics;119/1/192
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/in-depth/depression-and-exercise/art-20046495
  11. http://pediatrics.aappublications.org/content/119/1/192.full?related-urls=yes&legid=pediatrics;119/1/192
  12. http://pediatrics.aappublications.org/content/119/1/192.full?related-urls=yes&legid=pediatrics;119/1/192
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17258804
  14. http://psycnet.apa.org/journals/ccp/73/3/555/
  15. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jora.12037/abstract
  16. http://cmapspublic2.ihmc.us/rid=1LQ8PPFHC-1ZL42KT-1L2Q/Social%20Relationships%20Across%20Lifespan.pdf
  17. http://www.fastcompany.com/3038537/how-to-make-new-friends-as-an-adult
  18. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17258804
  19. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jora.12037/abstract
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22686364
  21. https://hbr.org/2013/12/get-out-of-your-comfort-zone-a-guide-for-the-terrified
  22. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201207/can-anxiety-be-good-us
  23. https://www.psychologytoday.com/blog/confessions-techie/201101/comfort-kills
  24. https://hbr.org/2013/12/get-out-of-your-comfort-zone-a-guide-for-the-terrified
  25. http://muse.jhu.edu/journals/csd/summary/v055/55.7.terrazas-carrillo.html
  26. http://jsi.sagepub.com/content/9/4/356.short
  27. http://www.ccsenet.org/journal/index.php/ijps/article/view/18918
  28. http://www.counselling.cam.ac.uk/selfhelp/leaflets/homesickness
  29. http://www.shefayekhatam.ir/browse.php?a_id=237&sid=1&slc_lang=en
  30. https://www.suicidethai.com/web_suicide

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 29,902 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,902 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา